WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 26, 2010

เฒ่าหัวหงอก ในฐานะประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ ให้คำปรึกษาอะไรโดย..อาคม ซิดนี่ย์

ที่มา thaifreenews

โดย Porsche

by akausa


ขออนุญาติคุณอาคมเอามาเผยแพร่ต่อสำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านแล้วอยากอ่าน

บทความนี้คุณอาคมเขียนไว้ตั้งแต่ เดือน ก.พ. 2007 ก็จะสามปีมานี่แล้ว

มันเข้ากับเหตุการณ์เขาสอยดาวพอดี ก็เลยเอามาให้อ่านกันอีกครั้ง

เชิญอ่านครับ :

พอเอกเปรม ในฐานะประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ ให้คำปรึกษาอะไร ?

Arkom Sydney Friday, 09 February 2007 04:48

ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในเวลานี้ ผมมีความเชื่ออยู่ลึกๆว่ามันเกิดขึ้นจากสาเหตุเพียงสองประการ คือ ช่วงชิงทวงคืนอำนาจและรักษาผลประโยชน์ จากบทความที่ผมได้นำเสนอไปแล้วทั้ง ๖ ตอน ท่านผู้อ่านคงจะได้เห็นภาพแห่งการช่วงชิงทวงคืนอำนาจของบุรุษที่มีนามว่า เปรมชัดเจนพอสมควร แต่ถ้าพูดถึงผลประโยชน์ ท่านผู้อ่านอาจมีคำถามทันทีว่า เปรมมีผลประโยชน์อะไรในเมื่อไม่ได้เป็นพ่อค้าหรือนักธุรกิจก็คงต้องบอกว่า ดังที่ผมได้เคยเขียนอธิบายไว้แล้วในบทความเรื่อง “พระมหาอุปราชเปรม”ว่า เพราะความที่เป็นคนมากด้วยบารมีจึงทำให้สามารถชี้เป็นชี้ตายใด้ในเกือบทุก เรื่อง ด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้มีผู้คนเข้าหาเพื่ออาศัยบารมีเกือบจะทุกวงการ เปรมก็เลย เป็นขวัญใจของคนเกือบทุกสาขาอาชีพ แล้วกลายมาเป็นศูนย์กลางหรือตัวแทนของกลุ่มทุนเก่าที่ผูกขาด ความมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลมาโดยตลอดทุกยุคสมัย
สายสัมพันธ์ของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์กับตระกูลโสภณพนิชมีจุดเริ่มต้นจากความใจถึงของนายชาตรี โสภณพนิช ที่กล้าดันนายห้างชินพ่อบังเกิดเกล้า ของตัวเองให้หลุดพ้นวงจรทุกตำแหน่งในธนาคารกรุงเทพ พร้อมกับปลด
นายบุญชู โรจนเสถียร กรรมการผู้จัดการใหญ่ แล้วดันนายอำนวย วีรวรรณขึ้นนั่งเก้าอี้เบอร์หนึ่งแทนนายบุญชู ปฎิบัติการของนายชาตรีครั้งนี้ ถูกเรียกขานว่าเป็นการปฎิวัติภายใน ที่รู้จักกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า “รีเอ็นจิ้น” ทั้งนี้เพื่อเป็นการเคลียร์ปัญหากินใจกับเปรม

ภายหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ การเมืองไทยก็ไม่มีความเป็นเอกภาพเพราะขาดผู้นำ มีการช่วงชิงอำนาจในหมู่นักการเมือง รัฐบาลทุกรัฐบาลมีอายุสั้นอันมีสาเหตุมาจากการแก่งแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล นักธุรกิจและนายธนาคารไม่สามารถกำหนดทิศทางเศรษฐกิจได้ จึงเป็นธรรมดาที่นักธุรกิจใหญ่และนายธนาคารต้องออกโรงเข้าไปมีส่วนร่วมทาง การเมือง และกลุ่มที่โดดเด่นที่สุดในเวลานั้นคงไม่มีใครเกินธนาคารกรุงเทพ ที่ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกรุงเทพเข้าไปมีบทบาทในวงการเมืองชนิด ขลุกวงในไม่ว่าจะเป็นนายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ หรือนายบุญชู โรจน เสถียร และนายอำนวย วีรวรรณและพรรคที่ได้รับอานิสงส์จากนายธนาคารที่คิดเล่นการเมืองก็คือ “กิจสังคม” ที่มีม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค

พรรคกิจสังคมดูเด่นเป็นสง่าโตแบบก้าวกระโดดด้วยเงินอัดฉีด จากกลุ่มนายธนาคารกรุงเทพจึงทำให้พรรคคู่แข่งหมดราคา แม้พรรคเก่าแก่อย่างประชาธิปัตย์ก็ดูด้อยไปทันตา เปรมเข้ามาสู่วงการเมืองก็ช่วงนี้แหละ และอยู่ในความอุปการะของพรรคกิจสังคมโดยมี หม่อม คึกฤทธิ์ฉายาเฒ่า สารพัดพิษเป็นผู้ดูแลอุ้มชู และเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๒๓ มี ประกาศ...ราชโองการแต่งตั้งพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี จึงมีกลุ่มนายธนาคารที่มีชื่อนายบุญชู โรจนเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรีกำกับ ดูแลงาน ด้านเศรษฐกิจ นายอำนวย วีรวรรณเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง นาย ตามใจ ขำภโต (กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย เข้ามาด้วยแรงผลักดันของนายยุญชู) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพานิชย์

คณะรัฐมนตรีชุด ที่ ๔๓ ชุดนี้ที่มีเปรมเป็นนายกรัฐมนตรีและกลุ่มนายธนาคารดูแลงานด้านเศรษฐกิจ มีผลงานประทับใจที่ทำให้ประชาชนคนไทยต้องจดจำไปจนตาย เนื่องเพราะต้องเข้าแถวรอคิว ซื้อข้าวสารและน้ำตาลตามที่รัฐกำหนดให้ซื้อ ดังนั้นการ ปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒มกราคม ๒๕๒๔ ชื่อนายตามใจจึงหลุดหาย ไปและการปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีอีกระลอก เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ชื่อนายบุญชูจึงหลุดพ้นไปพร้อมกับนายอำนวย ที่เป็นเช่นนี้ก็สืบเนื่องจาก นายบุญชู โรจนเสถียรกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ ได้ร่วมมือกับนายตามใจ ขำภ โต กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทยระดมเงินกักตุน สินค้าทั้งสองไว้เก็งกำไร นั่นเองและด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่นายชาตรีต้องตัดสินใจปฎิวัติภายในเพื่อ เคลียร์ปัญหากับเปรมดังได้กล่าวไว้ข้างต้น

เมื่อปัญหากินใจได้รับการแก้ไข ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเปรมก็ยังได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพอย่าง มั่นคง จะเห็นได้ว่าภายหลังการประกาศลดค่าเงินบาท นายห้างชินก็ยังได้มาออกรายการทีวีรับประกันความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจอัน เป็นการค้ำยันเสถียรภาพรัฐบาลเปรมให้หลุดพ้นการโจมตีจากพล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก นับแต่นั้นเป็นต้นมาเปรมก็แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลโสภณพนิช เข้าออกธนาคารกรุงเทพเสมือนกับเป็นบ้านที่สอง กิจกรรมสำคัญๆหรือ นิทรรศการของธนาคารกรุงเทพ เปรมเข้าร่วมอย่างสม่ำเสมอไม่เคยขาด แม้กระทั่งมูลนิธิรัฐบุรุษของเปรม ก็พลอยเป็น ธุระของธนาคารกรุงเทพไปด้วย จนแทบจะเรียกได้ว่าสายสัมพันธ์ ของตระกูลโสภณพนิชกับติณสูลานนท์ ได้หล่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงอย่าได้สงสัยว่า กลุ่มลูกค้าวีไอพีธนาคารกรุงเทพระดับเกรดเอที่ถือครองธุรกิจขนาดใหญ่ของ
เมืองไทย จึงพลอยผูกติดชิดใกล้เปรมผู้มากบารมีไปด้วย

เมื่อผู้มากด้วยบารมีมีสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับกลุ่มผู้ มั่งมีด้วยวิธีการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันนี้นานเข้าก็เลยกลายเป็นอิทธิพลที่ สามารถกำหนดทิศทางเศรษฐกิจและกำกับรัฐบาลได้ในทุกยุคทุกสมัยอย่างที่เห็น ผมเขียนมาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านบางคนอาจมีคำถามว่ากลุ่มนักธุรกิจที่เป็นถึง ลูกค้าระดับวีไอพีซึ่งไม่ได้ ทำธุรกิจผิดกฎหมาย(แต่ส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงภาษี) เหตุใดจึงต้องพึ่งพา อิทธิพลผู้มากบารมีตรงนี้แหละที่ผมคิดว่าพ.ต.ท.ทักษิณเองก็คงคิดไม่ถึงเช่น กัน
จึงได้ชะล่าใจจนถูกล้มอย่างไม่เป็นท่า

พรรคประชาธิปัตย์ผมเคยพูดถึงและชี้ให้ท่านผู้อ่านได้เห็น แล้วว่า มีพฤติกรรมรับใช้ เปรมในหลายๆ เรื่องไม่ว่าจะแอบให้ความร่วมมือในการสนับสนุนให้เกิดปัญหารุนแรงในสาม จังหวัดภาคใต้ หรือในการแต่งตั้งพล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ที่หลุดพ้นวงจรห้าเสือทหารบกไปอยู่ในตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิให้กลับมาผงาดเป็นผู้บัญชาการทหารบก หรือ แม้แต่การร่วมมือโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ โดยนายอภิสิทธิ์มุ่งหน้าไปให้การสนับสนุนนายสนธิเป็นคนแรก ตลอดจนกลุ่มก้วนที่ให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้ท่านผู้อ่านมองเข้าไปในพรรคนี้ก็จะเห็นว่า ใครเป็นใคร วันนี้จึงสมควรแก่เวลาที่ผมจะได้นำ มาเฉลยเพื่อให้ได้เห็นกันชัดๆสักสองสามตระกูลตามแต่เนื้อที่จะอำนวย

เมื่อครั้งที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลออกมาเปิดศึกกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรใหม่ๆนั้น ท่านผู้ อ่านคงได้สังเกตุเห็นแล้วว่า นอกจากนายอภิสิทธิ์จะแสดงตัวอย่างเปิดเผยด้วยการมุ่งหน้าไปให้กำลังใจนาย สนธิที่สำนักพิมพ์ผู้จัดการที่ถนนพระอาทิตย์แล้ว ยังมีอีกคนที่ ติดตามไปเชียร์อย่างออกนอกหน้าในทุกนัดของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรที่ สวนลุม จนกระทั่งมีการเดินขบวนจากสวนลุมไปลาน...รูปทรงม้าจนเกิดเหตุบุกทำเนียบ รัฐบาล ซึ่งบุคคลผู้นี้นอกจากจะเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคประชาธิ ปัตย์แล้ว ยังดำรงตำแหน่งเป็นถึงรองหัวหน้าพรรคอีกด้วย ซึ่งผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุก ท่านต้องรู้จัก เป็นอย่างดีบุคคลผู้นี้คือดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช น้องสาวต่างมารดา คุณชาตรีนาย ใหญ่แห่งธนาคารกรุงเทพผู้ใกล้ชิดเปรม ซึ่งผมคงไม่ต้องกล่าวถึงแล้วเพราะมีความชัดเจนที่จะชี้ให้ได้เห็นว่าเป็น หนึ่งในข้อต่อ

ส่วนอีกหนึ่งข้อต่อที่อยากกล่าวถึงคือนายกรณ์ จาติกวนิช ที่ครอบครัวล่ำซำออกมาปฎิเสธที่จะนับญาติด้วย แต่ผมเชื่อว่าเป็น การปฎิเสธด้วยเหตุผลทางธุรกิจ นายกรณ์เป็นสมาชิก คนสำคัญอีกคนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่เพียงแต่ดำรงตำแหน่งเป็นรองโฆษกพรรคฯเท่านั้น หากแต่เป็นมันสมองที่ร่วมทีมงานด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลของพรรคประชาธิปัตย์ที่ต่อกรกับพรรคไทยรักไทยในเรื่องของเศรษฐกิจก็มา จากคนๆนี้ แต่นายกรณ์คนนี้สำหรับผมถือว่าเป็นแค่ตัวแทนของตระกูลจาติกวนิชเท่านั้นเอง ผู้ที่มีบทบาทตัวจริงต้องมองเข้าไปในบริษัทล๊อกซ เลย์ที่มีคุณหญิงชัชนี จาติกวนิช ผู้ที่นั่งอยู่บนตำแหน่งประธานบริษัท

คุณหญิงชัชนี จาติกวนิชถ้าผมจำไม่ผิด (น่าที่จะไม่ผิด) เดิมชื่อชัชวาล ล่ำซำ สมัยก่อน การตั้งชื่อไม่ได้มีการแยกว่าชื่อใดควรจะเป็นชื่อของชายหรือหญิง ขอให้มีความหมายเป็นที่ถูกใจเป็นตัวกำหนด จนกระทั่งยุคจอมพลแปลก พิบูลย์สงครามนี่แหละจึงมีการบังคับให้แยกชัดเจนในเรื่องของชื่อระหว่างชาย กับหญิง คุณหญิงชัชนี แต่งงานอยู่กินกับนายเกษม จาติกวนิช ซึ่งมีคุณพ่อเป็นถึงอธิบดีกรมตำรวจ (สมัยที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)และเป็นเพื่อนนักเรียนนอก ของพี่ชายคุณหญิงชัชนี จบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ประวัติการทำงานเติบโตมาจากการไฟฟ้า จนกระทั่งดำรง ตำแหน่งผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

นายเกษมเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านพลังงาน เพราะตลอดชีวิตคลุกคลีอยู่กับการไฟฟ้าที่ ต้องเดินทางหาแหล่งพลังงานทั่วประเทศ ส่วนคุณหญิงชัชนีหลังจากแต่งงานก็แยกตัวออกจากครอบครัวล่ำซำ โดยมีจุดเริ่มต้นชีวิตด้วยการเปิดบริษัทสั่งตระเกียงเจ้าพายุและผูกขาดในการ ขายไส้ตะเกียง แล้วมีการไฟฟ้านี่แหละที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ การค้ามีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตามกาลเวลา ธุรกิจเจริญเติบโตมาควบคู่กับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของนายเกษมผู้เป็น สามี จนกลายมาเป็นบริษัทล๊อกซเล่ย์ที่ผูกขาดขาย เครื่องปั่นไฟ จนกระทั่งสุดท้ายบนตำแหน่งผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตของนายเกษม จาติก วนิช การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจึงได้กลายเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อบริษัทล๊อกซเลย์ ที่รัฐบาลไหน ก็ตามห้ามแตะ และการที่พ.ต.ท.ทักษิณต้องการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จึงไม่ผิดกับ การแหย่รังแตนนั่นเอง (ท่านผู้อ่านต้องการรู้มากกว่านี้คงต้องค้นหากันเอาเอง เพราะผม มีเนื้อที่จำกัดและถ้าหากต้องการรู้สายสัมพันธ์ของตระกูลนี้ก็มีให้ได้เห็น ในงาน วิวาห์ขิม-ฝนในหนังสือพิมพ์แนวหน้าของประสงค์ สุ่นศิริ)

ถ้าหากพูดถึงกลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับเปรมผู้มากด้วย บารมีก็คงต้องไม่ละเลยที่จะต้อง กล่าวถึง
ท่านผู้หญิงชัตถ์ ปิยะอุย ผู้ซึ่งเคยถูกจอมโจรหน้าหยกนามวันชัย แซ่จิว ปล้นเงียบบนตึกโรงแรมดุสิตธานี ก็เป็นอีกตระกูลหนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับเปรม ไม่แพ้ตระกูลใดๆในประเทศไทย และถ้าจะให้ได้ภาพที่ชัดเจนก็คงต้องย้อนอดีตของ โรงแรมดุสิตธานีให้ ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงที่มาที่ไปจนเป็นตำนานโรงแรมการเมืองแห่งนี้ โรงแรมดุสิตธานีก่อตั้งและเปิดบริการเมื่อปี ๒๕๑๓ ได้ชื่อว่าเป็นโรมแรมสุดหรู และ โด่งดังที่สุดแห่งยุคในเวลานั้น จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ อันเป็นช่วงที่ประชาธิปไตยเบ่งบานสุดขีด ก็ปรากฎมีชื่อนายเทอดภูมิ ใจดี หัวหน้าแผนกทำความสะอาดเครื่องใช้ในการทำอาหารและเครื่องดื่ม (Steward) ซึ่งเป็นหัวหน้าสหภาพแรงงานโรงแรมและเป็นนักเคลื่อนไหวชนิดแส่ไปสิบทิศ ที่ไหนมีการประท้วงคุณแส่คนนี้จะต้องไปร่วมกับเขาทุกงาน

ผมไม่ทราบว่า ด้วยสาเหตุแห่งความวุ่นวายอันเกิดจากพนักงานของโรงแรมที่ชื่อ นายเทอด ใจดีคนนี้หรือเปล่าที่ทำให้นายสมพจน์ ปิยะอุย น้องชายท่านผู้หญิงชนัตน์ต้องตกกระไดพลอยโจนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง และนายสมพจน์ ก็เลือกที่จะเล่นการเมืองด้วยวิธีโตทางลัด โดยเป็นนายทุนสนับสนุนด้านการเงินตลอดจนอาหารเครื่องดื่ม (เรียกว่าเต็มที่เลยทีเดียว)ในการปฎิวัติเมื่อวันที่ ๒๖มีนาคม ๒๕๒๐ แต่ไม่สำเร็จจึงได้ ชื่อว่าเป็นกบฎ นายสมพจน์ก็เลยต้องดำดินหายหน้าหายตาไปจากวงการ

จนกระทั่งวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๔ กลุ่มนายทหาร จปร๗ ที่รู้จักกันในนามยังเติร์กสนับ สนุนพล.อ.สันต์ จิตปฎิมาทำการยึดอำนาจรัฐบาลเปรม (ความจริงรู้กันแต่เปรมไม่ได้รายงานเบื้องบน เรื่องนี้มีหลายคนเข้าใจผิดหากมีโอกาสคงต้องนำเสนอท่านผู้อ่าน) พลันก็มี ชื่อ นายสมพจน์เข้าไปเกี่ยวข้องอีก การครั้งนี้ล้มเหลวเช่นเคย นายสมพจน์ ก็เลยต้องดำดินต่อ (นายสมพจน์เป็นกบฎที่ไม่เคยถูกดำเนินคดี ในขณะที่พล.อฉลาดถูกประหารชีวิต และเสธ.หนั่นต้องติดคุกบารมีเปรมหรือไม่คงต้องคิดกันเอาเอง)

การที่นายสมพจน์สนิทชิดเชื้อกับกลุ่มยังเติร์กและให้การ สนับสนุนด้วยการเป็นนายทุนก่อการรัฐประหารหลายครั้งหลายหน ก็มีทั้งผลดีและร้ายในเวลาเดียวกัน ผลดีนั้นก็คือเมื่อเกิดมีโครงการรถไฟลอยฟ้าในยุคสมัยของพล.ต.จำลอง ศรีเมืองก็มีการดูแลกันเป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้เสียทรรศนียภาพของโรงแรมดุสิต ธานี โดยมีการกำหนดให้จุดที่เป็นสถานีพักรถอยู่ด้านทางฝั่งสวนลุมตรงข้ามกับ โรงแรมดุสิตฯถึงกับมีโครงการจะย้ายพระรูปร.๖ เลยทีเดียว
แต่ครั้นเวลาผ่านไป ถึงคราวที่พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี๒๕๔๐
ท่านผู้หญิงชนัถต์ ก็ต้องออกมาหลั่งน้ำตาอยู่หน้าจอ ทีวีให้เป็นที่สมเพช อันมีเหตุมาจาก มีการเปลี่ยนแปลงให้สถานีพักรถไฟลอยฟ้าย้ายไป อยู่หน้าโรงแรมดุสิตธานี เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้าง ขวางจน ในที่สุดก็หนีไม่พ้น คนมากด้วยบารมีอย่างเปรมที่ต้องเข้ามาซับน้ำตาให้ท่านผู้ หญิง ด้วยการนำเรื่องขึ้นเพ็ดทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัญหาใหญ่ในครั้งนั้นของท่านผู้หญิงชนัตถ์ไม่เพียงได้รับการแก้ไขเท่านั้น กลุ่มนักธุรกิจที่ใกล้ชิดผูกติดเปรมกลุ่มดังกล่าวข้างต้นยังได้พร้อมใจกัน ออกมาเคลื่อนไหวขับไล่
พล.อ.เชาวลิต หรือที่รู้จักกันในนาม“ม๊อบสีลม” สุดท้าย พล.อ.เชาวลิตก็ไม่อาจที่จะทนอยู่ได้ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นกับตระกูลปิยะอุยกลายมาเป็นโอกาสอย่างชนิดไม่คาดฝัน เมื่อมีบุคคลชั้นสูงเข้ามาร่วมถือหุ้นกิจการในเครือโรงแรมดุสิตธานี ก็เลยทำให้มีกลุ่มไฮโซและนักธุรกิจชื่อดังเฮโลเข้าร่วมทุนซื้อหุ้นกันอย่าง อุ่นหนาฝาคั่ง จึงอย่าได้แปลกใจว่าทำไมทุกกิจการในเครือของดุสิตธานีจึงมี คำพ่วงท้ายว่า “รอยัลปรื้นเซส” จึงอย่าได้สงสัยว่าทำไมประธานบริษัทจึงมีชื่อว่า นายชาตรี โสภณพนิช

ความสัมพันธ์ระหว่างเปรมและธนาคารกรุงเทพในลักษณะของการ ถ้อยทีถ้อยอาศัย ที่มีมาอย่างยาวนาน แม้ปัจจุบันสำหรับคนรุ่นใหม่ก็ยังสามารถมองเห็นได้ในความเป็นเปรมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านคงต้องจำได้เมื่อครั้งที่
นายสนธิ ลิ้มทองกุล เดินขบวนไปบ้านสี่เสาเพื่อ ยื่นถวายฎีกาขอนายกฯพระราชทานให้เปรมนั้น
เปรมได้ให้พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีปออกมารับแทน โดยที่ตัวเองหลบไปจิบน้ำชาอยู่บนตึกธนาคารกรุงเทพ และพอโค่นล้มรัฐบาลทักษิณได้สำเร็จ ก็ไม่ลืมใช้บริการของธนาคารกรุงเทพอย่างคงเส้นคงวาด้วย
การให้นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกรุงเทพมาดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ นอกจากนี้ยังมีการโอนหนี้สิน ที่ผูกพันอัน เกิดจากนโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้วไปอยู่ในความดูแลของธนาคารกรุง เทพ และเชื่อว่ายังจะต้องมีการถ่ายโอนในอีกหลายๆเรื่องที่เป็นประโยชน์ โดยเปลี่ยนมือไปอยู่ในกลุ่มนักธุรกิจที่มีเปรมเป็นตัวแทนที่เต็มเปี่ยมไป ด้วยคุณธรรมและ จริยธรรม
“เปรมข้อต่อธุรกิจ-การเมือง-เบื้องสูง” จึงมีที่มาด้วยประการฉะนี้

เรื่องราวของเปรมคงมีให้ผมเขียนได้อีกมากมาย แต่เหตุการณ์ปัจจุบันมีหลายเรื่องที่ต้องติดตามชนิดห้ามกระพริบตา และผมเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดถึงเวลาสุกงอมแล้วการนองเลือดคงไม่อาจ หลีกเลี่ยงได้ การโฆษณาชวนเชื่อด้วยการใส่ร้ายป้ายสี การตอกย้ำซ้ำซากด้วยการยัดเยียดในข้อหาหมิ่น...ฯให้ทักษิณ การกล่าวหาว่าแต่งตั้งสังฆราชสองพระองค์และในอีกหลายๆเรื่องตลอดจนขบวนการ เสื้อเหลือง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแผนปลุกระดมในเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ที่ตอกย้ำความสำคัญของวัดกับวัง (หาอ่านได้ในบทความเรื่องยุทธการเราพร้อมแล้ว) ก็มีการชูประเด็นหมิ่นและใส่ร้ายป้ายสีตลอดจนปลุกขวัญที่ว่า“ฆ่าคอมมิวนิ สไม่บาป” โดยมีขบวนการผ้าพันคอสี แดง หรือที่รู้จักกันในนามว่า ลูกเสือชาวบ้าน ร่วมกับกลุ่มกระทิงแดงและนวพล เข่นฆ่าผู้บริสุทธฺ์ล้มตาย อย่างโหดร้ายและทารุณ ผมจึงขอบอกพี่-น้องคนไทยทุกคนด้วยความปรารถนาดี ณ ที่นี้ว่า มันเป็นแผนที่ถูกกำหนดขึ้นจากตำราเล่มเดียวกัน

เตือนกันล่วงหน้าบอกกันชัดเจนอย่างนี้แล้วหากยังมีคนถูกหลอกใช้ให้ไปตายอีกก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร ถือเป็นเวรกรรมก็แล้วกัน

เฒ่าหัวหงอก ในฐานะประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ ให้คำปรึกษาอะไร…โดย..อาคม ซิดนี่ย์

ขออนุญาติคุณอาคมเอามาเผยแพร่ต่อสำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านแล้วอยากอ่าน

บทความนี้คุณอาคมเขียนไว้ตั้งแต่ เดือน ก.พ. 2007 ก็จะสามปีมานี่แล้ว

มันเข้ากับเหตุการณ์เขาสอยดาวพอดี ก็เลยเอามาให้อ่านกันอีกครั้ง

เชิญอ่านครับ :

พอเอกเปรม ในฐานะประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ ให้คำปรึกษาอะไร ?

Arkom Sydney Friday, 09 February 2007 04:48


by อำนวยฯ55

ขอแก้ความเข้าใจผิดของคุณอาคมเล็กน้อย

คุณหญิงกัลยาเป็น "สะใภ้" ของตระกูลโสภณพนิชครับ มิใช่ญาติโดยตรง มีศักดิ์เป็นน้องสะใภ้ มิใช่น้องต่างมารดา

จากย่อหน้านี้

"เมื่อครั้งที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลออกมาเปิดศึกกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรใหม่ๆนั้น ท่านผู้ อ่านคงได้สังเกตุเห็นแล้วว่า นอกจากนายอภิสิทธิ์จะแสดงตัวอย่างเปิดเผยด้วยการมุ่งหน้าไปให้กำลังใจนาย สนธิ
ที่สำนักพิมพ์ผู้จัดการที่ถนนพระอาทิตย์แล้ว ยังมีอีกคนที่ ติดตามไปเชียร์อย่างออกนอกหน้าในทุกนัดของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรที่ สวนลุม จนกระทั่งมีการเดินขบวนจากสวนลุมไปลาน...รูปทรงม้าจนเกิดเหตุบุกทำเนียบ รัฐบาล ซึ่งบุคคลผู้นี้นอกจากจะเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคประชาธิ ปัตย์แล้ว ยังดำรงตำแหน่งเป็นถึงรองหัวหน้าพรรคอีกด้วย ซึ่งผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุก ท่านต้องรู้จัก เป็นอย่างดีบุคคลผู้นี้คือดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช น้องสาวต่างมารดา คุณชาตรี
นาย ใหญ่แห่งธนาคารกรุงเทพผู้ใกล้ชิดเปรม ซึ่งผมคงไม่ต้องกล่าวถึงแล้ว
เพราะมีความชัดเจนที่จะชี้ให้ได้เห็นว่าเป็น หนึ่งในข้อต่อ"

ขออภัย ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.drkalaya.com/history.php


http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/17089