WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 22, 2010

วิทยุชุมชน สื่อท้องถิ่น สิ้นสุดยุคการครอบงำจากส่วนกลางของอำมาตย์

ที่มา thaifreenews

บทความโดย...ลูกชาวนาไทย

ผม ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเครือข่ายวิทยุชุมชนแห่งหนึ่งในสัปดาห์นี้ เป็นการรวมเอาวิทยุชุมชนจากภูมิภาคต่างๆ เข้ามาสัมมนาในกรุงเทพฯ นับว่าเป็นครั้งแรกที่ผมได้พบปะและพูดคุยกับ DJ ของ วิทยุชุมชนอย่างเป็นจริงเป็นจัง แม้ว่าผมจะรู้ว่าพี่น้องเสื้อแดงทั้งหลายมีสถานีวิทยุชุมชนของตนจำนวนมากก็ ตาม แต่ก็ไม่เคยได้สัมผัสอย่างจริงจัง (เช่น คุณหงส์ศาลาแดง แห่งอ่างทอง ก็มีกลุ่มที่จัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนของเสื้อแดงขึ้น และเคยเอามาโพสต์ให้ดูในเว็บบอร์ด)

จากข้อมูลที่สอบถาม ปัจจุบันมีวิทยุชุมชนอยู่ประมาณ 8,000 สถานี กำลังส่งก็ประมาณ 30-40 กิโลเมตร ต่อสถานี แม้ว่าบางสถานีจะเพิ่มความแรงขึ้นอีก แต่ก็มีผลไม่มากนัก เพราะสถานีอื่นๆ ก็จะเพิ่มกำลังส่งตาม ทำให้เกิดการแทรกสอดของคลื่น (resonance) สุดท้ายกำลังส่งก็จะหดกลับมาอยู่ที่ประมาณ 30- 40 กิโลเมตรเหมือนเดิม

รัศมีขนาดนี้ก็กินพื้นที่ประมาณ 2-3 อำเภอ ครับ ครอบคลุมประชากรประมาณ 1.0-1.5 แสนคน หากเป็นเขตชนบทนะครับ เท่าที่ผมคุยกับดีเจ สถานีส่วนใหญ่จะก่อตั้งกันขึ้นเอง หรือเป็นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในท้องถิ่น โดยใช้ทุนประมาณ 2-6 แสนบาท บางสถานีก็ทำในเชิงพาณิชย์ บางสถานีก็เพื่อบริการชุมชนอย่างเดียว รายได้ของดีเจเท่าที่ผมถามดู บางสถานีก็ได้ประมาณ 15,000 -100,000 บาท หรือกว่านี้ หากอยู่ในเขตเมือง และสามารถหาโฆษณาต่างๆ สนับสนุนได้มาก

เนื้อหา ส่วนใหญ่นายสถานีต่างๆ (ดีเจ) ก็หามาเอง จากหนังสือพิมพ์บ้าง จากเว็บไซต์บ้าง หรือจากข่าวแจกของหน่วยงานราชการบ้าง รวมทั้งข่าวท้องถิ่นต่างๆ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สจ. ของเขตนี้ไปทำอะไรบ้างเป็นต้น มีกิจกรรมของชุมชนในเขตนั้นอย่างไรบ้างเป็นต้น สรุปคือ มีเนื้อหาที่เป็นส่วนกลาง กับเนื้อหาที่เป็นส่วนท้องถิ่น

เมื่อนั่งคุยกับดีเจเหล่านี้ ทำให้ผมคิดได้ทันทีว่า สถานีวิทยุชุมชนทั้งหลายคือ "สื่อท้องถิ่น (Local Media) อย่างแท้จริง มีค่าไม่แตกต่างอะไรกับ “หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น” ตามแบบประเทศตะวันตก ดีเจทั้งหลายคือ “บรรณาธิการข่าว” นั่นเอง คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ หรือไม่ชอบเขียนหนังสือ ทำให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของไทยไม่ขยายตัว ดังนั้นกิจการสื่อของประเทศไทยทั้งหลายจึงถูกครอบงำโดยกรุงเทพฯ

ข่าว สารต่างๆ ก็เป็นของกรุงเทพฯ ดาราคนไหนท้อง ใครด่ากันตีกัน ทะเลาะกัน ก็เป็นสังคมของคนกรุงเทพฯ ที่ยัดเยียดครอบงำให้คนต่างจังหวัดได้รู้ได้อ่าน ได้ซึมซับ ทำให้ประเทศไทยทั้งหลายทั้งปวงจึงรวมศูนย์อยู่ในกรุงเทพฯทั้งหมด

กรุงเทพฯ คือประเทศไทยมานานแล้ว ทั้งๆ ที่ตามข้อเท็จจริงแล้ว มันไม่ใช่ กรุงเทพฯ ไม่ใช่ประเทศไทย

คนไทยไม่ชอบอ่าน แต่คนไทยชอบฟัง สมัยผมเป็นเด็กไปทำนากับพ่อแม่ พี่สาว (แต่ผมไปเล่น ไม่ได้ช่วยเขาทำ 555) ชาว นา เขาก็มีวิทยุทรานซิสเตอร์ไปด้วย สมัยนั้นที่บ้านผมรายการของประจวบจำปาทอง กำลังดัง สื่อวิทยุจึงเป็นสื่อเดียวที่เข้าถึงคนชนบท ทุกที่ทุกเวลาในขณะทำงาน

การ เกิดขึ้นของวิทยุชุมชน ผมคาดว่า จุดเริ่มต้นหลายแห่งมาจาก "หอกระจายข่าว" ประจำหมู่บ้านต่างๆ สมัยผมทำงานในตำบล ก็เคยช่วย ผสส./อสม. (อาสาสมัครประจำหมู่บ้านของกระทรวงสาธารณสุข) หาทุนจัดตั้ง คนที่ชอบพูดในหมู่บ้าน/ตำบล ก็ออกมาจัดรายการ ผมคิดว่าในทศวรรษนี้ เทคโนโลยีสถานีวิทยุราคาถูกลงมาก ทำให้ชาวบ้านทั่วไป สามารถหาซื้อได้ หอกระจายข่าวจึงยกระดับเป็นสถานีวิทยุชุมชน

จะอย่างไรก็ตามนี่คือ "สื่อของท้องถิ่น" เกิดขึ้นในท้องถิ่น เพื่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง เนื้อหาก็เป็นของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

นี่เป็นการทำลายการผูกขาดทางข้อมูลข่าวสารจากส่วนกลางอย่างแท้จริง พัฒนาการต่อไปผมคาดว่าอิทธิพลของส่วนกลางต่อท้องถิ่นต่างๆ จะลดลง

รา จึงเห็นคนเสื้อแดงที่มีความเห็นแตกต่างจากระบบการครอบงำของอำมาตยาธิปไตย อย่างสิ้นเชิง รายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประเภท "รายการเพื่อแผ่นดินไทย" ที่มุ่งครอบงำทางอุดมการณ์และความคิดของประชาชน ให้เชื่ออยู่กับระบอบการเมืองแบบดั้งเดิม ไม่สามารถเข้าถึงชุมชน คนท้องถิ่นได้อีกต่อไป ชาวบ้านมีทางเลือกในการเข้าถึงข่าวสารมากขึ้น

แน่ นอนจำนวนสถานีที่มาก และจัดตั้งได้ไม่ยากนัก ทำให้การเข้าครอบงำของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะมันจะมีคนเปิดสถานีขึ้นมาสู้ได้ไม่ยากนัก และสถานีเหล่านี้ แม้จำนวนมากจะมีเนื้อหาทางพาณิชย์ แต่เท่านที่ผมทราบ คนเสื้อแดงก็มีเนื้อหาทางการเมืองหลายสถานี มีการเอาบทความจากอินเตอร์เน็ทต่างๆ ไปออกรายการ (แม้แต่บทความของผม ก็มีบางสถานีเคยเอาไปอ่าน)

ารทำลาย การผูกขาดของระบบข่าวสาร ทำให้แนวคิดของอำมาตย์ ที่จะครอบงำคนไทยต่อไปนั้น คงยาก แม้จะพยายามระดมการโปรประกันดาอย่างหนักโดยใช้ สื่อแบบ "เหวี่ยงแห" ก็ตาม แต่สื่อส่วนกลาง หรือสื่อกระแสหลักทั้งหลาย ผมทราบว่าตอนนี้ "ชาวบ้าน" ปิดการรับฟังไปจำนวนมาก

หาก ผูกขาดระบบการสื่อสารไม่ได้ ก็ยากที่จะผูกขาดอุดมการณ์ทางการเมือง หากผูกขาดอุดมการณ์ทางการเมืองไม่ได้ ก็ยากที่จะครองประเทศแต่กลุ่มเดียวต่อไปได้อย่างราบรื่น

ทศวรรษนี้ สถานีวิทยุชุมชน มีบทบาท แต่เมื่อระบบ 3G, 4G มาถึง สถานีวิทยุ/โทรทัศน์ ผ่านมือถือ ทางอินเตอร์เน็ต จะเข้ามามีอิทธิพลต่อประชาชนกลุ่มต่างๆ มากยิ่งขึ้น

อำมาตย์ที่มุ่งครอบงำความคิด หากไม่ปรับตัว ก็คงยากที่จะอยู่รอดต่อไป หากไม่ปรับตัว