WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, March 11, 2010

ใบตองแห้งออนไลน์:ถอยไม่ได้ทั้งสองฝ่าย…!!!

ที่มา ประชาไท


เสื้อแดงนัดรวมพลครั้งใหญ่ 14 มีนาคม บอกว่าจะเข้ากรุงเทพฯ เป็นแสนๆ ผมเชื่อว่าทำได้ แต่ยังไม่เชื่อว่าจะล้มรัฐบาลได้

แต่ขณะเดียวกันเสื้อแดงก็ถอยไม่ได้ เพราะมาจนถึงวันนี้แล้ว ถ้าไม่มาตามนัด ก็เสียเครดิตในการต่อสู้ระยะยาว

รัฐบาลก็ไม่ยอมถอย ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง ใช้สื่อสร้างกระแส ทำสงครามจิตวิทยา ประโคมข่าวว่าเสื้อแดงจะก่อความรุนแรง จะก่อวินาศกรรม มีปากเหมือนมี...พูดให้ร้ายกันไปได้เรื่อยๆ น่ารำคาญ
สถานการณ์จึงอยู่ระหว่างเขาควาย ไม่มีใครรู้ว่าจะออกหน้าไหนอย่างไร และไม่มีใครห้ามได้แล้วในวันนี้
ในฐานะที่-จะเรียกว่าไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดก็คงไม่ใช่ คือต่อต้านอำมาตยา ปฏิเสธรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม แต่ก็มีจุดต่างกับเสื้อแดง ผมขยับจะเขียนอะไรมาหลายวันยังเขียนไม่ออก
อยากจะบอกว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้เสี่ยงมาก เสื้อแดงอาจจะแพ้ย่อยยับ อาจจะถูกปราบ และถ้าพูดถึงเป้าหมาย “ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์” ก็ยังไม่มีทางชนะ ยังต้องต่อสู้อีกยาวไกล
แต่จะบอกว่าควรอยู่เฉยๆ ก็กระไรอยู่ จะยอมให้เขารังแกได้รังแกเอา จะทนเห็นความอยุติธรรมตำตาหรือ มันก็ต้องยอมรับว่าเป็นสิทธิประชาธิปไตยของมวลชนเสื้อแดง ที่จะ “แสดงอารมณ์” เหมือนพันธมิตรชนชั้นกลาง
แต่ผลของมันจะเกิดอะไรขึ้นล่ะ น่าวิตก เพื่อนผมที่เป็นพันธมิตร (แบบฝ่ายก้าวหน้าภาคประชาชนนะ ไม่ใช่พวกห้อยโหนอำมาตย์) ยังโทรมาคุยกันว่าเป็นห่วงมวลชน ไม่อยากให้มีคนบาดเจ็บล้มตาย เพราะได้ข่าวว่าคนทางเหนือ (เขตงานเก่า) เรี่ยไรกันเดินทางมา แบบว่าเขาโกรธจริง ร้อนแรงจริง และคงจะมามากด้วย
สิ่งที่เราไม่ไว้วางใจก็คือ ไม่ไว้วางใจทั้งฝ่ายรัฐ ฝ่ายอำมาตย์ และแกนนำเสื้อแดงบางส่วน รวมทั้งทักษิณ ฝ่ายอำมาตย์นั้นอำมหิตอยู่แล้ว อย่างที่เขาเคยพูดว่าแสนหนึ่งตายสัก 4-5 คนก็ไม่กระพริบตา แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์จริตนิยมมีเดิมพันมากกว่านั้น คือต้องชนะทางการเมืองด้วย ต้องหาเหตุอ้าง “ความชอบธรรม” ที่จะใช้กำลังเหมือนครั้งสงกรานต์ ไม่อย่างนั้นปราบเสื้อแดงแล้วต้องยุบสภา หรือเกิดรัฐประหาร ตัวเองก็มือเปื้อนเลือดเปล่า
หันไปดูฝ่ายเสื้อแดงรึ ถามว่าต้องการอะไร ข้อเรียกร้องคือยุบสภา หรือบางคนอาจจะหวังให้เกิดรัฐประหาร จะได้ตีโต้ เร่งปฏิกิริยาให้ฝ่ายอำมาตย์แพ้เร็วๆ ซึ่งถ้าทำอย่างนั้นได้ก็ต้องเกิดความรุนแรง ซึ่งถ้ามองอย่างแยกเสื้อแดงเป็นสองส่วน เสื้อแดงที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่จำเป็นที่จะต้องให้เกิดความรุนแรง ต้องมองการเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นขั้นตอนหนึ่งของการต่อสู้ที่ยังยาวไกล ขณะที่ฝ่ายทักษิณ หรือแกนนำที่อยู่ใกล้ทักษิณ ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาคิดอะไร และซ่อนอะไรไว้หรือเปล่า จึงน่าวิตก เพราะถ้าผมเป็นทักษิณ ก็คงอยาก “เสี่ยง” ให้แตกหัก
ถ้าเรามองด้วยทัศนะนักประชาธิปไตย จะต้องยอมรับว่าความขัดแย้งในสังคมไทยยังไม่ถึงจุดยุติ และไม่มีทางที่จะแตกหักได้ ไม่มีใครที่จะชนะเบ็ดเสร็จ การต่อสู้กันรอบนี้ ถ้าใครแพ้ ก็เป็นแค่ความพ่ายแพ้ทางยุทธวิธี สมมติเสื้อแดงแพ้ อาจเสียกระบวนไปพักหนึ่ง แต่ก็ยังสามารถกลับมาสู้ใหม่ เหมือนที่แพ้มาแล้วตอนสงกรานต์ หรือสมมติเสื้อแดงสามารถบีบให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ เพื่อไทยชนะ ก็เข้ารอยเดิมคือปกครองไม่ได้ จะถูกต่อต้านขัดแข้งขัดขาจากพันธมิตร ทหาร ตุลาการภิวัตน์ และองค์กรอิสระ
โอเคล่ะ พวกทักษิณ พวกนักการเมือง อาจจะมองว่าชนะแบบนั้นก็ยังดีกว่า แต่สำหรับนักประชาธิปไตย จะต้องไม่แลกมาด้วยความสูญเสีย
พูดอย่างนี้ไม่ใช่ผมจะเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลที่โหมประโคมว่า “อย่ารุนแรง” นะครับ เพราะอีกฝ่ายใช้ความรุนแรงมาก่อนแล้ว รัฐประหารคือการใช้ความรุนแรงของกองทัพ การใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมก็คือความรุนแรงของชนชั้นนำ แล้วมีสิทธิอะไรจะมาห้ามประชาชนตาดำๆ ใช้ความรุนแรง
เพียงแต่ผมไม่อยากเห็นความรุนแรงเพราะเป็นห่วงมวลชน มันหมดสมัยที่จะร้องเพลงตายสิบเกิดแสน (พี่หงาเปลี่ยนขั้วไปแล้ว) ชีวิตคนมีค่าทั้งนั้น ลองหันกลับไปดูพันธมิตร 193 วันตายไปกี่ศพ แล้วได้อะไร ถ้าดวงวิญญาณสารวัตรจ๊าบมีจริง จะรู้สึกอย่างไรที่เห็นโอบามาร์คจูบปากไอ้ห้อย
คือต้องคิดด้วยว่าการต่อสู้นั้นคุ้มค่าไหม ในเมื่อนี่ยังไม่ใช่ “สงครามครั้งสุดท้าย” มันยังเป็นแค่ขั้นตอนหนึ่งของการต่อสู้ที่ต้องอีกยาว ยืดเยื้อ และอาจจะคดเคี้ยว
แล้วที่พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้บอกว่าเสื้อแดงต้องมานั่งเจี๋ยมเจี้ยมตบแปะ สวด 7 วันแล้วกลับบ้าน เพราะการเคลื่อนไหวภาคประชาชนยุคโพสต์พันธมิตร ถ้าไม่ทำตามอย่างพันธมิตรบ้าง มันก็ไม่สร้างแรงกดดัน ฉะนั้นต้องมีกับแกล้มน้ำจิ้มพอให้เปรี้ยวปาก
แต่ตรงนี้แหละที่มันอันตราย เพราะมันขึ้นกับความคิดชี้นำของแกนนำ ตลอดจนประสิทธิภาพในการนำ พูดง่ายๆคือ แกนนำแฝงความคิดอยากให้รุนแรงหรือเปล่า หรือต่อให้ต้องการสันติจริง คุมกันอยู่หรือเปล่า
พันธมิตรก็ใช้การกดดันคุกคาม แต่เขามีเส้น เขามีสื่อ มีนักวิชาการช่วยกันสร้างกระแสหนุน และมีทหารคอยขู่ให้นายกฯ ลาออก รัฐบาลสมัครสมชายจึงทำอะไรไม่ได้ ต่างกับเสื้อแดงที่ไม่มีอะไรเลยจึงเสียเปรียบตั้งแต่ในมุ้ง
ขณะเดียวกันพันธมิตรก็มีการจัดตั้งที่เหนียวแน่นกว่า เพราะเขามีแกนเป็นสันติอโศก NGO สหภาพรัฐวิสาหกิจ พวกแรกเป็นครึ่งพระ สองพวกหลังเป็น “มืออาชีพ” ในการก่อม็อบ พันธมิตรจึงสามารถใช้ท่าทีรุนแรงกดดันแบบที่ภาษากำลังภายในเรียกว่า “จี้ถึงก็หยุด” ไม่บานปลายไปกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ (อันที่จริงเขาก็ทำให้ล้ำเส้นไปอีกคืบ แต่ไม่ต้องห่วงเพราะยังมีสื่อมีกระแสช่วยปกป้อง) เสื้อแดงไม่สามารถทำอย่างเดียวกันได้ แม้อาจจะมีระบบมีการจัดตั้งดีกว่าครั้งสงกรานต์
จะสร้างแรงกดดันอย่างไร ที่ไม่ให้ล้ำเส้นไปสู่ความรุนแรง จนพ่ายแพ้ นี่คือโจทย์ข้อสำคัญ
เพราะต้องยอมรับว่าเสื้อแดงเสียเปรียบตั้งแต่เริ่มต้น ถูกรัฐบาลและสื่อกระแสหลักปิดล้อม สร้างกระแส ประโคมข่าวให้ร้ายอยู่ด้านเดียว ส่วนสำคัญก็มาจากคนกรุงเข็ดขยาดเหตุการณ์เมื่อครั้งสงกรานต์
นอกจากนี้ยังถูกผูกโยงกับทักษิณ ซึ่งรัฐและสื่อโหมถล่มตั้งแต่วันยึดทรัพย์ ว่าทักษิณและเสื้อแดงไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลผู้ศักดิ์สิทธิ์และสูงส่ง จะก่อความรุนแรงเพื่อล้มล้างคำพิพากษา
ซึ่งต้องยอมรับว่าได้ผลนะครับ ได้ผลกับคนทั่วๆ ไป เพราะทักษิณก็มีปัญหาความชอบธรรม แม้จะถูกโค่นล้มจากรัฐประหาร ถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม แม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา คือผมเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่ “ไม่สมควร” ของคนที่เป็นผู้นำ แต่ “ไม่สมควร” ที่จะถือเป็นความผิดอาญาถึงขั้นริบทรัพย์สิน และยังต้องแยกแยะด้วยว่าอะไรคือการเอื้อประโยชน์โดยมิชอบ ไม่ใช่รวบทั้งหมด
แต่ในนั้นมันก็มีความไม่ชอบธรรมของทักษิณ ซึ่งถูกเอามาตอกย้ำทีไร ก็เละไปทีนั้น นี่คือปัญหาของทักษิณซึ่งมีความทับซ้อน หรือเรียกเล่นๆ ว่า “สองแง่สองง่าม” (ฮา) ทุกอย่างที่ทำมีทั้งถูกทั้งผิด มีทั้งไม่เหมาะสมไม่สมควร มีทั้งวิน-วิน การโต้แย้งทางเหตุผล การที่จะให้สังคมรู้จักแยกแยะ มันต้องใช้เวลา ต้องฝ่าการปิดล้อมทางสื่อ และต้องฝ่าอคติมากมาย คือพวกทักษิณก็จะเถียงว่าทักษิณถูกยันเต ซึ่งฟังไม่ขึ้น พวกพันธมิตรก็ปล่อยข่าวในวงกันเองว่าทักษิณยังมีเงินอยู่ต่างประเทศอีก 2 แสนล้าน
กล่าวโดยสรุปก็คือ ทักษิณเป็นทั้งปัจจัยบวกและลบเหมือนทุกคราว แยกกันไปคนละด้าน มวลชนเสื้อแดงก็ลุกฮือ รัฐ สื่อ และพวกที่สวมคราบนักวิชาการก็รุมถล่ม เอามาทำลายความชอบธรรมของการเคลื่อนไหวฝ่ายเสื้อแดง
อย่างไรก็ดี ถ้าพูดในกระแสวงกว้างแล้วต้องบอกว่ารัฐบาลได้เปรียบ โหมกระพือป้ายโคลนดำไว้ล่วงหน้า เดี๋ยวเทพเทือก เดี๋ยวเทพไท เดี๋ยวบุญยอด ออกมาดาหน้า (พูดมากๆ แหละดี คนจะได้เลี่ยน)
แต่มองกลับกัน ถ้าแกนนำเสื้อแดงสุขุมพอ ถ้ามวลชนมามากจริงและเหนียวแน่นจริง ในเบื้องต้นคุณต้องแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่ายึดสันติวิธี มาโดยสงบ ไม่ใช่มาถึงก็ฟาดหัวฟาดหาง ตั้งมั่นอยู่เฉยๆ ซัก 2-3 วัน ภาวะ panic ของคนกรุงที่รัฐพยายามปลุกปั่นก็จะลดลง
สงครามครั้งนี้จะต่อสู้กันด้วยจิตวิทยา ด้วยภาพลักษณ์ แม้รัฐบาลจะอยากแตกหัก อยากปราบ อยากรุนแรง ก็ทำไม่ได้ถ้าฝ่ายเสื้อแดงไม่เพลี่ยงพล้ำทางภาพลักษณ์อย่างหนักหน่วง ภายใต้สิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ นายกฯผู้ดีอังกฤษขวัญใจจริตนิยม ไม่กล้าใช้กำลังง่ายๆ หรอกครับ จะต้องรอให้เสื้อแดงอาละวาดโน่นนี่จนเข้าล็อก “เผาบ้านเผาเมือง” เสียก่อน
แน่นอนที่คงมีปัญหาประปราย มีความรุนแรงผสมโรง อย่างที่เทพเทือกแสนรู้ล่วงหน้าว่าจะมีคนแยกไปก่อวินาศกรรม แต่ถ้าเสื้อแดงตั้งมั่นกับที่ กูไม่รู้ไม่เห็นว่าใครไปทำอะไรที่ไหนอย่างไรเมื่อไหร่ รัฐบาลก็ปราบไม่ได้ ไม่เหมือนสงกรานต์ที่มีม็อบแยกไปปิดอนุสาวรีย์ชัย หรือไปพัทยา ครั้งนี้เสื้อแดงอาจจะปิดถนน แต่ไม่ได้บอกว่าปิด เป็นเพราะคนมามากจนไม่มีที่อยู่ต้องล้นลงถนน คือถ้าคนมากเสียอย่าง วันที่ 2-3-4 ไม่หดหาย รัฐบาลจะทำอะไรก็ลำบาก ถ้าคนมากเสียอย่าง ไม่ต้องทำอะไร มานั่งเฉยๆ กรุงเทพฯ ก็เป็นอัมพาต
ประเด็นที่น่าคิดถัดจากนั้นคือ ถ้ามาโดยสันติ ตั้งมั่นโดยสงบ คุมกันอยู่ ซักวันสองวันแล้วจะทำอะไร เพราะหลายคนคงคิดว่าถ้าไม่กดดัน “คุกคาม” รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม การเคลื่อนไหวก็ไม่บรรลุผล และโดยธรรมชาติม็อบคนชนบทอยู่ได้อย่างมากก็ 7-8 วัน ไม่เหมือนม็อบพันธมิตรที่อาหารดี ดนตรีไพเราะ ตลอด 193 วัน ที่น่ากลัวคือผมเชื่อว่าอารมณ์มวลชนร้อนแรง มาแล้ว “ต้องชนะ” ไม่คิดว่าจะต้องมาๆ กลับๆ
ตรงนี้แหละที่ต้อง “วัดใจ” แกนนำว่าจะยึดมั่นในการต่อสู้โดยสันติหรือไม่ เพราะแกนนำจะต้องคิดรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ไม่นำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งจะทำให้พ่ายแพ้ทางการเมืองและถูกปราบ ขณะเดียวกันก็ต้องตัดสินใจว่าถึงระดับไหนจะหยุด ถือเป็น “ชัยชนะ” แล้วกลับ โดยไม่เสียเลือดเนื้อ ไม่เสียหายทางการเมือง
เรื่องพวกนี้ต้องตัดสินใจกันวันต่อวัน หรือวันละหลายรอบ ตามสถานการณ์ที่ผันแปร จึงเป็นสิ่งที่น่าห่วง เพราะผมยังไม่เชื่อว่าแกนนำทุกคนยึดมั่นสันติวิธี ขณะที่มวลชนก็เคียดแค้น อารมณ์แรง โดยธรรมชาติของม็อบ ยิ่งอยู่นานยิ่งเครียด
รวมความแล้วก็น่าวิตก แต่อย่างที่บอกว่าจะให้เสื้อแดงนอนอยู่บ้านเฉยๆ ก็ไม่ได้ เพียงแต่อยากเรียกร้องให้แกนนำตั้งเป้าให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร “ชัยชนะ” อยู่ที่ไหน เพราะคุณไม่มีทางยึดอำนาจรัฐได้ สมมติเรียกร้องให้ยุบสภาแล้วรัฐบาลไม่ยุบ จะทำอย่างไร อย่าคิดว่า “นองเลือด” แล้วจะชนะเหมือน 14 ตุลาหรือพฤษภาทมิฬ การใช้ความรุนแรงหรือเสี่ยงสูญเสีย ไม่รับประกันความเสี่ยงว่าจะเป็นผลสำเร็จ เพราะถ้าเลยธงล้ำเส้น พ่ายแพ้ทางการเมือง รัฐบาลก็ใช้กำลังทหารปราบม็อบได้
คือตั้งเป้าแล้วไม่ต้องมาบอกผมหรอก ปากอาจจะพูดไปว่า “สงครามครั้งสุดท้าย” แต่เป้าหมายต้องรู้กันภายในแกนนำ ต้องคิดล่วงหน้าไว้ว่าถึงจุดไหนที่จะสลายม็อบ โดยได้ชัยชนะทางการเมืองพอประมาณ แล้วไม่สูญเสีย
ในส่วนของผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ถ้ามองว่านี่เป็น “การต่อสู้ทางชนชั้น” ก็ยังต้องสู้กันอีกนานไม่มีใครชนะเบ็ดเสร็จ การต่อสู้ยกนี้ก็เป็นแค่ “การประลองกำลัง” กันอีกยกหนึ่งเท่านั้น เสื้อแดงจึงควรเข้าใจว่าเป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่ “สงครามครั้งสุดท้าย” แต่เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงพลัง กดดันคุกคามอำนาจรัฐ ให้สังคมตระหนักว่า “เราพร้อมจะมาทุกเมื่อ” ตราบใดที่ยังไม่ได้รับความยุติธรรม
คือถ้าเรียกร้องให้ยุบสภาได้ก็ดี (พรรคการเมืองใหม่จะได้แจ้งเกิด-ฮา) แต่ถ้าไม่ได้ก็ต้องรู้ว่า เพียงแค่เสื้อแดงมามากๆ แสดงพลังโดยสันติได้ และสามารถ “คุมกันอยู่” จนจบ อย่างน้อยก็เป็นชัยชนะระดับหนึ่ง เหมือนย้อนไปตอนสงกรานต์ ถ้านับแค่วันที่มีคนออกมาเป็นแสน ก็ถือว่าชนะแล้ว พอเลยธงไปกว่านั้น เจ๊งเลย
ก็แค่อยากฝากให้มองยุทธศาสตร์ระยะยาว ว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องแตกหัก ฝ่ายอำมาตย์ต่างหากที่เขาต้องการแตกหัก เพราะเวลาเหลือน้อย และ “ระบอบไม่เอาทักษิณ” ที่ครองอำนาจอยู่ ก็ง่อนแง่นเต็มที มองเห็นได้ง่ายๆว่าเสื้อแดง fade ออกไปเมื่อไหร่ ก็ลากไส้กันเอง แต่ทักษิณปลุกกระแสขึ้นมาเมื่อไหร่ก็รวมหัวกันถล่ม ระบอบนี้ยิ่งอยู่นานยิ่งเสื่อม อย่าง GT200 เรือเหาะ หรือการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ ผู้ว่าฯ
ในทางยุทธศาสตร์แล้วเสื้อแดงรอได้ กดดันแล้วถอย ออกไปตีวงอยู่รอบนอก ซักพักก็กดดันใหม่ แย็บเรื่องทุจริต อัปเปอร์คัดเรื่องความชอบธรรมเป็นระยะ อย่ากลัวว่า “ระบอบไม่เอาทักษิณ” จะไปรอด เพราะองค์ประกอบที่มีทั้งอำมาตย์ นักการเมือง และคนชั้นกลางที่มีพันธมิตร สื่อ นักวิชาการ เป็นตัวแทน มีความขัดแย้งกันเอง เช่นพันธมิตรเขาก็หยุดไม่ได้ ต้องสร้างอำนาจต่อรองของตัวเอง (พันธมิตรน่ะเป็นแนวร่วมด้านกลับของเสื้อแดงนะครับ เพราะเวลาพูดถึงปัจจัยเสี่ยง นักลงทุนต่างชาติก็จะบอกว่าหนึ่งการเมืองเรื่องเสื้อแดง สองมาบตาพุด)
“สู้ยืดเยื้อ” หรือ “เสี่ยง” จึงเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจให้รอบคอบ โดยคำนึงถึงมวลชนเป็นสำคัญ
ใบตองแห้ง
10 มี.ค.53