WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 22, 2010

พฤษภาอำมหิต ฆ่าคนตาย90ศพ ฟรีทีวีกลับฉายละครน้ำเน่าเฉย!

ที่มา บางกอกทูเดย์

พฤษภาอำมะหิต ฆ่าคนตาย90ศพ  ฟรีทีวีกลับฉายละครน้ำเน่าเฉย!

ไทยรูดลงอันดับ153
สื่อไร้เสรีภาพ!!
ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ทางการเมือง จะต้องมีการจับตามองในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดๆ ในโลกนี้ก็ตาม

ดัง นั้นนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงเดือน มีนาคม 2553 จนกระทั่งนำไปสู่การสลายการชุมนุมที่บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนบาดเจ็บล้มตาย

และยิ่งรุนแรงบานปลายหนักขึ้น ในการสลายการชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งทำให้จำนวนคนตายเท่าที่ปรากฏเป็นรายงานขยับขึ้นไปเป็น 90 คน บาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน

ในขณะที่จำนวนผู้หายสาบสูญนั้นไม่ปรากฏตัวเลขที่ชัดเจน

สำหรับ ประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น พระประมุข อย่างเช่นประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบประเทศประชาธิปไตยในโลกเสรีประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

จึงไม่แปลกที่ทั่วโลกจะระงมคำถามว่า เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นในเมืองไทยได้อย่างไร???

และที่สำคัญก็คือ นอกจากเรื่องสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยจะถูกถามแล้ว

เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในประเทศไทย รวมทั้จิตวิญญาณทางด้านวิชากาารสื่อสารมวลชนในประเทศไทย... ก็ถูกถามด้วยเช่นกัน

ยิ่ง เกิดเหตุการณ์นักข่าวต่างชาติถึง 2 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น และอิตาลี ต้องมาเสียชีวิตในเหตุการณ์การเมืองของไทย นอกเหนือจากที่มีสื่อมวลชนบาดเจ็บอีกร่วม 15 คนด้วยแล้ว

คำถามเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพทางสื่อมวลชนของไทยยิ่งดังมากขึ้น

ฉะนั้นไม่แปลกหากเสรีภาพสื่อไทยในสายตาของสื่อมวลชนโลก จะถูกจัดอันดับให้ร่วงลงไปอยู่อันดับที่ 153 จากเหตุรุนแรงทางการเมือง

หรือร่วงลงไปถึง 23 อันดับ จากที่ก่อนหน้าเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต ไทยเคยอยู่ในอันดับที่ 130

ทั้ง นี้สำนักข่าวเอพี รายงานข่าวไปทั่วโลกว่า องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Borders) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้มีการเปิดเผยผลสำรวจสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลกประจำปี 2553 จำนวน 178 ประเทศ พบว่า ประเทศที่สื่อมีเสรีภาพมากที่สุดในโลก 20 ประเทศ นับตั้งแต่จัดอันดับเมื่อปี 2545 นั้น ส่วนใหญ่เป็นประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มยุโรปเหนือ

เพราะสมาชิกสหภาพยุโรปมี จำนวน 27 ประเทศ ในขณะที่ประเทศในสหภาพยุโรปที่ติดอันดับ 1 ใน 20 ประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพสื่อมวชนมากที่สุดในโลกนั้น มีมากถึง 13 ประเทศ

และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศเหล่านี้ให้เกียรติและปกป้องสื่อจากการใช้อำนาจมิชอบทางตุลาการ จึงติดอันดับ “Top20” มาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม องค์กรผู้ข่าวสื่อข่าวไร้พรมแดน ก็ได้ฝากเตือนว่า สหภาพยุโรป (อียู) เสี่ยงเสียตำแหน่งผู้นำโลกเรื่องการเคารพเสรีภาพสื่อ เพราะมีสมาชิกบางประเทศที่อยู่ในอันดับที่ไม่ดีนัก เช่น อิตาลี อันดับที่ 49 กรีซ และโรมาเนีย อยู่อันดับที่ 70

ถ้าอันดับที่ 49 และอันดับที่ 70 ยังถือว่าไม่ดีนัก แล้วประเทศไทยที่ได้อันดับ 153 จากทั้งหมด 178 ประเทศ ถือว่าอยู่ท้ายของตารางการจัดอันดับ เพราะอยู่ห่างจากอันดับบ๊วยแค่ 25 อันดับเท่านั้น

ประเทศไทยจะเรียกว่าอะไร???

องค์กรสื่อสารมวลชนต่างๆ ของไทยที่เป็นองค์กรกลางทั้งหลาย คงจะต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาเรื่องนี้ให้มากๆ

เพราะคงไม่อยากเห็นประเทศไทยถูกจัดอันดับร่วงลงไปมากกว่านี้

สำหรับ ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่ามีการปิดกั้นสื่อมวลชนมากที่สุด ให้เสรีภาพสื่อมวลชนน้อยที่สุดในการสำรวจ โดยอยู่ในอันดับที่ 178 คือ เอริเทรีย ซึ่งอยู่ในอันดับนี้มา 4 ปี ติดต่อกันแล้ว

รองมาคือ เกาหลีเหนือ อันดับที่ 177 ในขณะที่ ซีเรีย อยู่อันดับที่ 173 จีน อันดับที่ 171 เยเมน อยู่ที่อันดับ 170

ขณะ ที่ รวันดา อยู่อันดับ 169 พม่าและลาว อยู่อันดับ 168 และเวียดนามอยู่ที่ 165 ด้วยเหตุผลคือ รัฐบาลประเทศเหล่านี้มีการปิดกั้นเซ็นเซอร์ข่าวสารของสื่อมวลชนอย่างมาก เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างไปจากข้อมูลของ รัฐบาล

น่าสนใจก็คือกลุ่ม BRIC หรือกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่มาแรงของโลก ที่ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ผลสำรวจพบว่า จีนยังคงไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการยกระดับสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของ สื่อมวลชน จึงทำให้จีน ได้อันดับที่ 171

ส่วนบราซิลอยู่อันดับที่ 58 อินเดียได้อันดับที่ 122 และรัสเซียอยู่ที่อันดับ 140 เพราะยังมีการควบคุมและลงโทษสื่อมวลชนอย่างเข้มงวด

สำหรับประเทศในเอเชียนั้น พบว่า ประเทศที่มีคะแนนนำลิ่ว และถูกจัดอันดับดีที่สุด คือ ญี่ปุ่น อยู่ในอันดับที่ 12

และ ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนของไทยนั้น พบว่า อินโดนีเซีย อยู่ในอันดับดีที่สุด คือ 117 ตามมาด้วยกัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 128 สิงคโปร์อยู่ที่อันดับ 137 มาเลเซีย คืออันดับที่ 141 และบรูไนอยู่ที่อันดับที่ 142

ดังนั้นการที่ไทย อยู่ในอันดับที่ 153 จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาแล้วว่า เกิดอะไรขึ้นกับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในประเทศไทย ที่อันดับยังต่ำกว่าอินโดนีเซีย ต่ำกว่ากัมพูชาด้วยซ้ำ

เพราะองค์กร ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส ระบุว่า แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดว่า ประเทศใดสื่อตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายกว่ากัน แต่จะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกันสำหรับประเทศที่อยู่ในอันดับท้ายๆ ของตารางก็คือ การพลเมืองในประเทศเหล่านั้น ถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงสื่อ และข้อมูลข่าวสาร

ซึ่งจริงแล้วกรณีของประเทศไทย ช่วงพฤษภาอำมหิตก็มีการพูดกันมาก เพราะในขณะที่เกิดความรุนแรงอย่างมาก จนประชาชนบาดเจ็บล้มตาย บรรดาโทรทัศน์ฟรีทีวี ยังคงฉายละครโทรทัศน์น้ำเน่าให้ประชาชนดูกันหน้าตาเฉย

ภาพข่าว ภาพเหตุการณ์ ต่างๆ คนไทยต้องไปดูจากสำนักข่าวต่างประเทศ จาก CNN จากสำนักข่าวอัลจาซีรา เป็นต้น

ดัง นั้น เรื่องนี้นอกจากจะต้องเป็นการบ้านให้กับองค์กรข่าว องค์กรสื่อมวลชนต่างๆ ของไทยแล้ว ก็คงต้องถือเป็นเรื่องที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งจบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน

จะ ต้องพิจารณาดูด้วยว่า การที่ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การที่ยังคงหน่วยงาน ศอฉ. การที่ยังให้มีการไล่ตรวจสอบสื่อ และปิดเว็บไซต์ข้อมูลข่าวสารอย่างมากมาย จนเป็นข่าวไปทั่วโลกนั้น เป็นเรื่องที่เหมาะสมเพียงใด

เพราะอย่างที่เป็นรายงานไปทั่วโลก สิทธิเสรีภาพสื่อสารมวลชนไทย อยู่ห่างจากอันดับบ๊วยแค่ 25 อันดับเท่านั้นเอง!!!

สำหรับ ประเทศอาเซียนที่อยู่ในอันดับต่ำกว่าไทย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อันดับที่ 156 เวียดนาม อันดับที่ 165 ลาว อันดับที่ 168 และ พม่า อันดับที่ 174