WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 28, 2010

จาตุรนต์ ฉายแสง: “ตัวตนที่แท้จริงของนายกรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับการสร้างความสมานฉันท์"

ที่มา ประชาไท

การที่พรรคประชาธิปัตย์มีมติไม่แก้รัฐธรรมนูญแม้แต่มาตราเดียวในครั้งนี้ แสดงให้เห็นธาตุแท้ของพรรคการเมืองนี้ว่า ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยแต่อย่างใดทั้งสิ้น นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรและพรรคการเมืองใหม่ มีจุดยืนทางการเมืองอย่างเดียวกัน คือแน่วแน่ที่จะปกป้องรักษารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไว้โดยไม่ยอมให้ใครมาเปลี่ยน ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีปัญหามากมายแค่ไหนก็ตาม

พรรคประชาธิปัตย์ทำเหมือนกับคนทั้งประเทศหลงลืมไปหมดแล้วว่า ก่อนที่จะมีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้เคยแสดงความเห็นไว้ว่าให้รับไปก่อนแล้วจะแก้ภายหลัง และหลังเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในช่วงสงกรานต์ปีที่แล้ว รัฐสภาได้มีการประชุมหารือร่วมกันเพื่อหาทางคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง สมาชิกรัฐสภาจำนวนมากได้เสนอให้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือให้แก้รัฐธรรมนูญให้เกิดความเป็นธรรม

ในครั้งนั้นนายกรัฐมนตรีได้พูดต่อที่ประชุมรัฐสภาอย่างชัดถ้อยชัดคำว่าหากรัฐสภาเห็นอย่างไรก็ให้เสนอมา ตนพร้อมจะเอาด้วย

รัฐสภาตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมา ได้มีข้อเสนอระยะสั้นให้แก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น เพื่อให้ได้กติกาเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ยุติธรรมมากขึ้น แล้วยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้ได้รัฐบาลที่เป็นที่ยอมรับ พร้อมทั้งมีข้อเสนอระยะยาวให้แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับต่อไปด้วย

ข้อเสนอเหล่านี้เป็นความพยายามที่จะหาทางแก้ปัญหาวิกฤตความขัดแย้งและสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น ในช่วงที่สังคมไทยกำลังให้ความสนใจกับการหาทางแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมอยู่นั้น นายกรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์ดูเหมือนจะแสดงท่าทีขึงขังเอาจริงเอาจังกับการสร้างความสมานฉันท์ถึงขนาดประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาลมาแล้ว แต่มาถึงวันนี้กลับไม่สนใจใยดีกับความพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย

พรรคประชาธิปัตย์คงประเมินแล้วว่า ถือแต้มต่อพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหลาย ซึ่งคงไม่อยากให้ยุบสภาเร็วนัก เพราะยังต้องการอยู่ในอำนาจต่อไป และหากมีการเลือกตั้งใหม่ในเร็วๆนี้ ก็ย่อมต้องใช้กติกาแบ่งเขตแบบเดิม ซึ่งพรรคการเมืองเล็กๆเห็นว่าตนเองเสียเปรียบพรรคใหญ่

นอกจากนั้นก็รู้ไต๋พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหลายว่า ย่อมเสียดายกระทรวงใหญ่ที่พวกเขาได้มาโดยเงื่อนไขพิเศษ หากมีการเลือกตั้งใหม่ ย่อมไม่ง่ายที่จะได้กระทรวงสำคัญๆเช่นนี้อีก พรรคประชาธิปัตย์จึงเลือกที่จะดำรงความได้เปรียบในการเลือกตั้งเหนือพรรคเล็กต่อไป ด้วยการไม่แก้รัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของพรรคร่วมรัฐบาล โดยไม่กลัวว่าพรรคร่วมจะตีรวนจนถึงขั้นต้องยุบสภา

แต่นั่นไม่น่าสนใจเท่ากับคำถามว่านายกรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์คิดอย่างไรกับการทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย คิดอย่างไรกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม

ในขณะที่นายกรัฐมนตรีประกาศว่าการสร้างความสมานฉันท์เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมทั้งพยายามแสดงออกด้วยการพูดในที่ต่างๆว่า ตนเองต้องการสร้างความสมานฉันท์เป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ใช้การพูดที่ถนัดที่สุดอีกนั่นเองในการชิงความได้เปรียบทางการเมืองเหนือฝ่ายอื่นๆ ทั้งยังปล่อยให้คนสนิทและลิ่วล้อที่ใกล้ชิดออกมาเกะกะระรานใส่ร้ายป้ายสีฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ที่มีความเห็นแตกต่างกับรัฐบาลอยู่ทุกวี่ทุกวัน

รัฐบาลนี้ยังได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงด้วยการปฏิบัติสองมาตรฐาน และใช้กำลังความรุนแรงปราบปรามประชาชน ดังที่องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนก็ได้ออกมาวิพากษ์ตำหนิรัฐบาลนี้อย่างไม่ไว้หน้าไปเมื่อไม่กี่วันนี้

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ใช้สื่อของรัฐบาลปลุกระดมยั่วยุอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง กดดันศาลและใส่ร้ายประชาชนผู้ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สร้างความเกลียดชังเหมือนกับเป็นการเตรียมการปราบประชาชนที่อาจจะมีขึ้นอีกในเร็วๆนี้

นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลนี้อาจเห็นว่าสิ่งที่ได้ดำเนินการมาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนกำลังเป็นไปอย่างได้ผล เพราะมีความได้เปรียบในด้านเครื่องมือกลไกต่างๆ จึงไม่แยแสต่อการสร้างความสมานฉันท์อีกต่อไป หากแต่กำลังรอคอยให้กลไกตามกฎหมายดำเนินการอย่างสองมาตรฐาน เพื่อจัดการกับฝ่ายตรงข้ามก่อนที่จะลงมือ ดำเนินการให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดต่อไปเมื่อเวลามาถึง

การเลือกหนทางนี้ของนายกรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่ไม่มีเหตุผลรองรับ แต่แท้จริงแล้วแนวทางนี้ย่อมได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากพันธมิตร ผู้นำกองทัพ และบรรดาผู้มีอำนาจทั้งหลาย ที่คงจะได้ตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ยอมให้สังคมไทยพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ส่วนเรื่องความเป็นธรรมหรือความยุติธรรมนั้น นอกจากพวกเขาไม่สนใจแล้ว ยังพร้อมที่จะซ้ำเติมให้เกิดความไม่ยุติธรรมหนักยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยการใช้มาตรการที่เป็นสองมาตรฐานอย่างจริงจังต่อไปด้วย

นายกรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์ได้จงใจปิดทางออกจากวิกฤตของสังคมไทยเสียสนิทแล้ว ภาระทั้งหลายจึงตกอยู่กับผู้รักประชาธิปไตยและผู้ห่วงใยสังคมทั้งหลายที่จะต้องช่วยกันคิดอ่านต่อไป

แต่ที่สำคัญคือ จะปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้ดำเนินต่อเนื่องไปเรื่อยๆไม่ได้อีกแล้ว!