WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 11, 2011

'เฟซบุ๊ก' ยั่วประจาน

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



“เฟซบุ๊ก” เป็นพิษ

จากเจตนารมณ์ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
จั่วหัวประเดิม “เกมยุทธ์เชิงการตลาด” ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก “ขายตรง” ถึงบรรดากองเชียร์แม่ยก พ่อยก

“ผมพยายามสื่อสารกับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและความเข้าใจในการทำงานของผม
แต่ที่ผ่านมาผมหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่มีความละเอียดอ่อน
เพราะผมพยายามลดเงื่อนไขความขัดแย้ง แต่ขณะนี้สื่อมวลชนบางส่วนเสนอข้อมูล
ข้อคิดที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผมจึงจำเป็นต้องทำบันทึกชุดนี้เพื่อเป็นหลักฐาน
และเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจชี้ชะตาอนาคตของประเทศโดยพี่น้องทุกคนในเร็วๆนี้”

พยายามลดเงื่อนไขความขัดแย้ง แต่การณ์กลับกลายเป็นจุดชนวน

“ฟื้นฝอย” ทะเลาะกับพรรคร่วมรัฐบาล

จากเวอร์ชั่นแรกที่เปิดฉากเหน็บ “บิ๊กเติ้ง” นายบรรหาร ศิลปอาชา
หลงจู๊ใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนาพาดพิงไปถึงนายเนวินชิดชอบ“ครูใหญ่”พรรคภูมิใจไทย
ที่ออกมาทวงสัญญาลูกผู้ชายเป็นทำนองว่า
เป็นนักการเมืองต้องทำเพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน
ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของพรรคพวกหรือคนๆเดียว

แสดงตัวตนของคนชื่อ “อภิสิทธิ์” ไม่เคยลดราวาศอกให้ใคร

มาถึงเวอร์ชั่น “จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ”
ที่ย้อนอดีตเคลียร์ตัวเองกันตั้งแต่เริ่มฟอร์มรัฐบาล “อภิสิทธิ์ชน”
เคลียร์ปัญหาค้างคาใจ ไล่กันมาตั้งแต่เบื้องหลังคดียุบพรรคพลังประชาชน
อันเป็นที่มาของการ “สลับขั้ว” พรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสจัดตั้ง “รัฐบาลเทพประทาน”

“อภิสิทธิ์” เฟ้นเอาเฉพาะส่วนดีเอาไว้กับตัว

“ผมคิดว่าแม้คนไทยจะตะขิดตะขวงใจกับการที่ผมไปทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาลเดิม
แต่คนที่คิดอยู่ในระบบย่อมเข้าใจว่า เรามีผู้เล่นอยู่เท่านี้ ไม่สามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้
เพราะคนที่จะเปลี่ยนผู้เล่นคือประชาชน เมื่อเปลี่ยนผู้เล่นไม่ได้
ผมก็ต้องจัดทีมจากผู้เล่นที่มีและดูแลให้ผู้เล่นเหล่านั้นเดินตามกติกาที่ผมวางไว้”

พูดกันเป็นนัย จำใจเลือกพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาเพราะไม่มีตัวเลือก

เล่น “โยนชั่ว” ให้เพื่อนรับไปซะขนาดนี้
ก็ไม่แปลกที่นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
จะออกอาการฉุนกึก “ย้อนเกล็ด” กันแบบเลือดสาด

“ไม่ใช่ว่าพรรคชาติไทยพัฒนาอยากร่วมรัฐบาล ถ้าไม่ถูกบังคับก็ไม่เลือกแน่
เราถูกบีบด้วยพลังที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ต้องมาร่วมผมไม่สบายใจขอสะกิดไว้หน่อย
บรรยากาศการเลือกตั้งต้องนำความสงบไปสู่หลังการเลือกตั้ง
มีปัญหากับฝ่ายค้านแล้วอย่าให้มีปัญหากับพรรคร่วมอีก มันจะไปกันใหญ่”

“ถูกบีบด้วยพลังที่มองไม่เห็น”

“จบข่าวเลย” คนระดับนายชุมพล
ที่อีกสถานะหนึ่งเป็นนักวิชาการ อาจารย์สอนหนังสือมหาวิทยาลัย
มีเครดิตมากกว่านักเลือกตั้งอาชีพทั่วไป เปิดปากแฉเอง
เบื้องหลังการสลับขั้ว เปิดทางรัฐบาล “อภิสิทธิ์ชน” มีคนกำกับฉากอยู่เบื้องหลัง

ตอกย้ำภาพการจัดตั้งรัฐบาล “เทพประทาน” ในค่ายทหาร

และก็เป็น “อภิสิทธิ์” ที่แบไต๋ออกมาเอง จากข้อความตอนหนึ่งในเฟซบุ๊ก
“ช่วงเวลานั้นนายพสิษฐ์ศักดาณรงค์อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ติดต่อผ่าน ส.ส.คนหนึ่ง เพื่อขอพบผม เพราะมีธุระอยากพูดคุยด้วย
เราก็ได้พบกันที่ร้านอาหารใกล้พรรคประชาธิปัตย์

โดยคุณพสิษฐ์บอกผมว่า พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบนะ ผมก็เพียงแต่รับฟัง
คุณพสิษฐ์บอกกับผมว่าที่เล่าให้ฟังเพราะคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งผมตอบกลับไปว่า การยุบพรรคพลังประชาชนหรือไม่
เป็นเรื่องของเนื้อคดีและดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ
แม้แต่วันนั้นผมก็ยังบอกเขาเลยว่าหากยุบพรรคพลังประชาชน
ผมก็คิดว่าไม่ได้เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับประชาธิปัตย์
เพราะผมเชื่อว่าพรรคร่วมรัฐบาลเดิมก็คงจับมือกันเป็นรัฐบาลต่อ”

ตามจังหวะที่นายพสิษฐ์ให้สัมภาษณ์พิเศษไล่หลังในหนังสือ
พิมพ์มติชนฉบับประจำวันที่ 10 มิถุนายน ฉายซ้ำ “คลิปลับ” วันนัดพบ “ผู้นำฝ่ายค้าน”

จับประโยคสนทนา ใกล้เคียงกับช็อตเบื้องหลังที่นายอภิสิทธิ์ถ่ายทอดออกมา

เรื่องของเรื่อง
ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงที่ว่า “อภิสิทธิ์” กับ “พสิษฐ์” มีการนัดพบกันจริงๆ
ในห้วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ และผลออกมาก็เป็นไปตามที่มีการเจรจาความกัน

มันก็ชัด มีขบวนการ “ล็อบบี้” อยู่ฉากหลัง

เถียงไม่ขึ้น รัฐบาล “อภิสิทธิ์” ก่อกำเนิดมาจาก “พลังที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”.




ทีมข่าวการเมือง


http://www.thairath.co.th/content/pol/178103

Re:

โดย dแดง

อ่านบทความเหลืองแฉบ้างดีกว่า

ASTVผู้ จัดการสุดสัปดาห์ - ในระหว่างที่การเมืองกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่ “พรรคประชาธิปัตย์” ภายใต้การนำทัพของเขากำลังอ่อนแออย่างถึงขีดสุด ไม่มีท่าทีว่าจะชนะศึกเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 3 กรกฎาคม และแทบไม่เห็นหนทางที่จะกลับสู่เส้นทางแห่งอำนาจได้อย่างไร “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคการเมืองเก่าแก่พรรคนี้เลือกที่จะใช้ “โซเชียลเน็ตเวิร์ก” อย่าง “เฟซบุ๊ก(facebook)” สื่อสารกับสังคมไทยในประเด็นที่ล้วนแล้วแต่มีนัยสำคัญทางการเมืองทั้งสิ้น

จนผู้คนงงงวยกันทั้งบ้านทั้งเมืองว่า เจ้าของสมญานาม “ดีแต่พูด” กำลังหันมาเอาทีทาง “ดีแต่เขียน” แล้วกระนั้นหรือ

อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบเนื้อหาในข้อเขียนที่นายอภิสิทธิ์ตั้งชื่อเอาไว้อย่างสวยหรูว่า “จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ” ใน http://www.facebook.com/Abhisit.M.Vejjajiva ก็ทำให้เห็นถึงเป้าประสงค์ของข้อเขียนชิ้นนี้ได้เป็นอย่างดีว่า ทำไมนายอภิสิทธิ์ถึงตัดสินใจใช้ช่องทางนี้แทนที่จะเลือกใช้วิธีการให้ สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน ดังเช่นที่เขาเขียนเอาไว้ว่า “แม้ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่าที่ผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผมพยายามสื่อสารกับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม และความเข้าใจในการทำงานของผม แต่ที่ผ่านมา ผมหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่มีความละเอียดอ่อนเพราะผม พยายามลดเงื่อนไขความขัดแย้ง แต่ขณะนี้สื่อมวลชนบางส่วนเสนอข้อมูล ข้อคิดที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผมจึงจำเป็นต้องทำบันทึกชุดนี้เพื่อเป็นหลักฐานและเพื่อประโยชน์ในการตัดสิน ใจชี้ชะตาอนาคตของประเทศไทยโดยพี่น้องทุกคนในเร็วๆ นี้”

หรือสรุปง่ายๆ ว่า สื่อมวลชนไม่ให้ความเชื่อถือข้อมูลที่นายอภิสิทธิ์สื่อสารด้วยการพูด และข้อเท็จจริงที่สื่อมวลชนนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์กำลังบั่นทอนความน่าเชื่อ ถือของเขาหนักขึ้นทุกวัน ดังนั้น จึงจำต้องเขียนผ่านเฟซบุ๊กเพื่อให้บรรดาคนรักอภิสิทธิ์ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่นิยมใช้ช่องทางนี้ในการติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองได้เข้าใจ

ขณะที่ข้อดีของการเขียนข้อความผ่านเฟซบุ๊กก็คือ นายอภิสิทธิ์จะสามารถเขียนข้อความใดๆ ลงไปก็ได้โดยที่ไม่ต้องถูกซักถามจากสื่อมวลชนที่รู้เท่าทันข้อมูล

สำหรับข้อเขียนจากใจนายอภิสิทธิ์ที่สื่อสารผ่านเฟซบุ๊กขณะนี้มีทั้งหมด 2 ตอนด้วยกัน โดยตอนแรกมีชื่อว่า “การเมืองสลับขั้ว : สู่เส้นทางนายกรัฐมนตรี” ส่วนตอนที่สองมีชื่อว่า "กฎเหล็ก 9 ข้อ : สู่บรรทัดฐานใหม่ทางการเมือง"

ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ลงในรายละเอียดของข้อเขียนในตอนแรกแล้วจะเห็นว่า สาระสำคัญที่นายอภิสิทธิ์ต้องการสื่อสารหรืออาจสามารถใช้คำว่า “แก้ตัว” มีหลายประเด็นด้วยกันคือ

หนึ่ง-นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธเรื่องความสัมพันธ์กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย และโจมตีการชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล การชุมนุมในสนามบินและขัดขวางการลงพื้นที่ของรัฐมนตรีว่าเป็นสิ่งที่ผิด กฎหมาย ด้วยการใช้ข้อความว่า

“หลายคนมองว่า พรรคประชาธิปัตย์สมคบกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่ผมระมัดระวังที่จะแยกแยะบทบาทของพรรคการเมืองกับภาคประชาชนที่มีสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ผมไม่ขึ้นเวทีแต่ปกป้องสิทธิของพวกเขา เมื่อใดที่มีการทำผิดกฎหมาย เช่น การยึดทำเนียบฯ ยึดสนามบิน หรือขัดขวางการลงพื้นที่ของรัฐมนตรี ผมแสดงจุดยืนชัดเจนทุกครั้งว่า ผมไม่เห็นด้วย”

นายอภิสิทธิ์เลือกที่จะตัดตอนข้อมูล โดยมิได้อธิบายบริบทของสาเหตุที่ทำให้พันธมิตรฯ ต้องตัดสินใจกระทำดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระเบิด” และ “M-79”ที่คร่าชีวิตอันบริสุทธิ์ของประชาชนที่ออกมาชุมนุมตามสิทธิที่ระบุไว้ ในรัฐธรรมนูญรายแล้วรายเล่า โดยที่รัฐบาลในขณะนั้นไม่สามารถปกป้องและคุ้มครองชีวิตของผู้ชุมนุมได้

ขณะเดียวกันนายอภิสิทธิ์ก็ไม่กล้าพอที่จะยอมรับความจริงว่า “คนของพรรคประชาธิปัตย์” ถูกส่งเข้ามาร่วมกับพันธมิตรฯ จำนวนไม่น้อยเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และฉวยจังหวะแห่งความวุ่นวายของสถานการณ์ ก้าวขึ้นสู่อำนาจ และทำให้เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังโจมตีพันธมิตรฯ ด้วยว่า ข้อเรียกร้องให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกเป็นการยอมจำนนต่อการใช้มวลชนกดดัน โดยระบุชัดเจนว่า จะส่งผลให้เกิดปัญหาระยะยาวต่อการบริหารประเทศ ทั้งๆ ที่การลาออกก็เป็นหนทางหนึ่งที่ระบุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ และมิใช่เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธการใช้มวลชนกดดัน แต่นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีได้ก็เพราะการใช้มวลชนกดดันมิใช่หรือ

สอง-นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร โดยออกตัวด้วยการอธิบายอย่างน่าเกลียดว่า “ใครจะคุยกับทหารอย่างไรผมไม่ทราบ เพราะผมไม่เคยติดต่อกับทหารท่านใดเลย… ถ้าทหารมีอำนาจบีบบังคับให้พรรคการเมืองต้องทำตามที่ตัวเองต้องการ ทำไมจึงมีการแข่งขันอย่างเข้มข้นในสภา”

นายอภิสิทธิ์กำลังจะบอกต่อสังคมว่า เขามิได้ใช้ทหารเป็นเครื่องมือในการจัดตั้งรัฐบาล ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยกรรมวิธีในรัฐสภา แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้ปฏิเสธเช่นกันว่า คนของพรรคประชาธิปัตย์อย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณเคยติดต่อกับทหารหรือไม่

ที่สำคัญคือ ถ้านายอภิสิทธิ์ไม่ได้ทหารช่วยจัดตั้งรัฐบาลจริง ทำไมโควตารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจึงนำไปใส่พานให้กับ “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” ที่เป็นคนนอก มิใช่คนของพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาลแต่อย่างใด

นายอภิสิทธิ์กล้าที่จะปฏิเสธหรือว่า การยกตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไม่ใช่รางวัลที่มอบให้ในฐานะที่ทำ ให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ

ทั้งนี้ หลักฐานที่ยืนยันการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีทหารหนุนหลังที่นายอภิสิทธิ์ไม่อาจ ปฏิเสธได้ก็คือ การที่ “นายชุมพล ศิลปอาชา” หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ออกมาแฉด้วยตัวเองว่า “ไม่ใช่ว่าพรรคชาติไทยพัฒนาอยากจะร่วมรัฐบาล ถ้าไม่ถูกบีบบังคับก็ไม่ร่วมแน่ ซึ่งเราถูกบีบด้วยพลังที่เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ก็ต้องมาร่วม” ซึ่งแน่นอนว่า คนที่บีบพรรคชาติไทยพัฒนาจะเป็นใครหรือองค์กรใดมิได้ ถ้ามิใช่ “คนสีเขียว”

จากนั้นนายอภิสิทธิ์ใช้ข้อเขียนของตนเองอธิบายข้อวิจารณ์เรื่อง “การยอมทุกอย่างให้คุณเนวินขี่คอ ได้กระทรวงหลักไปดูแล” ว่า “ความจริงก็คือในสถานการณ์นั้นง่ายที่สุดคือ ใครเคยดูแลกระทรวงไหนก็ดูแลกระทรวงนั้นเหมือนเดิมทั้งหมด” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า วิธีคิดของนายอภิสิทธิ์นั้น มิได้ตั้งใจเข้ามาแก้ปัญหาให้กับชาติบ้านเมืองแต่อย่างใด เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ง่ายเกินไป โดยมิได้มองถึงผลเสียหายที่จะเกิดกับประเทศชาติ

เป็นสมการการเมืองที่ผิดเพี้ยน เพราะการที่พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอย่างพรรคประชาธิปัตย์มิได้นั่งบริหาร งานกระทรวงสำคัญๆ ทำให้การขับเคลื่อนประเทศเกิดปัญหาตามมามากมาย และกาลเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า การยอมยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ก่อให้เกิดเรื่องราวที่สร้างความผิดหวังให้กับรัฐนาวาของนายอภิสิทธิ์มาก น้อยเพียงใด

ซ้ำร้ายนายอภิสิทธิ์ยังอ้างด้วยว่า การจับมือระหว่างเขาและนายเนวินนั้นคือการเข้ามาแก้วิกฤติของประเทศให้จบ เพราะขณะนั้นกำลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตการเมือง

แน่นอน ทุกคนเข้าใจดีถึงข้อจำกัดของประเทศในห้วงเวลานั้น แต่บทสรุปของเหตุการณ์เมื่อนายอภิสิทธิ์นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีกว่า 2 ปี นายอภิสิทธิ์กลับมิได้ทำให้วิกฤตของประเทศคลี่คลาย โดยวิกฤตการเมืองก็ยังดำเนินไปอย่างหนักหนาสาหัสจนเกิดเหตุการณ์เผาบ้านเผา เมือง ขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจก็ยังหนักหน่วงจากภาวะข้าวยากหมากแพงที่สร้างความเดือด ร้อนให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังแสดงออกในข้อเขียนชื่นชมนายเนวินอย่างออกหน้าออกตาอีกต่าง หากว่า “ผมเข้าใจดีถึงความรู้สึกของพี่น้องจำนวนไม่น้อยที่แสลงใจกับภาพที่คุณเนวิน ชิดชอบเข้ามาโอบกอดผม ผมมองอย่างให้ความเป็นธรรมกับคุณเนวินว่า การตัดสินใจย้ายขั้วทิ้งคุณทักษิณ ที่คุณเนวินเรียกว่านาย ย่อมเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากไม่น้อย คำพูดที่คุณเนวินฝากไปถึงคุณทักษิณที่ว่า มันจบแล้วครับนาย ด้วยเสียงสั่นเครือน้ำตาคลอเบ้าคงจะยังเป็นบาดแผลในใจคุณเนวินมาจนถึงวันนี้ ไม่ว่าคนจะมองคุณเนวินในภาพอย่างไร แต่ในวันนั้นผมเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่า คุณเนวินได้ตัดสินใจทางการเมืองเพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้”

นายอภิสิทธิ์เชื่อสนิทใจได้อย่างไรว่า คนที่มีประวัติและเบื้องหลังทางการเมืองที่พร่ามัวผู้นี้จะตัดสินใจทางการ เมืองเพื่อให้ประเทศเดินหน้าไปได้ ถ้าไม่มีเรื่องอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง และถ้าต้องการให้ประเทศเดินหน้าจริงและเสียสละจริง ทำไมพรรคภูมิใจไทยถึงได้โควตากระทรวงเกรดเอไปครองครอบถึง 4 กระทรวง และแทบจะกล่าวได้ว่า ทั้ง 4 กระทรวงเป็นกระทรวงที่มีเรื่องราวที่ไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

สี่-นายอภิสิทธิ์ยอมรับว่า รู้จัก เคยพบและรับประทานอาหารร่วมกับ “น้องปอย-นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์” อดีตเลขานุการของ “นายชัช ชลวร” ประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยนายพสิษฐ์ติดต่อผ่าน ส.ส.คนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์เพื่อขอเข้าพบตนเอง เพื่อแจ้งให้ทราบว่า พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบ พร้อมทั้งพร่ำพรรณนาว่า ตัวเขาเองและพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ประโยชน์จากการนี้

ทั้งนี้ การที่นายอภิสิทธิ์หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาอธิบาย เป็นเพราะต้องการเชื่อมโยงให้เห็นถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาออกมา ว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดทั้งคดีใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการ เมือง 29 ล้านบาทและคดีรับเงินบริจาคจากทีพีไอ 258 ล้าน ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างหนักต่อกระบวนการยุติธรรม เพราะก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

เพราะก่อนหน้าที่ศาลจะมีคำพิพากษาออกมา นายพสิษฐ์ผู้นี้ก็กระทำการอันลือลั่นด้วยการปล่อยคลิปเพื่อเปิดโปงความไม่ ชอบมาพากลในคดีดังกล่าว และผู้ที่นาย พสิษฐ์ไปพบก็คือ “นายวิรัช ร่มเย็น” ส.ส.และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นหนึ่งในคณะทำงานคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

นายอภิสิทธิ์ต้องการคลี่ประเด็นที่ค้างในหัวใจของสังคมว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีเส้น ทำทุกอย่างตรงไปตรงมา แม้นายพสิษฐ์จะมาให้ข้อมูลเรื่องผลแห่งคดี นายอภิสิทธิ์ก็มิได้สนใจ ดังนั้น จงโปรดอย่านำไปเชื่อมโยกกับคดีที่ตามมาในภายหลัง

แต่ที่ต้องขีดเส้นใต้เอาไว้คือ ข้อเขียนในเฟซบุ๊กของนายอภิสิทธิ์ก็ทำให้สังคมเข้าใจได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับนายพสิษฐ์นั้น อยู่ในระดับที่ไม่ธรรมดา เพราะมิฉะนั้นแล้วคงไม่สามารถนัดพบกับคนของพรรคประชาธิปัตย์ได้บ่อยครั้ง เช่นนี้

ถัดจากวันที่ 6 มิ.ย.อันเป็นวันแรกที่นายอภิสิทธิ์เขียนเปิดใจ อีกไม่กี่วันถัดมาคือวันที่ 8 มิ.ย.นายอภิสิทธิ์ก็ส่งข้อเขียนตอนที่ 2 ลงเฟซบุ๊กโดยให้ชื่อว่า “กฎเหล็ก 9 ข้อ : สู่บรรทัดฐานใหม่ทางการเมือง”

ทั้งนี้ เนื้อหาสาระของข้อเขียนตอนนี้ นายอภิสิทธิ์ต้องการอธิบายให้สังคมได้เห็นถึงความเป็นนักการเมืองมืออาชีพ ความเป็นคนดี ความเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตของตนเองที่ประกาศผ่านกฎเหล็ก 9 ข้อ หลังจากภาพพจน์ติดลบอย่างหนักจากข้อหา “พายเรือให้โจรนั่ง” โดยยกตัวอย่างให้เห็นถึงผลงานในการหยุดยั้งการคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในรัฐบาล ของตนเอง 4 เหตุการณ์ด้วยกันคือ

กรณีปลากระป๋องเน่าที่เกิดขึ้นในยุคที่นายวิฑูรย์ นามบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามต่อด้วยกรณีของนายวิทยา แก้ว ภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและทีมที่ปรึกษาที่มีข้อกล่าวหาเรื่องการ ทุจริต

โดยนายอภิสิทธิ์ย้ำให้เห็นว่า ขอเพียงแค่มีข้อสงสัยหรือมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายกฎเหล็ก 9 ข้อที่เขาวางไว้ นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ก็จะดำเนินการในทันทีเพื่อรักษาบรรทัดฐาน ทางการเมือง แต่นายอภิสิทธิ์ไม่ได้ขยายความในเวลาต่อมาว่า ท้ายที่สุดแล้วพรรคประชาธิปัตย์ของเขาสามารถนำตัวคนผิดมาลงโทษได้หรือไม่

เช่นเดียวกับความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นกับคนของพรรคภูมิใจไทยและนายเนวิน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ยืนยันว่าก็มิได้ยกเว้น ดังกรณีของนายมานิตย์ นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข หรือนายวีระศักดิ์ จินารัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่มีปัญหาในเรื่องการประมูลข้าวที่ต้องพ้นไปจากตำแหน่งดังกล่าว

“เมื่อปรากฏพยานหลักฐานเช่นนี้ ผมไม่ลังเลที่จะดำเนินการตามกฎ 9 ข้อที่ผมวางไว้ ซึ่งในขณะนั้นผมทราบดีว่าการตัดสินใจสร้างความไม่พอใจกับนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ไม่มากก็น้อย เพราะเป็นคำสั่งเด็ดขาดทันทีโดยไม่เปิดโอกาสให้ใครมีสิทธิ์ต่อรองทั้งสิ้น”

แต่นายอภิสิทธิ์ก็มิได้อธิบายอีกเช่นกันว่า ท้ายที่สุดแล้วผลแห่งคดีเป็นเช่นไร และมีใครต้องรับโทษตามกฎหมาย นอกเหนือจากการพ้นไปจากตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่

แน่นอน ไม่มีใครไม่เชื่อในความเป็นคนซื่อสัตย์และความเป็นคนดีของนายอภิสิทธิ์ แต่นายอภิสิทธิ์ก็มิอาจทำให้สังคมได้เชื่อว่า มิได้พายเรือให้โจรนั่งจริง

ที่สำคัญคือ นายอภิสิทธิ์ขอโอกาสจากประชาชนให้เข้ามาบริหารประเทศอีกครั้ง โดยจะอาศัยพลังของมวลชนในการขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไป แต่นายอภิสิทธิ์คงลืมไปว่า การกลับมาเป็นรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์อีกครั้งก็หนีไม่พ้นที่จะต้องร่วมกับ พรรคเก่าๆ หน้าเดิมๆ ซึ่งสุดท้ายแล้วปัญหาเดิมก็จะวนกลับมา เพราะถ้าไม่มีพรรคเหล่านั้น นายอภิสิทธิ์ก็ไม่มีทางได้เป็นนายกรัฐมนตรี

นี่คือความจริงที่ไล่ล่านายอภิสิทธิ์และนายอภิสิทธิ์มิอาจปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้นได้