ที่มา เดลินิวส์
ศาสนาพุทธกำเนิดเกิดขึ้น จากการบำเพ็ญเพียรของ เจ้าชายสิทธัตถะ มกุฎราชกุมารแห่งกรุง กบิลพัสด์ ในประเทศอินเดียโบราณ พระองค์เสด็จ ออกจากเวียงวัง ทิ้งราชบัลลังก์ พระมเหสี
พระโอรส “ราหุล” ซึ่งแปลว่า บ่วงเกิดขึ้นแล้ว เพื่อเสาะแสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิต ไม่ใช่แค่ เกิดมา กิน อยู่ หลับนอน และ ตายไป แต่ทรงต้องการค้นหาหนทางหลุดพ้นจาก สังสารวัฏ ของโลก
ทรงค้นพบหลักธรรม เยี่ยมยอด คือ อริยสัจสี่ ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
ทุกข์ คืออะไร คือ การเกิดมาแล้วต้อง แก่ ต้อง เจ็บ และ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นขอทาน หรือ ราชกุมารอย่างพระองค์ ก็ล้วนหนีสังสารวัฏข้อนี้ไม่พ้น
สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ นิโรธ การดับทุกข์ และ มรรค หนทางปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์ สูงสุดคือ การหลุดพ้น ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก แต่ระหว่างทางนั้น
ย่อมต้องใช้ปัญญาเพื่อพาตัวเองให้พ้นทุกข์
พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และนำหลักธรรมที่ได้ทรงค้นพบไปเผยแพร่ช่วยมนุษยชาติให้เข้าใจถึงสัจธรรมแห่งชีวิต ทรงสอนไม่ให้ มนุษย์ ยึดมั่น ถือมั่น ยึดตัวกู ของกู
หลังจากค้นพบหลัก “ไตรลักษณ์” ว่าสิ่งทั้งหลายนั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในที่สุด นั่นคือ มี ความอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทุกขัง เป็น อนัตตา ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง
เช่นถามว่า คน อยู่ตรงไหน แค่นี้ก็เดี้ยงแล้ว ชี้ไม่ถูก เพราะคน จริง ๆ ไม่มี แต่ต้องประกอบด้วย หู ตา คอ จมูก ปาก แขนขา หัวใจ ปอด ตับไตไส้พุง เลือด เนื้อ สารพัด จึงจะได้ชื่อว่า
เป็นมนุษย์ตนหนึ่ง
คนเรา ยิ่งใหญ่ แค่ไหน จึงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น ว่า ทุกสิ่งจะอยู่กับตัวเองชั่วนิรันดร์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะที่แท้ ตัวกู ยังไม่ใช่ของกูเลย ตายแล้ว แม้แต่กระดูกชิ้นเล็กชิ้นเดียว ยังเอาติดตัวไปไม่ได้
อย่าว่าของนอกกาย ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือสมบัติพัสถานอื่นใดเลย
ถ้าหากมนุษย์ได้รู้ถึงหลักธรรมนี้ ก็จะไม่หลงใหลในสี ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสี เพราะไม่ว่า สีไหน ที่สุด ก็คือมนุษย์ตนหนึ่งเท่านั้น ล้วนต้อง เกิด แก่ เจ็บ และตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
การมุ่งหน้าทำลายล้างกัน แย่งชิง อำนาจ ผลประโยชน์ เอาชนะ คะคาน เพื่อตัวเอง พวกตัวเอง แบบหน้ามืดตามัว ก็ควรลดน้อยถอยลง และควรปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย “เมตตาธรรม” มากขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยขาดแคลนอย่างหนักในยุคนี้ !!!
ในเทศกาลวัน วิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ในวันเดียวกัน คือวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันสำคัญยิ่งสำหรับเราชาวพุทธ
ก็อยากเชิญชวนให้คนไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระพุทธองค์และนำหลักธรรมที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว และทิ้งไว้เป็นมรดกล้ำค่าของมนุษยชาติมาปฏิบัติกันในห้วงเวลานี้
จะได้เกิดความอ่อนโยน และ มีเมตตาต่อกัน ไม่ใช่ในฐานะคนไทยด้วยกัน แต่ในฐานะ เพื่อนร่วมสังสารวัฏ ด้วย ซักนิด ก็ยังดี อย่างน้อย ไฟที่สุมอกเผาไหม้พวกเราอยู่ จะได้ดับลงบ้าง.
พระโอรส “ราหุล” ซึ่งแปลว่า บ่วงเกิดขึ้นแล้ว เพื่อเสาะแสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิต ไม่ใช่แค่ เกิดมา กิน อยู่ หลับนอน และ ตายไป แต่ทรงต้องการค้นหาหนทางหลุดพ้นจาก สังสารวัฏ ของโลก
ทรงค้นพบหลักธรรม เยี่ยมยอด คือ อริยสัจสี่ ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
ทุกข์ คืออะไร คือ การเกิดมาแล้วต้อง แก่ ต้อง เจ็บ และ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นขอทาน หรือ ราชกุมารอย่างพระองค์ ก็ล้วนหนีสังสารวัฏข้อนี้ไม่พ้น
สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ นิโรธ การดับทุกข์ และ มรรค หนทางปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์ สูงสุดคือ การหลุดพ้น ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก แต่ระหว่างทางนั้น
ย่อมต้องใช้ปัญญาเพื่อพาตัวเองให้พ้นทุกข์
พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และนำหลักธรรมที่ได้ทรงค้นพบไปเผยแพร่ช่วยมนุษยชาติให้เข้าใจถึงสัจธรรมแห่งชีวิต ทรงสอนไม่ให้ มนุษย์ ยึดมั่น ถือมั่น ยึดตัวกู ของกู
หลังจากค้นพบหลัก “ไตรลักษณ์” ว่าสิ่งทั้งหลายนั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในที่สุด นั่นคือ มี ความอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทุกขัง เป็น อนัตตา ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง
เช่นถามว่า คน อยู่ตรงไหน แค่นี้ก็เดี้ยงแล้ว ชี้ไม่ถูก เพราะคน จริง ๆ ไม่มี แต่ต้องประกอบด้วย หู ตา คอ จมูก ปาก แขนขา หัวใจ ปอด ตับไตไส้พุง เลือด เนื้อ สารพัด จึงจะได้ชื่อว่า
เป็นมนุษย์ตนหนึ่ง
คนเรา ยิ่งใหญ่ แค่ไหน จึงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น ว่า ทุกสิ่งจะอยู่กับตัวเองชั่วนิรันดร์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะที่แท้ ตัวกู ยังไม่ใช่ของกูเลย ตายแล้ว แม้แต่กระดูกชิ้นเล็กชิ้นเดียว ยังเอาติดตัวไปไม่ได้
อย่าว่าของนอกกาย ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือสมบัติพัสถานอื่นใดเลย
ถ้าหากมนุษย์ได้รู้ถึงหลักธรรมนี้ ก็จะไม่หลงใหลในสี ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสี เพราะไม่ว่า สีไหน ที่สุด ก็คือมนุษย์ตนหนึ่งเท่านั้น ล้วนต้อง เกิด แก่ เจ็บ และตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
การมุ่งหน้าทำลายล้างกัน แย่งชิง อำนาจ ผลประโยชน์ เอาชนะ คะคาน เพื่อตัวเอง พวกตัวเอง แบบหน้ามืดตามัว ก็ควรลดน้อยถอยลง และควรปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย “เมตตาธรรม” มากขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยขาดแคลนอย่างหนักในยุคนี้ !!!
ในเทศกาลวัน วิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ในวันเดียวกัน คือวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันสำคัญยิ่งสำหรับเราชาวพุทธ
ก็อยากเชิญชวนให้คนไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระพุทธองค์และนำหลักธรรมที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว และทิ้งไว้เป็นมรดกล้ำค่าของมนุษยชาติมาปฏิบัติกันในห้วงเวลานี้
จะได้เกิดความอ่อนโยน และ มีเมตตาต่อกัน ไม่ใช่ในฐานะคนไทยด้วยกัน แต่ในฐานะ เพื่อนร่วมสังสารวัฏ ด้วย ซักนิด ก็ยังดี อย่างน้อย ไฟที่สุมอกเผาไหม้พวกเราอยู่ จะได้ดับลงบ้าง.
ดาวประกายพรึก