WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 23, 2010

บทสัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวไทยในประเทศสหราชอาณาจักร

ที่มา thaifreenews

โดย คำปัน


แอนดรูว์ สปูนเนอร์-Asiancorrespondent

ช่วง ต้นเดือนนี้ ผมมีโอกาสได้พบกับสตรีชาวไทยท่านหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานใน ประเทศสหราชอาณาจักรเพราะได้รับการรับรองสถานะผู้ลี้ภัย เธอพำนักอยู่ในบ้านซึ่งตั้งอยู่ในเมืองแบบอังกฤษอันเรียบง่าน “ตาล” (นามสมมุติ เนื่องจากเหตุผลของความปลอดภัย) พยายามอดทนกับคำข่มขู่จากคนที่เธอแน่ใจว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงฝ่าย ขวาอย่างพันธมิตร และทำให้เธอรู้สึกจำเป็นที่จะต้องหลบหนีออกจากประเทศไทยและแสวงหาสถานภาพผู้ ลี้ภัยจากประเทศอื่น เจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษได้รับรองสถานภาพของเธอ (เจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษจะรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยก็ต่อเมื่อมีหลักฐานชัดเจน เท่านั้น) ในปัจจุบันเธอได้รับสิทธิให้อาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ 5 ปี (หลังจากนั้นสามารถยื่นขอสถานภาพพลเมืองได้)
ผู้ อ่านจะต้องไม่ลืมว่า ในขณะที่รัฐบาลไทยพยายามกำจัดคนเสื้อแดงอย่างอำมหิต แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยกลับไม่ลงโทษกลุ่มฝ่ายขวาหัวรุนแรงกลุ่มพันธมิตร และผู้สนับสนุนจากการกระทำของกลุ่มคนเหล่านี้เลย ดูราวกับว่ากลุ่มพันธมิตรและผู้สนับสนุนสามารถก่อความรนแรงหรือขู่กรรโชกผู้ คนได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น ซึ่งทำให้เกิดคำถามตามมาว่า กลุ่มหัวรุนแรงพันธมิตรกระทำการดังกล่าวในนามของกลุ่มผู้นำที่มีอำนาจหรือ ไม่? หากเป็นเช่นนั้นจริง ประชาชนชาวไทยสามารถคาดหวังความคุ้มครองภายใต้หลักนิติรัฐจากรัฐบาลเมื่อถูก ข่มขู่จากกลุ่มพันธมิตรได้หรือไม่? คำตอบเดียวในตอนนี้คือ เจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษดูเหมือนจะเห็นด้วยที่ว่ารัฐบาลไทยไม่สามารถทำ ได้“ดิฉันเป็นคนไทยและจบปริญญาโทจากมหาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี 2549 หลังจากที่จบการศึกษา ดิฉันได้ทำงานในตำแหน่งนักวิจัยให้กับองค์กรระหว่างประเทศเอ็นจีโอ ดิฉันเดินทางออกจากประเทศไทยในต้นปี 2552 เพราะ มีคนโทรศัพท์มาขู่ฆ่าดิฉันทางโทรศัพท์มือถือส่วนตัว สามีดิฉันได้รับจดหมายคุกคามที่ถูกส่งไปยังที่ทำงาน และถูกข่มขู่หลายครั้งจากผู้สนับสนุนการทำรัฐประหารในปี 2549 สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยแย่ลงอย่างต่อเนื่อง และมีความกังวลถึงเรื่องสภาวะที่ไร้ความยุติธรรมและระบบนิติรัฐ กลุ่มพันธมิตรกระทำการอันรุนแรงทางการเมืองทุกวัน และกฎหมายที่กดขี่ถูกใช้เป็นเครื่องมือคุกคามผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ดิฉันทิ้งทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหมดไว้ที่บ้านพักในกรุงเทพ และเดินทางมาที่พร้อมกับกระเป๋าเดินทางใบเล็กเพียงหนึ่งใบ ดิฉันต้องลาออกจากงาน ทิ้งเพื่อนและครอบครัวไว้ข้างหลัง และในเวลานั้นดิฉันไม่เคยใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศมาก่อน
ดิฉันยื่นขอ สถานภาพลี้ภัยทางการเมืองในประเทศสหราชอาณาจักรด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่า หากดิฉันเดินทางกลับไปยังประเทศไทย ดิฉัน อาจจะเสี่ยงต่อการถูกคุกคามจากกลุ่มคนและเจ้าหน้าที่รัฐเพราะกิจกรรมทางการ เมืองของดิฉัน และความสัมพันธ์ใกล้ชิดของดิฉันกับสามี ตั้งแต่ปี 2543 เรา ได้เขียนหนังสือบทความ และดำเนินโครงการเกี่ยวกับสิืทธิมนุษยชนร่วมกันหลายโครงการ เราทั้งสองคนไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำอันรุนแรงใดๆ เราเพียงแค่สนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ต่อต้านการทำรัฐประหารในปี 2549 และการทำลายระบอบประชาธิปไตยในภายหลังเท่านั้นกลุ่ม คนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐที่ดิฉันกล่าวถึงคือกลุ่มผู้สนับสนุนกลุ่มเผด็จ การฟาสซิสต์พันธมิตรที่ยึดและทำลายทำเนียบรัฐบาล ใช้ความรุนแรงและอาวุธนอกรัฐสภา และยังยึดสนามบินนานาชาติถึงสองแห่งในปี 2551 ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักกิจกรรมเอ็นจีโอ ดิฉันจึงรู้จักผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรเป็นการส่วนตัว และพวกเขารู้จักดิฉันดีพอที่จะข่มขู่เอาชีวิตดิฉันทางโทรศัพท์มือถือ และยังด่าทอดิฉันต่อหน้าในขณะที่ดิฉันทำงาน เวลาที่คนเหล่านั้นโทรมาข่มขู่ดิฉัน พวกเขาจะพูดว่า “ระวังตัวให้ดี … แกจะถูกอุ้มฆ่า” .. “แกจะถูกยิง” .. “ระวังตัวไว้ให้ดีเวลาไปไหนมาไหน เพราะแกจะถูกอุ้มฆ่า” ในเวลานั้น ดิฉันพยายามไม่ใส่ใจคำข่มขู่เหล่านี้ เพื่อที่จะสามารถดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขในระดับหนึ่ง
เวปไซต์กลุ่ม พันธมิตร อย่างเช่น ASTV ได้ เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวและปลุกระดมให้มีการใช้ความรุนแรงกับนักกิจกรรมผู้ เรียกร้องประชาธิปไตยคนเสื้อแดง การคุกคามโดยกลุ่มคนและเจ้าหน้าที่รัฐนั้นรวมไปถึงประชาทัณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิต และการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของฝ่ายตรงข้ามด้วย
ดิฉัน ต้องแสดงหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษว่าดิฉันเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม จากกลุ่มคนและเจ้าหน้าที่รัฐเพราะระบบนิติรัฐถูกทำลายและความรุนแรงทางการ เมืองที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่รัฐประหารปี 2549 ความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 โดยการกระทำของเจ้าหน้ารัฐไทยและรวมไปถึงกลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตรอีกด้วย ซึ่งการกระทำนั้นรวมถึงการที่ทหารยิงผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธ จำนวนนักโทษทางการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดิฉันต้องพิสูจน์ให้เจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษเห็นว่าสิทธิมนุษยชนและระบบนิติรัฐ ในประเทศได้เสื่อมโทรมลงอย่างรุนแรง โดยดิฉันสามารถพิสูจน์ให้เจ้าหน้าที่รัฐที่นี่เห็นว่าคณะรัฐบาลไทยเต็มไป ด้วยสมาชิกลุ่มพันธมิตรและมีกองทัพหนุนหลัง นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวกิจกรรมทางสิทธิมนุษยชน ผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษได้เขียนจดหมายรับรองดิฉันในการยื่นขอสถานภาพผู้ลี้ ภัย ดิฉันยังได้ยกรายงานขององค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และบทความในหนังสือพิมพ์ที่น่าเชื่อถือประกอบการยื่นขอนี้ด้วย
ในปัจจุบันดิฉันได้รับการรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยและมีสิทธิพำนักในประเทศสหราชอาณาจักรได้ 5ปี และขณะนี้ดิฉันกำลังศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ
http://robertamsterdam.com/thai/?p=487