ที่มา Thai E-News
ที่มา ประชาธรรม
18 ตุลาคม 2553
"...เมื่อ กลับไป 200 ปีหรือ "ระบอบใหม่" หรือ "ประชาธิปไตย-รัฐ-ประชาชาติ-ลัทธิชาตินิยม" ได้กลายเป็น "รูปแบบ หลักการ มาตรฐาน และสากล ของสิ่งนามธรรมที่เรียกว่า เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ที่รัฐหรือประเทศสมัยใหม่ต้องเผชิญ ต้องรับ ต้องปรับและต้องปรุง ...ทำให้เข้ากับสภาพการณ์และสถานการณ์ของตน ไม่ว่ารัฐหรือประเทศนั้นจะเป็นระบอบกษัตริย์ ประธานาธิบดี ระบอบทหาร ระบอบอำมาตย์ หรือเป็นระบบพรรคเดียว หลายพรรค หรือระบอบใดก็ตาม เพราะนี่เป็นสัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้..."
5 เดือนที่ผ่านหลังจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง และการตั้งคณะกรรมการปฏิรูป ปรองดองของรัฐบาล เหตุการณ์ความขัดแย้งยังไม่ทุเลาลง ข้อเสนอของคณะกรรมการเหล่านั้นก็ยังไม่ออกมาอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน แม้ข้อเสนอง่ายๆอย่างการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯก็ถูกปฏิเสธจากรัฐบาล ถึงกระนั้นการติดตามเพื่อกดดันรัฐบาลต่อก็ยังไม่มีการดำเนินการ ทำให้สังคมตั้งคำถามถึง ประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้อย่างกว้างขวาง
ความขับข้อง ใจต่อการทำงานของคณะกรรมการชุดดังกล่าว รวมถึงรัฐบาลที่รับฟังแต่ความคิดเห็นที่ไปทางเดียวกับตน ทำให้มีการเสนอแนวทางการปฏิรูปจากหลายส่วนของสังคมอย่างกว้างขวาง แต่เสียงเหล่านั้นไปไม่ถึงบ้าง คกก.และรัฐบาลทำเป็นไม่ได้ยินหรือไม่ฟังบ้าง บางสิ่งก็พูดไม่ได้ จึงนำมาสู่การจัดเวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย เพื่อเปิดพื้นที่ให้ เสียงที่ไม่ได้พูด กับสิ่งที่พูดไม่ได้ และส่งเสียงไปยังรัฐบาลและคกก.อีกครั้งหนึ่ง
อ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปฐกถานำเวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย "เสียงที่พูดไม่ได้ สิ่งที่พูดไม่ได้" ในการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งจัดโดยภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มจับตาขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมไทย(Thai Social Movement watch) มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สำนักข่าวประชาธรรมและประชาไท ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา
-----------------------------------
ขอ เริ่มต้นอย่างนี้ คนที่เชิญบอกว่าอาจารย์อาวุโสไปปฏิรูปกันหมดแล้ว ตนเป็นขิงแก่แต่เพื่อนน้อย มีแต่คนถามผมว่า "ไม่ไปปฎิรูปหรือ" คำว่าปฏิรูปมันถูกใช้ในความหมายพิลึก พิลั่นไปหมด ฉะนั้นการปฐกถานำจึงคิดหนักว่าจะพูดอะไรดี จึงคิดถึงปัญหาสังคมการเมืองที่ผ่านมา มีการใช้คำว่า "สองมาตรฐาน" และ "ไพร่" อยู่ตลอดเวลา ในช่วงไม่กี่ปีของการประท้วง เมื่อใช้แล้วมีประสิทธิภาพมาก คำว่า "ไพร่" น่าจะตกเวทีประวัติศาสตร์ไปแล้ว เมื่อถูกนำมาใช้กลายเป็นคำที่มีปัญหามากๆ นักวิชาการบางคนบอกว่า ใช้ไม่ได้ นักการเมืองบางคนบอกว่าไม่ควรใช้คำนี้ แต่เมื่อดูที่เวทีการชุมนุมประท้วงของชาวบ้านเสื้อแดงแล้ว เป็นคำที่มีความหมายมากๆ มันจึงมีนัยยะสำคัญในการเกี่ยวข้องกับการเมืองไทยในปัจจุบัน
มีบท ความ ความเป็นมาของคำว่าไพร่ที่ตนได้เขียน บทสัมภาษณ์ 4 ปีรัฐประหาร และการแก้ปัญหาเขตแดนพระวิหาร ทั้ง 3 บทความเกี่ยวกับสิ่งที่จะพูดในวันนี้
อยากเริ่มต้น เมื่อโลกมนุษย์ก้าวเข้าสู่สมัยใหม่ หรือ "Modern Period-Modernity" มีหลักปรัชญาการเมืองการปกครองใหม่ที่เกิดขึ้นตามมา ที่เราเรียกว่าประชาธิปไตย หรือ Democracy ซึ่งเกิดมาพร้อมๆ กับรัฐประชาชาติ และลัทธิชาตินิยม หลักคิดนี้มีความคิดประหลาดๆ คือความคิดว่าด้วยความเสมอภาค เสรีภาพ ที่ว่าคนเท่าเทียมกัน เป็นความคิดที่ประหลาด เพราะนิ้วคนเรายังไม่เท่ากัน
ตอนเรียนอยู่ใน ระดับมหาวิทยาลัยมีอาจารย์ที่ดังๆจบมาจากอังกฤษ คนหนึ่งชื่อ เสน่ห์ จามริก อีกคนคือ พวงเพ็ญ สองท่านนั้น เอาความคิดของโทมัส ฮ็อบ (Thomas Hob) จอห์น ล็อค (John Locke )และรุสโซ (Jean Jacques Rousseau) มาสอน ฉะนั้นจึงมีคำพูดของนักคิดในยุคนั้นติดหู เช่น รุสโซ บอกว่า "มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนแห่งมีแต่เครื่องพันธนาการ" คิดว่าคำนี้เป็นวลีที่มหัศจรรย์มาก ถ้าดูอายุของรุสโซ 172 ปีผ่านมาแล้ว ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นคนสวิตเซอร์แลนด์ ความคิดเขามีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ความคิดเรื่องคนเท่าเทียมกันนี้(ที่บอกว่าเป็นความคิดประหลาด)เป็นตัวจุด ประกาย และคำนี้ถูกใช้ในคำประกาศของอเมริกา และอเมริกานั้นป็นประเทศที่ไม่มีกษัตริย์ หลังได้รับอิสรภาพก็ไม่คิดตั้งราชวงศ์ ในคำประกาศอิสรภาพของอเมริการะบุว่ามนุษย์นั้นเท่าเทียมกัน และจะถูกพรากไปไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นชีวิตหรือเสรีภาพ และการแสวงหาซึ่งความสุข เมื่อใดก็ตามที่ระบอบของการปกครอง กลายเป็นตัวทำลายซึ่งจุดหมายปลายทางดังกล่าว ก็ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเปลี่ยนแปลงหรือล้มล้างได้"
ความคิด ของรุสโซ ทำให้เกิดการปฏิวัติอเมริกา และฝรั่งเศสตามมา การปฏิวัติฝรั่งเศสก็ปฏิเสธสถาบันกษัตริย์ และมีคำขวัญที่ดังกึกก้อง คือ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ แต่มีคำอีกส่วนหนึ่งที่มักไม่ค่อยถูกพูดถึงคือคำว่า ou la mort เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "หรือความตาย" ซึ่งต่อท้ายคำสามคำนี้ คนที่เรียนประวัติศาสตร์อเมริกาจะเห็นว่า คำขวัญเรื่อง เสรีภาพกับความตายดังกึงก้องในกระแสปฏิวัติ จึงไม่แปลกที่อเมริกาจะมีเทพีเสรีภาพอยู่ที่ปากอ่าวในนิวยอร์ก
กล่าว โดยย่อนับตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ทั้งทวีปอเมริกาและทวีปยุโรปตกอยู่ในยุคสมัยของการปฏิวัติ ( The Age of Revolutions) มีการปะทะต่อสู้กันระหว่าง Democracies กับ Monarchies "ประชาธิปไตย" กับ "สถาบันกษัตริย์" เป็นการต่อสู้กันของระบอบเก่า กับระบอบใหม่
ระบอบเก่าที่สามารถต่อสู้และปรับตัวให้เข้ากับระบอบ ใหม่คือ ประชาธิปไตย รัฐ ประชาชาติ ลัทธิชาตินิยมได้ ก็อยู่รอดมาได้ เช่น อังกฤษ เดนมาร์ก เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ ฯลฯ(และกลายเป็นแม่แบบให้ประเทศแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น) ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ก็ล่มสลายไปก็เช่น รัสเซีย จีน เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี ฯลฯ
น่าสนใจว่า "การปฏิวัติสยาม" ปี พ.ศ. 2475 ( 24 มิถุนายน ค.ศ.1932) หรืออีกตั้ง 143 ปีต่อมานั้น ใน ประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1" ซึ่งเขียนโดยหลวงประดิษฐมนูธรรม(นายปรีดี พนมยงค์) ก็สะท้อนความคิดว่าด้วยประชาธิปไตย เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ ตลอดจนแนวคิดว่าด้วยรัฐ ประชาชาติ และลัทธิชาตินิยม ด้วยถ้อยคำรุนแรงและดุดัน ดังเช่น
"...กษัตริย์ทรงอำนาจอยู่เหนือ กฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนค่าเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้มีสิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร.."
"...รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์..."
"...ราษฎร ทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือข้าศึก..."
ในการประณาม "ระบอบเก่า" ด้วยถ้อยคำรุนแรงดังกล่าวนี้ ประกาศคณะราษฎรก็อ้างว่า
"...คณะ ราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่ต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกเหนือความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร..."
ประกาศฯ ดังกล่าวให้คำสัญญาว่า "...ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า..." และสรุปท้ายด้วยการเสนอหลัก 6 ประการ ซึ่งในข้อที่ 4 และ 5 ตอกย้ำว่า "จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ซึ่งในวงเล็บคือส่วนที่มักถูกตัดทิ้งไปในภายหลัง(ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่ง กว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)" และ"จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ (เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น)"
คำ ประกาศที่ว่ามนุษย์ต้องเท่าเทียมกัน นั้น น่าสนใจคือการปฏิวัติสยามในปี 2475 ในประกาศของ คณราษฎร์ ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงและดุดันมากๆ เช่น "กษัตริย์ทรงอำนาจในกลุ่มของพวกตนเอง ....ยกพวกเจ้าอยู่เหนือราษฎร ....." ไพร่ไม่ถือเป็นมนุษย์ และประโยคที่ว่า ประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตรีย์ "
อันนี้สะท้อนความคิดข้างต้นว่าเข้ามามีอิทธิพล ในไทย และน่าสนใจในอีก 13 ปีต่อมา คำประกาศของอิสรภาพของเวียดนามก็เช่นกัน คือระบุว่า มนุษย์ทั้งมวลถูกสร้างมาให้เท่าเทียมกันเช่นกัน และอ้างถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วย คือมนุษย์มีเสรี และสิทธิเท่าเทียมกัน
เมื่อ กลับไป 200 ปีหรือดูประวัติศาสตร์ระยะยาว สรุปได้ว่า "ระบอบใหม่" หรือ "ประชาธิปไตย-รัฐ-ประชาชาติ-ลัทธิชาตินิยม" (ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง 200 ปี)ได้กลายเป็น "รูปแบบ หลักการ มาตรฐาน และสากล ของสิ่งนามธรรมที่เรียกว่า เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ที่รัฐหรือประเทศสมัยใหม่ต้องเผชิญ ต้องรับ ต้องปรับและต้องปรุง รวมถึงทำให้เป็น รูปธรรม ดังเช่นคำว่า "สองมาตรฐาน หรือคำว่า ไพร่ ทีผมยกมาน่าจะทำให้เป็นรูปธรรม ซึ่งจะต้องทำให้เข้ากับสภาพการณ์และสถานการณ์ของตน ไม่ว่ารัฐหรือประเทศนั้นจะเป็นระบอบกษัตริย์ ประธานาธิบดี ระบอบทหาร ระบอบอำมาตย์ หรือเป็นระบบพรรคเดียว หลายพรรค หรือระบอบใดก็ตาม เพราะนี่เป็นสัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
-----------------------------------------
ใน ตอนท้ายของการเสวนา ดร.ชาญวิทย์ได้ตอบคำถามหรือประเด็นข้อสงสัยของวงเสวนา ที่ว่า สถาบันกษัตริย์ต่างประเทศมีการพัฒนาปรับตัวอย่างมาก จะมีโอกาสได้เห็นในประเทศไทย ว่า คิดว่าถ้าดูการปฏิวัติของประเทศต่างๆ ในโลกอย่างอเมริกา มันเป็นจุดเริ่มต้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นเรื่องประหลาด กลายเป็นรูปแบบที่คนเอาอย่างตามกันเป็นกระบวน และเกิดกระแสอย่างใหญ่โต ทั้งทวีปอเมริกา และจะเห็นว่าไม่มีประเทศไหนตั้งราชวงศ์ใหม่ ฉะนั้นการต่อสู้ในช่วง 200 ปี ถ้าสถาบันกษัตริย์สามารถปรับตัวให้เป็นประชาธิปไตยได้ก็จะอยู่ได้ เช่น อังกฤษ เป็นต้น ในอีกด้านหนึ่งการปรับได้ หรือไม่ได้ เชื่อว่ามันต้องมีปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้ปรับได้ ซึ่งปรับด้วยตัวเองอาจปรับยาก ดังตัวอย่างกรณี ญี่ปุ่น หลายคนสงสัยว่าทำไมสถาบันจักรพรรดิจึงมั่นคงแข็งแรง ถามว่าปรับตัวเองไม่ใช่ คนที่เข้าไปปรับ คืออเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งที่ประเทศอื่นในฝ่ายสัมพันธมิตรอยากให้ยุบ ปัจจัยภายนอกจึงทำให้สถาบันกษัตริย์ญี่ปุ่นต้องปรับตัว ฉะนั้นคำตอบของสังคมไทย ต้องมีปัจจัยหลายอย่างที่ผลักดันให้เกิดการปรับตัว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และต้องมีการพูดกันให้มาก ตนเคยพูดแล้ว ในสื่อกระแสหลักมักจะถูกตัดทิ้ง ผมเคยเสนอว่า สถาบันกษัตริย์จะต้องเป็นสถาบันสูงสุด เป็นสถาบันกลางที่เป็นที่เคารพสักการะของสังคมทั้งประเทศ ไม่ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเอาไปอ้าง เอาไปอิงเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตัวเอง
---------------------------------------