WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, June 30, 2011

๓ กรกฎาคม : อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย

ที่มา มติชน



นิติราษฏร์ ฉบับ ๒๕ (ฐาปนันท์ นิพิฎฐกุล)

คง ไม่จำต้องบอกกล่าวกันอีกแล้วว่า วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปนี้จะมีความสำคัญ เพียงใด ผู้เขียนเพียงใคร่ที่จะลองประเมินภาพรวมและข้อเสนอบางประการมาลงไว้ ณ ที่นี้

ผู้ เขียนเห็นว่า การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้เป็นที่สนใจและมีผู้คนกล่าวถึงไม่ทางใดก็ทาง หนึ่งเป็นอย่างมาก (ข้อสรุปเช่นนี้รวมถึงกลุ่มที่มักจะไม่ค่อยสนใจติดตามการเมืองด้วยเช่นกัน) และอาจจะมากกว่าการเลือกตั้งทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้

กล่าว คือ ณ วันนี้ไม่ว่าจะฟากไหนหรือสีใดก็ต้องยอมรับกันแล้วว่า เป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งอันแหลมคมยิ่งครั้ง หนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ซึ่งเห็นได้จากความตื่นตัวทางการเมืองของผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนนั้น เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งนี้ จำนวนผู้ประสงค์ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าและได้ออกมาใช้สิทธิเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายนที่ผ่านมานั้นเป็นประจักษ์พยานที่ชัดเจนในเรื่องนี...

นอก จากนี้ หลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาในช่วง ๔-๕ ปีนี้ (โดยเฉพาะถ้านับจากการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา) ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์ที่บ่มเพาะทางความคิดของประชาชนและได้สร้างความรับรู้ ร่วมกันในทางการเมือง (ไม่ว่าสำหรับฝ่ายใด) ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจในวันเลือกตั้งอย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้

ดัง นั้น ผู้เขียนเชื่อว่า เราอาจจะได้เห็นปรากฏการณ์เสียงข้างมากที่เห็นได้ชัดเจนในระดับหนึ่งทีเดียว ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเจตจำนงทางการเมืองของชาติด้วยนั่นเอง

เมื่อ แนวโน้มดูจะเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนเห็นว่า หากเราจะเดินต่อไปบนครรลองของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentary System) เช่นในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย “ทุกฝ่าย” จะต้องเคารพผลการตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนในครั้งนี้อย่างเคร่งครัด

อย่าลืมว่า การเอ่ยอ้างถึง “มารยาททางการเมือง” ก็ดี “ข้อตกลงนอกรอบระหว่างพรรคการเมือง” (ที่อาจไม่เป็นที่เปิดเผยทางสื่อสาธารณะ) ก็ดี หรือข้อตกลงอะไรก็ตามที่จะมีขึ้นทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง จะต้องสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยและประชาชนต้องยอมรับได้ด้วย

นั่น หมายถึง จะต้องกลับมาพิจารณาและยึดมั่นในเหตุผลของหลักการประชาธิปไตยทั้งก่อนและ หลังการเลือกตั้งอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้เขียนประสงค์จะย้ำว่า ทุกกลุ่มทุกฝ่ายในโครงสร้างอำนาจการเมืองไทยวันนี้จะต้องตระหนักแล้วว่า ประชาชนส่วนข้างมากได้แสดงตนออกมาและต้องการจะปรับสัมพันธภาพในโครงสร้างทาง การเมืองครั้งสำคัญนี้ไม่น้อยไปกว่าความพยายามทุกวิถีทางในการรักษาอำนาจของ บางกลุ่มในโครงสร้างเดิมด้วยเช่นกัน

ผู้ เขียนเชื่อในทางที่ดีว่า ในประเทศแห่งนี้คงไม่มีผู้ใดที่มีความคิด สติปัญญาและเป็นวิญญูชนปกติ จะเห็นดีเห็นงามไปกับการให้ความชอบธรรมต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้ “การรัฐประหาร” อีกต่อไปแล้ว

ดัง นั้น การสร้างความสง่างามและแสดงความมีวุฒิภาวะในสายตาชาวโลก อีกทั้งการสร้างบรรทัดฐานที่ดีในทางการเมืองในวันนี้และเพื่อลูกหลานของคน ไทยในวันข้างหน้า ย่อมขึ้นอยู่กับการเคารพการตัดสินใจของประชาชนพลเมืองร่วมกัน (อย่าลืมด้วยว่า ทหารไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดของกองทัพก็มีสิทธิเสมอภาคและมีส่วนร่วมในการ ปกครองของประเทศนี้ด้วย แต่ในฐานะ “พลเมือง” ที่ไม่มีเครื่องแบบ) ซึ่งจะต้องเคารพหลักเสียงข้างมากและยอมรับบทบาทในฐานะที่เท่าเทียมกันของ เสียงข้างน้อยในระบอบรัฐสภาด้วยนั้น เป็นเพียงทางเลือกเดียวและไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับอนาคตอันใกล้นี้

หาก สิ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้มิได้รับการยอมรับและถือปฏิบัติตาม จากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มที่เชื่อว่าตนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงนอกวิถีทาง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาได้นั้น ผู้เขียนก็เกรงเป็นอันมากว่า ปัญหาทางการเมืองที่เรื้อรังจะมิได้รับการแก้ไขโดยผ่านระบบ “ผู้แทน” อีกต่อไป.