WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 21, 2010

ละครชีวิต

ที่มา ประชาไท

เมื่อ คืนนี้เจอเรื่องหนึ่ง มีคนไข้คนหนึ่งเข้ามาโรงพยาบาลด้วยอาการน้ำเกินในร่างกายเฉียบพลันเพราะเป็น โรคไตแล้วไม่ได้ไปฟอกไตตามกำหนดนัด คนไข้เหนื่อยมากต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ผมก็ถามพ่อของคนไข้ว่าทำไมไม่ไปฟอกไตตามกำหนดนัด (ในตอนนั้นยอมรับเลยว่าถามด้วยความโมโห เพราะว่าคนไข้อาการหนักพอสมควร) คำตอบก็คือ เขาใช้สิทธิ์การรักษาแบบประกันสังคม ต้องออกเงินเองไปก่อนเวลาไปฟอกไต ครั้งหนึ่งประมาณ 2000 บาท แล้วบริษัทค่อยทำเรื่องไปเอาเงินจากสำนักงานประกันสังคมมาให้เขาอีกทอดหนึ่ง ทำให้เขาต้องไปกู้นอกระบบเพื่อมาจ่ายค่าฟอกไตไปก่อนแล้วค่อยไปรับเงิน จากบริษัทซึ่งได้รับจากสำนักงานประกันสังคม แน่นอนว่าเวลาไปกู้เงินกู้นอกระบบก็ต้องเสียดอกเบี้ยมหาโหดประเภทร้อยละ 20 ต่อเดือน แล้วครั้งล่าสุดเขาไม่มีเงินจริงๆ (พ่อของคนไข้เขาใช้คำว่าชอร์ตเงิน) ทำให้ไม่สามารถพาลูกไปฟอกไตที่โรงพยาบาลได้ จึงต้องยอมปล่อยให้ลูกอาการแย่ลง และหากลูกเขาจะเสียชีวิตจากอาการน้ำเกินเนื่องจากไม่ได้ฟอกไตตามกำหนดก็เป็น เรื่องที่ช่วยไม่ได้เพราะเขาไม่มีเงินจริงๆ
เรื่อง นี้ทำให้ผมได้คิดทบทวนหลายๆ อย่าง อย่างแรก คือ ในสภาพสังคมที่เป็นอยู่ของไทยในปัจจุบันนี้ ความแตกต่างทางชนชั้นและรายได้นำไปสู่ความแตกต่างทางคุณค่าของคนในมุมมองของ คนในสังคมเอง ในขณะที่บางคนนั้นไม่อาจตายได้ เพราะหากตายไปแล้วจะกลายเป็น "ความสูญเสียใหญ่หลวง" แต่ว่าสำหรับคนจนในประเทศของเราแล้ว ทั้งที่คนเหล่านี้เป็นคนทำงานเป็นผู้สร้างที่แท้จริงของประเทศของเรา เป็นผู้ทำงานทั้งหลังขดหลังแข็งในโรงงานและหน้าดำกรำแดดตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับประเทศของเราในรูปของผลผลิตต่างๆ ทำไมพวกเขาถึงต้องทนทุกข์ทรมาน ต้องทนซมซานอยู่อย่างอดอยากยากจน ไม่มีกระทั่งสิทธิ์ที่จะมีชีวิตอยู่ ทำไมเขาถึงรู้สึกว่าชีวิตของเขาไร้ค่า และญาติพี่น้องของเขาต้องตายอย่างไร้ค่าในประเทศที่อ้างว่าประชาชนคืออำนาจ สูงสุดในแผ่นดิน?
อย่างที่สอง คือ แม้เราจะมีระบบที่ว่ากันว่า ช่วยสนับสนุนให้คนจนมีสิทธิ์ในการเข้าถึงการรักษา ซึ่งเป็นองค์ประกอบขั้นมูลฐานของสิทธิ์ที่จะดำรงชีวิตอยู่ แต่ว่าระบบของเรายังไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงการรักษาอย่างแท้จริง ผู้ที่สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างแท้จริงคือ ข้าราชการที่ได้ทำระบบเบิกจ่ายตรง ที่มีชื่อเล่นว่า "ระบบสแกนนิ้ว" เพราะใช้วิธีสแกนนิ้วของผู้มีสิทธิ์รับบริการอันได้แก่ บิดา-มารดา ตัวข้าราชการและคู่สมรส และบุตรที่ยังมิได้บรรลุนิติภาวะ เพื่อยืนยันตัวบุคคล เมื่อเข้าระบบนี้แล้ว ผู้ใช้บริการสามารถรับบริการทางการแพทย์ภายใต้สิทธิ์การรักษาได้โดยไม่ ต้องออกเงิน ผิดกับผู้ที่ใช้สิทธิ์ในระบบอื่นๆ เช่น กรณีของรัฐวิสาหกิจอื่นๆ องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น หรือระบบประกันสังคมของลูกจ้างเอกชน ซึ่งการออกเงินไปก่อนนั้น ในผู้ที่มีรายได้น้อยแล้ว ลงท้ายก็ต้องไปตกเป็นเหยื่อของกลุ่มเงินกู้นอกระบบ ดังเช่นเรื่องที่ผมได้เจอ
ส่วนในระบบ 30 บาทนั้น แม้ว่าจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ว่าก็ถูกจำกัดสิทธิ์หลายๆ อย่าง เช่นในกรณีของการล้างไต ผู้ที่เข้าระบบ 30 บาทหากต้องการล้างไตในกรณีของโรคไตวายเรื้อรังนั้น จะต้องล้างแบบทางหน้าท้อง ซึ่งผู้ป่วยจะต้องอยู่ติดบ้าน และมีผู้ดูแลที่ต้องอยู่กับผู้ป่วยเต็มวันอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อทำการล้างไตทุกวัน ซึ่งสำหรับคนหาเช้ากินค่ำ ไม่ได้มีทุนทรัพย์ ที่จะเลี้ยงดูญาติอีกคนหนึ่งให้มาอยู่กับบ้านไม่ได้ไปทำงานหาเงิน หรือจ้างคนมาดูแลทั้งวันแล้ว นี่เป็นเรื่องที่เป็นภาระทุกข์อย่างแสนสาหัส เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น เพราะรัฐบาลผลักภาระในการจัดหาเครื่องไตเทียมให้กับระบบสาธารณสุขไปให้ ประชาชนรับแทน นี่เป็นตัวอย่างของหนึ่งการ "อยู่บนหอคอยงาช้าง" และการพยายามผลักภาระให้กับประชาชนของรัฐข้าราชการ
อย่าง ที่สาม มักจะมีผู้คัดค้านการสนับสนุนสิทธิ์ในการรักษาของคนจน โดยใช้เหตุผลว่า กลัวว่างบประมาณสาธารณสุขจะบานปลายเป็นภาระแก่ประเทศ ในขณะที่งบประมาณทางกลาโหมเพิ่มขึ้นจากประมาณ 8 หมื่นล้าน ในปีงบประมาณ 2549 จนเป็น 1.5 แสนล้าน ในปีงบประมาณ 2554 ในขณะที่งบประมาณสาธารณสุข ขึ้นมาจากประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ในปีงบประมาณ 2539 มาอยู่ที่ประมาณประมาณ 7 หมื่นล้านเท่านั้น ในปีงบประมาณ 2554 ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่า ประเทศที่ไม่ได้มีสงครามภายนอกในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เหตุใดงบประมาณกลาโหมถึงได้เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่างบประมาณสาธารณสุข? ผมคิดว่า นี่สะท้อนให้เห็นมุมมองและการจัดสรรทรัพยากรของกลุ่มผู้ถือครองอำนาจรัฐที่ แท้จริงในประเทศของเราว่าให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากกว่า
เรื่อง เหล่านี้เป็นเพียงเงาสะท้อนส่วนหนึ่งของปัญหาที่หมักหมมกันมา อยู่ในสังคมไทย ปัญหาของความอยุติธรรมในสังคมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทยนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และปัญหาเหล่านี้ได้สะท้อนลงมาจนถึงระดับชีวิตประจำวันของประชาชนไทย และประชาชนชั้นล่างของไทย รู้สึกและเจ็บปวดกับปัญหาเหล่านี้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แน่นอน ผู้ที่อยู่ดีมีสุขในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาจมองไม่เห็นหรือไม่ยอมมอง เห็นปัญหาเหล่านี้ แต่ว่าหากไม่นำปัญหาเหล่านี้มาพูดกันให้ถึงแก่น ก็ไม่มีทางที่จะแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ของประเทศไทยได้อย่างแน่นอน
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน Facebook ส่วนตัวของ สลักธรรม โตจิราการ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2553