WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 1, 2011

มะกันขู่-ถ้าไทยปว. ใช้ไม้แข็ง เลขายูเอ็นแถลง

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



สื่อนอกชี้สหรัฐไม่ปลื้มปฏิวัติ

วันที่ 30 มิ.ย. สำนักข่าวเอเอฟพี ประเทศฝรั่งเศส เผยแพร่บทความ
ที่เขียนโดยนายฌอน แทนดอน ชื่อบทความว่า
"US nervous ahead of Thai election" หรือ "สหรัฐหวั่นวิตกการเลือกตั้งไทย"
มีเนื้อหาระบุ สหรัฐกำลังจับตามองการเลือกตั้งของไทยในวันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค. นี้อย่างเป็นห่วง
เพราะเกรงว่าอาจเกิดความไร้เสถียรภาพครั้งใหม่ที่จะลดบทบาทของไทย
ในฐานะพันธมิตรเก่าแก่ที่สุดในเอเชียของสหรัฐ

นายแทนดอน ชี้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลที่วอชิงตันของนายบารัก โอบามา
ให้ความสำคัญแก่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเน้นสร้างสัมพันธ์กับอินโดนีเซียและเวียดนาม
เพราะเห็นว่าไทยวุ่นวายอยู่กับความขัดแย้งภายใน

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐหวังว่า
การเลือกตั้งของไทยจะดำเนินไปอย่างราบรื่นและปูทางไปสู่การปรองดอง
แต่ก็เตรียมพร้อมเสมอสำหรับเรื่องร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้

ด้านนายเคิร์ต แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออก
กล่าวเมื่อเดือนก่อนว่า สหรัฐต้องการทำงานอย่างใกล้ชิดกับไทย
ช่วงเวลาเลือกตั้งจะเป็นตัวกำหนดแนวทางความสัมพันธ์อย่างชัดเจน

รายงานชิ้นนี้ยังระบุว่า สหรัฐเข้าถึงพรรคการเมืองทั้งสองฝ่ายของไทยมาโดยตลอด
แต่ระมัดระวังที่จะไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยตรง

ขณะที่นายทิโมธี แฮมลิน นักวิเคราะห์ที่ศูนย์สติมสัน ชี้ว่า
ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐติดอยู่ในภาวะนิ่งเฉยตั้งแต่การปฏิวัติปี 2549
เปิดโอกาสให้อินโดนีเซีย เวียดนามและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคก้าวขึ้นมาแทนที่

นโยบายการทูตของไทยขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นความพยายามอธิบาย
ให้ต่างชาติเข้าใจถึงสถานการณ์ในประเทศและอยากให้การเลือกตั้งดำเนินไปอย่างเรียบร้อย
เพื่อให้สามารถกลับไปดำเนินนโยบายการทูตตามปกติ

นอกจากนี้ รายงานของแทนดอนยังเผยว่า
นายโจชัว คูร์ลันต์ซิก นักวิชาการสภาวิเทศสัมพันธ์ของสหรัฐ คาดว่า
สหรัฐจะดำเนินมาตรการแข็งกร้าวกว่านี้หากเกิดการปฏิวัติครั้งใหม่ในไทย
ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของไทยที่มีต่อสหรัฐลดลง
เพราะประเทศอื่นในภูมิภาคมีบทบาทมากขึ้น ส่งผลให้สหรัฐวิพากษ์วิจารณ์ไทยได้สะดวกขึ้น
และหลายคนเริ่มมองว่าไทยอยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศอย่างเวียดนาม
จากเดิมที่อยู่ในกลุ่มประเทศประชาธิปไตย



ยูเอ็นหวังไทยเคารพผลเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. นายบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.
ในเว็บไซต์ของสหประชาชาติ ระบุว่าเลขาฯยูเอ็นติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งในไทย
ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 3 ก.ค. โดยหวังว่าไทยจะจัดการเลือกตั้งโดยสันติและยุติธรรม
น่าเชื่อถือและโปร่งใสบริสุทธิ์ เพื่อสร้างความปรองดองให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยในประเทศ
และขอให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น ไม่ใช้ความรุนแรงระหว่างและหลังการเลือกตั้ง
และขอให้ยอมรับและเคารพการตัดสินใจของประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิที่คูหาเลือกตั้ง

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา
นายบัน ออกแถลงการณ์ต่อสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
โดยเรียกร้องให้กัมพูชาและไทยให้ใช้ความอดทนและอดกลั้นอย่างถึงที่สุด
รวมทั้งใช้มาตรการเพื่อทำให้เกิดการหยุดยิง และเชื่อว่า
ความขัดแย้งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีทางการทหารและขอผลักดัน
ให้กัมพูชาและไทยเจรจาร่วมกันพร้อมสนับสนุนกลไกระดับทวิภาคีในการแก้ปัญหา

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. นายบัน แถลงข่าว
ภายหลังการเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ห้องสีงาช้าง ทำเนียบรัฐบาล
โดยกล่าวถึงเหตุการณ์การชุมนุมกลางกรุงเทพฯ ความขัดแย้งและการสูญเสียชีวิต
โดยยกให้เป็นเรื่องที่ไทยต้องจัดการและแก้ไขเอง
แม้มีความพยายามจากพลเรือนและกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม
ที่อยากจะเห็นยูเอ็นยื่นมือเข้ามาดูแล
และรายงานพิเศษต่อกรณีสถานการณ์ความขัดแย้งในเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ก็ตาม
ส่วนยูเอ็นสนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง
เพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เริ่มต้นทำงาน และ
เปิดกว้างในการทำงานและพร้อมร่วมงานกับประชาคมโลก
ซึ่งยูเอ็นพร้อมให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคต่อการทำงานของคณะกรรมการนี้


http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakF4TURjMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOeTB3TVE9PQ==