WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 8, 2012

หมายเหตุจากกรุงกัมพูชาถึงกรุงสยาม ว่าด้วยการพัฒนาและการไล่ที่

ที่มา ประชาไท

 

ข่าวการบังคับไล่ที่ชาวบ้าน เป็นข่าวที่พบเห็นได้ในหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับในกันพูชา ใครที่เคยมากรุงพนมเปญเมื่อสักกยี่สิบปีก่อน หากได้กลับอีกคราคงจะจำไม่ได้ ด้วยตึกรามบ้านช่องขึ้นจนแน่นขนัด พื้นที่ว่างเปล่าแทบไม่เหลือให้เห็น จะว่าไปแล้ว หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ที่เคยมีการอพยพผู้คนออกไปใช้แรงงานในยุคเขมรแดง เรืองอำนาจ จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิตของประชาการหลายล้านคน รวมไปถึงสงครามกลางเมืองอันเป็นการสู้รบระหว่างเขมรแดงและเจ้าสีหนุฝ่าย หนึ่ง กับฝ่ายรัฐบาลที่สนับสนุนโดยเวียดนามที่พึ่งยุติลงในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 กัมพูชาถือว่าพัฒนาประเทศได้รวดเร็วเลยทีเดียว
 กรุงพนมเปญในวันนี้ ท้องถนนสว่างไสว มีธุรกิจและร้านค้าต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไป ด้วยอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ กัมพูชาจึงเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะจากเวียดนามและจีน โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ให้เงินสนับสนุนแก่รัฐบาลกัมพูชามากที่สุด การเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้กรุงพนมเปญที่มีขนาดเล็กอยู่แล้วคับแคบลงในพริบตา เมื่อการขยายตัวของเมืองมาถึงขีดจำกัด ทางเลือกที่ทางการกัมพูชาเลือกใช้ก็คือ การบังคับไล่ที่ ”เพื่อการพัฒนา”
ในอดีต ใจกลางกรุงพนมเปญมีทะเลสาบที่เรียกว่า บองกัก ซึ่งทะเลสาบแห่งนี้มีชุมชนชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับน้ำอาศัยอยู่นับ พันครัวเรือน ต่อมาเมื่อการพัฒนากลืนกินพื้นที่ว่างไปหมด ก็มาถึงคราวของพื้นน้ำ รัฐบาลกัมพูชาตัดสินใจให้สัมปทานแก่บรรษัทเอกชนเข้าทำการถมทะเลสาบเพื่อจะ ได้นำที่ดินมาใช้ในการพัฒนา ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านหลายพันครัวเรือนต้องถูกไล่ที่ ซึ่งการไล่ที่ ไม่ได้หมายถึงการสูญเสียบ้านแต่เพียงอย่างเดียว มันยังหมายถึงการสูญเสียวิถีชิวิตและอัตลักษณ์ไปด้วย
การบังคับไล่ที่อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในเมืองไทย เนื่องจากมันไม่ได้เกิดขึ้นใจกลางกรุง รวมทั้งยังไม่มีภาพชาวบ้านที่ถูกไล่ที่ชุมนุมประท้วงโดยสันติเพื่อยืนยัน สิทธิของเขาก่อนโดนไล่ตีหัวร้างข้างแตกแบบที่ปรากฏในกัมพูชา ทว่าประเทศไทยก็ใช่ว่าจะปราศจากซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้ การสร้างเขื่อนรวมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งรัฐอื่นๆ เช่นถนน และทางด่วน  ก็ก่อให้เกิดคำถามทั้งเรื่องการไล่ที่และสูญเสียวิถีชีวิตได้เช่นกัน  จริงอยู่การ ”พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นต่อรัฐและประชากรโดยรวม (คำถามที่ว่า ใครคือประชากรโดยรวมทั้งหมด ยังเป็นคำถามที่จำเป็นต้องตอบแต่ ณ ที่นี้จะขอแขวนไว้ก่อน) ทว่ารัฐเองก็จำเป็นจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า จะประกันความยุติธรรมแก่ผู้ถูกย้ายที่อย่างไร
การบังคับเอาที่ หรือที่เรียกกันแบบน่ารักๆ ว่า การเวรคืนที่ดินนั้น เป็นสิ่งที่ทำกันอยู่ทั่วไปในหลายๆ ประเทศ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีการเรียกคืนที่ดิน เพราะหลายต่อหลายครั้ง การสร้างโครงสร้างพื้นฐานก็ต้องทำในพื้นที่ที่มีผู้อาศัยอยู่แล้ว หากไม่มีการเวนคืนที่ดิน โครงการพัฒนาก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งในบางโครงการก็คงก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ได้ก่อให้เกิดความเจริญและการพัฒนา
อย่างไรก็ดีหากจะมีการเวนคืนที่ดิน คำถามอย่างน้อยสองข้อที่ควรจะต้องตอบให้ได้เสียก่อนก็คือ หนึ่ง โครงการพัฒนานั้นเป็นประโยชน์ต่อใคร และสอง หากอ้างหลักประชาธิปไตยที่ต้องรักษาผลประโยชน์เพื่อคนส่วนมาก (การพัฒนา)แล้วคนส่วนน้อยที่ถูกบังคับให้เป็นผู้เสียสละย้ายที่ รัฐมีมาตรการดูแลพวกเขาเหล่านั้นเช่นไร นี่ยังไม่นับรวมไปถึงคำถามด้านสิ่งแวดล้อมที่ว่า ผลได้จากการพัฒนาและราคาที่ต้องจ่ายในแง่ความเสียหายของระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมในระยะยาวนั้นมันคุ้มกันไหม
ในกรณีกันพูชานั้น คำตอบของคำถามทั้งสองข้อ ดูจะไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ ประการแรกที่ว่า การพัฒนานั้นเป็นผลประโยชน์ต่อใคร ในกรณีของการบังคับย้ายที่ชุมชนทะเลสาบบองกักนั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นประโยน์ต่อนายทุนโดยแท้ เนื่องจากเป็นการสัมปทานที่ดินให้แก่เอกชน มิใช่ถมเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐอาจอ้างว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจะส่งผลดีต่อประเทศโดยรวม หากแต่เมื่อพิจารณาโดยใกล้ชิดแล้วก็จะเห็นได้ว่า มันเป็นเพียงข้ออ้าง เพราะแท้ที่จริงแล้ว ผลประโยชน์ทางธุรกิจในกัมพูชาก็กระจุกตัวอยู่แต่ในหมู่นายทุนและผู้นำระดับ สูงในพรรครัฐบาลเท่านั้น จริงอยู่การขยายตัวของภาคธุรกิจ อาจก่อให้เกิดการจ้างงานและรายได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงค่าจ้างแรงงานที่ต่ำในกัมพูชาแล้วการจ้างงานที่เกิดขึ้น ก็เป็นแต่เพียงการขยายตัวของการสะสมทุนและขูดรีดแรงงานโดยที่ผลประโยชน์ทาง ธุรกิจไม่ได้ตกถึงมือและท้องของผู้ใช้แรงงานแม้แต่น้อย
ในส่วนของคำถามที่ว่า รัฐมีการดูแลผู้ที่ต้อง ”เสียสละ” ย้ายที่ออกไปมากน้อยหรือไม่อย่างไรนั้น ในกรณีชุมชนบองกัก สิ่งที่ชาวบ้านได้รับจากรัฐบาล ไม่ใช่การจ่ายเงินชดเชย หากแต่เป็นความแห้งแล้งและความรุนแรง
ชาวบ้านส่วนหนึ่งถูกย้ายไปอยู่ใกล้ๆ กับเมืองพนมอุดง เมืองหลวงเก่าของกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงพื้นที่แห้งแล้ง ลองจินตนาการดูว่า คนที่เคยอาศัยทำมาหากินกับน้ำ เมื่อต้องมาอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง พวกเขาจะทำอย่างไร จริงอยู่ชาวบ้านบางส่วนที่ยอมย้ายแต่โดยดี อาจได้รับค่าตอบแทนบ้าง แต่มันคงเป็นเงินจำนวนไม่มากนัก และเมื่อเทียบกับวิถีชีวิตที่สูญเสียไป ค่าชดเชยนั้นคงเป็นได้แค่เศษกระดาษที่ช่วยให้พอประทังชีวิตได้ไปอีกไม่กี่ มื้อ ส่วนชาวบ้านที่รวมตัวกันคัดค้านการย้ายที่โดยสันติก็ได้รับแจกท็อปบูท ลูกกระสุนและทัวร์ห้องกรงจากทางรัฐไปตามระเบียบ
กรณีการบังคับไล่ที่ในกัมพูชาอาจจะดุเดือดรุนแรงเกินไปหากจะนำมาเปรียบ เทียบกับการเวนคืนที่ดินเพื่อการพัฒนาในเมืองไทย แต่มันก็เกิดคำถามหลายข้อที่ทำให้เราต้องฉุกคิดและตอบคำถามเหล่านั้น คำถามแรก เกี่ยวกับผู้ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา แน่นอน โครงการเขื่อนหรือโครงการถนนบางโครงการอาจดูเป็นโครงการที่เป็นสาธารณะ ประโยชน์มากกว่าการไล่ที่ทะเลสาบบองกัก ซึ่งแน่นอนว่า เป็นผลประโยชน์ของกลุ่มทุน แต่หากพิจารณาให้ลึกผลประโยชน์ที่ดูเป็นสาธารณะในเมืองไทยแท้จริงแล้วก็ กระจุกตัว โดยเฉพาะโครงการเขื่อนที่ไม่ว่าจะผลิตไฟฟ้าหรือป้องกันน้ำท่วม ก็ดูจะเป็นประโยชน์ที่เป็นคนเมือง ในขณะที่บางครั้งคนที่เสียสละ ถูกไล่ที่เพื่อการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้ากลับเข้าถึงไฟฟ้าได้ยากลำบาก ในส่วนของคำถามที่ว่า เมื่อย้ายที่แล้ว มีการดูแลผู้ถูกย้ายที่มากน้อยแค่ไหน ในประเทศไทยอาจมีการชดเชยที่ดูดีกว่าในกัมพูชา แต่ว่าในระยะยาว รัฐไทยก็คงไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องการสูญเสียวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ได้ดีไป กว่าทางการกัมพูชาเสียเท่าไหร่
แน่นอนว่า ในอนาคตรัฐไทยก็คงจะผุดโครงการที่ทำให้คนบางกลุ่มต้องถูกบังคับย้ายที่เพื่อ แลกกับการพัฒนาขึ้นมาอีก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกๆ โครงการพัฒนา มีราคาที่จะต้องจ่ายไป ซึ่งก็คือวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของคนบางกลุ่มซึ่งมักจะเป็นกลุ่มคนชายขอบ (ไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนชนบทที่ห่างไกลจากศูนย์กลางความเจริญ แต่รวมถึงกลุ่มคนชั้นล่างที่ไร้อำนาจ เช่น กลุ่มคนจนเมืองที่อาศัยในเขตชุมชนแออัด ซึ่งอาจถูกไล่ที่เพื่อการสร้างทางด่วนด้วย) นอกจากนี้ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ถูกพิจารณารวมในบทความนี้ก็เป็น ราคาที่ต้องจ่ายไป
บทความชิ้นนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อต่อต้านการพัฒนาดังกล่าว เพราะคงเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริงที่จะยุติโครงการพัฒนาทั้งหลาย แต่บทความชิ้นนี้ อยากจะเสนอว่า ก่อนลงมือทำการเวนคืนหรือไล่ที่ชาวบ้านเพื่อการพัฒนา รัฐควรทำการศึกษาอย่างจริงจังเสียก่อนว่า การพัฒนาเหล่านั้นจะยังประโยชน์แก่ใคร แก่คนส่วนใหญ่หรือคนเพียงหยิบมือในสังคม และหากแม้โครงการพัฒนาดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่จริง รัฐก็จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่า จะทำอย่างไรกับคนส่วนน้อยที่ต้องเสียสละวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ เพราะต้องไม่ลืมว่า ในสังคมประชาธิปไตย แม้สิทธิของคนส่วนน้อยก็ต้องได้รับความคุ้มครองเช่นกัน โดยเฉพาะกรณีที่คนส่วนน้อยต้องเสียสละอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของตนเพื่อคน ส่วนใหญ่ การชดเชยด้วยเงินคงไม่เพียงพอ การชดเชยด้านการฝึกอาชีพเพื่อปรับตัวกับชีวิตใหม่ การรื้อฟื้นและพิทักษ์อัตลักษณ์ รวมไปถึงการให้เครดิตแก่การเสียสละของพวกเขา ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ควรต้องทำ
และท้ายที่สุดคงต้องฝากถึงเพื่อนมิตรประชาชน โดยเฉพาะชนชั้นกลางและผู้มีอันจะกินในมืองที่มักเป็นผู้ได้รับประโยชน์จาก การพัฒนาเหล่านี้ว่า หากชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบเดินทางมาเรียกร้องความเป็นธรรม (มาประท้วงนั่นแหละ) ได้โปรดอย่าโวยวายว่า พวกนี้มาทำรถติดเศรษฐกิจย่อยยับ บลาๆๆ เพราะแม้นท่านจะจ่ายภาษี แต่อย่างน้อยท่านก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่า จะถูกไล่ที่เหมือนพวกเขาเหล่านั้น