WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 29, 2011

เลือกตั้งเพื่อกำหนดวาระประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท

บท ความชื่อ “สังคมกำหนดวาระแห่งการปรองดอง” ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในมติชนออนไลน์ (28 มิ.ย.54) เสนอแนวทางปรองดองหลังเลือกตั้ง สรุปประเด็นสำคัญได้ว่า

  1. ปรองดองเพื่อรวมตัวกันทำสิ่งใหม่ที่ดี การแก้ปัญหาเก่าทำได้ยาก และจะทะเลาะกันมากขึ้น
  2. ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในหัวใจของแต่ละคน โดยคิดว่าทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ อาจมีผิดมีถูกได้ทุกคน
  3. กำหนดเรื่องดีๆ มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ที่จะทำร่วมกัน เช่น
    • สร้างความเป็นธรรม – ลดความเหลื่อมล้ำ
    • สร้างความมั่นคงในชีวิตให้แก่เกษตรกร และผู้ใช้แรงงาน
    • ชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเอง
    • สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่
    • ปฏิรูประบบความยุติธรรม
    • ปฏิรูประบบการศึกษา
    • ยุติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้
    • ยุติคอร์รัปชั่น และสร้างธรรมาภิบาลในระบบการเมือง
    • เป็นต้น
  4. แนวทางการร่วมมือกันทำเรื่องดีๆ เรื่องดีๆ ทำได้ยากประดุจเขยื้อนภูเขา ต้องอาศัย “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”
  5. ความ ร่วมมือระหว่างพรรคการเมืองที่จะทำเรื่องดีๆ เพื่อชาติบ้านเมือง สังคมควรจะเข้ามากำกับวาระการปรองดอง โดยทำความตกลงที่จะร่วมมือกัน ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร

ผมเห็นต่างจาก ศ.นพ.ประเวศ ดังนี้

1. โจทย์ “การปรองดอง” ที่พรรคการเมืองต่างๆ ใช้หาเสียงอยู่ก็ดี และที่ ศ.นพ.ประเวศ เสนอว่าสังคมควรกำหนดวาระการปรองดองก็ดี ผมคิดว่ามันเป็น “ปัญหาปลอม” เพราะถึงที่สุดแล้วเราแทบไม่มีนิยามชัดเจนว่าปรองดองหมายถึงอะไร หมายถึงฝ่ายที่ขัดแย้งกัน เช่น พรรคการเมือง นักการเมือง เสื้อสีที่ขัดแย้งกันต้องหันมาจับมือกันเช่นนั้นหรือ จับมือกันแล้วจะมีประโยชน์อะไรหากปัญหาเก่าๆ ไม่ได้ถูกแก้ไข เช่น อำนาจนอกระบบยังมีอภิสิทธิ์ทางการเมืองเหนือประชาชน ทหารยังมีช่องทางจะอ้างสถาบันทำรัฐประหารได้ตลอดเวลา คนที่บาดเจ็บล้มตายยังไม่ได้รับความยุติธรรม ฯลฯ

2. ที่ว่า “ปรองดองเพื่อรวมตัวกันทำสิ่งใหม่ที่ดี การแก้ปัญหาเก่าทำได้ยาก และจะทะเลาะกันมากขึ้น” ผมคิดว่าหากละเลยการแก้ปัญหาเก่าๆ ที่เป็นเงื่อนไขของความแตกแยก ไม่มีทางที่จะปรองดองกันได้ การขจัดเงื่อนไขของความแตกแยกต้องกำหนด “วาระสร้างสังคมประชาธิปไตย” ที่พ้นไปจากการครอบงำกำกับของอำนาจนอกระบบ ที่ประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกำหนดวาระดังกล่าวได้ตั้งแต่การไปลงคะแนน เสียงเลือกตั้งครั้งนี้เลย

เพราะเงื่อนไขของความแตกแยก คือระบบการเมืองที่อยู่ภายใต้การกำกับครอบงำของ “อำนาจนอกระบบ” หากไม่แก้ระบบนี้ให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพและความเสมอภาคเหมือน อารยประเทศ ความแตกแยกจะยังคงมีอยู่ และยังจะมีการอ้างสถาบันในการต่อสู้ทางการเมือง และอ้างสถาบันทำรัฐประหารอยู่ต่อไป

ที่คุณหมอบอกว่า “อุปสรรค ที่สำคัญ ที่สุดที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถเจริญก้าวหน้า คือความเป็นสังคมทางดิ่ง (Vertical society) ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคนข้างบนที่มีอำนาจกับคนข้างล่างที่ไม่มีอำนาจ” นั้นถูกแล้ว แต่คุณหมอก็ไม่ได้บอกต่อว่า โครงสร้างอำนาจทางดิ่งมันถูกออกแบบตามโครงสร้างอำนาจนอกระบบที่ครอบงำกำกับ ระบบการเมืองของประเทศอีกที

หากจะแก้ไขระบบอำนาจทางดิ่งก็จำเป็นต้อง แก้กฎหมาย เช่น แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 8 กฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 เป็นต้น เพื่อให้สามารถใช้หลักการประชาธิปไตย เช่น หลักความเสมอภาค หลักเสรีภาพ หลักความยุติธรรม หลักการมีส่วนร่วม เป็นต้น เป็นพื้นฐานในการออกแบบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทางสังคมให้เป็นไปในทางราบ หรือมีความเสมอภาคในความเป็นคนและเสมอภาคด้านอื่นๆ มากขึ้น

ผมคิดว่า ไม่ว่าเราจะใช้ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” อย่างไร แต่ถ้าเขยื้อน “ภูเขาผิดลูก” คือไม่เขยื้อนภูเขาอำนาจนอกระบบและกองทัพให้ไปอยู่ในที่ทางที่จะไม่มี อภิสิทธิ์ทางการเมืองเหนือประชาชนได้ หรือไม่สามมารถเขยื้อนภูเขาอำนาจประชาชนชนให้มีช่องทางตามกฎหมายในการ วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ “ทุกอำนาจสาธารณะ” ได้ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขามันก็จะกลายเป็น “สามเหลี่ยมบังภูเขา” ในทันที!

3. ผมเห็นด้วยกับที่ว่า “ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในหัวใจของแต่ละคน โดยคิดว่าทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ อาจมีผิดมีถูกได้ทุกคน” แต่สิ่งที่บ่งบอก “การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในหัวใจของแต่ละคน” คือการยืนยันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ให้ทุกคนในประเทศมีเสรีภาพและความเสมอภาคใช่ไหมครับ

คือถ้าโดยรูปแบบ ทางกฎหมายมันยังไม่รับรองความเสมอภาคและเสรีภาพ มันยังให้อภิสิทธิ์เหนือประชาชนแก่อำนาจนอกระบบ การที่เราคิดว่า “ทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ อาจมีผิดมีถูกได้ทุกคน” มันจะมีความหมายอะไรเล่าครับ!

รูปธรรมที่รองรับความคิดที่ ว่า “ทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ อาจมีผิดมีถูกได้ทุกคน” คือรัฐธรรมนูญหรือกติกาที่รับรอง “ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม” ของทุกคนในประเทศนี้ไงครับ ทำไมคุณหมอไม่เรียกร้องประเด็นนี้ เพื่อให้ “ความคิด” กลายเป็น “ความจริง” บ้างเล่าครับ?

4. เรื่องสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายอำนาจสู่ชุมชนอะไรต่างๆ นั้น ผมเห็นด้วยทั้งนั้นครับ แต่ถ้าไม่แก้โครงสร้างใหญ่ คือการออกแบบรัฐธรรมนูญหรือกติกาที่เป็นประชาธิปไตย และจัดวางสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพให้อยู่ภายใต้หลัก ความเสมอภาค หลักความโปร่งใส และการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบให้ได้ก่อน เงื่อนไขของความขัดแย้งแตกแยกทางสังคมการเมืองที่ลึกซึ้งกว้าขวางก็ยังคง อยู่

ซึ่งหมายถึงความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำทางอำนาจต่อรองทางการเมืองก็ยังคงอยู่ สิ่งดีๆ ต่างๆ ที่คุณหมอเสนอมานั้นก็อาจกลายเป็น “วาทกรรมบังภูเขา” ได้อีกเช่นกัน

ผม เคารพในเจตนาดี ความปรารถนาดีต่อสังคมของคุณหมอครับ แต่ผมก็ไม่คิดว่าความปรารถนาดี เจตนาดีมันควรจะมี “ความชอบธรรม” รองรับการละเลยที่จะปฏิเสธรัฐประหาร การละเลยที่จะประท้วงหรือยืนยันว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมแล้วที่ใช้ “กระสุนจริง” สลายการชุมนุมจนทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก

แล้วจู่ๆ ก็เสนอว่าไม่ควรแก้ปัญหาเก่าๆ ถ้าคุณหมอให้คิดว่า “ทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์” แล้วคนที่บาดเจ็บล้มตายเขาไม่ใช่เพื่อนมนุษย์ที่ควรได้รับความยุติธรรมหรือครับ

หาก สังคมนี้ไม่มีคำตอบเรื่อง “ความยุติธรรม” แก่ประชาชนที่บาดเจ็บล้มตาย ไม่มีคำตอบว่าจะแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนอกระบบกับการเมืองได้ อย่างไรจึงจะทำให้รัฐประหารไม่มีโอกาสเกิดได้อีก สิ่งดีๆ ที่คุณหมอเสนอให้สร้างขึ้นจะเป็นไปได้อย่างไร

หรือพูดอีกอย่าง การกำหนดวาระสร้างสังคมประชาธิปไตยที่พ้นไปจากการครอบงำกำกับของอำนาจนอก ระบบ เพื่อยุติรัฐประหารอย่างถาวรไม่ใช่ “สิ่งดีที่สุด” ที่ควรทำหรือครับ เพื่อขจัดเงื่อนไขของความแตกแยกอย่างถาวร

และไม่ใช่สิ่งที่ ประชาชนทุกคนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถมีส่วน ร่วม “เริ่มทำ” ได้เลย ด้วยการ “ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง” ใน 3 ก.ค.นี้หรือครับ!