WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 23, 2010

สปิริตประธานศาล รธน.หรือแค่"จ่าเฉย"

ที่มา มติชน


ชัช ชลวร



พสิษฐ์ ศักดาณรงค์(คนขวา)

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

ถึง เวลานี้ อาจจะยังไม่รู้ว่า ใครเป็นเหยื่อใคร กรณีการเผยแพร่คลิปที่พรรคเพื่อไทยอ้างว่า เป็นการต่อรองในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินภายในปลาย ปี 2553


แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือของทั้งองค์กรและผู้บริหารระดับสูงในศาลรัฐธรรมนูญได้เป็นอย่างดี


ความจริงแล้ววิกฤตที่เกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญมิได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงตัดสินคดี"ซุกหุ้น"ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544


พฤติการณ์ของตุลาการบาง(หลาย)คนและกระบวนการในการวินิจฉัยคดีที่"ไร้มาตรฐาน"ทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว


แต่ น่าเสียดาย มิได้ทำให้ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการบางคนสำนึก ที่ช่วยกันสร้างองค์กรให้มีเข้มแข็งน่าเชื่อถือต่อสาธารณะ


หลังจากการตัดสินคดี"ซุกหุ้น"ผ่านมา 10 ปี คนในศาลรัฐธรรมนูญได้ก่อวิกฤตขึ้นภายในองค์กรอีกครั้งหนึ่ง


การที่นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ สั่งปลดนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ออกจากตำแหน่งเลขานุการฯ หลังจากที่ก่อเหตุการณ์อื้อฉาวแอบอ้างตำแหน่งเลขานุการประธานศาลฯไปเจรจาต่อ รองกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เรื่องคดียุบพรรค เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว


แต่ คำถามที่เกิดขึ้นทันทีคือ นายชัชควรแสดงความรับผิดชอบ(มากกว่านี้)อย่างไร เพราะนายพสิษฐ์ เป็นบุคคลที่นายชัชแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2551 ซึ่งให้"เอกสิทธิ์"นายชัชที่จะแต่งตั้งใครก็ได้ เพราะต้องเป็นบุคคลที่ไว้วางใจ(สามารถปลดออกและพ้นตำแหน่งพร้อมประธานศาลฯ)


เมื่อ อยู่ในตำแหน่งเลขานุการฯ นายชัชได้มอบหมายให้นายพสิษฐ์ เป็นตัวแทนในภารกิจหลายอย่าทั้งภายในและภายนอกซึ่งนายพสิษฐ์เองก็ได้แสดง บทบาทอย่างเต็มที่ ทำให้ผู้บริหารสำนักงานศาลอย่างเลขาธิการฯเองก็ให้ความเกรงใจ และสามารถใช้อำนาจดึงสาวคนสนิทในสำนักงานมาอยู่หน้าห้องประธานศาลได้ด้วย


ดัง นั้น การที่นายพสิษฐ์อ้างตำแหน่งเลขานุการฯพูดคุยเรื่องคดียุบพรรคกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์(ตามเสียงในคลิป)ย่อมทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจได้ว่า นายพสิษฐ์มาในฐานะตัวแทนประธานศาลฯได้


แต่น่าแปลกคือ ไม่ค่อยมีใครทราบประวัติความเป็นมาของนายพสิษฐ์มากนัก(ยกเว้นตามคำบอกเล่าของตัวเองซึ่งแสดงถึงความเก่งกาจ) เช่น เปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมาถึง 6 ครั้งอย่างพิสดารจาก "กมษศักดิ์ชนะ" เป็น "ชนะ-เกษมศักดิ์ชนะ-พสิษฐ์-กันตินันทน์-พสิษฐ์ "


ที่ รู้กันทั่วไปคือ นายชัชหอบหิ้วมาทำงานที่ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อได้รับตำแหน่งประธาน ทั้งที่นายพสิษฐ์จบมาทางด้านกายวิภาคศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต มิใช่ด้านกฎหมายที่น่าจะช่วยงานด้านวิชาการได้มากกว่า


เมื่อนายพสิษฐ์เป็นคนสนิท"ส่วนตัว" ก่อเรื่องขึ้น แทนที่นายชัชจะออกมาแถลงชี้แจงด้วยตนเอง กลับให้ตุลการ 5 คนซึ่งมิได้เกี่ยวข้องด้วย(ยกเว้นกรณีมีการแอบถ่ายคลิปในห้องประชุม)มาแถลง ปลดนายพสิษฐ์ออกจากตำแหน่งทั้งที่อำนาจการปลดนายพสิษฐ์เป็นของนายชัชเพียงคน เดียว(ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ตุลาการ5คนออกมารับหน้าแทนทำไม?)


หรือ นายชัช ไม่มีความกล้าหาญเพียงพอที่จะสู้หน้าสาธารณชน คิดว่า การหลบหน้าหลบตาจะทำให้เรื่องเงียบไปกับสายลม แล้วไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ


ที่สำคัญการดำเนินการกับนายพสิษฐ์เป็นไปอย่างกล้าๆกลัวๆ เพราะมีข่าวว่า นาย พสิษฐ์เดินทางไปต่างประเทศด้วยหนังสือเดินทางของราชการ เมื่อถูกปลดจากตำแหน่งด้วยข้อกล่าวหารุนแรง ทำไมสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ทำเรื่องถึงกระทรวงการต่างประเทศให้เพิกถอน หนังสือเดินทางราชการของนายพสิษฐ์


ขณะที่นายชัชเองก็ถูกสาธารณชนตั้งคำถามถึง"ความเที่ยงธรรม"ในการตัดสินคดีจากการกระทำของนายพสิษฐ์


ดังนั้นการปลดนายพสิษฐ์ จึงไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความเชื่อถือต่อตัวนายชัชได้ ตัวอย่างเช่น ถ้านายชัชตัดสินให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะถูกกล่าวหาว่าต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงตัว


ถ้าตัดสินว่าไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะถูกกล่าวหาว่า ต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์เรียบร้อยแล้ว


ดังนั้น ถามว่า ความรับผิดชอบของนายชัชควรอยู่ในระดับใด


ถ้าเอาระดับสูงสุด ควรลาออกจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


ระดับรองลงมา ควรลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยังเป็นตุลการอยู่


ระดับต่ำสุด ควรถอนตัวจากองค์คณะคดียุบพรรค


การตัดสินใจของนายชัชจะแสดงถึงสปิริตของคนที่เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญและนักกฎหมายดีเด่นรางวัลศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์

หรือแค่เล่นบท"จ่าเฉย"เพื่อเอาตัวรอดไปเรื่อยๆเท่านั้น