WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 13, 2010

UNกางปีกป้องเสื้อแดงหวั่นถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน กังวลพรบ.มาร์คติดหนวด-สื่อเอียงจุดชนวน

ที่มา Thai E-News




เรียบเรียงโดย ไทยอีนิวส์
ที่มา ประชาไท
13 มีนาคม 2553

UNรับสื่อกระแสหลักรายงานด้านเดียว นำเสนอกรรมการสิทธิฯUN

ประชาไท รายงานว่า วานนี้ ดร.จารุพันธุ์ กุลดิลก อาจารย์ ม.มหิดล ดร.สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.สุดสงวน สุธีร์สรณ์ อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ เดินทางไปที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน เพื่อพบนางนาตาลี เมเยอร์ เจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนประจำภูมิภาค ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องให้สหประชาชาติส่งเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ชุมนุม เพราะสื่อหลักนำเสนอข่าวการชุมนุมด้านเดียว

นางนาตาลีกล่าวว่า เข้าใจว่าสถานการณ์ไม่ปกติ และสื่อในประเทศยังให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สหประชาชาติดังกล่าวยังแสดงความห่วงใยว่าการประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคงจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง และนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงจะนำเรื่องนี้ไปเสนอกับกรรมการสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของสหประชาชาติ

ไทม์ออนไลน์:รัฐบาลพยายามทำให้เสื้อแดงเป็นผู้ร้าย

เว็บไซต์ไทม์ออนไลน์ รายงานการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในวันที 12 มี.ค. 2010 โดยพาดหัวว่า "ผู้ประท้วงในไทยเริ่มต้นเดินขบวนด้วยพิธีกรรมทางพุทธศาสนา" (Thai protest march starts with Buddhist chants)

ไทม์ออนไลน์รายงานบรรยากาศของการชุมนุมว่า มีการเริ่มต้นในช่วงเวลา 12.12 น. ด้วยเสียงตีฆ้องและการสวดมนต์ของพระ

นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ แหม่ม อังคณา ผู้ขายอาหารเสริมสุขภาพบอกว่าการชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 14 มี.ค. ที่จะถึงนี้ เป็นการชุมนุมเพื่อแสดงให้โลกเห็นว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นที่รังเกียจของประชาชนทั่วไปขนาดไหน

อังคณากล่าวว่าเธอไม่ชอบรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีเลย เขาไม่ได้ทำอะไรเพื่อคนจน โดยเธอยังกล่าวประเมินอีกว่า อาจมีความรุนแรงเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันนี้ "กลุ่มคนเสื้อแดงมีแค่ 'มือตบ' แต่รัฐบาลมีกองทัพอยู่" และยังให้ความเห็นอีกว่านายกฯ อภิสิทธิ์ต้องการฆ่าประชาชน ต้องการฆ่าคนเสื้อแดง

ไทม์ออนไลน์รายงานถึงการรักษาความสงบว่า นอกจากจะมีการใช้หน่วยรักษาความสงบ 50,000 นายแล้ว ยังมีการติดอาวุธพวกปืนน้ำ (Water Cannon) เครื่องส่งคลื่นเสียง, แก๊สน้ำตา และไม้กระบอง ด้วย นอกจากนี้ยังมีข่าววงในรัฐบาลเตือนว่าอาจมีการใช้ปืนและปืนครกในการจู่โจม ขณะที่ผู้นำกองทัพอาวุโสจะประจำการอยู่ที่ฐานบัญชาการชั่วคราวในช่วงของการชุมนุม

รัฐบาลบอกอีกว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อสกัดกั้นกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ให้เข้ามาในกรุงเทพฯ ด้วยการตั้งด่านตรวจอย่างหนาแน่นตามทางหลวง ขู่ปิดปั้มน้ำมัน สั่งห้ามรถที่ใช้ในการเกษตร การประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคงฯ ที่เข้มงวด รวมถึงการทำให้เสื้อแดงดูเป็นผู้ร้าย (demonising the Red Shirt movement)

กลุ่มแกนนำบอกว่าพวกเขาเพียงแค่ต้องการเปลี่ยนระบบเก่าที่เอื้อประโยชน์แต่เพียงชนชั้นนำ, คนในเมือง และคนกลุ่มน้อย ณอน บุญประคอง โฆษกต่างประเทศของเสื้อแดง บอกว่าชาวเสื้อแดงคือคนไทย และมีชีวิตอยู่กับความจริงที่ว่าสังคมไทยไม่เท่าเทียมกัน

ณอนบอกอีกว่าเป้าหมายคือการยุบสภา หากมีการยุบสภาวันที่ 13 มี.ค. ก็จะไม่มีการชุมนุมวันที่ 14 มี.ค.

ไทม์ออนไลน์ รายงานอีกว่า นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า เขาจะไม่ยึดติดกับอำนาจ หากการยุบสภาหรือการที่เขาออกจากตำแหน่งจะเป็นการทำให้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้น เขาก็จะไม่มีปัญหาเลย แต่การรัฐประหารเป็นสิ่งที่เขายอมรับไม่ได้


มีเดียมอนิเตอร์เตือนสื่อทีวีแยกภาพเก่า-ใหม่จากกัน ติงทำข่าวให้คนดูตื่นตระหนก

วานนี้ (12 มีนาคม) @mediamonitorth ทวิตเตอร์ของโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม หรือมีเดียมอนิเตอร์ ทวีตข้อความแสดงความเห็นต่อการทำงานของสื่อว่า "สื่อกำลังทำข่าวแบบ ' ! ' (สร้างความตื่นตระหนก) แทนที่จะเป็น ' ? ' (ตั้งคำถามแล้วหาคำตอบในเหตุการณ์)" (อ้างจากhttp://twitter.com/mediamonitorth/status/10358312152)

นอกจากนี้ ยังแนะนำถึงการรายงานข่าวของสื่อโทรทัศน์ด้วยว่า "ทีวีต้องระบุว่าอะไร 'แฟ้มภาพ' อะไร 'สด' เพราะภาพรุนแรงจากครั้งที่แล้ว กำลังจะปลิวว่อนในทีวี ทีนี้จะแยกไม่ออกว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่" (อ้างจากhttp://twitter.com/mediamonitorth/status/10358339219)

ผู้เชี่ยวชาญใน ตปท. คาด หากเกิดความรุนแรงอาจไม่ใช่ฝีมือเสื้อแดง

ข่าวการชุมนุมของเสื้อแดงในหนังสือพิมพ์ New York Times วันที่ 11 มี.ค. เรียกการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่มีการโดยสารมาทางรถบัส รถบรรทุก และรถอีแต๋น ว่าเป็นยุทธการ "ป่าล้อมเมือง" New York Times รายงานอีกว่า การที่คนในชนบทเข้ามาชุมนุมกันในเมืองหลวงเน้นให้เห็นถึงความแตกแยกที่ฝังรากลึกในประเทศ ระหว่างคนจนชนบทกับคนเมือง

New York Times ยังได้นำเสนอความเห็นของปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมืองไทยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ ซึ่งตั้งข้อสงสัยว่า ผู้ชุมนุมมักจะใช้คำว่า 'สงครามครั้งสุดท้าย' (Final Showdown) แต่พวกเขาเชื่อว่าจะทำให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ลงจากอำนาจได้จริงไหม

นอกจากนี้ปวิน ยังบอกอีกว่าเขากลัวว่าจะมีคนกลุ่มอื่นมาสร้างความวุ่นวายเพื่อก่อให้เกิดความรุนแรง

"ถ้าเกิดเรื่องร้าย ๆ ขึ้น มันอาจจะไม่ได้มาจากเสื้อแดง" ปวินกล่าว "มันมีหลายกลุ่มมากในตอนนี้ มีอยู่ในทุก ๆ ที่ แม้แต่ในเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงก็มีกลุ่มย่อย ๆ อยู่ พวกเราไม่ทราบว่าใครเป็นพวกใคร ในสถานการณ์แบบนี้ทำให้กลุ่มคนมือที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ใช้ประโยชน์จากมันได้เสมอ"


แถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพสื่อ "ทำหน้าที่ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้ง"


สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์ร่วม "เรื่องการทำหน้าที่ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้ง" โดยมีรายละเอียดดังนี้

เรื่องการทำหน้าที่ท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้ง

ตามที่กลุ่ม ผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เริ่มเคลื่อนไหวเข้ามาชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพมหานครซึ่งเริ่มขึ้นแล้วในวันที่12 มีนาคม นี้ องค์กร วิชาชีพสื่อมวลชนประกอบด้วยสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้ประชุมหารือกันและเป็นห่วงต่อสถานการณ์ ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ องค์กรวิชาชีพสื่อฯข้างต้น มีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ขอให้สื่อมวลชนทุกแขนงตระหนักว่าเรากำลังทำหน้าที่ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งเราขอสนับสนุนให้สื่อมวลชนทุกแขนงทำหน้าที่อย่างเข็มแข็ง เสนอข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรใช้ภาษาข่าวที่รุนแรงดูถูกเหยียดหยาม ซึ่งอาจเป็นการยั่วยุให้เกิดความเข้าใจผิด ทั้งนี้สื่อมวลชนทุกแขนงต้องยึดมั่นในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน อย่างเคร่งครัด ด้วยการนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและรอบด้านมากที่สุด

2. ขอให้ฝ่ายผู้ชุมนุมและรัฐบาลตระหนักว่าสื่อมวลชน ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ ทำหน้าที่รายงานข่าวและข้อเท็จจริงตามหน้าที่ของตนไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับ ใคร เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรตกเป็นเป้าหมายของการข่มขู่ คุกคามและแทรกแซงไม่ว่าจากฝ่ายใด ซึ่งหากสื่อถูกข่มขู่และคุกคามจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ จะผลกระทบกับประชาชนที่ไม่สารมารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลและข้อเท็จจริง

3. นอกจากนี้องค์กรวิชาชีพสื่อฯได้ประชุมร่วมกับกันนักข่าวที่ทำข่าวในพื้นที่ ต่างๆของการชุมนุมเสียงส่วนใหญ่ต้องการให้องค์กรสื่อต่างๆดูแลด้านสวัสดิการ ที่จำเป็นสำหรับการทำข่าวกรณีที่เกิดความวุ่นวายเช่นอุปกรณ์ประเภทหมวกกัน น็อก แว่นป้องกันแก๊สน้ำตา

ทั้งนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อได้จัดทำปลอกแขนที่เป็นสัญลักษณ์ของสมาคมฯและได้เปิดสมาคม นักข่าวเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักข่าวเข้ามาใช้สถานที่จนกว่าสถานการณ์จะ เข้าสู่ภาวะปกติ โดยเปิดให้ใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ต อาหารว่าง รวมถึงอุปกรณ์การทำงาน ทางสมาคมจะจัดหาให้ โดยเปิดเป็นศูนย์ press center ให้กับนักข่าว

ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อนุญาตให้ใช้พื้นที่คอมมอนรูม ใต้ตึกคณะนิติศาสตร์ และกองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี(สน.นางเลิ้ง)ก็อนุญาตให้นักข่าวใช้ พื้นที่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในช่วงการชุมนุมเช่นกัน

สุดท้ายนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อขอเป็นกำลังใจให้สื่อมวลชนทุกแขนงทำหน้าที่อย่าเข็มแข็ง ซื่อสัตย์ในวิชาชีพ และขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในสันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง อย่างจริงจัง เนื่องจากความรุนแรงทุกรูปแบบจะไม่สามารถแก้ปัญหาบ้านเมืองได้อย่างยั่งยืน แต่กลับจะสร้างความสูญเสียต่อประเทศชาติอย่างยากที่จะแก้ไขเยียวยาไม่ว่าจะ ใช้วิธีการใด

สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

12 มีนาคม 2553