WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 22, 2010

นายกรัฐมนตรี ประธาน และผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เข้าใจผิดเรื่องเงินบาทและการคุมเงินเฟ้อ

ที่มา มติชน



โดย สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2553 ว่า

"ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล
ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าว
ถึงข้อเสนอที่ให้ ธปท.ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ว่า คงทำไม่ได้เหมือนปี 2540
ส่วนเรื่องของดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้นมา 2 ครั้งก่อนหน้านี้
เพื่อดูแลตัวเลขเงินเฟ้อตามเศรษฐกิจที่ขยายตัว
แต่ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในสัปดาห์หน้ามี
เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะฉะนั้น
การขึ้นดอกเบี้ยจะมีความจำเป็นน้อยลง แต่คงไม่สามารถลดได้ หรือไม่ก็คงไว้ ไม่ขึ้น
สำหรับข้อเสนอของ′ดร.โกร่ง′ นายวีรพงษ์ รามางกูร นั้น ท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่
แต่ก็ต้องพิจารณาดูว่าผิดหรือถูกด้วย"

"นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า
ขณะนี้เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้น และไม่มีจุดดุลยภาพ
เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังมีปัญหา
ดังนั้นการดำเนินการใดๆ ในขณะนี้ต่อเงินบาทอาจเป็นการสุ่มเสี่ยงและอันตราย
โดยเฉพาะข้อเสนอการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง
เพราะจะเป็นการไปสร้างสมดุลที่เป็นดุลยภาพเทียม
ซึ่ง ธปท.คงทำไม่ได้ทั้ง 3 เรื่อง ทั้ง
1.ดูแลเสถียรภาพด้านราคา
2.การเคลื่อนย้ายเงินทุน และ
3.ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
นายประสารกล่าวว่า ธปท.ทำได้แค่ 2 เรื่องแรกเท่านั้น ส่วนเรื่องที่ 3.คงทำไม่ได้
เพราะหลังปี 2540 เราเปลี่ยนมาใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบ มีการจัดการ
เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น"

นายประสารยังกล่าวว่า
"การกลับไปกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีความเสี่ยงสูง
เพราะเคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยมาแล้ว ถ้าผู้ลงทุนไม่เชื่อในดุลยภาพที่ ธปท.สร้างขึ้นมา
เราจะมีต้นทุนทางการเงินที่สูงมาก เท่ากับว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหา
จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมาก
เพราะจะเห็นว่าบางประเทศที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
เมื่อถึงจุดที่ต้องปรับเปลี่ยน มีความเสียหายตามมามาก
และเราก็ได้รับบทเรียนมาแล้วเมื่อวิกฤตปี 2540"




นอกจากนี้ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
วันนี้ได้เห็นชัดว่าบางประเทศใช้ยาแรง คือ
พร้อมที่จะทุ่มเอาเงินสำรองหรือเอาเงินไปซื้อเงินตราต่างประเทศแก้ปัญหาหมดเงินไปเยอะ
กว่าที่เราจะมีใช้ด้วยซ้ำ แต่ค่าเงินก็ยังแข็งขึ้น นี่คือสิ่งที่อยากให้ระมัดระวัง
เพราะบทเรียนที่สำคัญที่สุดเรื่องวิกฤตปี 2540 สมัยของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็คือว่า
ในที่สุดแล้ว เราฝืนตลาดไม่ได้ ถ้าพยายามไม่ฝืนแล้ว ก็จะเจ็บหนัก
สุดท้ายสิ่งที่ต้องการก็ไม่ได้และต้องสูญเสียอะไรไปอีกมาก"


ความเห็นผู้เขียน

ผู้เขียนขอเรียนว่าทั้ง 3 ท่านเข้าใจผิด
หรืออาจขาดความรู้ในเชิงปรัชญาเศรษฐศาสตร์
ทั้งในเรื่องการดูแลค่าเงินบาทและการควบคุมเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด เช่น ประเทศไทย


นอกจากนี้ การศึกษาทางวิชาการจำนวนมากในหลายประเทศ เพื่อกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
ยังไม่มีข้อสรุปว่า อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Flexible exchange rate) มีผลดีต่อประเทศมากกว่า
อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ที่มีกรอบการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ (Managed fixed exchange rate)

และการกำหนดดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ
ก็ไม่จำเป็นต้องมีอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวด้วย


นายกรัฐมนตรี ประธาน และผู้ว่าการแบงก์ชาติเข้าใจผิดเรื่องค่าเงินบาท

วิกฤตปี 2540 สมัยของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ตรงข้ามกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ตอนนั้นค่าบาทถูกกำหนดให้คงที่ 25.6 บาทต่อเหรียญ เงินดอลลาร์สหรัฐได้แข็งค่าขึ้นมาก
จึงทำให้บาทแข็งค่าตาม เพราะเรากำหนดอัตราแลกเปลี่ยนบาทคงที่กับเงินสหรัฐ
จนการส่งออกมีอัตราเพิ่มติดลบ มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากถึง 8% ของจีดีพี (GDP)
ติดต่อกัน 2 ปี (2538-2539) ต่างชาติจึงโจมตีค่าเงินบาทเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าลงมากๆ อย่างรวดเร็ว
โดยการแลกเงินดอลลาร์ในประเทศแล้วนำออกจากประเทศไทยให้หมด

ต่างชาติจึงบังคับให้รัฐบาลไทยลดค่าเงินบาทได้ เพราะเราพิมพ์เงินดอลลาร์ไม่ได้

เมื่อเงินดอลลาร์ลดลงไปมาก เงินบาทก็ไม่มีฐานทรัพย์สินต่างประเทศรองรับเพียงพอ
รัฐบาลไทยจึงถูกบังคับให้ลดค่าเงินบาท ทำให้ระบบเศรษฐกิจหดตัวมากอย่างฉับพลัน
หน่วยธุรกิจในประเทศจึงล้มละลายลงเป็นจำนวนมาก เพราะหนี้สินเพิ่มขึ้นมาก
ในขณะที่มูลค่าทรัพย์สินและรายได้ลดลงอย่างมาก

เหตุการณ์ปัจจุบันนั้นตรงข้ามกัน คือ ต่างชาตินำเงินดอลลาร์เข้ามามาก มาแลกเงินบาทในประเทศ
ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก แม้จะทำให้ตลาดทรัพย์สินก็คือตลาดหุ้นมีราคาเพิ่มขึ้น
แต่ก็ทำให้อัตราเพิ่มของการส่งออกลดลงมาก
สินค้าขั้นกลางที่ผลิตแข่งกับการนำเข้าก็ลดการผลิตลง
การท่องเที่ยวก็มีรายได้ลดลง
จะทำให้ธุรกิจเกิดการล้มละลายจำนวนมาก จนอัตราความเจริญเติบโตของชาติลดลง

แต่ในกรณีนี้ ต่างชาติบังคับให้เราแข็งค่าเงินบาทไม่ได้ เพราะเราพิมพ์เงินบาทได้เอง

เราจึงสามารถพิมพ์เงินบาทมาแลกเงินดอลลาร์ที่ไหลเข้ามาได้ทั้งหมด ณ ราคาระดับหนึ่ง
(เช่น 33 บาทดอลลาร์) เงินบาทก็จะไม่แข็งค่า เงินทุนไหลเข้าก็จะไม่มีผล
ทำให้รายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวลดลง
(โดยหากมีความกดดันเงินเฟ้อก็ให้ใช้พันธบัตรดูดซับเงินบาทออกจากระบบเศรษฐกิจ)

ประเทศเราจะมีเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นมากในเงินสำรองระหว่างประเทศ
ก็ให้เปลี่ยนเงินสำรองเป็นทรัพย์สินในต่างประเทศ เช่น
การซื้อบ่อน้ำมัน
การซื้อบริษัทสื่อสารพลังงานในต่างประเทศ เฉกเช่นประเทศจีน สิงคโปร์ ทำอยู่ทุกวันนี้

นอกจากนี้ การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้อ่อนค่ากว่านี้
จะเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีอัตราความเจริญเติบโตสูงในระยะยาวด้วย
เช่นเดียวกับประเทศจีนวันนี้ และเวียดนามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ผู้เขียนจึงขอสรุปว่า
เป็นความเข้าใจผิดที่ว่าต่างชาติสามารถโจมตีค่าเงินบาทแล้ว
บังคับให้เงินบาทแข็งค่าได้ เงินบาทนั้นเราพิมพ์เอง
ต่างชาติจึงไม่สามารถนำเงินตราต่างประเทศมาแลกเงินบาท
จนเงินบาทมีไม่พอทำให้เงินบาทแข็งค่า
การโจมตีค่าเงินบาทจึงโจมตีได้เฉพาะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง
ด้วยการดึงเงินตราต่างประเทศออกไปมากๆ เท่านั้น


ทั้ง 3 ท่านยังเข้าใจผิดที่เรื่องการคุมเงินเฟ้อ

เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิดให้เงินทุนไหลเข้าออกได้ (ดูรูป)
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ชาติให้สูงกว่าดอกเบี้ยดอลลาร์มากๆ
จะไม่ทำให้ปริมาณเงินบาทในระบบเศรษฐกิจลดลง เพราะเงินต่างชาติจะไหลเข้ามามากกว่า
ปริมาณเงินบาทที่แบงก์ชาติดูดออกไป จึงยิ่งทำให้มีความกดดันให้เงินเฟ้อมากขึ้นด้วย

ดังนั้น ในขณะที่มีเงินทุนไหลเข้ามามากเกินไปเช่นนี้
แบงก์ชาติจึงควรลดดอกเบี้ยในชาติให้เท่ากับหรือต่ำกว่าดอกเบี้ยสหรัฐ
(เราไม่เปรียบเทียบดอกเบี้ยกับเพื่อนบ้าน เพราะเขาก็มีปัญหาเหมือนกัน) คือ
ให้ลดดอกเบี้ยลงไป 1.5% เพื่อลดเงินปริมาณเงินดอลลาร์ไหลเข้า

การลดดอกเบี้ยในชาติลงในกรณีนี้ จะทำให้

(1) เงินบาทไม่แข็งค่า

และ
(2) ความกดดันเงินเฟ้อ
อันเนื่องจากเงินทุนไหลเข้า ลดลงด้วยโดยให้ติดตามดูว่า
เมื่อลดดอกเบี้ยลงแล้ว จะเกิดเงินเฟ้อ
เพราะมีปริมาณเงินบาทในระบบเศรษฐกิจมากเกินไปหรือไม่
หากมี ก็ให้ใช้พันธบัตรดูดซับเงินบาทออก

ผู้เขียนมั่นใจว่าประเทศจะไม่มีความกดดันด้านเงินเฟ้อ
แต่ประเทศไทยจะเปลี่ยนเป็นประเทศที่มีอัตราความเจริญเติบโตสูงในระยะยาว
เช่นเดียวกับประเทศจีนในวันนี้ และเวียดนามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต