WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, March 11, 2010

ป๋วย อึ้งภากรณ์ กับการเรียกร้องหาคนดีในปัจจุบัน

ที่มา Thai E-News



โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
10 มีนาคม 2553

หากท่านอาจารย์ป๋วยยังมีชีวิตอยู่จวบจนปัจจุบันแล้ว วันที่ 9 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมาก็จะเป็นวันครบรอบ 94 ปีของท่าน

แต่น่าเสียดายที่ท่านจากโลกนี้ไปแล้วตั้งแต่เมื่อ 28 กรกฎาคม 2542 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อมีอายุได้ 83 ปี เหลือไว้แต่คุณงามความดีให้แก่คนไทยรุ่นหลังนานัปการ

ไม่ว่าจะเป็นผลงานด้านการเมืองที่อาจารย์ป๋วยได้ร่วมกันก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ มีชื่อจัดตั้งว่า "นายเข้ม เย็นยิ่ง" ประกาศไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติรัฐบาลไทยที่ยอมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น

ในด้านผลงานทางการเงินการคลังอาจารย์ป๋วยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 12 ปี นับเป็นผู้ว่าการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด ตลอดสมัยที่อาจารย์ป๋วยเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นสมัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปลอดจากการเมืองมากที่สุด และเป็นยุคที่สามารถรักษาเสถียรภาพเงินตราไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง เงินบาทได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งในและนอกประเทศ ทำให้มีการค้าขายและการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศก็เพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์

ในด้านการศึกษาอาจารย์ป๋วยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในช่วงแรกมีอาจารย์ประจำเพียงสี่คน อาจารย์ป๋วยจึงเร่งผลิตอาจารย์ โดยประกาศรับสมัครคนรุ่นใหม่ แล้วหาทุนส่งไปเรียนต่างประเทศ ทำให้คณะเศรษฐศาสตร์เติบโตขึ้น ภายในเวลาเพียงสิบปีมีอาจารย์เพิ่มนับร้อยคน ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก

ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่รัฐบาลทหารถูกขับไล่ออกไป อาจารย์ป๋วยได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจในสมัยรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ มีการเรียกร้องให้อาจารย์ป๋วยเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่อาจารย์ป๋วยไม่รับเนื่องจากความปรารถนาของอาจารย์ป๋วยไม่ได้อยู่ที่การเมือง แต่เป็นเรื่องการศึกษาและการพัฒนาชนบท

ต่อมามีการเสนอชื่อ อาจารย์ป๋วยให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ป๋วยจึงเป็นศิษย์เก่าธรรมศาสตร์คนแรก ที่ได้รับเลือกตั้งจากชาวธรรมศาสตร์ให้เป็นอธิการบดีคนที่ 10 เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2518 อาจารย์ป๋วยได้ให้แนวทางแก่ธรรมศาสตร์ในการขยายไปยังรังสิต ให้ขยายตัวไปในสาขาวิทยาศาสตร์เพื่อเกื้อหนุนกัน การรับนักเรียนเรียนดีจากชนบทเข้ามาศึกษาหรือ โครงการช้างเผือก และการให้คณะต่างๆ จัดทำโครงการบริการสังคม

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 กลุ่มบุคคลในเครื่องแบบและกลุ่มกระทิงแดง ได้ปิดล้อมและใช้อาวุธยิงถล่มเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยไม่สนใจต่อคำขอร้องของผู้ชุมนุมภายในที่ต้องการเจรจาโดยสันติ มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก นักศึกษาบางคนถูกจับแขวนคอ บางคนถูกเผาทั้งเป็นและผู้หญิงบางคนถูกข่มขืนจนถึงแก่ความตาย

เวลา 10.00 น. อาจารย์ป๋วยออกแถลงการณ์ลาออกในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่มีคนจำนวนมากบาดเจ็บและล้มตายภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของท่าน สภามหาวิทยาลัยได้ขอให้อาจารย์ป๋วยเดินทางออกนอกประเทศเนื่องจากฝ่ายขวากำลังล่าตัวอาจารย์ป๋วย ซึ่งในเวลาเย็นวันนั้นอาจารย์ป๋วยได้เดินทางออกนอกประเทศ พร้อมๆกัน ก็เกิดการรัฐประหารขึ้นโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะ

ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับคนดีนั้น อาจารย์ป๋วยท่านเห็นว่าศีลธรรมตามหลักพุทธศาสนาและเศรษฐศาสตร์นั้นมีความสอดคล้องกัน ศีลหมายถึงการละเว้นจากการสร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น ส่วนธรรมหมายถึงการช่วยเหลือให้บุคคลและสังคมโดยรวมดีขึ้นซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือความยุติธรรม

อาจารย์ป๋วยได้ขยายความโดยยกตัวอย่างกรณีที่ถือว่าขัดกับหลักธรรมและศีลหรือหลักธรรมจริยาในทางเศรษฐศาสตร์ไว้หลายกรณี ได้แก่

1.ข้าราชการผู้รับสินบนหรือใช้อำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตน

2.ข้าราชการผู้เกี่ยวโยงกับธุรกิจเอกชนในฐานะประธานหรือกรรมการบริษัท ซึ่งมีผลประโยชน์ขัดกับหน่วยงาน ซึ่งข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติงานอยู่ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและมิได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจนั้นก็ตาม

3.ข้าราชการผู้ที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตก็ตาม

4.นโยบายเศรษฐกิจซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อคนกลุ่มน้อยในขณะที่เป็นผลร้ายต่อคนส่วนใหญ่

5.บุคคลผู้สมรู้ร่วมคิดกับข้าราชการ เพื่อเอาเปรียบสาธารณชน

6.ข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งรัฐบาลออกบังคับใช้อย่างไม่สมเหตุสมผล

7.การหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบุคคลและบริษัทห้างร้าน

8.การกักตุนสินค้าในยามขาดแคลน โดยมุ่งค้าหากำไรในตลาดมืด

9.ราษฎรผู้ปราศจากอาชีพ ผู้ไม่พยายามหาเลี้ยงชีพโดยสุจริตหรือไม่ตระหนักถึงหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองของชาติ ผู้ปราศจากสติยับยั้งและความรู้สึกผ่อนหนักผ่อนเบา ผู้ที่พยายาม เอาเปรียบผู้อื่นและผู้ไม่พยายามขวนขวายหาความรู้ใส่ตัวและคอยขัดขวางความก้าวหน้า

10.ชนกลุ่มน้อยซึ่งกลายเป็นผู้ร่ำรวยอย่างมหาศาล ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มี ความยากจนแร้นแค้น

11.ผู้ที่ประสบความสำเร็จในทางธุรกิจและมีรายได้สูงหรือผู้ที่ได้รับมรดกตกทอดจำนวนมาก แต่มิได้นำทรัพย์สินเหล่านั้นมาลงทุนในทางที่ก่อให้เกิดผลผลิตอันจะช่วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ฉะนั้น การที่จะเรียกร้องหาคนดีเข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในยุคที่แบ่งสีแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจนเช่นในปัจจุบันนี้ เราต้องพิจารณาว่าคนดีที่แต่ละฝ่ายกล่าวอ้างนั้นมีคุณสมบัติที่ขัดต่อหลักธรรมและศีลหรือหลักธรรมจริยาตามที่ท่านอาจารย์ป๋วยได้กล่าวถึงไว้แล้วหรือไม่ อย่างไร


--------------------