WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 8, 2009

"คณิน"หนุนนิรโทษกรรม อ้างช่วยลดความขัดแย้ง กก.สมานฉันท์ ชี้"เหนาะ"แค่สนทนาธรรมไม่ได้เสนอช่วย"แม้ว"

ที่มา ประชาไท

ปชป.เสนอขยายเวลากก.สมานฉันท์เป็น3-4เดือน "คณิน"อ้างนิรโทษกรรม จะช่วยลดความขัดแย้งได้ สป.หวังแก้รธน.เพื่อปฏิรูปการเมือง วิปรบ. มอง"เสนาะ"แค่สนทนาธรรมไม่ได้เสนอนิรโทษกรรม สอดรับปธ.วิปค้านระบุแค่อุปมาอุปไมยเปล่าช่วย"แม้ว" ติงสื่อเสนอข่าวคลาดเคลื่อน

ส.ส.ปชป.เสนอขยายเวลากก.สมานฉันท์3-4เดือน


นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้วางกรอบการทำงาน 45 วันนั้น ส่วนตัวเห็นว่ากรอบเวลาน้อยเกินไป เพราะการรับฟังความเห็นของประชาชนต้องทำหลายด้านซึ่งต้องใช้เวลา ดังนั้นถ้าคณะกรรมการฯไม่สามารถทำได้ทัน ก็ต้องขยายเวลาออกไป เพราะถ้าเร็วแล้วไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถสร้างความปรองดองได้ตามที่ประชาชนต้องการ อย่างไรก็ตาม การยืดเวลาการทำงานออกไป 3-4 เดือนเพื่อสร้างความสมานฉันท์ให้ได้ก็ถือว่าคุ้ม

สป.หวัง กก.สมานฉันท์ฯ แก้ รธน.เพื่อปฏิรูปการเมือง

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. นายโคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) เรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมือง และตั้งความหวังว่า ผลการศึกษาของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่หลายฝ่ายเห็นว่าควรมีการปรับแก้

นายโคทม ยังเรียกร้องให้กลุ่มที่มีความเห็นทางการที่แตกต่างกัน หาข้อยุติทางการเมืองร่วมกัน เพื่อลดความขัดแย้งในสังคมและสร้างความสมานฉันท์

"คณิน" อ้างนิรโทษกรรมจะช่วยลดความขัดแย้งได้

นายคณิน บุญสุวรรณ กรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปทางการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ว่า มีต้นเหตุจากฝ่ายบริหารขาดเสถียรภาพทางการเมือง กลไกในสภาไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงเกิดกลุ่มมวลชนที่เคลื่อนไหวนอกสภา ดังนั้นกระบวนการแก้ปัญหาควรเริ่มจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองและความสมานฉันท์

นายคณิน ยืนยันว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับการประนีประนอมทางการเมือง และเชื่อว่าการนิรโทษกรรมทางการเมืองน่าจะเป็นทางออกเพื่อลดความขัดแย้งในสังคม

ด้านนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กรรมการสมานฉันท์ฯ ในสัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าข้อสรุปของคณะกรรมการจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การกำหนดกรอบเวลาทำงานของคณะกรรมการไว้ 45 วัน คงไม่ง่ายที่จะเสนอแนวทางแก้ไขความขัดแย้ง และนำสังคมกลับคืนสู่ความสมานฉันท์ ดังนั้น ประธานรัฐสภาจะต้องวางกรอบอย่างเป็นรูปธรรมในแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองต่อไป

"โฆษกมาร์ค"ชี้"ปฏิวัติ"ไม่ใช่ต้นเหตุวิกฤตการเมือง


นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเมื่อวันที่ 8 พ.ค. ถึงกรณีที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทย พูดในที่ประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า การปฏิวัติ คือ ต้นเหตุของวิกฤตทางการเมือง ว่า เป็นการกล่าวเพื่อตัดตอน โดยไม่มองย้อนกลับไปว่า ต้นเหตุการปฏิวัติคืออะไร หากจะมีการแสดงความคิดเห็นควรพูดให้ครบทุกกระบวนความ

ส่วนกรณีที่ นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช และที่ปรึกษาคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ต้องให้ประชาชนแสดงความเห็นนั้น ส่วนตัวเห็นว่าการกระทำใดๆ ต้องคำนึงถึงเสียงของประชาชน มิเช่นนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไม่สำเร็จ และอาจเกิดปัญหาได้

วิปรบ.-ค้านผสานเสียง"เหนาะ"ไม่ได้แนะนิรโทษกรรม


นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวเมื่อวันที่ 8 พ.ค. ถึงข้อเสนอแนะให้มีการนิรโทษกรรม ผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ของนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช และที่ปรึกษาคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ว่า เป็นเพียงการสนทนาธรรม ไม่ใช่ข้อเสนอแนะแต่อย่างใด ส่วนรายละเอียดของแนวทางการทำงานนั้น จะมีการหารือในการประชุมครั้งหน้า ซึ่งจะพูดคุยกันในกรอบที่วางไว้ คือ เรื่องความสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และกฎหมายรัฐธรรมนูญ

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าพรรคร่วมรัฐบาล และฝ่ายค้าน ไม่ได้พยายามบีบพรรคประชาธิปัตย์ให้เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ


ขณะที่ สอดคล้องกับนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ยืนว่า คำพูดดังกล่าวของนายเสนาะ เป็นเพียงการอุปมาอุปไมย ไม่ใช่ข้อเสนอแนะให้นิรโทษกรรมเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นการยกตัวอย่าง คดีความต่างๆ ที่ผ่านมา ควรมีการชี้แจง หรืออธิบายให้ประชาชนได้เข้าใจ พร้อมระบุว่า สื่อมวลชนลงข่าวคลาดเคลื่อน

กรรมการสมานฉันท์ถกนัดแรก

คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชุมนัดแรก เพื่อกำหนดกรอบการทำงาน ที่ห้องประชุม 213 อาคารวุฒิสภา เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 7 พฤษภาคม และเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าสังเกตการณ์การประชุมด้วย ทั้งนี้ นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ กล่าวเปิดประชุมว่า ขณะนี้ปัญหาความขัดแย้งลุกลามไประดับภาคและครัวเรือน สามีภรรยาเห็นคนละอย่าง จึงจำเป็นต้องเร่งเยียวยา เป้าหมายหลักคือ ต้องสร้างสมานฉันท์ให้ได้ โดยการหาประเด็นให้ได้ว่าจะสมานฉันท์อย่างไร ปฏิรูปอย่างไร สำหรับกรอบการทำงาน 1.จะต้องค้นคว้า รวบรวมหาสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤต สร้างความสมานฉันท์ 2.รวบรวมประเด็นค้นคว้าและปฏิรูปการเมือง การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าควรแก้หรือไม่ อย่างไร


จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาถึงกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการกล่าวว่า ต้นเหตุของความขัดแย้งเกิดจากการเมืองข้างถนน ที่มีการไปยุงแยงตะแคงรั่วปลุกระดม และใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขต ดังนั้น เป้าหมายของคณะกรรมการชุดนี้จะมีเป้าหมายคือ การนำบ้านเมืองกลับไปสู่ความรักความสามัคคีของบ้านเมือง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ


"เสนาะ"ให้เน้นการปฏิรูปคน


"ผมเห็นว่าระเบียบกฎเกณฑ์ทุกอย่างที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับที่ผ่านมา ไม่มีอะไรจะเขียนแล้ว พอใช้ไปได้ระยะเวลาหนึ่งก็ถูกฉีกทิ้งโดยเผด็จการ และมีการตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติเพื่อออกกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นการออกกฎหมายตามใบสั่ง ดังนั้นคณะกรรมการชุดนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเห็นว่าจะต้องเน้นการปฏิรูปคนให้มากที่สุด โดยเฉพาะคนที่อาสาเข้ามาเป็นข้าราชการประจำและการเมือง เพื่อให้การใช้อำนาจอยู่ในกรอบกติกา สิ่งนี้จะทำให้ทุกอย่างกลับคืนมาเหมือนเดิม" นายเสนาะกล่าว


นายเสนาะกล่าวว่า การทำงานของคณะกรรมการชุดนี้จะต้องเดินหน้าด้วยความรอมชอมกับทุกฝ่ายที่จะต้องถอยหลังคนละก้าว 2 ก้าว โดยเฉพาะฝ่ายการเมือง และข้อเสนอของคณะกรรมการชุดนี้เมื่อเสนอออกไป จะต้องทำให้คนที่มีผลประโยชน์ขัดกันขณะนี้ต้องอ้าปากมาเถียงไม่ได้


"ขุนค้อน"ซัดปฏิวัติคือต้นเหตุ


นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ให้คณะกรรมการถามใจตัวเองว่า เป้าหมายของทุกคนคืออะไร ถ้าทุกคนตอบตรงกันว่า ต้องการที่จะสมานฉันท์จริงหรือไม่ มีวาระแอบแฝงอะไรหรือไม่ ถ้ายังมีวาระไม่บริสุทธิ์แอบแฝงคงเหนื่อยเปล่า ไม่ต่างจากที่ทะเลาะกันข้างถนน คนที่นั่งที่นี้ถ้ามีอยู่ 3 ธง ธงเหลือง ธงแดง และธงน้ำเงิน กลับบ้านดีกว่าอย่ามานั่งคุยกันเลย อยากให้สลายสีและหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเสียก่อน และมีเป้าหมายหนึ่งเดียวคือ สมานฉันท์เพื่อชาติ


"ต้นเหตุของปัญหาที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาทั้งหมด มีอยู่ข้อเดียวคือ ความไม่เป็นธรรม โดยปัญหาทั้งหมดเริ่มตั้งแต่ก่อนเกิดการรัฐประหาร จนถึงรัฐประหาร จนมีการร่างรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญไม่ใช่เป็นต้นเหตุปัญหาเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงองค์กรอิสระ และตุลาการภิวัฒน์ด้วย" นายสมศักดิ์กล่าว


ปชป.ชี้"ล้มเหลว"อัปยศที่สุด


นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ความขัดแย้งจริงๆ เกิดขึ้นข้างนอก ดังนั้น ไม่สามารถที่จะละเลยการพูดถึงสีได้ เพราะอย่างน้อยมี 2 ที่มีปัญหาทะเลาะกันข้างนอกคือ สีแดงและสีเหลือง การทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ไม่ว่าจะจบเร็วหรือช้า ตนเห็นว่าไม่มีปัญหา แต่จบแล้วจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าในคณะกรรมการทำงานจบภายใน 45 วัน แล้วเกิดความสมานฉันท์ขึ้น อยากถามว่าคนที่อยู่ข้างนอกจะสมานฉันท์ด้วยหรือไม่ และจะเป็นความล้มเหลวที่อัปยศที่สุด


"สิ่งที่คณะกรรมการจะต้องแสดงความเห็นมีดังนี้ 1.ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ 2.ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการปฏิรูปการเมือง 3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4.กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ เรื่องยุบพรรคที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ" นายนิพิฏฐ์กล่าว


ด้านนายอนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเสนอให้กรรมการไม่รับเบี้ยประชุม โดยจะนำไปตั้งเป็นเงินกองกลางช่วยเหลือคนเจ็บจากเหตุการณ์การเมืองไม่ว่าจะเป็นสีอะไร หากกรรมการ 40 คน ไม่รับเบี้ยประชุม อย่างน้อยก็จะได้เงิน 40,000 บาทต่อการประชุมหนึ่งครั้ง เพื่อหลอมรวมเสียสละเพื่อบ้านเมือง


กำหนดกรอบเวลาศึกษา45วัน


ต่อมาที่ประชุมได้ใช้เวลาการหารือเรื่องกรอบเวลาการทำงาน และวันเวลาการประชุมนานเกือบ 2 ชั่วโมง โดยที่ประชุมมีความคิดเห็นแตกต่างกันคือ นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว.พัทลุง เสนอว่าระยะเวลาการศึกษา 45 วัน ประชุมสัปดาห์ละ 3 วัน ส่วนนายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย เสนอ 30 วัน ประชุมสัปดาห์ละ 4 วัน ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย เสนอว่า หากคณะกรรมการต้องการรับฟังความเห็นของประชาชน เพื่อประกอบการพิจารณาศึกษาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรที่จะขยายระยะเวลาการศึกษาเป็น 90 วัน สุดท้ายนายดิเรกใช้อำนาจประธานตัดสิน โดยให้กำหนดกรอบเวลาศึกษา 45 วัน ประชุมสัปดาห์ละ 3 วัน คือ อังคาร พุธ พฤหัสบดี โดยช่วงสมัยสภาผู้แทนราษฎร ให้ประชุมตั้งแต่เวลา 09.00 น. และภายหลังปิดสมัยประชุมในวันที่ 21 พฤษภาคม ให้เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.


"ป๋าเหนาะ"ตั้งธงช่วย"แม้ว-อ้อ"


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่กำลังมีการอภิปรายเรื่องแนวทางการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน นายเสนาะกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการฟังเสียงประชาชนในชั้นนี้ โดยควรทำเมื่อคณะกรรมการได้ข้อสรุปแล้ว


"ตอนนี้ไม่ใช่ว่าจะมาเถียงกันว่า จะเอารัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้ ควรเอาทุกฉบับที่คิดว่าเป็นปัญหาทั้งปี′ 40 ปี′ 49 หรือ 50 เอาคดีต่างๆ ที่เป็นปัญหา ไม่ว่าคดีที่ดินรัชดาของ พ.ต.ท.ทักษิณ (ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) และคุณหญิงพจมาน (ดามาพงศ์ อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ) ที่ไม่ผิดก็ทำให้เป็นผิด รวมทั้งการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มากองไว้บนโต๊ะ จากนั้นก็มาดูว่าจะแก้อย่างไร และเขียนนิรโทษกรรมทั้ง 111 และ 109 ในบทเฉพาะกาล เพื่อตัดปัญหาเราก็มาเขียนกันว่า ต่อไปนี้อำนาจที่ปล้นมาแล้วออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตัวเอง ไปตั้งอะไรต่อมิอะไรไว้ สภาก็จะยกโทษ จะอภัยให้หมด ผมคิดว่าเป็นทางออกที่จะใช้เป็นธงกัน" นายเสนาะกล่าว

ตั้งอนุกก.ศึกษา3เรื่องหลัก


ต่อมาเวลา 17.00 น. นายดิเรกได้แถลงภายหลังการประชุมว่า ขอฝากให้คณะกรรมการทุกคนกลับไปกำหนดกรอบการทำงานของคณะกรรมการที่จะมีการหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้ โดยคณะกรรมการจะทำงานกันอย่างสุดความสามารถและดำเนินการให้แล้วเสร็จในระยะเวลาที่เร็วที่สุด หากประเด็นใดประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมก็ไม่ขัดข้อง


นายดิเรกกล่าวว่า การประชุมครั้งต่อไปทางคณะกรรมการอาจจะต้องมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดำเนินการพิจารณาใน 3 เรื่องใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาแนวทางสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว เบื้องต้นวางแนวทางไว้ว่าจะตั้งอนุกรรมการคณะละ 18 คน แบ่งกรรมการ 12 คน และคนนอก 6 คน


"อนุสรณ์"แนะตั้งสภาปฏิรูปฯ


นายอนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการสมานฉันท์ฯ สัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ แถลงจุดยืนก่อนการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ฯว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นผลผลิตของการรัฐประหาร มีจุดดีคือ การควบคุมนักการเมืองเข้มแข็งขึ้น การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้น แต่มีหลายมาตราที่ทำให้การเมืองระบบเลือกตั้งอ่อนแอ ไร้เสถียรภาพ ระบบพรรคอ่อนแอ เป็นผลร้ายต่อประชาธิปไตย เมื่อปัญหาซับซ้อนจึงต้องปฏิรูปอย่างรอบด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สื่อมวลชน การศึกษา กระบวนการยุติธรรม วัฒนธรรม และส่งเสริมสถาบันของชาติให้เข้มแข็ง


"ควรจัดให้มีการเลือกตั้งสภาปฏิรูปประเทศไทย และสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนฉบับใหม่ โดยอาจกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 6-12 เดือน ซึ่งสภาปฏิรูปประเทศไทยจะศึกษาการปฏิรูประเทศอย่างรอบด้าน รวมถึงประเด็นการคืนความเป็นธรรม หรือนิรโทษกรรม หรืออภัยโทษ และนำเสนอรัฐสภา" นายอนุสรณ์กล่าว


โฆษก"มาร์ค"โต้ข้อหาตี2หน้า


นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ตีสองหน้าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและไม่มีความจริงใจว่า พรรคทำงานการเมืองไม่มีชั้นเชิงและเล่ห์เหลี่ยม แต่ทำแบบตรงไปตรงมา การที่นายกรัฐมนตรีจุดประเด็นตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯและสอบข้อเท็จจริงการสลายม็อบเสื้อแดงเพราะต้องการให้การเมืองเข้าสู่ระบบ อยากให้รัฐสภาแก้ปัญหาของบ้านเมือง โดยให้อิสระในการทำงานไม่ชี้นำ ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่มีธงในเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ เพราะต้องฟังความเห็นจาก ส.ส.ของพรรคก่อน จึงทำให้เห็นว่ามีความคิดหลากหลาย ซึ่งเชื่อว่าที่สุดแล้ว จะได้ความเห็นที่เป็นเอกภาพ


"เรื่องการตีสองหน้าทางการเมือง ไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน ผิดกับพรรคการเมืองอื่นที่ไม่สามารถหาความเป็นเอกภาพในพรรคได้ ยังมีการแบ่งเป็นก๊ก เป็นซุ้ม และสลับหน้ากันเล่นประเด็นต่างๆ จนหาผู้รับผิดชอบไม่ได้" นายเทพไทกล่าว


"สุวัจน์"แนะเปิดทางคนนอกนายกฯ


รายงานข่าวจากพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (รช.) แจ้งว่า นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และหัวหน้า รช. ได้นัดประชุม ส.ส.พรรคในวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ จ.นครราชสีมา เพื่อหารือการกำหนดท่าทีและข้อเสนอต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จะมีการหารือนอกรอบกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่เสนอแนวคิด สร้าง "บันไดหนีไฟ" บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเบื้องต้น แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส.พรรค และจะเป็นประเด็นหนึ่งที่ รช.จะนำเสนอเพื่อให้นักวิชาการ สังคม หรือภาคส่วนต่างๆ ได้ถกเถียงถึงข้อดี ข้อเสีย ก่อนนำไปผลักดันในชั้นต่อไป


"ข้อเสนอบันไดหนีไฟก็คือ การเตรียมทางหนีทีไล่ไว้ เปรียบเสมือนไฟกำลังไหม้ เราจะต้องมีบันไดหนีไฟ นั่นก็คือ กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด อาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ จะเปิดทางให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ด้วย โดยผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องได้รับความเห็นชอบจากเสียง 3 ใน 4 ของรัฐสภา ซึ่งทางออกนี้เป็นทางหนึ่งที่น่าจะป้องกันการเปลี่ยนแปลงจากอำนาจนอกระบบได้ด้วย" แหล่งข่าวกล่าว


หนุนประชามติแก้รธน.-นิรโทษ


ด้านนายสุวัจน์ให้สัมภาษณ์ที่บ้านราชวิถีว่า ต้องแยกให้ออกว่าการแก้รัฐธรรมนูญกับการนิรโทษกรรมเป็นคนละเรื่องกัน โดยการนิรโทษกรรมควรฟังความเห็นของคนส่วนใหญ่ว่าต้องการอย่างไร ควรดำเนินการหรือไม่ สำหรับทางออกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดคือ การทำประชามติ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีที่มาต่างจากฉบับอื่น มีการทำประชามติ ดังนั้น หากจะแก้ก็ควรต้องทำประชามติเช่นกันเพื่อทำให้เกิดความชอบธรรม และทุกฝ่ายยอมรับ


"การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นเรื่องใหญ่ เมื่อนายกรัฐมนตรีโยนหินถามทางมาแล้ว ก็ถือเป็นแนวทางที่จะสมานฉันท์ ถ้าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยก็ต้องมาดูว่าจะแก้ในมาตราไหน วันนี้เราต้องนำ 3 เรื่องมาประกอบ คือ 1.คิดในเชิงนิติศาสตร์ คือยึดหลักกฎหมาย 2.คิดในเชิงรัฐศาสตร์ คือการแก้ไขปัญหาการเมือง 3.คิดในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าประเทศอยู่ ถ้ายึด 3 กรอบนี้ เชื่อว่าจะลดปัญหาขัดแย้ง ลดการเผชิญหน้าได้" นายสุวัจน์กล่าว


ภท.ชงเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว


รายงานข่าวแจ้งว่า พรรคการเมืองต่างๆ ได้เตรียมประเด็นที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ อาทิ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เสนอแก้ไขเรื่องระบบเลือกตั้ง โดยให้กลับไปเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว มี ส.ส.แบบเขต 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน ส่วน ส.ว.มี 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และการเปิดโอกาสให้ ส.ส.ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 265 ขณะที่องค์กรอิสระนั้นเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกระบวนการสรรหาใหม่ ให้มีตัวแทนของพรรคการเมืองร่วมเป็นกรรมการสรรหาด้วย เป็นต้น


ขณะที่พรรคเพื่อไทยเสนอแก้ 8 ประเด็น อาทิ กรณีเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้ลงโทษเฉพาะผู้กระทำความผิด ระบบเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. เสนอแบบเดียวกับพรรคภูมิใจไทย แก้ไขให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำหน้าที่แค่ควบคุม กำกับดูแลการเลือกตั้ง และประกาศผลการเลือกตั้ง รวมถึงสืบสวนสอบสวนส่งสำนวนไปศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ส่วนอำนาจให้ใบเหลืองใบแดงให้เป็นอำนาจของศาล และให้องค์กรอิสระทุกองค์กรมีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี และทำหน้าที่ต่อได้ 180 วัน หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เป็นต้น


"ชัย"หนุนหยุดทำร้ายประเทศ


ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา มี 7 ประเด็น อาทิ แก้ไขให้มีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว 400 เขต และกรณีที่มาของ ส.ว. 200 คน เหมือนพรรคภูมิใจไทยและพรรคเพื่อไทย แก้ไขให้ ส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรีสามารถออกเสียงในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ส่วนรวมโดยทั่วไปได้ และตัดวรรคสองของ ม.237 ออก เพื่อให้เป็นความผิดเฉพาะผู้กระทำผิดและผู้มีส่วนรู้เห็นเท่านั้น รวมทั้งแก้ไข มาตรา 265 และ 266 ให้ ส.ส.ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้


นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวกับตัวแทนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะเครือข่ายร่วมรณรงค์หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ความรุนแรง เข้ามอบตัวเสื้อรณรงค์หยุดทำร้ายประเทศไทยฯ ว่าสภาผู้แทนราษฎรจะสนับสนุนการรณรงค์ และจะเชิญให้กรรมการสมาคมนักข่าวฯ มาร่วมประชุมกับคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ทั้งนี้ เชื่อว่าคณะกรรมการ 2 ชุดที่รัฐสภาแต่งตั้งจะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมืองได้ ส่วนที่มีความเห็นแตกต่างนั้นก็ขอให้ฟังเสียงส่วนใหญ่ว่าจะเอาอย่างไร


ป.ป.ช.ตั้งอนุฯสอบนายกฯ-5รมต.


ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 5 คน ประกอบด้วย นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ที่ถูกพรรคเพื่อไทยอภิปรายไม่ไว้วางใจ ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคมที่ผ่านมา ตามที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจำนวน 158 คน เข้าชื่อยื่นถอดถอนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 271 โดยให้นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป.ป.ช. และนายใจเด็ด พรใชยา กรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้รับผิดชอบสำนวน