WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 27, 2010

ธง แจ่มศรี ค้านกรรมการพรรคคอมฯเสื้อเหลือง เอียงขวาสมคบศักดินาสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่

ที่มา Thai E-News



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
26 มกราคม 2553

หมายเหตุไทยอีนิวส์:ธง แจ่มศรี อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)ได้ออกเอกสารฉบับหนึ่งมีเนื้อหาคัดค้านการที่คณะกรรมการบริหารกลางพรรคชุดใหม่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจุดยืนของพรรคไปในทางอนุรักษ์นิยม สมคบคิดกับชนชั้นปกครองผู้กดขี่ขูดรีด หรือเป็นที่รับรู้กันภายในว่าคณะกรรมการพรรคชุดใหม่นั้นให้การสนับสนุนพันธมิตรเสื้อเหลือง หลังจากที่คณะกรรมการชุดดังกล่าวประกาศยึดอำนาจในพรรคไปก่อนหน้านี้ และแสดงจุดยืนว่าจะสามัคคีกับทุกฝ่ายที่แตกต่างกันเพื่อต่อต้านทักษิณ


*ธง แจ่มศรี ออกเอกสารค้านกรรมการพคท.ชุดปัจจุบันเปลี่ยนจุดยืนเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมสมคบชนชั้นปกครองศักดินา

เอกสารภายใน:เอกสารประกอบคำแถลงเนื่องในวาระการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยครบรอบ 67 ปี


เอกสารชิ้นนี้ของผมในนาม ธง แจ่มศรี เป็นการแสดงออกถึงการยอมรับการสิ้นสภาพขององค์การนำชุดที่ 4 ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาผู้แทนพรรคครั้งที่ 4 ดังเหตุผลที่กล่าวในแถลงการณ์ครบรอบ 66 ปีของพรรค ไม่ได้ออกในนาม ประชา ธัญญไพบูลย์ อันเป็นชื่อจัดตั้งที่เป็นทางการของเลขาธิการพรรคฯ ซึ่งต้องดำเนินตามหลัก การประชาธิปไตยรวมศูนย์ (เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันองค์การนำได้สิ้นสภาพแล้วในทางพฤตินัย และนิตินัย) จึงออกในสถานะสมาชิกพรรคคนหนึ่งที่ยึดถืออุดมการณ์และระเบียบการของพรรค ด้านหนึ่งเพื่อวิจารณ์ตนเองในเรื่องการยึดกุมทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินที่นำมาประสานกับลักษณะของสังคมไทย เพื่อวิเคราะห์ลักษณะสังคมไทยเพื่อกำหนดหลักนโยบายขั้นต่ำ (เฉพาะหน้า) หรือขั้นตอนการปฏิวัติได้อย่างถูกต้อง

ผมเห็นว่าปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยมแล้วในด้านเศรษฐกิจ แต่ภาคการเมืองการปก ครอง วัฒนธรรมและความคิดของผู้คนในสังคมยังไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย ต้องล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอดจากศักดินา ขุนนาง และจักรวรรดินิยมอเมริกา โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เป็นต้นมา ศักดินามีบทบาทนำสูงสุดในการบงการรูปแบบการเมืองการปกครองของไทย เช่นรูปแบบการเลือกตั้ง การรัฐประหาร ประชาธิปไตยครึ่งใบเหล่านี้เป็นต้น

นายกรัฐมนตรีเกือบทุกคนเป็นคนของเขา เช่น นายสัญญา ธรรมศักดิ์,มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, มรว.เสนีย์ ปราโมช ,นายธานินทร์ กรัยวิเชียร,(พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์),พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์,(พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ),นายอานันท์ ปันยารชุน,(พล.อ.สุจินดา คราประยูร),นายชวน หลีกภัย,(นายบรรหาร ศิลปอาชา),(พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ),คุณชวน หลีกภัย,(พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร),พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์,(คุณสมัคร สุนทรเวช),(คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์),คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่อยู่ในวงเล็บไม่ใช่คนของเขาจึงมักถูกโค่นล้มโดยรูปแบบในสภาและการรัฐประหาร หลักฐานยิ่งชัดเจนในสมัย นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่เข้าสู่อำนาจรัฐแต่ไม่สามารถใช้กลไกรัฐได้ ตรงกับคำกล่าวของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า (เซ็นเซอร์)เป็นเจ้าของคอกม้า รัฐบาลเป็นเพียงจ็อกกี้ม้าเท่านั้น

ดังนั้นขณะนี้สังคมไทยถูกปกครองโดยราชาธิปไตย หรือสมบูรณาญาสิทธิราช(ใหม่) เพราะได้มีกฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าสถาบันนี้อยู่เหนือรัฐ กลไกรัฐไม่สามารถควบคุมได้ (ไม่มีความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย) ซึ่งกลุ่มนี้ได้พัฒนาตนเองเป็น “ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” ในทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง วัฒนธรรมและรูปการจิตสำนึก ซึ่งกลุ่มทุนผูกขาดกลุ่มอื่นต้องยอมสวามิภักดิ์ เพราะได้เห็นตัวอย่างแล้วจากการรัฐประหารรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหวันและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีแนวคิดทุนนิยมเสรีใหม่(เป็นกลุ่มทุนผูกขาดกลุ่มใหม่ที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อ “กลุ่มทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ”) โดยเฉพาะในกรณีหลังนี้ศักดินาได้ใช้เครือข่ายของพวกเขาทั้งหมด เช่น ข้าราชการ,ทหาร, ศาล, กลุ่มประชาสังคม ,กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ,รวมทั้งสื่อสารมวลชนทุกแขนง ฯลฯ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

สรุปลักษณะสังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยมที่มีทุนผูกขาดศักดินาที่มีอำนาจเหนือรัฐครอบงำอยู่ ดังนั้นขั้นตอนของการปฏิวัติขั้นนี้จึงเป็น “การปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุน” ที่มีกลุ่มทุนผูกขาดศักดินาที่มีอำนาจเหนือรัฐเป็นเป้าหมายการปฏิวัติ เพราะกลุ่มนี้มีอำนาจเหนือกลุ่มทุนผูกขาดกลุ่มอื่นๆ

ผมเห็นว่ากลุ่มทุนผูกขาดทักษิณ บัดนี้ถูกพวกเครือข่ายของทุนผูกขาดศักดินา เล่นงานจนอยู่ในประเทศไม่ได้ แสดงให้เห็นว่ายังเป็นตัวรอง ยังถูกกดขี่รีดไถด้วยซ้ำไป (การออกกฎหมายย้อนหลังเพื่อเอาผิด เป็นเรื่องที่เด่นชัดที่สุด)

เปรียบเทียบอย่างง่ายๆ ระหว่างสองกลุ่มนี้ใครมีอำนาจกว่ากัน ลองเดินไปตลาดแล้วด่าว่าทั้งสองกลุ่ม ทุกคนคงรู้คำตอบเป็นอย่างดีว่าจะเกิดอะไรขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งที่ป่าสงวนแห่งชาติหรืออุทยานแห่งชาติมีกลุ่มทุนไหนที่สามารถขยายพื้นที่ทำการเกษตรบนภูเขาสูงได้เป็นหลายหมื่นไร่ทั่วประเทศ (แม้แต่ประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีในประเทศทุนนิยมที่เจริญแล้วก็ไม่สามารถทำได้)

จุดยืนในทางการเมืองของพรรคเราต้องมาจากการวิเคราะห์ลักษณะสังคมไทยโดยใช้หลักลัทธิมาร์กซ- เลนิน หรือทฤษฎีของชนชั้นกรรมาชีพ ไม่ใช่ไม่ต้องวิเคราะห์สังคมเพราะกลัวสหายแตกแยก จนกระทั่งเอาทฤษฎีสับสนวุ่นวาย (CHAOS) และทฤษฎีประชาสังคม (Social Community) มาชี้นำในการเคลื่อนไหวของพรรค จนกลายเป็นขบวนการปฏิรูป มีแนวคิดที่จะตั้งพรรคแบบถูกกฎหมายจนกระทั่งเอาพรรคไปเป็นเครือข่ายของกลุ่มทุนผูกขาดศักดินาที่มีอำนาจเหนือรัฐ แล้วสร้างวาทะกรรมว่ากลุ่มนี้ไม่เคยเข่นฆ่าประชาชน ไม่เคยกดขี่ขูดรีดประชาชน

บางคนยังคงวิเคราะห์สังคมไทยเป็น “ทุนนิยมกึ่งเมืองขึ้น”แบบเดิมเหมือนเมื่อ 28 ปีมาแล้ว ซึ่งในทางวิชาการได้มีข้อสรุปว่าจบสิ้นแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 จากข้อเขียนของ ดร.ประทีป นครชัย (ทรงชัย ณ ยะลา) โดยฝ่ายวิชาการหน่วย 81 ของพรรคฯก็ยอมรับข้อบกพร่องการวิเคราะห์สังคมไทยในสมัยสมัชชาฯ 4 เช่นกัน

ลักษณะกึ่งเมืองขึ้น หรือลักษณะประชาชาติมันจบสิ้นลงในปี 2519 หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากประเทศไทย และปรับนโยบาย Thailandization คือคนไทยควรแก้ปัญหาคนไทยกันเอง อเมริกาเป็นเพียงให้การปรึกษาสนับสนุนเช่นเดียวกับประเทศในอินโดจีนก่อนหน้านี้

อนึ่งระบอบทุนนิยมโลกได้พัฒนาจนภาคการเงินเก็งกำไรมีลักษณะครอบงำไปทั่วโลก หลังจากการปริวรรตเงินตราแบบทองคำ ( การยกเลิกข้อตกลง Bretton Wood ในปีพ.ศ.2514) การอ้างอิงทฤษฎีของกฎมูลค่ามาเป็นกฎราคา ( Price Law) ที่คิดว่าเงินดอลล่าร์มีค่ามันก็มีค่า ยิ่งโลกมีความเจริญทั้งทางด้านอวกาศและคอมพิวเตอร์ ยิ่งเร่งให้เกิดโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็ว (เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 )จนถึงการสิ้นสุดสงครามเย็นในปี พ.ศ.2532 ระบอบทุนนิยมเก็งกำไรก็ครอบงำทุกภาคส่วนของระบอบทุนนิยม ทั้งภาคการผลิต, ภาคการค้า, ภาคการเงิน, และภาคการบริโภค เร่งการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินของผู้คนทุกชาติทั่วโลก

ระบบทุนนิยมเก็งกำไรแบบนี้ ไม่สามารถเอาผิดกับกองทุนเก็งกำไรได้เลยเพราะมีกฎหมายนอมินีคุ้มครองอยู่ ห้ามเปิดเผยชื่อลูกค้าหรือหุ้นส่วน )นี่แหละคือความโปร่งใส ตรวจสอบได้ของภาคทุนนิยมเก็งกำไร แต่รัฐแต่ละรัฐป้องกันได้ขึ้นอยู่ว่ารัฐนั้นจะมีท่าทีอย่างไร

ศักดินาไทยได้พัฒนาตนเองมาเป็นลำดับ กระทั่งกลายเป็นกลุ่มทุนผูกขาดเก็งกำไรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลักฐานที่เด่นชัดคือเรื่อง ทรัพย์สินของกลุ่มนี้ในปี พ.ศ. 2550 มี 2.29 แสนล้านบาท เพิ่มเป็น 1.19 ล้านล้านบาทในปีต่อมา อยากถามว่าทำการค้าอะไรที่ได้กำไรถึง 9 แสนล้านบาทในปีเดียว ซึ่งจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากการเก็งกำไร (ซึ่งไม่ใช่กลุ่มทักษิณที่ทำกลุ่มเดียว)
(หมายเหตุไทยอีนิวส์:จุดนี้อาจเนื่องมาจากการจัดอันดับของนิตยสารFORBESในปี2550ไม่นับรวมสินทรัพย์จากสำนักงานทรัพย์สินฯ ขณะที่ในปีต่อมามีการนับรวมเข้ามาด้วย)

การที่กลุ่มนี้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และรูปการจิตสำนึกครอบงำทั้งสังคม เขาจะเป็นบริวารของใครได้? การวิเคราะห์ว่าลักษณะสังคมไทยเป็นทุนบริวาร หรือเป็นทุนนิยมกึ่งเมืองขึ้นแบบเดิม คือ เห็นจักรวรรดินิยมเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสังคมไทยซึ่งจะไปสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของกลุ่มประชาสังคมและทฤษฎีสับสนวุ่นวาย ที่เห็นทุนโลกาภิวัตน์จะมาครอบงำประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องสามัคคีกับกลุ่มอำนาจทุกกลุ่มในประเทศไทยโดยเฉพาะกลุ่มศักดินา (กลุ่มทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ) ต่อสู้กับทุนโลกาภิวัตน์ และโค่นล้มทุนผูกขาดในประเทศที่สมคบกับทุนโลกาภิวัตน์ ความจริงกลุ่มทุนผูกขาดศักดินาเขาสัมพันธ์กับทุนโลกาภิวัตน์มาก่อนกลุ่มทุนอื่นด้วยซ้ำ นับตั้งแต่จักรวรรดินิยมอังกฤษ,ฝรั่งเศส,ญี่ปุ่น, อเมริกา ฯลฯ ซึ่งต้องให้หุ้นส่วน หรือผลประโยชน์แก่กลุ่มนี้ตั้งแต่ 10 - 40% เมื่อเข้ามาทำการค้ากับไทย

จากเหตุผลข้อมูลเหล่านี้ที่อดีตองค์การนำชุดที่ 4 โดยเฉพาะกรรมการการเมืองส่วนใหญ่นอกจากไม่ยึดกุมระเบียบการพรรคเรียกประชุมตามกำหนดเวลาเพื่อแก้ปัญหาการนำที่ดำรงอยู่ภายในองค์การนำด้วยกันเองแล้ว ยังละทิ้งทฤษฎีปฏิวัติพื้นฐานของพรรคและก้าวไม่ทันต่อสถานการณ์ที่เป็นจริงของระบอบทุนนิยมโลกและสังคมไทยอีกด้วย

ดังนั้นจึงมีปัญหาทางด้านการเมืองของพรรคอย่างแน่นอน ที่เห็นได้ชัดคือ ปัญหาแนวทางการเมืองที่จะต้องกำหนดเป้าหมายการปฏิวัติ พลังการปฏิวัติ และหนทางปฏิวัติ อดีตองค์การนำนี้กลับไปสามัคคี “กลุ่มทุนผูกขาดศักดินาที่มีอำนาจเหนือรัฐ” ซึ่งเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสังคมไทย ที่เกิดจากปัญหาความรับรู้กลายเป็นปัญหาจุดยืนและอุดมการณ์ของพรรค อันเป็นปัญหาการต่อสู้ตามแนวทางของพรรคอันไม่อาจประนีประนอมกันได้

อีกอย่างอดีตคณะกรรมการบริหารกลางชุดที่ 4 ถ้าไม่นับบุคคลที่ลาออกจากพรรคโดยสมัครใจ และผู้ที่ไปรับมาตรา 17 สัตตะ ในปี 2530 คงเหลือเพียง 1 ใน 6 เท่านั้น นี่คือความจริงทางภาวะวิสัยที่ไม่ขึ้นต่อเจตจำนงทางอัตวิสัยของใคร ผมจึงเห็นว่าถ้าไม่ประกาศจุดยืนของอดีตเลขาธิการพรรคก็ยิ่งจะทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเสียหายกลายเป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ที่มีจุดยืนไปร่วมมือกับชนชั้นปกครองกดขี่ขูดรีดประชาชนไทย

คำแถลงในปีนี้จึงต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับมิตรสหายทั้งหลายด้วยหลักการ “ช่วยเหลือและต่อสู้” ที่ผมพยายามอย่างที่สุดในการรักษาความสามัคคีในหมู่มิตรสหายไว้

ธง แจ่มศรี
**********

คณะกรรมการพคท.ชุดปัจจุบันระบุพรรคคอมมิวนิสต์ยังไม่ล่มสลาย

ก่อนหน้านี้มีเอกสารเผยแพร่ในนาม คณะกรรมการบริหารกลาง ลงเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ชื่อ"คำชี้แจงภายใน"มีเนื้อหาละเอียดดังต่อไปนี้

เมื่อ 1 ธันวาคม 2551 สหายธง แจ่มศรี ซึ่งขณะนั้น ยังดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคได้ออกถ้อยแถลงในวันก่อตั้งพรรคครบรอบ 66 ปี ในนามส่วนตัวซึ่งคณะกรรมการการเมืองและคณะกรรมการบริหารกลางส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้และเห็นชอบ ประกาศว่าคณะกรรมการบริหารกลางชุดปัจจุบัน(ชุดที่ 4 ที่เลือกตั้งจากสมัชชาผู้แทนพรรคครั้งที่ 4) ได้สูญเสียบทบาทขององค์การนำไปแล้วโดยสิ้นเชิงโดยอ้างว่าไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะองค์การนำสูงสุดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2526


ถ้อยแถลงนี้ ได้ก่อให้เกิดความเข้าใจที่สับสนและโต้แย้งกันมากมายในหมู่สหายสหายจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าเป็นการประกาศยุบพรรค เกิดความท้อแท้หมดกำลังใจบางส่วนก็เข้าใจว่าเป็นวิธีการแก้ความขัดแย้งในองค์การนำผลก็คือทำให้สภาพความขัดแย้ง โต้เถียง โจมตี แบ่งพวกแบ่งฝ่าย ซึ่งมีอยู่บ้างแล้วในหมู่สหายเราจำนวนหนึ่งขยายตัวยิ่งขึ้น

ด้วยความสำนึกที่รับผิดชอบต่อสหายและผลประโยชน์ของประชาชน และจิตใจที่ต้องการรักษาพรรคไม่ยอมให้พรรคซึ่งเป็นดอกผลของการต่อสู้ของประชาชนปฏิวัติที่แลกมาด้วยชีวิตและเลือดเนื้อต้องล่มสลายไปกรรมการบริหารกลางที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่ จึงเรียกร้องให้มีการประชุมกัน ซึ่งสหายธง แจ่มศรีได้ร่วมประชุมด้วย เพื่อพิจารณาปัญหาต่างๆที่ดำรงอยู่ ด้วยท่าทีที่ถนอมรักเคารพความเป็นจริง และพูดเหตุผลกันบนหลักการของพรรค ในที่สุดความเห็นส่วนใหญ่ของที่ประชุมยืนยันว่า คณะกรรมการบริหารกลางชุดที่ 4 ยังดำรงอยู่อย่างถูกต้องทั้งทางนิตินัยและพฤตินัยและเห็นว่าถ้อยแถลงของสหายธง แจ่มศรีนั้น มีปัญหาและข้อบกพร่องในขณะเดียวกันก็เห็นว่าการนำของพรรคที่ผ่านมามีจุดอ่อนข้อบกพร่องด้วยจึงเห็นควรจะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ดำรงอยู่ต่อไป ที่ประชุมมีมติให้ออกเอกสารชี้แจงภายในในนามคณะกรรมการบริหารกลางให้สหายทราบโดยทั่วกัน ลงวันที่ 1 มีนาคม 2552 พร้อมกับเรียกร้องสหายทั้งหลายยุติการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอันจะก่อความเสียหายต่อไป

หลังจากนั้น คณะกรรมการบริหารกลางได้มีการประชุมอีกหลายครั้งพิจารณาปัญหาที่มีความเห็นต่างกัน ให้มีความเข้าใจร่วมกันระดับหนึ่งโดยเริ่มจากการแลกเปลี่ยนลักษณะสังคมไทย เพื่อเข้าใจโครงสร้างทางการเมืองเศรษฐกิจของสังคมไทย ตามความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีต่อไป ต่อจากนั้นก็ได้มีการสำรวจวิจารณ์และวิจารณ์ตนเองตั้งแต่เลขาธิการ กรรมการการเมือง และกรรมการบริหารกลางทำให้แต่ละคนมองเห็นจุดอ่อนข้อบกพร่องของตนมากขึ้นโดยเฉพาะมองเห็นความบกพร่องของการนำที่ผ่านมาในด้านต่างๆรอบด้านยิ่งขึ้นและแนวทางการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

จากการสำรวจวิจารณ์และวิจารณ์ตนเองสหายธง แจ่มศรี ได้ยอมรับว่าข้อบกพร่องในด้านการนำของพรรคที่ผ่านมาตนในฐานะเลขาธิการต้องรับผิดชอบ จึงได้ขอลาออกจากเลขาธิการพรรคต่อที่ประชุมแต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารกลางต่อไป ที่ประชุมเห็นว่าสิ่งที่สหายธง แจ่มศรีพิจารณาตนเองนั้นมีเหตุผล ประกอบกับเห็นว่าท่านก็อายุสูงวัยมากแล้วจึงเห็นชอบตามที่ท่านเสนอขอลาออกจากเลขาธิการพรรค

หลังจากนั้นคณะกรรมการการเมืองก็ได้ลาออกทั้งคณะ และได้เลือกสหายวิชัย ชูธรรมเป็นเลขาธิการคนใหม่ และเลือกตั้งคณะกรรมการการเมืองชุดใหม่ขึ้นแทน

สหายที่รักทั้งหลาย 1 ปีที่ผ่านไปอาจกล่าวได้ว่าพรรคเราได้เผชิญวิกฤติอันหนักหน่วงที่หมิ่นเหม่จะแตกสลายไปซึ่งไม่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของพรรค บัดนี้ แม้เราจะได้ก้าวพ้นวิกฤตินี้มาระดับหนึ่งแต่ก็เป็นเพียงก้าวเริ่มต้นเล็กๆที่เปราะบางเบื้องหน้าเรายังมีอุปสรรคขวากหนามนานัปการสหายทั้งหลายต้องสามัคคีกันก้าวไปข้างหน้าด้วยท่าทีที่สุขุม รอบคอบกล้าเผชิญและแก้ปัญหา โดยเริ่มต้นจากความเป็นจริงนอกจากต้องเข้าใจปัญหาที่ดำรงอยู่ภายในพรรคยังต้องเข้าใจสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่นับวันทวีความซับซ้อนต้องสันทัดในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งสถานการณ์และปัญหาต่างๆที่ล้อมรอบตัวเราเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางและจังหวะก้าวในการก้าวไปข้างหน้าของเราอย่างถูกต้องและมั่นคง
********

คณะกรรมการบริหารกลาง ยังได้ออกแถลงการณ์เรื่อง"สถานการณ์ และภาระหน้าที่"ดังรายละเอียดต่อไปนี้

สถานการณ์ทางสากล

นับตั้งแต่ปี2551 ทางสากลได้เกิดการปั่นป่วนทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้วได้เกิดวิกฤติทางการเงินที่เรียกว่า“ซับพราม” คือหนี้หรือเงินกู้ที่ด้อยค่า เพราะนายทุนการเงินใหญ่ของสหรัฐนำเอาเงินทุนมหาศาลไปเก็งกำไรในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อการผลิตที่แท้จริงด้วยการปั่นราคาที่ดิน ก่อสร้างบ้านเรือนทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงเกินความเป็นจริง เมื่อประชาชนไม่มีกำลังซื้อ หนี้สินจากอสังหาริมทรัพย์ก็กลายเป็นหนี้เสียธนาคารและสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ก็ล้มละลาย การค้าซบเซา โรงงานปิดกิจการคนงานว่างงาน กำลังซื้อตกต่ำกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจของทุนนิยมหรือวิกฤติเชิงโครงสร้างของทุนนิยมครั้งใหม่ที่ร้ายแรงซึ่งลุกลามไปทุกภูมิภาคทั่วโลกประเทศทุนนิยมตะวันตกที่พัฒนาแล้วรวมทั้งญี่ปุ่นด้วย ได้รับผลกระทบอย่างหนักประเทศที่กำลังพัฒนาในเอเชียและอัฟริกา เช่นประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากนอกจากจีนและอินเดีย ซึ่งแม้จะได้รับผลกระเทือนก็ไม่มากนัก

วิกฤติเศรษฐกิจของโลกครั้งนี้ทำให้มองเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของโลกในปัจจุบันชัดเจนยิ่งขึ้นคือฐานะและดุลอำนาจของสหรัฐอเมริกาและจีนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด สหรัฐได้ตกต่ำทางเศรษฐกิจจากวิกฤติครั้งนี้ไปมากประกอบกับได้มีการใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลในสงครามการรุกราน เช่นที่อิรัคและอาฟกานีสถาน เป็นต้น การฟื้นตัวก็เป็นไปค่อนข้างช้า เพราะข้อจำกัดของตัวระบบเศรษฐกิจของทุนนิยมเองในขณะที่จีนแม้จะได้รับการกระทบบ้างก็ยังคงสามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงคือสูงกว่า 8% ต่อปี จึงเห็นได้ว่าฝ่ายหนึ่งหดตัวฝ่ายหนึ่งเติบโต ศูนย์กลางอำนาจทางเศรษฐกิจการเงินของโลกก็ได้เริ่มย้ายจากตะวันตกมายังทางตะวันออกซึ่งมีจีนและอินเดียเป็นแกนกลาง

ในทางการเมืองสหรัฐไม่อยู่ในฐานะที่เป็นจ้าวผู้ครองโลกที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอีกต่อไป ประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา มีความตื่นตัวในความเสมอภาคและประชาธิปไตยระหว่างประเทศ ได้มีการปรับเปลี่ยนท่าทีทางการทูต และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเน้นความร่วมมือการปรึกษาหารือและกระชับการรวมกลุ่มในประเทศภูมิภาคเดียวกันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน เช่นกลุ่มอียู กลุ่มอาเซียน เป็นต้น โลกได้เปลี่ยนจากการมีขั้วอำนาจแบบขั้วเดียวมาเป็นหลายขั้วที่มีทั้งการแข่งขัน ร่วมมือ และถ่วงดุลกัน

อย่างไรก็ตามไม่อาจปฏิเสธว่าสหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศที่มีกำลังทางทหารและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เหนือกว่าประเทศอื่นในยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเคลื่อนไหวทุกด้านกลุ่มทุนผูกขาดใหญ่ในสหรัฐที่เคยใช้อำนาจทางการเงินและกำลังทหารที่เหนือกว่าของตนรุกรานครอบครองโลกมาก่อนก็คงไม่ละทิ้งความเป็นไปได้ที่จะใช้สิ่งที่ตนยังมีเหนือกว่ามารักษาฐานะของตนเองและช่วงชิงสิ่งที่ตนต้องการอีกให้มากขึ้น

ข้อสำคัญอย่างหนึ่ง คือจากวิกฤติครั้งนี้ทำให้มองเห็นจุด่อนของระบอบทุนนิยมที่ไม่อาจสร้างสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความเสมอภาคมีเสถียรภาพได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าประเทศทุนนิยมเหล่านั้นจะพัฒนาเจริญก้าวหน้าสักเพียงใดระบอบทุนนิยมจึงไม่ใช่ทางออกของประเทศกำลังพัฒนา และอีกด้านหนึ่งก็มองเห็นประเทศจีนซึ่งยืนหยัดเดินบนหนทางสังคมนิยมที่เป็นลักษณะพิเศษของจีนยืนหยัดหลักการพึ่งตนเอง และเป็นตัวของตัวเองทางเศรษฐกิจ การเมืองทำให้จีนสามารถพัฒนาประเทศไปอย่างรวดเร็ว เพียงระยะ 60 ปีหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ได้เปลี่ยนแปลงจากประเทศที่ยากจน ล้าหลัง มาเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในอันดับที่เกือบจะไล่ทันประเทศสหรัฐอเมริกามหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีนี้ ท่ามกลางมรสุมของวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินอันหนักหน่วงของโลกจีนยังคงรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงได้ นอกจากจีนแล้วยังมีประเทศสังคมนิยมอื่นๆ เช่น คิวบา เวียตนาม ลาวก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ ข้อเท็จจริงเหล่านี้ น่าจะเป็นการยืนยันให้เห็นว่าแนวทางสังคมนิยมที่ประสานกับลักษณะพิเศษของแต่ละประเทศอย่างถูกต้องเป็นหนทางและทางออกของประเทศที่กำลังพัฒนา


สถานการณ์ภายในประเทศ

สถานการณ์ภายในประเทศปัจจุบันกล่าวได้ว่ากำลังถูกรุมเร้าด้วยวิกฤติรอบด้าน ที่สำคัญคือด้านเศรษฐกิจ และการเมืองรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่ปกครองประเทศอยู่ในขณะนี้ เป็นรัฐบาลผสมจากพรรคการเมืองหลายพรรคที่เคยร่วมกับรัฐบาลทักษิณมาก่อน ส่วนใหญ่มีประวัติการคอรัปชั่นโกงกินในระดับต่างๆกั นโดยเฉพาะกลุ่มการเมืองในพรรคภูมิใจไทยที่มีนายเนวินเป็นแกนนำเป็นกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดที่เคยใกล้ชิดทักษิณ และปัจจุบันก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับขุนศึกในกองทัพและกับอิทธิพลศักดินา กลุ่มนี้มีอำนาจและอิทธิพลมากในรัฐบาลอภิสิทธิ์ปัจจุบันได้กุมกระทรวงสำคัญๆ และงบประมาณจำนวนมากในหลายกระทรวงส่วนพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆก็เป็นกลุ่มการเมืองแบบเก่าที่เป็นตัวแทนของกลุ่มทุนธุรกิจการเมืองที่ต้องการอาศัยอำนาจรัฐแสวงหาผลประโยชน์และพร้อมที่จะร่วมกับใครก็ได้ที่ขึ้นมาเป็นแกนนำของรัฐบาล

สำหรับพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีประวัติยาวนานก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2489 มีแนวทางอนุรักษ์นิยมชัดเจนเมื่อทุนนิยมพัฒนาในประเทศไทย ชนชั้นศักดินาก็ต้องปรับตัวเข้าสู่ระบอบทุนนิยม บางกลุ่มได้พัฒนาเป็นกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นตัวแทนกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดกลุ่มนี้เชิดชูสถาบันและเอื้อประโยชน์ทุนผูกขาดใหญ่ต่างชาติในปัจจุบันเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าภายในพรรคประชาธิปัตย์ก็มีส่วนประกอบที่หลากหลายมากขึ้น

ในรัฐบาลผสมชุดปัจจุบันบุคลากรที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีหลายคนและคนอื่นๆที่ล้อมรอบช่วยงานรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นหนุ่มที่มีการศึกษาสูงจากประเทศทุนนิยม มีความคิดไปทางแนวเสรีนิยมของทุนนิยมเสรีจึงเป็นที่น่าจับตาว่าพรรคประชาธิปัตย์ในยุคนี้จะแหวกกรอบอนุรักษ์นิยมได้บ้างหรือไม่ จะมือสะอาดและเข้าถึงประชาชนพื้นฐานได้จริงตามที่พูดหรือไม่

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากภาพรวมของรัฐบาลผสมปัจจุบันทั้งรัฐบาลแล้วเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นรัฐบาลที่เป็นตัวแทนนายทุนใหญ่ผูกขาดกลุ่มต่างๆไม่อาจเป็นผู้นำการแก้โครงสร้างอันเน่าเฟะของสังคมและแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนอย่างถึงที่สุดได้

รัฐบาลอภิสิทธิ์ตั้งแต่เริ่มต้นก็ต้องเผชิญวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเมืองอันหนักหน่วง กล่าวคือในทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ และอยู่ในกลุ่มสกุลดอลล่าร์ด้วยจึงได้รับผลกระเทือนอย่างมากจากวิกฤติซับพรามของสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ทำให้การผลิตและการค้า หดตัว ซบเซา การส่งออกลดลงการเติบโตทางเศรษฐกิจถดถอยจนติดลบ คาดกันว่าอาจจะมีคนว่างงานถึงล้านกว่าคน 1 ปีที่ผ่านมา

รัฐบาลอภิสิทธิ์กู้เงินหลายแสนล้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะหน้าและลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็งในระยะกลางและระยะยาว จนถึงสิ้นปีได้มีการวิเคราะห์จากสถาบันหลายแห่งของฝ่ายรัฐบาลและเอกชนว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว การส่งออกกระเตื้องขึ้น คนว่างงานลดลงเหลือ 400,000 กว่าคน การเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มเป็นบวกประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆของรัฐบาลในระดับที่ต่างๆกัน ซึ่งในด้านนี้ประชาชนยังต้องช่วงชิงและผลักดันให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้นแต่ทว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่อีกมาก ที่สำคัญคือการคอรัปชั่นโกงกิน และความขัดแย้งทางการเมือง

สถานการณ์ทางการเมือง ยังคงมีความสลับซับซ้อนอันเป็นการต่อเนื่องของความขัดแย้งตั้งแต่ก่อนและหลังรัฐประหาร19 กันยายน 2549 รัฐบาลของกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดทักษิณซึ่งได้ปกครองประเทศในช่วงปี2544 – 2549 เป็นเวลานานถึง 6 ปี ได้เผยโฉมหน้าของการเป็นเผด็จการทางการเมืองภายใต้เสื้อคลุมของประชาธิปไตยมากขึ้นๆด้วยวิธีการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง ซื้อนักการเมืองและพรรคการเมืองทำให้สามารถกุมเสียงข้างมากแบบเบ็ดเสร็จในสภาได้และยังใช้อำนาจรัฐและอำนาจเงินแทรกแซงองค์กรอิสระต่างๆ ทำให้อำนาจการถ่วงดุลการปกครองกลายเป็นอัมพาตพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของอำนาจทางการเมืองรัฐบาลทักษิณก็ได้ทำการโกงบ้านกินเมืองมากขึ้นทุกวันโดยใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่ในมือทำการปล้นสมบัติของชาติด้วยวิธีการคอรัปชั่นเชิงนโยบายผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนและพวกพ้อง เพียงเวลา 6 ปี ทักษิณก็ได้สะสมเงินทุนจาก 2 หมื่นกว่าล้านบาทที่เขามีอยู่ในขณะก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีมาเป็นหลายแสนล้านบาทเมื่อเขาพ้นจากอำนาจซึ่งข้อมูลข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้เผยออกมาเรื่อยๆ จากแหล่งข่าวภายนอกและภายในประเทศ

เมื่อความไม่ชอบมาพากลของอำนาจรัฐทักษิณถูกเปิดโปงมากขึ้นการเคลื่อนไหวคัดค้านต่อต้านของผู้รักชาติ รักประชาธิปไตยก็ขยายตัวไปอย่างรวดเร็วได้สั่นคลอนอำนาจของรัฐบาลทักษิณเป็นอย่างมาก ในที่สุดกลุ่มขุนศึกที่กุมกำลังทางทหาร ร่วมมือกับนายทุนใหญ่และอิทธิพลศักดินาก็ได้ฉวยโอกาสใช้สถานการณ์ขณะนั้นเป็นข้ออ้าง ทำการรัฐประหารยึดอำนาจากรัฐบาลทักษิณ

แต่คณะรัฐประหารหรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)และรัฐบาลสุรยุทธ์ที่คมช.แต่งตั้งขึ้นก็ไม่สามารถทำลายอำนาจทางการเงินและอิทธิพลทางการเมืองของกลุ่มทักษิณได้ ที่สำคัญไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง และเศรษฐกิจของสังคมที่เอื้อต่อการคอรัปชั่นและไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนจึงเป็นเงื่อนไขให้ทักษิณและพวกซึ่งยังมีเงินทุนหลายแสนล้านบาทที่ได้จากการโกงกินมาใช้เคลื่อนไหวเพื่อกลับสู่อำนาจรัฐการเลือกตั้งในปี 2551พรรคพลังประชาชนที่เป็นตัวแทนของทักษิณได้รับเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลได้2 ครั้งพยายามจะแก้รับธรรมนูญให้ทักษิณพ้นผิดในทุกคดีและกลับมามีอำนาจเหมือนเดิมแต่ก็ได้รับการคัดค้านต่อต้านจากประชาชนอย่างหนักทำให้ไม่สามารถแก้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จส่วนตัวทักษิณเองก็ได้ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษจำคุก2 ปี เพราะการใช้อำนาจโดยมิชอบเอื้อประโยชน์แก่ภรรยาในการซื้อขายที่ดินย่านรีชฎาฯแต่ทักษิณหลบหนีไม่ยอมกลับเข้ามารับโทษและต่อสู้คดีการคอรัปชั่นโกงกินในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรีอีกหลายคดีต่อมาเมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ เพราะความผิดของการซื้อเสียงทักษิณก็ได้ตั้งพรรคเพื่อไทยขึ้นแทน หวังจะจัดตั้งรัฐบาลนอมินีขึ้นอีกแต่ไม่สำเร็จส. ส.กลุ่มเพื่อนเนวินแยกตัวออกไปร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีเสียงเป็นอันดับสองในสภาและร่วมกับพรรคอื่นๆอีกหลายพรรค จัดตั้งเป็นรัฐบาลผสมที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำเมื่อปลายปี 2551

เมื่อพลาดจากการตั้งรัฐบาลนอมินีกลุ่มทักษิณก็หวังจะใช้ม็อบเสื้อแดงจำนวนมากออกมาตามท้องถนนโดยอ้างว่าต่อสู้โค่นล้มอำมาตยาธิปไตยสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง และข้ออ้างอื่นๆซึ่งเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาค่อนข้างสับสน แต่โดยความเป็นจริงก็เพื่อให้ทักษิณพ้นผิด กลับมามีอำนาจดังเดิม

1 ปีของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ผ่านมากลุ่มทักษิณได้ใช้ทุกรูปแบบ ทุกวิถีทาง เพื่อขัดขวางการดำเนินงานของรัฐบาลทั้งในสภา นอกสภา ทั้งทางกฎหมาย นอกกฎหมาย กระทั่งใช้ความรุนแรง เมื่อเดือนเมษายน 2522 ม็อบเสื้อแดงได้บุกไปทำลายการประชุมของผู้นำอาเซียนที่พัทยา สร้างความเสียหายแก่เกียรติภูมิและเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรงและยังได้ก่อความปั่นป่วนอย่างรุนแรงในใจกลางกรุงเทพฯ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศและความสงบสุขของประชาชนแต่กลุ่มทักษิณยังไม่สามารถกลับมามีอำนาจได้ เมื่อปลายปีที่ผ่านมาทักษิณและม็อบเสื้อแดงได้ประกาศว่าเขาได้เตรียมพร้อมแล้วสำหรับการเคลื่อนไหวใหญ่เผด็จศึกรัฐบาลอภิสิทธิ์จะต้องให้ทักษิณกลับมาให้ได้ ปี 2553 จะเป็นปีแห่งชัยชนะของพวกเขาเมื่อเร็วๆนี้ ทักษิณจับมือกับฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาสร้างความตึงเครียดกับไทย การจับมือกันแสดงว่าต่างฝ่ายต่างเอื้อประโยชน์แก่กันอะไรจะเกิดขึ้นก็ได้ประชาชนต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่ายินดีว่าในหลายปีที่ผ่านมาท่ามกลางการต่อสู้อันดุเดือดรุนแรงไม่ว่าจากขั้วการเมืองสองขั้วหรือการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมที่ประชาชนได้รับการกดขี่จากฝ่ายปกครองหรือการต่อสู้เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์อันพึงได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนได้แก่ปัญหาที่ดินทำกิน ราคาพืชผล ค่าแรงขั้นต่ำ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการคอรัปชั่น และความไม่โปร่งใสในการบริหารงานในองค์กรและสถาบันต่างๆ ตลอดจนการตรวจสอบฝ่ายปกครอง หน่วยราชการกระทั่งสถาบันหลักบางสถาบันเช่น สถาบันสภา สถาบันสงฆ์ เป็นต้น มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากและได้ขยายตัวมากขึ้นแสดงว่าประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองและเศรษฐกิจขึ้นเป็นอย่างมาก

แต่อีกด้านหนึ่ง ก็ไม่อาจปฏิเสธว่าความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างชนชั้นปกครองที่เป็นกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดได้ทำให้สังคมไทยแตกแยกเป็นกลุ่มเป็นฝ่ายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาในอดีต ดูผิวเผินคล้ายกับว่ากลุ่มฝ่ายต่างๆเหล่านี้เป็นศัตรูที่จะต้องห้ำหั่นกันไม่อาจประนีประนอมได้ แต่แท้ที่จริงแล้วนอกจากตัวนายทุนใหญ่ผูกขาดและพวกหัวโจก สมุนที่ชุบเลี้ยงไว้คนส่วนใหญ่ในแต่ละกลุ่มก็เป็นประชาชนธรรมดาซึ่งไม่มีความขัดแย้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพียงแต่มีการมองหรือเข้าใจปัญหาทางการเมืองเฉพาะเรื่องที่แตกต่างกันซึ่งอาจเกิดจากทัศนคติที่ถูปปลูกฝังมา และการรับรู้ข่าวสารข้อมูลหรือโอกาสในการรับรู้ข่าวสารข้อมูลที่แตกต่างกันอันที่จริง

จากสภาพที่สังคมไทยปัจจุบันซึ่งถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนส่วนใหญ่มีชีวิตที่ยากจนลำบาก ถูกเอารัดเอาเปรียบสิทธิประชาธิปไตยของประชาชนถูกลิดรอน และไม่ได้รับความเป็นธรรมประชาชนโดยเฉพาะชนชั้นพื้นฐานในเมืองและชนบทจึงมีผลประโยชน์และชะตากรรมร่วมกันทางออกที่ถูกต้องคือจะต้องสามัคคีร่วมมือกันต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิผลประโยชน์และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

รับบาลผสมปัจจุบันโดยธาตุแท้เป็นตัวแทนของกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดหลายกลุ่มกลุ่มทักษิณก็เป็นกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดอีกกลุ่มหนึ่งกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดไม่ว่ากลุ่มไหนล้วนกดขี่ขูดรีดประชาชนขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติทั้งสิ้นการต่อสู้คัดค้านกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดกลุ่มไหน ก็ล้วนเป็นผลดีต่อประชาชนเพียงแต่ในระหว่างความขัดแย้งของกลุ่มทุนใหญ่ผูกขาดสองกลุ่มประชาชนเราน่าจะวางจุดหนักไว้ที่กลุ่มที่ก่อผลเสีย และเป็นอันตรายต่อประเทศชาติและประชาชนมากที่สุด


ท่าทีและภาระหน้าที่ของเรา

1. สามัคคีกับมวลชนอันไพศาลต่อสู้ เพื่อสิทธิประโยชน์ของประชาชน และรักษาผลประโยชน์ของชาติ

ในสถานการณ์การเมืองที่ซับซ้อนปัจจุบัน ก่อนอื่นสหายเราต้องสนับสนุน และเข้าร่วมการเคลื่อนไหวต่อสู้ที่เรียกร้องสิทธิผลประโยชน์ของประชาชนและความเป็นธรรมทางสังคมของกลุ่มต่างๆไม่ว่ากลุ่มเหล่านั้นจะมีทรรศนะทางการเมืองอย่างใดมาก่อน และที่สำคัญคือต้องให้ประชาชนตระหนักว่าสิทธิผลประโยชน์ของประชาชนที่แท้จริงจะได้มาก็ด้วยกำลังของประชาชนเองเท่านั้นจะหวังหรือรอคอยนายทุนใหญ่ผูกขาดคนใดหรือกลุ่มการเมืองกลุ่มใดมาทำแทน หรือประสิทธิ์ประสาทให้ไม่ได้ดังนั้นประชาชนเราจึงต้องสามัคคีร่วมมือกันต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยกำลังของตนเอง

พร้อมกับการต่อสู้เพื่อสิทธิผลประโยชน์เฉพาะหน้าของประชาช นสหายเรายังต้องสามัคคีกับประชาชนทุกวงการต่อสู้เพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติในปัจจุบัน ก็ควรนำเรื่องการคัดค้านการโกงกินผลประโยชน์ของชาติและประชาชนการปล้นชิงทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวม และปกป้องดินแดนและเกียรติภูมิของประเทศชาติขึ้นมาเป็นเป้าหมายที่สำคัญด้วย

2. สร้างความสามัคคีในหมู่สหาย

ที่ผ่านมาแม้ว่าสหายเราบางส่วนจะมีทัศนะในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองบางอย่างแตกต่างกัน ยังผลให้เกิดความขัดแย้งในหมู่สหาย แต่เมื่อพิจารณาว่าสหายที่มีความเห็นแตกต่างกันยังคงมีจุดยืนพื้นฐานที่ร่วมกัน คือต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนและมีเป้าหมายเดียวกัน คือคัดค้านผู้ที่ทำลายผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน จึงไม่มีเหตุผลที่เราจะไม่สามัคคีกันความแตกต่างที่มีอยู่ในขณะนี้สามารถแก้ไขได้เพราะว่าเป็นความขัดแย้งภายในของประชาชนขอแต่ให้เราหันหน้าเข้าหากันด้วยความจริงใจ เริ่มต้นจากความเป็นจริง ไม่อคติไม่ทิฐิ เปิดใจกว้าง รับฟังและแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกันสำรวจค้นคว้าสภาพความเป็นจริงด้วยท่าทีที่เป็นวิทยาศาสตร์และทรรศนะวิภาษวิธีเช่นนี้แล้ว เชื่อว่าความเป็นจริงและกาลเวลาจะทำให้เราเข้าใจกันและร่วมต่อสู้เพื่อภารกิจที่ประวัติศาสตร์มอบให้เราได้ในที่สุด


3. เสริมการศึกษายกระดับทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์อย่างเอาการเอางาน

สถานการณ์ที่ซับซ้อนและภาระหน้าที่อันหนักหน่วงเรียกร้องให้สหายเราต้องเร่งการศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะการศึกษาหลักการทฤษฎีที่เป็นวิทยาศาสตร์ของลัทธิมารกซ์นำมาประสานกับตนเอง ประสานกับการงาน และสภาพความเป็นจริงของประเทศเราเพื่อยกระดับความคิดการเมืองและจิตใจที่เสียสละเพื่อส่วนร่วมให้สูงขึ้นและความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนในสังคมไทยปัจจุบันให้ถูกต้องยิ่งขึ้นเราจึงจะก้าวไปทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และภายในประเทศยืนหยัดร่วมและนำประชาชนต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างได้ผลและถึงที่สุดสร้างสังคมที่ประชาชนมีชีวิตที่อยู่ดีกินดี มีประชาธิปไตย และความเป็นธรรมอย่างแท้จริงปรากฏขึ้นในประเทศไทย


คณะกรรมการบริหารกลาง

1 มกราคม 2553