WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, March 7, 2010

‘จรัล’ ลั่นนปช.สันติวิธีแน่ ตัดพ้อประชาสังคมอคติเสื้อแดง-ยอมรับกม.มั่นคง

ที่มา ประชาไท


7 มี.ค.53 ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเสวนา “ลดอำนาจ กองทัพ ร่วมกันยกเลิกกฎหมายความมั่นคงภายใน พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎอัยการศึก” โดยกลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้า มีผู้อภิปราย ได้แก่ จรัล ดิษฐาอภิชัย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.), ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สมัชชาสังคมก้าวหน้า และอาเต็ฟ โซ๊ะโก อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
จรัล แกนนำน นปช. กล่าวว่า เมื่อวานนี้อาจารย์โคมทม อารียา นักสันติวิธีคนสำคัญได้โทรมาสอบถามด้วยความห่วงใยว่าการชุมนุมจะมีความรุนแรงไหม ซึ่งตนได้บอกกับอาจารย์โคทมไปว่าจะแสดงความวิตกกับเสื้อแดงฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องส่งข้อความนี้ไปยังรัฐบาลด้วย และได้ข่าวจะมีคนกลุ่มหนึ่งออกมารณรงค์ติดสติ๊กเกอร์ “ชุมนุมก็ได้ ถ้าไม่ใช้ความรุนแรง” อย่างนี้เป็นการว่าฝ่ายเดียว ต้องเพิ่มประโยคท้ายด้วยว่า “รัฐอย่าปราบประชาชน”
จรัลกล่าวต่อว่า ตนได้คาดการณ์ให้อาจารย์โคมทมฟังว่ารัฐบาลอาจประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงในสัปดาห์หน้า ปรากฏว่าอาจารย์โคทมเห็นว่ารัฐบาลสามารถประกาศใช้ได้ ตนจึงโต้แย้งไปว่าประกาศใช้ไม่ได้ จนกว่าเกิดเหตุความรุนแรงแล้ว และตนยังคาดต่อไปอีกว่าวันที่ 12 มี.ค.ตอนบ่ายรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งอาจารย์โคทมกล่าวว่าหากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะออกมาคัดค้าน
“จะเห็นว่ากฎหมายความมั่นคงที่เป็นปัญหามาก ไม่ใช่เพราะทหารออกมามาก แต่ปัญหาใหญ่คือ สังคมการเมืองไทยไม่รู้สึกอะไร เห็นด้วย แถมยังด่าพวกเราอีก ประเทศไทยกลับหัวกลับหาง ในประเทศอื่นถ้ารัฐบาลประกาศใช้กฎหมายแบบนี้ สังคมการเมืองจะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่ประเทศไทย สังคมการเมืองกลับถามว่าทำไมต้องจัดชุมนุมด้วย เนื่องจากว่าสังคมการเมืองไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะใน กทม.อยู่ฝ่ายรัฐบาล อังคารหน้า ถ้ารัฐบาลประกาศใช้กฎหายพวกนี้ผมก็อยากรู้ว่า สื่อมวลชน เอ็นจีโอ องค์กรสิทธิต่างๆ จะว่าอย่างไร โดยเฉพาะผู้นำเอ็นจีโอที่ตอนนั้นปีนรั้วรัฐสภาไม่ให้กฎหมายนี้ผ่านวาระสาม พวกเขาจะรู้สึกยังไง” จรัล กล่าว
จรัลยังกล่าวด้วยว่า ในบรรดาแกนนำ นปช.นั้นมีความเป็นเอกภาพในเรื่องหลักสันติวิธี คนเสื้อแดงเป็นขบวนการทางสังคมที่ใหม่และใหญ่มากแบบที่เมืองไทยไม่เคยมีมาก่อน มวลชนมีความคิดอุมดการณ์ที่ก้าวหน้า และแกนนำจำต้องถนอมมวลชนเหมือนแก้วตา ไม่ให้ต้องประสบกับความสูญเสีย พ่ายแพ้ เพราะไม่เช่นนั้นอาจต้องใช้เวลาอีกยาวนานมากกว่าขบวนการประชาชนจะฟื้นตัว
“หนึ่ง ทำไมคราวนี้เราตั้งเป้าล้านหนึ่ง เพราะเราใช้สันติวิธี การต่อสู้ด้วยสันติวิธีมันชี้ขาดที่จำนวนคน ขนาดเดือนเมษาคนสองแสนกว่ายังไม่สำเร็จ ปริมาณคนจะชี้ขาดชัยชนะของการต่อสู้ด้วยสันติวิธี ถ้า นปช.ไม่ใช้สันติวิธี ไม่ต้องใช้คนเยอะขนาดนั้น สองหมื่นคนฝึกดีๆ ก็สู้กันได้แล้ว สอง นปช.ได้แถลงข่าวหลายครั้งหลายหน เมื่อมีข่าวว่า เสธ.แดงจะไปตั้งกองทัพประชาชน เราก็บอกไม่ใช่ นปช. คนละมุมกัน สาม ในช่วงเกือบเดือนที่ผ่านมา เราประชุมกันหลายครั้งมาก เราใช้เวลาถกเถียงกันเรื่องสันติวิธีเยอะ ทุกคนก็บอกต้องสันติวิธี ฉะนั้น ความรุนแรงถ้าจะเกิด ไม่ได้เกิดจาก นปช.แน่นอน” จรัลกล่าวและว่าการเคลื่อนไหวใหญ่ครั้งนี้มีเป้าหมายเล็กนิดเดียว เพียงต้องการให้รัฐบาลยุบสภา และมีการเลือกตั้งใหม่ตามระบอบประชาธิปไตย
จรัลกล่าวด้วยว่า การมีกฎหมายความมั่นคงนั้นเป็นไปเพื่อรองรับองค์กรอย่างกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกองบังคับการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิวต์ และตั้งแต่ปี 2517 ก็ไม่มีกฎหมายรองรับ จากนั้นมีความพยายามจะออกกฎหมายมารองรับหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งสำเร็จในสมัยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
“การเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อให้ยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ ต้องอาศัยหนึ่งหมื่นชื่อ ต้องเสนอเอาเอง และคงใช้เวลานานมาก แต่เราก็ต้องทำ ไม่ใช่เพราะเราจะเคลื่อนไหวสัปดาห์หน้า แต่เป็นหลักการว่าถ้ารัฐบาลประกาศใช้ ต้องต่อต้านคัดค้าน” จรัล กล่าวและว่าหากมีการยุบสภา มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยสิ่งที่รัฐบาลต่อไปควรจะต้องทำคือการปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมกันขนานใหญ่
ไชยวัฒน์ จากสมัชชาสังคมก้าวหน้า กล่าวว่า การใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงทั้ง 3 ฉบับมักอ้างข่าวลือเรื่องความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น และมักประกาศใช้ก่อนการชุมนมุ นอกจากนี้ยังนิยามสถานการณ์ฉุกเฉิน ภัยความมั่นคง ไว้อย่างคลุมเครือเปิดโอกาสให้รัฐสามารถตีความได้ตามใจชอบว่าจะใช้เมื่อไร อย่างไร ส่วนองค์กรที่จะใช้อำนาจ สำหรับกฎอัยการศึกนั้น เพียงผู้บังคับบัญชาการทหารที่คุมกำลังไม่น้อยกว่า 1 พันคน ก็สามารถประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่ได้ ขณะที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้อำนาจนายกฯ โดยความเห็นชอบของ ครม. ซึ่งอาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เคยตั้งข้อสังเกตว่ากฎหมายนี้นี้เกิดในในสมัยจอมพลป. ช่วงที่รัฐบาลไม่สามารถคุมทหารได้ จึงต้องสร้างเครื่องมือที่จะคุมสถานการณ์ได้ ส่วน พ.ร.บ.ความมั่นคง เกิดในสมัย คมช. กฎหมายฉบับนี้เสริมสร้างให้กลไกกองทัพแทรกแซงระบบบริหารราชการแผนดินได้เต็มที่ และทำให้ กอ.รมน มีกฎหมายรอบรับและมีบทบาทขึ้นอย่างมาก
ตัวแทนจากสมัชชาสังคมก้าวหน้า กล่าวต่อว่าไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงทั้ง 3 ฉบับนี้ เนื่องจากในส่วนของ พ.ร.บ.ความมั่นคงนั้น ก่อนหน้านี้ 10 ปีก็ไม่มีกฎหมายทำนองนี้ ประชาชนก็สามารถอยู่ได้ เมื่อมีกฎหมายนี้หลังการรัฐประหารจึงมีความไม่สงบมากขึ้น ส่วน พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นในทางปฏิบัติ พลเรือนก็ไม่มีอำนาจบังคับใช้ สั่งทหารไม่ได้อยู่แล้ว เช่นในช่วงรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือนายสมัคร สุนทรเวช ขณะที่กฎอัยการศึกหากจะประกาศใช้ก็ควรเป็นสถานการณ์สงครามกลางเมือง แต่เราก็พิสูจน์แล้วว่า การใช้ทหารปะทะกับความไม่พอใจของประชาชนตั้งแต่ยุคพรรรคคอมมิวนิสต์จนถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน ไม่สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้ ที่สำคัญ สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้นำฝ่ายค้านก็เคยให้เหตุผลโต้แย้งกฎหมายนี้และต้องการให้ปรับแก้ตามที่หลายฝ่ายแสดงความวิตกกังวล
อาเต็ป โซ๊ะโก อดีตเลขาธิการ สนนท. และแกนนำนักศึกษาที่ลงไปทำงานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เล่าถึงประสบการณ์ชาวบ้านในพื้นที่ว่า แม้จะต้องอยู่กับกฎหมายทั้ง 3 ฉบับมาเป็นเวลากว่า 6 ปีแล้ว แต่คนในพื้นที่ไม่มีความรู้ในรายละเอียดมากนัก บางทีชาวบ้านเชื่อว่ากฎหมายเหล่นี้เอื้อให้จับไปซ้อมทรมานได้ เพราะมีการอ้างกฎหมายเพื่อทำการเหล่านั้นในพื้นที่ หรือย่างที่มีการอ้าง พ.ร.บ.ความมั่นคง เพื่อนำตัวไปล้างสมอง 6 เดือน
“ตั้งแต่ปี 47 มีการปล้นปืน กองทัพคุมไม่ได้ แต่หลังจากใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปี 48 นำสู่ยุทธการพิทักษ์ นำมาพร้อมกับ จีที 200 เราพูดตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่าการใช้เครื่องมืออย่างจีที 200 เป็นการอ้างความชอบธรรมในการล้อมพื้นที่ควบคู่กับการประกาศใช้อัยการศึก จนเป็นข่าวเป็นคราว และถึงขณะนี้ก็ยังใช้กันอยู่”
อาเต็ฟกล่าวว่า พื้นที่มีทหารถึง 7 หมื่นกว่าคน มีกฎหมายรองรับ 3 ฉบับ จะทำอะไรก็ทำได้ นักศึกษาที่ลงไปทำงานในพื้นที่เรื่องสิทธิมนุษยชนก็ถูกจับกุมโดยทหารพราน ใครที่ใส่ชุดทหารพวกเขาต่างก็รู้สึกมีอำนาจ แต่โชคดีที่ตนเป็นคนเดียวที่ไม่ถูกซ้อมทรมานในช่วงที่โดนจับกุมไปขังในค่ายกองพันพัฒนาที่ 4 อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส หลังจากออกมาได้มีการสร้างคาราวานสอนกฎหมายประชาชนในพื้นที่ นำมาสู่การจับนักศึกษาราชภัฏยะลา 7 คน พวกเขาถูกซ้อมทรมานจนบางคนถึงกับเพี้ยนไป นำมาสู่การฟ้องกระทรวงกลาโหมและกองทัพบก เป็นการฟ้องแพ่ง เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ฟ้องอาญา นี่เป็นสิ่งที่เราเจ็บปวดที่สุดที่ไม่สามารถฟ้องอาญากับคนที่ทำผิดได้ ทั้งนี้ เมื่อปี 2550 นักศึกษาเคยรณรงค์รวบรวมรายชื่อ เพื่อยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ แต่ไม่ใช่การยกเลิกกฎหมาย ขณะนั้นรวบรวมรายชื่อได้ 7 พันกว่าคน แต่ทหารใช้อำนาจจากกฎอัยการศึกไปยึดเอกสารนั้นไปแล้วเหตุเกิดที่จังหวัดยะลา