WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 25, 2010

ธีระ สุธีวรางกูร: สองมาตรฐานจะมีอยู่ต่อไป หากคู่ต่อสู้ทางการเมืองยังไม่ถูกทำลายราบคาบ

ที่มา ประชาไท

นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นในการเสวนาเรื่อง สองมาตรฐาน แนวโน้มความรุนแรงในสังคมไทย กรณีศึกษาเขายายเที่ยง เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2553 ที่ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มธ. โดยระบุว่ากรณีเขายายเที่ยงเป็นตัวสะท้อนระบบสองมาตรฐานซึ่งใช้เป็นเครื่องมือทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองให้ราบคาบ เชื่อความรุนแรงครั้งประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นเหมือนสึนามิที่ไม่สามารถจะหยุดได้ และจะเป็นความรุนแรงที่ส่งผลต่อโครงสร้างการปกครองของสังคมไทย

000
“นอกจากเรื่องเขายายเที่ยงแล้ว สองมาตรฐานยังสะท้อนอยู่ในตัวบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กระบวนการบังคับใช้กฎหมายและสะท้อนอยู่ในกระบวนการของศาล”

เรื่องสองมาตรฐานแนวโน้มความรุนแรงในสังคมไทย เรื่องเขายายเที่ยงก็เป็นตัวสะท้อนสองมาตรฐานอย่างหนึ่ง ปัญหาเรื่องเขายายเที่ยงเป็นสิ่งที่สะท้อนสิ่งที่แสดงให้เห็นสาเหตุใหญ่ที่อยู่ในสังคมไทย เรื่องเขายายเที่ยงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผิดไปจากความคาดหมายเลย ซึ่งการทำผิดกฎหมายของคนใหญ่คนโตกับคนทั่วไปได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน คนใหญ่คนโตจะได้รับการลงโทษต้องใช้เวลานานกว่า

แต่เรื่องที่ผมอยากจะพูดคือปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบสองมาตรฐานในประเทศไทย ถ้าพูดอย่างภาษาชาวบ้านๆ หรือคนธรรมดาสามัญ สองมาตรฐานก็คือระบบที่จัดการกับปัญหาข้อเท็จจริงที่เหมือนกันนั้นแตกต่างกันไป แต่ตามหลักคือข้อเท็จจริงเหมือนกันต้องปฏิบัติอย่างเดียวกัน แต่หลักสองมาตรฐานเอาเรื่องอย่างเดียวกันมาปฏิบัติให้แตกต่างกันไป ลักษณะที่คนใหญ่คนโตทำไม่ผิด คนเล็กผิด ลักษณะนี้เป็นปัญหาในเรื่องทีเกี่ยวกับโครงสร้างของกฎหมาย

ระบบสองมาตรฐานที่ปรากฏอยู่ในโครงสร้างกฎหมายสังคมไทย ถ้าท่านลืม ก็คือเรื่องโครงสร้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 คือการรับรองความชอบของการปฏิบัติของ คมช. หรือ คปค. [1] กฎหมายประเภทหนึ่งที่เราเรียกว่าพระราชบัญญัติไม่ว่าจะออกมา 20-30 ปีที่แล้วก็ตาม กฎหมายประเภทนี้จะถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายได้ตลอด แต่มีกฎหมายประเภทหนึ่งคือประกาศ คปค. ไม่สามารถตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

อาจมีคนแย้งว่าตรวจสอบไม่ได้ได้อย่างไร เพราะมีการยื่นเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการแต่งตั้ง คตส. ชอบหรือไม่ แล้วศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ผมยืนยันว่าผมพูดไม่ผิด เมื่อมีการยืนยันว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญแต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถจะชี้ได้ว่าไม่ชอบ ก็เพราะมาตรรา 309 เขียนแล้วว่ามันชอบ ถ้าบอกว่าไม่ชอบศาลก็ปฏิบัติหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ ก็ต้องถูกถอดถอน ตรงนี้นี่เองที่เป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าอย่างน้อยในปัญหาโครงสร้างของบทบัญญัติกฎหมายซึ่งสะท้อนหลักความไม่เสมอภาคของสิ่งทีจะต้องถูกตรวจสอบ

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เรื่องการตรวจเงินแผ่นดิน ที่มีปัญหาที่วุฒิสภาลงมติว่าให้ผ่าน 70 ไม่ให้ผ่าน 53 แต่มีการกำหนดว่า พ.ร.บ. ต้องได้เสียไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมันเลยมีปัญหาว่ากฎหมายฉบับนี้ถูกคว่ำหรือยัง โดยที่คะแนนเสียงพื้นฐานไม่ถึง 75 ก็มีการพูดกันว่าวุฒิสภาคว่ำกฎหมาย อีกหนึ่งวันคุณหญิงจารุวรรณทำหนังสือด่วนว่าผ่านความเห็นชอบไปแล้ว เนื่องจากว่า ถ้าเป็นกรณีการตรวจเงินแผ่นดินนั้น รัฐธรรมนูญมาตรา 302 วรรค 5 บัญญัติเป็นข้อยกเว้น [2] คือการนับคะแนนเสียงเรื่องการตรวจเงินแผ่นดิน แทนที่จะให้นับคะแนนเสียงให้ผ่าน ก็ไปนับคะแนนเสียงไม่ให้ผ่าน แต่นี่คือให้เสียงไม่ผ่านไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
ให้ดูรัฐธรรมนูญมาตรา 302 บัญญัติเฉพาะเรื่อง ป.ป.ช. ตรวจเงินแผ่นดิน การดำเนินอาญาในศาลฎีกา ถ้าท่านมองไปให้ลึกทีละชั้น นี่เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจให้ดาบกับองค์กรบางองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในช่วงของการรัฐประหาร

หลักความไม่เสมอภาคมันปรากฏในตัวของรัฐธรรมนูญเอง สรุปคือระบบสองมาตรฐานมันปรากฏตั้งแต่ชั้นของรัฐธรรมนูญ และต้องสังเกตต่อไปว่าใครเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ และยังปรากฏอยู่ในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ และการบังคับใช้กฎหมาย

กองทัพ- มีคนสองกลุ่มใหญ่ๆ ต่างใช้เสรีภาพในการชุมนุมในลักษณะพอๆ กันแต่ท่านเห็นบทบาทของกองทัพหรือยัง ว่าทำไมการชุมนุมของคนกลุ่มหนึ่งกองทัพจึงกระวีกระวาด แต่การชุมนุมของคนอีกกลุ่มหนึ่งก็ไม่ทำอะไร หรือถ้าทำแล้วโดยผู้มีอำนาจกองทัพก็ออกมาพูดให้ลาออก กองทัพเองถ้าเปรียบเสมือนว่าเป็นกลไกตัวหนึ่งของรัฐ ถ้ากองทัพเป็นเบรก ไม่ว่าคนที่มาแตะเบรกจะเป็นใครใส่เสื้อสีอะไร รถต้องหยุด แต่การดำเนินการของกองทัพเสมือนว่าไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเบรกหรือเป็นคันเร่ง คนหนึ่งมาเหยียบเป็นเบรก อีกคนมาเหยียบเป็นคันเร่ง ขึ้นกับว่าคนที่มาเป็นคนสีอะไร

ปปช.- ผมสงสัยว่าบางเรื่องหยิบมาพิจารณาเร็วมาก แล้วก็ตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยเรียบร้อย แต่เรื่องบางเรื่องมันช้าเสียจนแทบจะไม่เป็นข่าว

กกต.- ผมกำลังรอดูว่า คดีเรื่องเงินบริจาคพรรคการเมือง 258 ล้านของพรรคประชาธิปัตย์สุดท้ายจะออกมาอย่างไร ผมจะไม่พูดเรื่องปัญหาทางเทคนิคเรื่องการตั้งคณะอนุกรรมการ แต่ผมอยากจะดูว่าตัวเนื้อหาของคดีจะเอาไปเปรียบเทียบกับเรื่องอื่นๆ อย่างไร

อัยการ- เรื่องการทำหน้าที่ของอัยการ สิ่งที่ทุกท่านจะต้องไม่ลืมว่าวันนี้ข้อหาเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นข้อหาที่ถูกพูดมากทั้งโดยวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับตัวกฎหมายจริงๆ หรือเพื่อการทำลายล้างทางการเมือง คนกลุ่มหนึ่งถูกเร่งดำเนินคดี มีการฟ้อง แต่กับอีกกลุ่มหนึ่งอัยการสั่งไม่ฟ้องเพราะว่ามันไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ คำถามคือ เอาเกณฑ์ไหนมาวินิจฉัยว่าอะไรเป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์

ศาลรัฐธรรมนูญ- ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ ที่บอกว่าคำประกาศของ คปค. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นคำวินิจฉัยซึ่งมีเหตุผลรองรับน้อยมาก ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ที่เราพยายามพูดกันมาตั้งแต่ต้น ว่ามันกระทบต่อเสรีภาพ เนื่องจากมันกำหนดป้องกันสิทธิเสรีภาพสำหรับคณะรัฐมนตรีช่วงหนึ่งเท่านั้น การเขียนกฎหมายมันระบุตัวคนไม่ได้ แต่ ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 มันระบุตัวคนได้ มันไม่มีลักษณะทั่วไป ซึ่งทำไม่ได้ แต่ศาล รธน. บอกว่าไม่ขัด โดยมาตรา 309 มันไม่เสมอภาค แล้วยังเป็นความไม่เสมอภาคทีได้รับการรับรองโดยศาลแล้วด้วย

นอกจากเรื่องเขายายเที่ยงแล้ว สองมาตรฐานยังสะท้อนอยู่ในตัวบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กระบวนการบังคับใช้กฎหมายและสะท้อนอยู่ในกระบวนการของศาล คำถามคือปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ศาลเองแทนที่จะเยียวยาความไม่เสมอภาคกลับรับรองอีก เหตุเกิดจากอะไร ผมมีบทสรุปง่ายๆ เลยในชั้นนี้ว่า เพราะวันนี้เราอยู่ในช่วงการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างคนสองกลุ่ม คนกลุ่มหนึ่งอยู่ในสถานะที่ต้องการทำลายล้างทางการเมืองคนอีกกลุ่มหนึ่ง การทำลายล้างนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าทุกอย่างดำเนินการไปบทพื้นฐานของความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ เมื่อเป็นอย่างนี้เป้าหมายสำคัญกว่าวิธีการ เมื่อเป้าหมายอยู่ที่การทำลายล้างทางการเมืองและดำเนินการแบบนี้มาก่อนรัฐประหาร และหลังรัฐประหร ถึงวันนี้จะเหนียมไปทำไม ก็คนร่างรัฐธรรมนูญยังอุตส่าห์ร่างกำหนดเอาไว้ แล้วคนที่ใช้กฎหมายจะเหนียมไปทำไม

“ระบบสองมาตรฐานมันจะยังดำเนินต่อไปนับจากนี้และจะเข้มข้นไปเรื่อยๆ ตราบใดที่คู่ต่อสู้ทางการเมืองกลุ่มหนึ่งจะยังไม่ถูกทำลายล้างจนราบคาบ”

ความไม่เสมอภาคในประเทศในวันนี้เพราะต้องการใช้เป็นเครื่องมือการทำลายล้างทางการเมือง การเลือกตั้งทั่วไปอาจจะมีการยุบพรรคอีก คำถามคือเมื่อหลักความไม่เสมอภาคมันปรากฏอยู่ ผลจากนี้จะเป็นอย่างไร ความรุนแรงจะเกิดขึ้นไหม

ระบบสองมาตรฐานมีอยู่จริง และมันไม่ใช่เป็นระบบที่เกิดมาจากความไม่ตั้งใจ มันเกิดมาจากความตั้งใจ และเป็นความตั้งใจที่ทำให้ระบบนี้เกิดขึ้นมาได้ ถ้าดูภาพรวมก็คือเพื่อทำลายล้างทางการเมือง และเมื่อระบบสองมาตรฐานมันเกิดมาจากความตั้งใจเพื่อทำลายล้างทางการเมือง บางทีเราจะหวังให้เรากลับมาสู่มาตรฐานเดียวอย่างที่คุณจาตุรนต์คาดหวัง แต่ผมไม่คิดอย่างนั้น ผมคิดว่าระบบสองมาตรฐานมันจะยังดำเนินต่อไปนับจากนี้และจะเข้มข้นไปเรื่อยๆ ตราบใดที่คู่ต่อสู้ทางการเมืองกลุ่มหนึ่งจะยังไม่ถูกทำลายล้างจนราบคาบ ท่านก็จะโดนไล่ วันนี้ผมไม่คาดหวังเลยว่าทุกอย่างมันจะกลับมาสู่มาตรฐานเดียวกัน แต่ทุกอย่างจะดำเนินต่อไปบนพื้นฐานของสองมาตรฐาน

แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ถ้ามองทุกอย่างตามเหตุปัจจัย ผมมีความเห็นว่าเรื่องมันจะดำเนินต่อไปในลักษณะที่จะมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดความรุนแรง อย่างแรกเลย คนที่พยายามปฏิบัติในลักษณะสองมาตรฐานเพื่อทำลายล้างทางการเมืองถ้าฝ่ายที่ถูกกระทำยอมรับการกระทำนั้นก็จบ คือยอมรับสองมาตรฐาน ไม่มีการร้องอุทธรณ์ ฝ่ายที่ปฏิบัติในลักษณะสองมาตรฐานก็จะดำเนินการไปจนกว่าเป้าหมายสุดท้ายจะเสร็จสิ้น

แต่เมื่อผู้ถูกกระทำเขาไม่ยอมรับ ซึ่งผมเชื่อว่าเขาจะไม่ยอมรับ มันจะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และหากมันควบคุมได้ มันก็ไปต่อในลักษณะสองมาตรฐานเหมือนเดิม แต่ถ้าควบคุมไม่ได้ ก็จะเกิดการรัฐประหาร ซึ่งจะทำให้ทุกปัญหาถูกตีความเป็นความมั่นคงทั้งหมด และทหารจะทำทุกวิถีทางให้เกิดความมั่นคง แต่ถามว่าจบไหม ผมว่ามันไม่จบ และการต่อสู้ที่เกิดขึ้นจะเป็นการต่อสู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และประเทศจะเกิดอาการอิหลักอิเหลื่อ และวุ่นวายอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน พูดง่ายๆ คือสงครามกลางเมืองมีโอกาสจะเกิดขึ้นสูงในประเทศอย่างเป็นกิจจะลักษณะ

ทำไมเขาถึงยังกล้าทำให้ระบบสองมาตรฐานยังอยู่ ผมเข้าใจว่าวันนี้ระบบการเมืองไทยมาถึงทางสองแพร่งสำคัญ และคุณทักษิณจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ คุณทักษิณเป็นจุดเชื่อมสองแพร่งนี้ว่าจะไปทางไหน ฉะนั้นถ้ากำจัดสะพานเชื่อมไปไม่ได้ ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง และจะไม่ใช่ความรุนแรงชนิดที่ท่านเคยเห็นมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย และไม่ได้มีผลแค่เกิดการระเบิดตึกสักตึกหนึ่ง แต่เป็นความรุนแรงทางกายภาพที่มีผลนำไปสู่การทำลายระบบเชิงโครงสร้าง

ถ้าถามว่าจะป้องกันอย่างไร ผมบอกว่าอย่าไปหาทางป้องกันมันเพราะมีคนอยากให้เกิด ความรุนแรงจะไม่เกิดถ้าคนสองขั้วยินดีจะไม่ให้เกิด แต่มันจะเกิดเมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งจะใช้เงื่อนไขความรุนแรง ผมวางใจแล้วกับเหตุการณ์แล้วกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทย เงื่อนไขนี้เหมือนสึนามิที่กำลังจะมา เราทำได้เพียงอย่างเดียวคือจุดจบจะเป็นอย่างไร แล้วถ้าเรายังมีชีวิตอยู่เราจะสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้นมาอย่างไร ผมเห็นอย่างนี้ ถ้าท่านเห็นว่ายังมีโอกาสแก้ไขปัญหาได้ผมก็ยินดีสนับสนุน พูดโดยสรุปคือระบบสองมาตรฐานที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายล้าง จะทำลายอย่างไร และใครเป็นผู้รอดอยู่ อนาคตเท่านั้นจะเป็นผู้ให้คำตอบ

----
หมายเหตุ

[1] มาตรา ๓๐๙ บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำ
ที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและ
การกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้

[2] มาตรา ๓๐๒ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้มีผลใช้บังคับต่อไปภายใต้
เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรานี้

(๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้
(๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้รักษาการ
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(๓) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้
ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
หน้า ๑๒๓
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐
(๔) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้

ให้ถือว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญโดยพระราชบัญญัติที่ได้
ประกาศใช้บังคับในระหว่างวันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙
มีผลใช้บังคับ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญนี้

ให้ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ดำเนินการปรับปรุง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่
วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งที่เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระยะเวลาหนึ่งปีให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนั้น

ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ให้แล้วเสร็จ
ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว และให้
วุฒิสภาพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
การลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา

ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียง
ประชามติเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ โดยให้นำความในวรรคสาม วรรคสี่
และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม