WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 8, 2010

เจตนารมณ์ "วันสตรีสากล" กับเนื้อหาที่ถูกบิดเบือนซ้ำซ้อน

ที่มา Thai E-News



โดย คุณ รุ่งโรจน์ วรรณศูทร
ที่มา เวบไซต์ arinwan
8 มีนาคม 2553

เป็นเวลา 221 ปีนับจาก ค.ศ.1789 (พ.ศ.2332) ที่ผู้หญิงสามัญชนชาวปารีสก้าวจากทุกซอกหลืบของมหานครใหญ่แห่งทวีปยุโรป ก้าวออกมาอย่างแกล้วกล้าองอาจเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายในฐานันดรที่ 3 คือสามัญชนเช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบกันขึ้นจากชาวไร่ชาวนาที่ยากจนและถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก รวมทั้งพวกชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้า ช่างฝีมือ และปัญญาชน พร้อมใจกันเดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายส์ ระหว่างการอภิวัฒน์ใหญ่ฝรั่งเศส นอกเหนือจากข้อเรียกร้องร่วมกันของทั้ง 2 เพศอันเป็นคำขวัญการลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ นั่นคือ "เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ หรือความตาย" แล้ว ยังผนวกด้วยการเรียกร้องความคุ้มครองแก่สตรีขึ้นเป็นครั้งแรก

และเป้าหมายของการลุกขึ้นของประชามหาชนคนสามัญทั่วท้องถนนในกรุงปารีสนั้นพุ่งตรงไปที่อีก 2 ฐานันดรที่ดำรงสถานะอยู่เหนือขึ้นไป อันได้แก่ ฐานันดรที่ 1 คือ พระและนักบวชในคริสต์ศาสนา และฐานันดรที่ 2 คือ ขุนนางและชนชั้นสูง ทั้งสองฐานันดรเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ มีจำนวนประมาณร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบายและหรูหรา

การเคลื่อนไหวที่มีความหมาย 2 นัยสำหรับสตรีในการอภิวัฒน์ใหญ่ฝรั่งเศสนั้นเอง ที่จุดประกายการลุกขึ้นทวงถามสิทธิในฐานะมนุษย์และสิทธิในฐานเพศที่แบกโลกไว้ครึ่งหนึ่งในเวลาต่อมา

ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ.2400) แรงงานสตรีในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐ ก่อการลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่กลับมีการลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ สุดท้ายกลับมีกรรมกรหญิงถึง 119 คนต้องสังเวยชีวิตจากนโยบายล้อมปราบอันอำมหิตหมายทำลายล้างให้สิ้นซาก

หลังจากนั้นสืบเนื่องเป็นเวลากว่า 30 ปี ที่การเคลื่อนไหวของสตรีมีลักษณะเป็นขบวนการที่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรและมีการนำที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเป็นลำดับ เริ่มจากในปี ค.ศ.1866 (พ.ศ.2409) มีการประชุมสมัชชาของบรรดาสมาคมผู้ใช้แรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 1 ขึ้น และที่ประชุมได้มีมติเกี่ยวกับการทำงานนอกครัวเรือนของสตรี ซึ่งถือเป็นมติที่ท้าทายต่อขนบประเพณีในยุคนั้น ที่กำหนดให้สตรีต้องหมกตัวอยู่จมอยู่กับงานบ้าน ไร้สถานะทางสังคม ไร้สิทธิในทางเศรษฐกิจ และไร้เสียซึ่งสิทธิเสรีภาพในฐานะมนุษย์ที่เป็นปัจเจก


จนมาถึงวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ.1889 (พ.ศ.2432) คลารา เซทคิน ผู้นำแรงงานสตรีชาวเยอรมันซึ่งต่อมาเป็นหนึ่งในแกนนำก่อตั้งกลุ่มสังคมนิยมในเยอรมนี ได้แสดงสุนทรพจน์ในประเด็นปัญหาของสตรีเป็นครั้งแรกต่อที่ประชุมผู้ก่อตั้งสภาคองเกรสสากล ครั้งที่ 2 ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีข้อเรียกร้องสิทธิสตรีในการทำงาน ให้มีการคุ้มครองสตรีและเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรียกร้องให้สตรีมีส่วนร่วมในการประชุมระดับชาติและระดับสากลอีกด้วย อันเป็นการประกาศศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันเป็นครั้งแรก

คำประกาศนั้น เป็นการทวงสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นครั้งแรกของสตรีตลอดประวัติอารยธรรมของมนุษย์ ที่เคยเป็นเพียงช้างเท้าหลัง หรือทาสในเรือนเบี้ยที่จำต้อง "หนวก-ใบ้-บอด" ต่อทุกกิจกรรมนับจากย่อยที่สุดในครัวเรือนไปจนถึงระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม



ถัดมาในปี ค.ศ.1890 (พ.ศ.2433) ได้มีการจัดประชุมกลุ่มสตรีผู้ต่อต้านสงครามขึ้นที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้เป็นจุดเริ่มของการต่อต้านสงคราม ซึ่งได้มีการพัฒนาขบวนการต่อมาในการทำงานอย่างต่อเนื่องในช่วงศตวรรษที่ 20

จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด ไม่มีหลักประกันหรือสวัสดิการใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพื่อแลกกับค่าแรงเพียงน้อยนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากตั้งครรภ์ก็จะถูกไล่ออกจากงานทันที

เป็นเหตุให้ คลารา เซทคิน ซึ่งในเวลานั้นได้พัฒนาตนเองจนเป็นนักเคลื่อนไหวแรงงานและสิทธิสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

ผลการประท้วงของแรงงานสตรีประสบความพ่ายแพ้ มีผู้ถูกจับกุมหลายร้อยคน แต่ชื่อของ คลารา เซทคิน เป็นสัญลักษณ์การลุกขึ้นสู้ในขอบเขตสากลไปแล้ว

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) แรงงานหญิงกว่า 15,000 คนรวมตัวกันเดินขบวนทั่วมหานครนิวยอร์ค เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" หรือการ "กินอิ่ม-นุ่งอุ่น" อันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 (พ.ศ.2453) ความพยายามของผู้ใช้แรงงานสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ทั้งนี้ในที่ประชุมได้ผ่านมติเสนอให้มีการคุ้มครองแรงงานสตรีในระบบสาม-แปด กล่าวคือ 8 ชั่วโมงทำงาน 8 ชั่วโมงเพื่อการพักผ่อน และ 8 ชั่วโมงเพื่อการศึกษา แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ (เนื่องจากคนงานสมัยนั้นต้องทำงานในโรงงานวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีการประกันความปลอดภัยของแรงงานใดๆ และเป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายในเวลาอันสั้น) พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

และได้มีการฉลองวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีประเทศต่างๆจัดงานขึ้นพร้อมกันได้แก่ ออสเตรีย เดนมาร์ค เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ มีประชาชนทั้งชายและหญิงมากกว่าหนึ่งล้านคนร่วมชุมนุม มีการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพิ่มเติมจากการเรียกร้องสิทธิในการทำงาน การเข้ารับการอบรมวิชาชีพ และการให้ยุติการแบ่งแยกเพศสภาพในการทำงาน

จะเห็นได้ว่าประวัติการลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องสิทธิสตรีนั้น เกิดควบคู่และพัฒนาไปพร้อมกับขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยอย่างแยกกันไม่ออก อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิอันชอบธรรมของผู้ใช้แรงงานสตรีที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ต้องต้องการเสรีชน ไม่เลือกเพศและวัย เข้าสู่ขบวนแถวของกองทัพแรงงานอันมหาศาล เพื่อป้อนเข้าสู่การขยายตัวเติบโตของระบบทุนนิยมเสรีนั่นเอง

นั่นหมายความว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการปลดปล่อยสตรีจากความเป็นพลเมืองชั้น 2 ชั้น 3 นั้น หาใช่สิ่งเดียวกันกับความพยายามปกปิดบิดเบือนข้อเท็จจริงและประเด็นในการต่อสู้ ด้วยการจำกัดขอบเขตการเรียกร้องเพียงแค่ผลประโยชน์เฉพาะส่วนของสตรีในกลุ่มอำมาตย์-อภิชน ซึ่งแตะปัญหาเพียงผิวเผินและผูกพันเกี่ยวเนื่องเฉพาะสิทธิในการจัดการทรัพย์สินเอกชน และความเสมอภาคที่แทบจะเป็นเรื่องไกลตัวของผู้ใช้แรงงานสตรีหรือประชาชนรากหญ้าที่เป็นสตรี ยิ่งไปกว่านั้น ยังแทบมีส่วนสนับสนุนโดยทางอ้อม ให้พลเมืองสตรีชั้นล่างมีโอกาสเป็นเพียง "วัตถุในการกดขี่ทางเพศ" ที่เป็นสมบัติส่วนตัวของคนชั้นนำในยุคประวัติศาสตร์ดั้งเดิม มาเป็นสมบัติสาธารณะที่สามารถซื้อหาได้ด้วยเงินตราหรืออามิสใดๆ

ในวาระที่ "วันสตรีสากล" เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่ง ขอเรียกร้องให้สตรีผู้รักประชาธิปไตยและรักความเป็นธรรมทั้งหลาย จงลุกขึ้นสลัดพันธนาการที่จองจำทั้งทางร่างกายและความรู้สึกนึกคิด ก้าวออกมาร่วมขบวนแถวต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ขึ้นในแผ่นดินแม่แห่งสยามประเทศ ให้ได้มาร่วมกันทั้ง 2 เพศหญิงชาย ซึ่ง...

"สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นธรรม."