WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 8, 2010

จับตาการสถาปนารัฐทหาร ผ่านพรบ. ความมั่นคงฯ

ที่มา thaifreenews


เปิดร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง (ซอฟท์ เวอร์ชั่น) ฉบับด่วนที่สุด !

หมายเหตุ : บทความ และ/หรือ ข่าวที่เกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ... เรื่องนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ"จับตาการสถาปนารัฐทหาร ผ่านพรบ. ความมั่นคงฯ" ซึ่ง BioLawCom.De ได้สืบค้นมาจากแหล่งต่าง ๆ และนำฉบับที่น่าสนใจมารวบรวมไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ รวมทั้งใช้เป็นข้อมูล และแนวทาง สำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นนี้ ในระหว่างนักเรียน(และนัก)กฎหมาย ที่กำลังศึกษาต่ออยู่ในประเทศเยอรมนี ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นใน วันที่ 23 ธันวาคม 2550 วันเลือกตั้ง ภายหลังการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549.

biolawcom.de/article/237

เปิดร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง (ซอฟท์ เวอร์ชั่น) ฉบับด่วนที่สุด !

(ข่าวลงวันที่ : 22/10/2550)

รายละเอียดร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไปเมื่อ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังผ่านการแก้ไขจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)แล้ว และอยู่ระหว่างการผลักดันสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาระบุด้วยว่า ต้องการให้เสร็จเรียบร้อยภายในรัฐบาลนี้ เพื่อแก้ปัญหา ‘ความมั่นคงของชาติ’ แต่ล่าสุดคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล-สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป) ได้มีมติให้ ครม.นำร่างฉบับนี้ไปแก้ไขอีกรอบ

ถึง กระนั้น ก็ยังน่าพิจารณาตัวร่างดังกล่าวที่เพิ่งผ่าน ครม.ไป หลังจากทางกฤษฎีกาได้ปรับแก้แล้วรอบหนึ่งจากร่างแรกที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วง

0000

หตุผล :

โดยที่ ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรง รวดเร็ว สามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และมีความสลับซับซ้อน จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอนาคต ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน

ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกัน และระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงสมควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่น คงในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ (ตัวเน้นโดยประชาไท) และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งและ กำหนดให้มีมาตรการและกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เนื้อหาสำคัญ (โดยรวบรัด) :

1. ให้ตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับ ‘การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร’ (ตัวเน้นโดยประชาไท) มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (มาตรา 5)

2.ให้ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็น ผู้อำนวยการ กอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการมอบอำนาจให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้อำนาจแทนได้ (มาตรา 5)

3. คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมอบหมายให้ กอ.รมน.มีอำนาจกำกับหน่วยงานรัฐตามที่ ครม.กำหนดด้วยก็ได้ (มาตรา 6)

4. ใน การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้ามีความจำเป็นที่ กอ.รมน. ต้องใช้อำนาจตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐใด ครม. สามารถแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ใน กอ.รมน. ให้เป็นเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ หรือมีมติให้หน่วยงานนั้นมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว ให้ กอ.รมน. ดำเนินการแทนได้ ทั้งนี้ จะกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วยก็ได้ (มาตรา 6)

5. กรณี ที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง ครม.จะมีมติให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม แก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์นั้นภายในพื้นที่ที่กำหนดได้ โดยให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป (มาตรา 14)

6. ใน กรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่น คงในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจจัดตั้งศูนย์อำนวยการเพื่อปฏิ บัติภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างเป็นการเฉพาะก็ได้ (มาตรา 16)

7. ผู้อำนวนการ กอ.รมน.มีอำนาจสั่งเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องได้, ห้ามการเข้าออกพื้นที่, ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด, สั่งหยุดการชุมนุมหรือมั่วสุมในที่สาธารณะเมื่อปรากฏว่าก่อความไม่สะดวกในการ ใช้ที่สาธารณะและอาจก่อให้เกิดความไม่สงบ, ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม ฯ (มาตรา 17)

8. ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายสามารถเป็นพนักงานสอบสวนได้ (มาตรา 18)

9. หากพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาคนใดกระทำผิดโดยหลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สามารถเปิดโอกาสให้ผู้ต้องการกลับตัวได้ โดยผู้อำนวยการจะสั่งให้เข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนด เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน (มาตรา 19)

10. ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพ.ร.บ.นี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (มาตรา 22)

11. เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย ถ้าได้ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งเชื่อได้ว่าชอบด้วยกฎหมายและควรแก่ เหตุ (มาตรา 23)

00000000000

ร่างฯ ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว

เรื่องเสร็จที่ ๖๙๖ / ๒๕๕๐

บันทึกหลักการและเหตุผล

ประกอบร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

พ.ศ. ....

_______________

หลักการ

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

เหตุผล

โดยที่ ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรง รวดเร็ว สามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และมีความสลับซับซ้อน จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอนาคต ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้สามารถป้องกัน และระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงสมควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่น คงในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งและ กำหนดให้มีมาตรการและกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ร่าง

พระราชบัญญัติ

การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

พ.ศ. ....

_______________

…………………………………..

…………………………………..

…………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………….………….

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

พระราชบัญญัติ นี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกำหมาย

………………………………………………………………………………………………………………….………….

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ....”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อควบคุม แก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใด ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยให้กลับสู่สภาวะปกติเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ และให้หมายความรวมถึงการป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์เช่นนั้นด้วย

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่ไม่รวมถึงศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“จังหวัด” หมายความรวมถึงกรุงเทพมหานคร

“ผู้ว่าราชการจังหวัด” หมายความรวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

--------------------------

มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.” ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

ให้ กอ.รมน. มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมน ตรี โดยมีวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การจัดโครงสร้างการแบ่งส่วนงานและอำนาจหน้าที่ของส่วนงานภายใน กอ.รมน.ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ให้ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้อำนวยนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณา จักร เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการ

ใน การปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้อำนาจ แทนก็ได้

ผู้ อำนวยการอาจแต่งตั้งผู้ช่วยผู้อำนวยการจากข้าราชการในสังกัด กอ.รมน. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงโครงสร้างและการแบ่งส่วนงานภายในของ กอ.รมน.

ให้ มีเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้ง จากเสนาธิการทหารบกเพื่อรับผิดชอบงานอำนวยการและธุรการของ กอ.รมน.

รอง ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน.รองจากผู้อำนวยการและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการกำหนด

ให้ ผู้อำนวยการมีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี ถูกฟ้องคดี และดำเนินารทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ทั้งนี้ โดยกระทำในนามของสำนักนายกรัฐมนตรี

มาตรา ๖ ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านความมั่นคงในราชอา ณาจักรและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

(๒) อำนวยการในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในเรื่องที่คณะรัฐมนตรี หรือสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่เสนอแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานและ

ดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามแผนและแนวทางนั้น

(๓) อำนวยการ ประสานงาน และเสริมการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนและแนวทาง ในการปฏิบัติงานตาม (๒) ในการนี้คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ กอ.รมน .มีอำนาจในการกำกับการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดด้วยก็ ได้

(๔) เสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร และความสงบเรียบร้อยของสังคม

(๕) ดำเนินการอื่นตามที่กำหมายบัญญัติหรือตามที่คณะรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

ใน การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้ามีความจำเป็นที่ กอ.รมน. ต้องใช้อำนาจหรือหน้าที่ตามกฎหมายใดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบของหน่วยงานของ รัฐใด ให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ใน กอ.รมน. เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้น หรือมีมติให้หน่วยงานของรัฐนั้นมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายในเรื่อง ดังกล่าว ให้ กอ.รมน. ดำเนินการแทนหรือมีอำนาจดำเนินการด้วยภายในพื้นที่และภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วยก็ได้

มาตรา ๗ นอกจากการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่น ดินแล้ว บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจให้ ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์ตามมาตรา ๑๖ ปฏิบัติแทนก็ได้

มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน. ตามที่ผู้อำนวยการร้องขอ และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ทำนองเดียวกัน ของหน่วยงานของรัฐนั้น จัดให้หน่วยงานของรัฐที่จัดส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ยัง กอ.รมน. มีอัตรากำลังแทนตามความจำเป็นแต่ไม่เกินจำนวนอัตรากำลังที่จัดส่งไป

มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรคณะหนึ่ง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสารปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการอำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการ

ทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอัยการสูงสุด เป็นกรรมการและให้เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรเป็นกรรมการ และเลขานุการและให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งข้าราชการใน กอ.รมน. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ไม่เกินสองคน

ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำกับ ให้คำปรึกาและเสนอแนะต่อ กอ.รมน.ในการปฏิบัติงานในอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. รวมตลอดทั้งอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) วางระเบียบเกี่ยวกับการอำนวยการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ กอ.รมน. กอ.รมน.ภาค และ กอ.รมน.จังหวัด

(๓) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงินการคลัง การพัสดุและการจัดการทรัพย์สินของ กอ.รมน.

(๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา ๑๐ เมื่อมีกรณีจำเป็นในอันที่จะรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรในพื้นที่ของกองทัพ ภาคใด คณะกรรมการโดยข้อเสนอแนะของผู้อำนวยการจะมีมติให้กองทัพภาคนั้นจัดให้มีกองอำนวยการรักษาความมั่น คงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.ภาค” ก็ได้

ให้ กอ.รมน.ภาค เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. โดยมีแม่ทัพภาคเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.ภาค” มีหน้าที่รับผิดชอบและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

เพื่อประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ของ กอ.รมน.ภาค ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการและลูกจ้างของกองทัพภาค รวมตลาดทั้งข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในเขตพื้นที่ให้มาปฏิบัติงานประจำหรือเป็น ครั้งคราวใน กอ.รมน.ภาคได้ ตามที่ ผอ.รมน.ภาค เสนอ และให้นำความในมาตรา ๘ มาใช้บังคับกับการสั่งการของผู้อำนวยการในกรณีนี้ด้วยโดยอนุโลม

ผอ. รมน.ภาค เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างที่ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติงานใน กอ.รมน.ภาค และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน.ภาค

การจัด โครงสร้าง การแบ่งส่วนและอำนาจหน้าที่ อัตรากำลัง และการบริหารงานของส่วนงานภายใน กอ.รมน.ภาค ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการกำหนดตามข้อเสนอแนะของ ผอ.รมน.ภาค

ให้ กอ.รมน. และกองทัพภาคให้การสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณ และทรัพย์สิน ในการปฏิบัติงานของ กอ.รมน.ภาค ตามที่ ผอ.รมน.ภาค ร้องขอ

มาตรา ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะมีมา ให้ ผอ.รมน.ภาค ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา กอ.รมน.ภาค ขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน แต่ไม่เกินห้าสิบคนโดยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพื้น ที่ทุกภาคส่วน มีหน้าที่ในการเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะมีมา และให้คำปรึกาในเรื่องใดตามที่ ผอ.รมน.ร้องขอ

มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุน ช่วยเหลือ และปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.ภาค ตามมาตรา ๑๐ ผอ.รมน.ภาค โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้อำนวยการจะตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่น คงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.จังหวัด” ขึ้นในจังหวัดที่อยู่ในเขตของกองทัพภาคเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ กอ.รมน.ภาค มีหน้าที่รับผิดชอบและ

สนับ สนุนการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัดนั้น ตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.จังหวัด” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน.จังหวัด

การจัด โครงสร้าง การแบ่งส่วนและอำนาจหน้าที่ อัตรากำลัง และการบริหารงานของส่วนงานภายใน กอ.รมน.จังหวัด ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการกำหนด

ให้ กอ.รมน. และจังหวัดให้การสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณ และทรัพย์สิน ในการปฏิบัติงานของ กอ.รมน.จังหวัด ตามที่ ผอ.รมน.จังหวัด ร้องขอ และให้นำความในมาตรา ๘ มาใช้บังคับกับ กอ.รมน.จังหวัด ด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะมีมา ให้ ผอ.รมน.จังหวัด ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา กอ.รมน.จังหวัด ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่าสิบห้าคนแต่ไม่เกินสามสิบคน โดยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพื้นที่ทุกภาคส่วน มีหน้าที่ในการเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะมีมา และให้คำปรึกษาในเรื่องใดตามที่ ผอ.รมน.จังหวัด ร้องขอ

หมวด ๒

ภารกิจการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรเฉพาะเรื่องของ กอ.รมน.

_____________________

มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานานทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่ หรือความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายแห่งคณะรัฐมนตรีจะมีม ติให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรนั้นภายในพื้น ที่ที่กำหนดได้ทั้งนี้ ให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป

ใน กรณีที่เหตุการณ์ตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลงหรือสามารถดำเนินการแก้ไขได้ตามอำนาจหน้า ที่ของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบได้ตามปกติ ให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้อำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง

มาตรา ๑๕ ในการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๑๔ ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๑๔

(๒) จัดทำแผนการดำเนินการตาม (๑) เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบ

(๓) กำกับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการ หรือบูรณาการในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๒)

(๔) สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจัก ร หรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรออกจากพื้นที่ที่กำหนด

ในการจัดทำแผนตาม (๒) ให้ กอ.รมน. ประชุมหารือกับสภาความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย

ใน กรณีที่มีคำสั่งตาม (๔) แล้วให้ กอ.รมน. แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดทราบพร้อมด้วยเหตุผล และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับคำสั่งให้ออกจากพื้นที่นั้น ไปรายงานตัวยังหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดโดยเร็ว ในการนี้ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าสังกัดดำเนินการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว

มาตรา ๑๖ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่น คงในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจจัดตั้งศูนย์อำนวยการเพื่อปฏิ บัติภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างเป็นการเฉพาะก็ได้

โครง สร้าง อัตรากำลัง การบริหารจัดการ อำนาจหน้าที่ การกำกับติดตามหรือบังคับบัญชาศูนย์อำนวยการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้นำความในมาตรา ๘ มาใช้บังคับกับศูนย์อำนวยการตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม โดยให้อำนาจผู้อำนวยการเป็นอำนาจของผู้อำนวยการศูนย์

มาตรา ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไข หรือบรรเทาเหตุการณ์ภายในพื้นที่ตามมาตรา ๑๔ ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

(๑) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด

(๒) ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น

(๓) ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด

(๔) ให้ยุติการชุมนุมหรือมั่วสุมกันในที่สาธารณะ เมื่อปรากฏว่าการชุมนุมหรือมั่วสุมนั้นก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนในการ ใช้ที่สาธารณะและอาจก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นได้

(๕) ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน

(๖) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(๗) ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน

มาตรา ๑๘ ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๕ (๑) ให้ผู้อำนวยการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ใช้อำนาจในฐานะดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กอ.รมน. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

มาตรา ๑๙ ภายในเขตพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ กอ.รมน.ดำเนินการตามมาตรา ๑๔ ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาคนใดได้กระทำความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่น คงในราชอาณาจักรตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเพราะหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหานั้นกลับตัว

จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสำหรับผู้ต้องหาคนนั้น พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้อำนวยการ

ถ้า ผู้อำนวยการเห็นชอบด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้อำนวยการจะสั่งให้ผู้ต้องหาดังกล่าวเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนด เป็นเวลาไม่เกินหกเดือน และปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่กำหนดแทนการดำเนินคดีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

การดำเนินการตามว รรคสอง จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ต้องหายินยอมเข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว และเมื่อผู้ต้องหาได้เข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามอำนาจหน้า ที่ต่อไป และเมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาแล้ว ผู้ใดจะฟ้องผู้ต้องหาสำหรับการกระทำที่ต้องหานั้นอีกไม่ได้

มาตรา ๒๐ ในการใช้อำนาจของ กอ.รมน. ตามมาตรา ๑๕ (๑) ถ้าก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้สุจริต ให้ กอ.รมน. จัดให้ผู้นั้นได้รับการชดเชยความเสียหายตามควรแก่กรณีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมน ตรีกำหนด

มาตรา ๒๑ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่กำหนดตามมาตรา ๑๔ อาจได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

พนักงาน เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งผู้ใดเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลลาภ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นนอกเหนือจากที่มีกฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๒ บรรดาข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครองและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย ถ้าได้กระทำตามคำสั่งขอผู้บังคับบัญชา โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำที่พอสมควร แก่เหตุ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่า ด้วยความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับผู้ที่ช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมพระราชบัญญัตินี้ด้วยโดยอนุโลม

หมวด ๓

บทกำหนดโทษ

__________________

มาตรา ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา ๑๗ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล

___________________

มาตรา ๒๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๕ / ๒๕๔๙ เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มาเป็นของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๒๖ ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๐๗ / ๒๕๔๙ เรื่อง การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นศูนย์อำนวยการที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

.............................................

นายกรัฐมนตรี