WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 23, 2010

นักปรัชญาชายขอบ: มหาวิทยาลัยเทวดา

ที่มา ประชาไท

นักปรัชญาชายขอบ

ว่า ด้วยบทสนทนาในรั้วมหาวิทยาลัยซึ่งกำลังปรับตัวสู่การเป็นมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ และสิ่งที่ถูกพูดถึงน้อยก็คือคุณภาพบัณฑิตและความเป็นอิสระทางวิชาการ

สอง วันมานี้ผมมานั่งฟังการอภิปรายแนวทางการการปรับเปลี่ยมหาวิทยาลัยไป เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นสากล แม้จะเห็นด้วยในหลายๆ เรื่อง แต่บางเรื่องก็เหนื่อยใจ

การเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สิ่งที่พูดกันในประชาคมมหาวิทยาลัยก็คือเรื่องเก่าๆ เช่น ความเป็นอิสระ ความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ความมั่นคงของอาจารย์ค่าตอบแทนของอาจารย์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อกันสมองไหล การไม่ขึ้นค่าเรียน (เพราะสาเหตุการออกนอกระบบ ถ้าจะขึ้นก็เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม)

แต่เรื่องที่พูดกันน้อยคือ เรื่องคุณภาพบัณฑิตจะดีขึ้นกว่าเดิมอย่างไร มหาวิทยาลัยจะรับผิดชอบหรือรับใช้สังคมมากขึ้นกว่าเดิมอย่างไร

ที่ คาใจผมคือการบรรยายของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันเป็นองคมนตรี) ที่บอกว่า การที่มหาวิทยาลัยจะก้าวไปสู่ความเป็นสากลจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ แล้วก็เอาความรู้นั้นมาพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน พร้อมกับบริการวิชาการแก่สังคม และ/หรือเสนอทางเลือกใหม่ๆ แก่สังคม ซึ่งตรงนี้ผมเห็นด้วย

แต่พอท่าน ยกตัวอย่างว่า ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมามหาวิทยาลัยแทบไม่ได้ช่วยอะไรเลย แล้วก็ยกตัวอย่างว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนที่มีชื่อติดสื่อ ออกความเห็นผ่านสื่อทุกเรื่องนั้น ที่จริงก็ไม่ใช่ผู้รู้จริง แล้วท่านก็เสนอว่าการแสดงความเห็นต่อสาธารณะจะต้องรู้จริง และต้องคำนึงว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่ ต้องมีความเป็นกลาง ตัดอัตตาของตัวเองออกไป

ไม่ ควรคิดว่าอาจารย์คนใดคนหนึ่ง แสดงความเห็นอะไรออกไปจะเป็นความรับผิดชอบของอาจารย์คนนั้นเท่านั้น ยังไงก็ต้องเป็นความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยด้วย ถ้าจะให้ดีก่อนที่อาจารย์หรือตัวบุคคลจะแสดงความเห็นอะไรออกไป ควรมีการพูดคุยกันภายในก่อน หรือมีการกลั่นกรองกันภายในมหาวิทยาลัยก่อนว่าสิ่งที่จะเสนอต่อสาธารณะมัน จริงหรือไม่? เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่?

ผมฟังถึงตรงนี้ แล้วก็ได้แต่นึกในใจว่า ท่านผู้เสนอกำลังคิดว่าสถาบันอุดมศึกษาเป็นสถาบันองคมนตรีหรืออย่างไร ท่านกำลังพูดเรื่องการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นสากล แต่ท่านกลับเสนอให้มี “ระบบเซ็นเซอร์” ความเห็นของอาจารย์ก่อนเสนอต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ไปลดทอน “ความเป็นสากล” คือ “เสรีภาพทางวิชาการ” เสียเอง

แล้วมันก็น่าแปลกนะ ครับ การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นสากล จะต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้เยอะแยะไปหมด แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องการสร้าง “วัฒนธรรมประชาธิปไตย” ราวกับว่ามหาวิทยาลัยมีวัฒนธรรมประชาธิปไตยเข้มแข็งดีอยู่แล้ว

พูด ซ้ำๆ กันว่าจะต้องพัฒนาให้บัณฑิตมีคุณธรรมจริยธรรม โดยท่านองคมตรียกตัวอย่างคุณธรรมที่ควรส่งเสริม เช่น ความจงรักภักดีต่อแผ่นดิน ความซื่อสัตย์ ไม่ใช่ผลิตคนจบออกไปแล้วไปโกงแผ่นดิน เผาบ้านเผาเมือง

ผม ฟังแล้วก็ได้แต่ปลง คือผมเห็นด้วยว่ามหาวิทยาลัยต้องวิจัย ต้องรู้จริง (แต่อย่าไปอวดว่ารู้จริงกว่าคนอื่น รู้จริงกว่าชาวบ้าน) และเรื่องที่มหาวิทยาลัยควรวิจัยอย่างยิ่งคือเรื่องบทบาทของกองทัพ และบทบาทของสถาบันกษัตริย์กับการเมือง ทำอย่างไรจะเอากองทัพออกไปจากการแทรกแซงทางการเมือง บทบาทของสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองจริงหรือไม่ ควรจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยสากลอย่างไร เป็นต้น

มหาวิทยาลัย ควรวิจัยเรื่องความตื่นตัวทางการเมืองของชาวบ้าน คนระดับล่างของสังคม คนต่างจังหวัด (ไม่ใช่เอาน้ำลายสื่อบางค่ายมาพูดว่าชาวบ้านถูกหลอกถูกล้างสมองถูกซื้อฯลฯ) เรื่องทัศนะต่อประชาธิปไตยของคนชั้นกลางในเมืองว่าทำไมจึงเรียกร้องต้องการ ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับของอำนาจเผด็จการจารีต เป็นต้น

แต่ ว่าที่เร่งด่วนกว่า ควรวิจัยว่าทำไมมหาวิทยาลัยจึงเป็นที่พึ่งในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของ ชาวบ้านไม่ได้ (แต่อธิการบดีของหลายมหาวิทยาลัยกลับเป็นที่พึ่งของ คมช. หรืออำนาจที่ทำรัฐประหารได้)

ถ้ามหาวิทยาลัยไม่แตะเรื่อง สำคัญ เช่น บทบาทของกองทัพ สถาบันกษัตริย์ ต่อพัฒนาการประชาธิปไตย และการตื่นตัวเรียกร้องประชาธิปไตยของชาวบ้าน แล้วเสนอทางออกอย่างเป็นหลักวิชาการ เป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัยจะอยู่ในระบบนอกระบบ จะเป็นท้องถิ่นหรือก้าวสู่สากล ก็ไม่มีความหมายอะไรต่อสังคมจริงๆ หรอกครับ

ความหมายจริงๆ ที่มีที่เป็นอยู่คือ ความเป็น “มหาวิทยาลัยเทวดา” ที่เสวยสุขอยู่บนสวรรค์วิมาน ไม่รู้ร้อนรู้หนาวว่าประเทศนี้จะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ ชาวบ้านที่เรียกร้องประชาธิปไตยจะตายหรือเป็น

อยู่กันแบบมหาวิทยาลัย เทวดาดีว่า ออกนอกระบบแล้วอาจารย์มีความมั่นคงรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ผู้บริหารมีอำนาจเพิ่ม เอางบประมาณมายำได้อย่างอิสระกว่าเดิมหรือไม่ จะมีสิทธิ์ได้เครื่องราชหรือไม่ ก็คุยกันไปถกเถียงกันไปเพราะเราคือมหาวิทยาลัยเทวดา!