WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 29, 2010

รอยเตอร์: กองทัพไทยกำลังแตกใช่ไหม?

ที่มา Thai E-News



บุกถ้ำเสือ-เสื้อแดงจัดชุมนุมหน้ากองทัพบก ถนนราชดำเนิน 12.00-17.00น.วันนี้ ขอเชิญเข้าร่วมชุมนุม และติดตามรับชมการถ่ายทอดสดคลิ้กที่นี่ /รับฟังการถ่ายทอดสดผ่านวิทยุอินเตอร์อินเตอร์เน็ต คลิ้กที่นี่

โดย มาร์ติน เบตตี้ สำนักข่าวรอยเตอร์
แปล เวบลิเบอรัลไทย

กรุงเทพฯ – การยิงลูกระเบิดใส่ที่ทำงานของผู้บัญชาการกองทัพบกของประเทศไทยในเดือนนี้ เป็นการโหมกระพือความกลัวเพิ่มให้กับวิกฤติทางการเมืองที่กำลังรุนแรงถึงขีดสุด – เป็นไปได้ที่ว่า มีการแตกแถวในหมู่กองทัพซึ่งทำให้ประเทศเกิดการแบ่งแยก

นักวิเคราะห์ นักการทูต และแหล่งข่าวจากกองทัพกล่าวว่า เป็นเรื่องเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการแตกแยกของกองทัพที่มีอำนาจ และเกี่ยวข้องกับการเมืองของประเทศไทย ความแตกต่างในอุดมการณ์ซึ่งกำลังเสื่อมถอยและขยายตัวอย่างหนักนี้ เป็นหนึ่งในข้อโจมตีอย่างร้ายแรงที่สุดในรอบหลายๆทศวรรษ

การแบ่งแยกในสถาบันอันเป็นศูนย์รวมอำนาจในโครงสร้างของประเทศไทย ย่อมส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนอย่างหนักหน่วงสำหรับภาพในอนาคตของเศรษฐกิจไทย ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องขี้นอยู่กับการส่งออกมูลค่า ๙,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และเพิ่มทัศนคติให้กับบริษัทต่างชาติว่าประเทศนี้ขาดเสถียรภาพ จากครั้งหนึ่งซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นประตูสู่ภูมิภาคนี้

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ทหารยศต่ำจำนวนมาก และเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสบางคนกำลังมีความเห็นใจกับการเคลื่อนไหวประท้วงของเสื้อแดงชาวชนบท รากหญ้าที่ประท้วงรัฐบาล

ในทางกลับกัน ทหารระดับสูงในกองทัพหลายคนกำลังอยู่กับการเมืองอีกขั้ว โดยร่วมกับฝ่ายคลั่งเจ้า นักธุรกิจศักดินา และชนชั้นกลางในเมืองหลวง ซึ่งใส่เสื้อเหลืองในการประท้วง และส่วนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลชุดนี้

การแบ่งแยกระหว่างแดง-เหลืองนั้น ยิ่งรุนแรงมากขึ้น ยากที่จะปรองดองกันได้

ตลาดหุ้นไทยยังตกอยู่ในสภาพอ่อนไหวเพื่อการปรับตัว หลังจากที่ได้รับผลของการเคลื่อนไหวของคลื่นเงินจากต่างชาติ ที่เข้ามาในตลาดหุ้นเอเชียที่กำลังรุ่งและฟื้นตัวเป็นภูมิภาคแรกจากวิกฤติเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นยังตกอยู่ในเดือนมกราคม แต่ดีดตัวขึ้นมาประมาณร้อยละ ๖๕ จากที่เลยต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑

นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงประจำกรุงเทพฯ ซึ่งขอสงวนนามเนื่องจากการถกเถียงเกี่ยวกับกองทัพเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กล่าวว่า “เมื่อเกิดความวุ่นวาย และประเทศชาติเกิดความแตกแยก ประชาชนมองไปที่กองทัพในการควบคุมสถานการณ์”

“แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกในยุคนี้ที่เราเห็นกองทัพกำลังแตกแยกกันได้ขนาดนี้ แน่นอนว่าเป็นการแตกแยกทางอุดมการณ์ แม้จะยังไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆก็ตามที แต่ขี้นอยู่กับว่าวิกฤติเช่นนี้จะดำเนินไปทางใด”

การโจมตีที่ทำงานของอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคมนี้ – แต่เวลานั้นอนุพงษ์ไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ – และเห็นได้ชัดว่าพยายามที่จะปกปิดในเรื่องนี้ ผลจากการสำรวจพบว่า สร้างความไม่มั่นใจต่อกองทัพให้กับสาธารณะชน แม้ว่าจะไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่การโจมตีอย่างซึ่งๆหน้าแบบนี้ถูกมองว่า เป็นการหยามอำนาจของอนุพงษ์

นายทหารกร้าว

การลังเลของเจ้าหน้าที่ที่จะจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยคนสำคัญ ซึ่งเป็นทหารยศพลตรีที่กระด้างกระเดื่องและเปิดเผยตัวว่า เป็นมิตรกับฝ่ายเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เกิดมีคำถามขึ้นมาว่า กองทัพมองว่าเขามีอิทธิพลต่อฝ่ายทหารประจำการขนาดไหน

พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผลผู้มีชื่อเสียง – นายทหารมาเวอริค ผู้เรียกตัวเองว่านักรบ เป็นที่รู้จักกันดีในนาม “เสธ.แดง” – ถูกนักวิเคราะห์ตัดออกไปว่าเป็นแค่เพียงพวกปากเสียที่เรียกร้องความสนใจเท่านั้น แต่เสธ.แดงปลาบปลื้มกับบรรดานายทหารบางคนที่ติดตามเขาอย่างคลั่งไคล้ และเขาได้ขู่อนุพงศ์ต่อหน้าสาธารณะอย่างไม่เกรงกลัว โดยเตือนอนุพงษ์ถึงเรื่อง “การจ้องจองกฐิน”

ขัตติยะมีความสัมพันธ์กับมหาเศรษฐีที่ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงสองครั้ง อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรซึ่งถูกปล้นอำนาจจากการทำรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ และกำลังอยู่ระหว่างการลี้ภัย เสมือนผู้นำของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นฝ่ายค้าน และเสมือนผู้นำการเคลื่อนไหวของ “เสื้อแดง” – ซึ่งทั้งสองฝ่ายนี้หาทางที่จะล้มรัฐบาลซึ่งมีทหารหนุนหลังของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงเสริมต่อว่า “รัฐบาลนี้อยู่รอดมาได้เพราะกองทัพ” “ขาดกองทัพแล้ว รัฐบาลล่มแน่”

กองทัพแสดงบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางจัดตั้งรัฐบาลผสมเพื่อกำจัดทักษิณให้พ้นทาง แต่พรรคผสมถึงหกพรรคซึ่งดูเปราะบาง กำลังเผชิญกับการแตกแยกภายใน และขาดเสียงสนับสนุนจากประชาชนที่จะได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง

เกิดคำถามขึ้นมาว่า กองทัพ และผู้หนุนหลังทั้งหลายจะทำอย่างไร ถ้ารัฐบาลนี้ล้ม และถ้าพรรคพวกของทักษิณ ซึ่งกำลังต่อสู้ข้างเวทีอย่างหนัก ยึดอำนาจกลับคืนมาด้วยชัยชนะจากการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยของทักษิณ

ทักษิณ ผู้ถูกตัดสินว่าฉ้อราษฎร์และกำลังอยู่ในระหว่างการลี้ภัย ออกมาโลดเล่นบนเวที กระชับความร่วมมือกับนายกรัฐมนตรีฮุน เซน แห่งประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา และระดมกำลังสนับสนุนจากเพียงแค่ชายแดน

ฝ่ายตรงข้ามทักษิณกล่าวว่า ทักษิณขาดความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดชพระชนมายุ ๘๒ พรรษอันเป็นที่เคารพสูงสุด ทักษิณกล่าวว่า การตัดสินคดีของเขานั้นมีสาเหตุจากการเมือง และยืนยันว่าเขาสนับสนุนราชวงศ์

คำถามที่เหมือนเติมเชื้อไฟลงไปในการเมืองที่ร้อนระอุ คือเรื่องเกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์ต่อจากกษัตริย์ผู้ซึ่งกำลังประทับในโรงพยาบาลนับตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน และแม้ท้ายสุดแล้วการเปลี่ยนแปลงผู้ครองบัลลังก์จะนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายความสมดุลของอำนาจในกองทัพ ซึ่งมีธรรมเนียมปฏิบัติเอียงใกล้ชิดกับพระราชวังจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม

โรเบอร์โต้ เฮอเรร่า-ลิม นักวิเคราะห์ด้านความเสี่ยงจากกลุ่มยูเรเชียกล่าวว่า “ความไม่แน่นอนประการแรกเกี่ยวกับความขัดแย้งภายในกองทัพ” “โดยเฉพาะในเรื่องความสามัคคี ทหารมองการเมืองไทยในทุกวันนี้ว่าเป็นอย่างไร และทหารซึ่งเชื่อว่าบทบาทของกองทัพซึ่งเป็นทั้งสถาบัน และในสถานการณ์ปัจจุบันนี้คืออะไร

“รัฐประหารหรือ รัฐประหารอะไรกัน”

หลังจาก ๗๗ ปีที่เกิดการทำรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จ และที่พยายามจะทำถึง ๑๘ ครั้ง กองทัพดูเหมือนไม่มีความสามารถที่จะเลิกแส่กับการเมืองไทย และการทำรัฐประหารอีกครั้งจึงไม่ใช่เรื่องเกินวิสัย ถ้าบุคคลในชุดเขียวต้องเสี่ยงกับการสูญเสียอิทธิพลหลังฉากในทางการเมือง

รัฐบาลทหารแทบจะไม่ใช่เรื่องดีในการกำหนดนโยบายใดๆ เห็นได้จากหลายเดือนต่อมาจากการทำรัฐประหารของไทยในปี ๒๕๔๙ เมื่อนักลงทุนพบว่า รัฐบาลซึ่งแต่งตั้งมาจากกองทัพนั้นมือไม่ถึงเพียงใด

ในขณะที่ยังไม่เห็นตลาดหุ้นดิ่งหนักในทันทีหลังจากการทำรัฐประหาร ๙๐ วันต่อมาธนาคารชาติตัดสินใจนำมาตรการการควบคุมเงินทุนมาใช้ สร้างความแตกตื่นให้กับนักลงทุน และนำไปสู่การดิ่งตัวของตลาดหุ้นเกือบร้อยละ ๑๕

บางทีเรื่องที่น่าวิตกยิ่งกว่านั้นคือ โอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับจากประชาชนแต่ละคน ซึ่งมีความตื่นตัวทางการเมืองนับตั้งแต่การทำรัฐประหารครั้งล่าสุด การทำรัฐประหารอีกครั้งอาจเป็นการจุดชนวนให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงมากกว่าเมื่อสี่ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกมองว่าเป็นการเหยียบย่ำประชาธิปไตยที่เป็นที่นิยมอีกครั้ง

ลางร้ายดูจะเพิ่มขึ้น จากการปรากฏตัวของทหารที่ขับเคลื่อนรถถัง ๒๒ คัน เมื่อวันจันทร์โหมข่าวลือว่า จะเกิดการทำรัฐประหารอีกครั้ง แท้จริงแล้วรถถังเหล่านี้มุ่งหน้ามาเพื่อทำการซ่อมบำรุง และกองทัพได้ออกมาขอโทษเมื่อวันอังคารที่เป็นผู้สร้างความตื่นตระหนก

หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งเมื่อวันพุธว่า “รัฐประหารหรือ รัฐประหารอะไรกัน”

ทักษิณรู้ซึ้งเป็นอย่างดีต่อการทำรัฐประหารซึ่งโค่นรัฐบาลของเขา และตั้งแต่นั้นมาทักษิณได้รวบรวมกำลังกองทัพของเขาเองจากฝ่ายสัมพันธมิตรภายในกองทัพ รวมถึงอดีตเพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหารซึ่งเต็มไปด้วยความเคียดแค้น เนื่องจากนายทหารหลายนายถูกโยกย้ายตำแหน่งหลังจากทักษิณถูกปล้นอำนาจ

เมื่อเดือนตุลาคม ทักษิณเชิญชวนอดีตผบ.ทบ. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ยักษ์ใหญ่ทางการเมือง และผู้ทรงอิทธิพลให้มาดำรงตำแหน่งสำคัญของพรรคเพื่อไทย จากนั้นชวลิตชักชวนบรรดานายทหารที่เกษียณอายุให้เข้าร่วมพรรค ซึ่งกำลังถูกมองว่า เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความแตกแยกให้กับสถาบันซึ่งเคยมั่นคงราวภูผา

ผู้วิจารณ์ทักษิณกล่าวว่า ทักษิณมีความหวังว่าการประท้วงของ “เสื้อแดง” ในเดือนหน้าจะนำไปสู่ความรุนแรง และจุดชนวนไปสู่การปฏิบัติการของกองทัพ เพื่อช่วยให้ทรัพย์สินของเขาจำนวน ๗๖,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะถูกศาลสูงมีคำสั่งให้ยึดในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ได้กลับคืนมา ทักษิณปฏิเสธในเรื่องนี้

ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับโอกาสรอดของรัฐบาล กับความพอใจในตัวอภิสิทธิ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีของทหารระดับสูงของกองทัพว่าเป็นอย่างไร สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือการหมดความอดทนกับหนทางตันที่เนิ่นนาน และเข้าไปจัดการด้วยวิธีของตัวเอง

โรเบอร์โต้ เฮอเรร่า-ลิม จากยูเรเซียกล่าวต่อว่า “ภายในกองทัพยังคงมีความรู้สึกถึงอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ” “ซึ่งอาจจะตัดสินด้วยตัวเองที่จะเข้ายึดประเทศ หากการเมือง (ยังคง) เป็นอัมพาต”

(รายงานเพิ่มเติมโดย อัมบิกา อะฮูฮา แก้ไขโดย เจสัน เซฟ)