ที่มา ประชาไท
แม้ ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่า ที่ผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผมพยายามสื่อสารกับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและความเข้าใจในการทำงานของผม แต่ที่ผ่านมาผมหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่มีความละเอียด อ่อน เพราะผมพยายามลดเงื่อนไขความขัดแย้ง แต่ขณะนี้สื่อมวลชนบางส่วนเสนอข้อมูล ข้อคิดที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผมจึงจำเป็นต้องทำบันทึกชุดนี้เพื่อเป็นหลักฐาน และเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจชี้ชะตาอนาคตของประเทศโดยพี่น้องทุกคนในเร็ว ๆ นี้
ตอนที่ 1. การเมืองสลับขั้ว : สู่เส้นทางนายกรัฐมนตรี
หลัง จากที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งปลายปี พ.ศ. 2550 ผมตั้งใจทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรให้ดีที่สุด ไม่เคยคิดว่าจะมีโอกาสก้าวสู่ตำแหน่งนายกฯจนกว่าจะมีการเลือกตั้งกันใหม่ แต่เหตุการณ์บ้านเมืองก็ไม่ปกติ โดยเริ่มต้นจากความขัดแย้งที่เกิดจาก นายกฯสมัคร เปิดประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อล้างความผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้เกิดกระแสต่อต้านรุนแรงจากประชาชนที่ไม่ต้องการให้นักการเมืองกลายเป็น อาชีพเดียวที่อยู่เหนือกฎหมายได้ เพราะสามารถใช้เสียงข้างมากในสภาออกกฎหมายล้างความผิดตัวเองได้ ในความผิด เช่น การทุจริต คอรัปชั่น ซึ่งถือเป็นวิธีการที่สั่นคลอนความมั่นคงของกระบวนการยุติธรรม และระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นอย่างยิ่ง
หลายคน มองว่า พรรคประชาธิปัตย์สมคบกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่ผมระมัดระวังที่จะแยกแยะบทบาทของพรรคการเมืองกับภาคประชาชนที่มีสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ผมไม่ไปขึ้นเวทีแต่ปกป้องสิทธิของพวกเขา เมื่อใดที่มีการทำผิดกฎหมาย เช่น การยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน หรือขัดขวางการลงพื้นที่ของรัฐมนตรี ผมแสดงจุดยืนชัดเจนทุกครั้งว่า "ผมไม่เห็นด้วย" เมื่อสถานการณ์ลุกลาม การบริหารบ้านเมืองแทบเดินไม่ได้ ประเทศชาติเสียหายยับเยินขาดความเชื่อมั่นในสายตานานาชาติ ในช่วงวิกฤตินั้นผมในฐานะผู้นำฝ่ายค้านเป็นคนเสนอนายกสมัครกลางสภาให้แก้ ปัญหาด้วยการยุบสภา ทั้ง ๆที่รู้ว่ายุบสภาในขณะนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็แพ้เลือกตั้ง แต่ผมต้องการให้ประเทศมีทางออกตามระบบ
ผมไม่เคยเสนอให้นายกสมัคร ลาออกจากตำแหน่ง เพราะนั่นเป็นข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม การลาออกจะกลายเป็นการยอมจำนนต่อการใช้มวลชนกดดัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาระยะยาวต่อการบริหารประเทศ จึงเห็นว่าการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าพรรคจะแพ้การเลือกตั้ง เพราะการแก้ปัญหาเพื่อชาติต้องอยู่เหนือประโยชน์ของพรรคตัวเอง. นี่คือจุดยืนของผมและพรรคประชาธิปัตย์
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการ เมืองที่ทวีความตึงเครียดให้กับประเทศไทยมาก ขึ้น คดีของพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลก็อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการยุบพรรคเพราะนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรค ทุจริตเลือกตั้ง กกต.ให้ใบแดงนายยงยุทธ จากนั้นศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำพิพากษายืนให้ใบแดงกับนายยงยุทธซึ่ง กติกาที่ทุกพรรคก็รับทราบมาตั้งแต่ต้น คือ หากผู้บริหารพรรคได้ใบแดงพรรคการเมืองนั้นต้องถูกยุบ ดังนั้นคดีนี้จึงชัดเจนอย่างยิ่งชนิดที่เรียกว่าปิดไว้ข้างฝาได้เลยว่า จะมีปัญหาแน่สำหรับรัฐบาลคุณสมัครกับคุณสมชาย แต่ผมไม่เคยคิดและไม่เคยดิ้นรนว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วจะเป็นโอกาสของผม
ช่วง เวลานั้น นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญติดต่อผ่าน ส.ส. คนหนึ่งเพื่อขอพบผม เพราะมีธุระอยากพูดคุยด้วย เราก็ได้พบกันที่ร้านอาหารใกล้พรรคประชาธิปัตย์ โดยคุณพสิษฐ์บอกผมว่า พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบนะ ผมก็เพียงแต่รับฟัง คุณพสิษฐ์บอกกับผมว่าที่เล่าให้ฟังเพราะคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับพรรคประชาธิ ปัตย์ ซึ่งผมตอบกลับไปว่า การยุบพรรคพลังประชาชนหรือไม่เป็นเรื่องของเนื้อคดีและดุลพินิจของศาลรัฐ ธรรมนูญ แม้แต่วันนั้นผมก็ยังบอกเขาเลยว่าหากยุบพรรคพลังประชาชน ผมก็คิดว่าไม่ได้เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับประชาธิปัตย์ เพราะผมเชื่อว่าพรรคร่วมรัฐบาลเดิมก็คงจับมือกันเป็นรัฐบาลต่อ
แต่ ถามว่าหากพรรคการเมืองอื่นเขาตัดสินใจย้ายมาร่วมตั้งรัฐบาลกับประชา ธิปัตย์แปลกไหม ก็ต้องบอกว่าไม่แปลก เพราะบ้านเมืองเดินไม่ได้จริง ๆ กับปัญหาที่สะสมมาตั้งแต่ความพยายามแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตัวเองจนถึงเรื่อง 7 ตุลา ใครจะคุยกับทหารอย่างไรผมไม่ทราบ เพราะผมไม่เคยติดต่อกับทหารท่านใดเลย แต่ผมเชื่อว่าไม่มีใครบังคับ ส.ส.ได้ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคซึ่งประสานงานกับพรรคการเมืองต่าง ๆ มาถามจุดยืนผม ผมก็บอกว่ามันเป็นเรื่องของสภา และผมก็คิดอยู่ในใจว่าหากเราจะปัดว่าไม่ใช่เรื่องของเราก็ได้ แต่คนเป็นผู้นำฝ่ายค้านต้องมีความรับผิดชอบ เราไม่ได้เป็นคนไปแย่งไปปล้นอำนาจใครมา และถ้ามีโอกาสเป็นนายกฯก็ไม่คิดทำอะไรเพื่อตัวเอง ทุกอย่างเป็นกระบวนการตามระบบ ตามกฎหมาย ผมถือว่าถ้าเสียงในสภายอมรับก็ยอมรับ และการลงคะแนนก็เปิดเผย การสลับขั้วในระบบรัฐสภาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในทุกประเทศที่ใช้ระบบนี้ พรรคเพื่อไทยเองพยายามรักษาอำนาจทุกวิถีทาง ถึงขั้นยกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้กับคุณประชา พรหมนอก ซึ่งเป็น ส.ส.พรรคเล็กด้วยซ้ำ ทำให้คุณประชาซึ่งพาผมไปเลี้ยงข้าวที่บ้านบอกจะสนับสนุนผม แต่อีกสองวันกลับประกาศว่าจะแข่งกับผม ก็ไม่มีปัญหาแข่งกันไป ถ้าทหารมีอำนาจบีบบังคับให้พรรคการเมืองต้องทำตามที่ตัวเองต้องการได้จริง ทำไมจึงมีการแข่งขันอย่างเข้มข้นในสภา
ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลที่ วิจารณ์กันมากว่ายอมทุกอย่างให้คุณเนวินขี่คอได้ กระทรวงหลักไปดูแล ความจริงก็คือ ในสถานการณ์นั้นง่ายที่สุดคือ ใครเคยดูแลกระทรวงไหนก็ดูแลกระทรวงนั้นเหมือนเดิมทั้งหมด หลักสำคัญคือพูดกันชัดเจนว่าเรามาแก้วิกฤติให้มันจบ ไม่เคยมีสัญญาว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ตามที่คุณบรรหารกล่าวอ้าง และวันที่คุณเนวินคุยกับผมก็พูดเรื่องรัฐธรรมนูญผมพูดชัดสามเรื่อง คือ เรื่องไหนที่เป็นปัญหาเชิงเทคนิคของรัฐธรรมนูญผมยินดีแก้ เพราะผมเป็นคนแรกที่พูดตอนการทำประชามติว่ารัฐธรรมนูญบางมาตราอาจต้องแก้ไข แต่เรื่องประเภทนิรโทษกรรมไม่เอานะ เพราะบ้านเมืองมันวุ่นมามากแล้ว และคุณเนวินก็บอกกับผมว่า เรื่องนิรโทษกรรมไม่ต้องพูดถึงเขาไม่สนใจเขาไม่เอา เขาขอเรื่องเขตเล็ก ผมก็บอกคุณเนวินว่า เรื่องเขตเล็กผมเป็นคนเสนอเขตใหญ่ เพราะฉะนั้นการปรับปรุงตรงนี้พักไว้ก่อนแล้วค่อยมาคุยกันว่าจะทำอย่างไร
เมื่อ สภาให้โอกาสผมเป็นนายกรัฐมนตรีผมก็มีหน้าที่แก้ไขปัญหา และตั้งใจตั้งแต่ต้นว่าจะไม่อยู่ครบวาระ ถ้าคลี่คลายวิกฤติได้ก็จะยุบสภา เพราะตอนนั้นเกิดวิกฤติเศรษกิจโลกและวิกฤติการเมือง เรียกว่า เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติบนสถานการณ์ที่ประเทศชาติไม่อยู่ในภาวะปกติ มีคนบอกผมด้วยซ้ำว่า อย่าไปเป็นนายกรัฐมนตรีเลยเพราะมีแต่เจ๊ากับเจ๊ง และจะเปลืองตัว ความดีจะถูกทำลายโดยองค์ประกอบรอบข้าง เพราะต้องยอมรับความจริงว่าประชาชนส่วนหนึ่งไม่ไว้วางใจพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ที่เคยอยู่กับพรรคพลังประชาชน ก็จะทำให้ผมได้รับแรงเสียดทานไปด้วยว่า "อยากเป็นนายกรัฐมนตรีจนสามารถร่วมงานกับพรรคอะไรก็ได้" และเดี๋ยวนี้ข้อหาพัฒนาไปไกลถึงขั้นหาว่า "ผมพายเรือให้โจรนั่ง"
ผม เข้าใจดีถึงความรู้สึกของพี่น้องจำนวนไม่น้อยที่แสลงใจกับภาพที่คุณเน วิน ชิดชอบ เข้ามาโอบกอดผม ผมมองอย่างให้ความเป็นธรรมกับคุณเนวินว่า การตัดสินใจย้ายขั้วทิ้งคุณทักษิณ ที่คุณเนวิน เรียกว่า "นาย" ย่อมเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากไม่น้อย คำพูดที่คุณเนวินฝากไปถึงคุณทักษิณที่ว่า "มันจบแล้วครับนาย" ด้วยเสียงสั่นเครือน้ำตาคลอเบ้าคงจะยังเป็นบาดแผลในใจคุณเนวินมาจนถึงวันนี้ ไม่ว่าคนจะมองคุณเนวินในภาพอย่างไร แต่ในวันนั้นผมเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่า คุณเนวินได้ตัดสินใจทางการเมืองเพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้
ถ้าคิดใน ทางกลับกันผมไม่ยอมร่วมรัฐบาลกับคุณเนวินและพรรคอื่น ๆ เพียงเพราะกลัวเปลืองตัว ปล่อยให้บ้านเมืองวุ่นวายเดินหน้าไม่ได้ ผมก็ลอยตัวไม่ต้องมาอยู่ในฐานะเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร ชีวิตก็ไม่ต้องเสี่ยงจากความรุนแรงที่เริ่มปรากฏให้เห็นในการแข่งขันทางการ เมือง แต่ถ้าผมทำอย่างนั้นก็เท่ากับเป็นการปัดความรับผิดชอบในฐานะนักการเมืองท่ี ต้องแก้ปัญหาให้ประชาชน
วันนั้นผมอาจจะคิดผิดก็ได้เพราะผมคิดว่าถ้า เราซื่อสัตย์ทำงานด้วยความอด ทนอดกลั้น ไม่ทำตัวเป็นชนวนหรือเงื่อนไขของความขัดแย้ง พยายามรับฟังทุกฝ่ายทุกสิ่งทุกอย่างจะเดินไปได้ แต่มันก็ไม่เป็นอย่างนั้น ตั้งแต่วันแรกที่ผมชนะในสภาก็มีการใช้มวลชนเสื้อแดงพยายามทำร้าย ส.ส.ที่สนับสนุนผม แม้แต่ผมเองก็ยังต้องอาศัยรถตู้ของคุณเทพไท เสนพงศ์ ออกมา เพื่อหลีกเลี่ยงการผชิญหน้าที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง ผมบอกกับตัวเองตั้งแต่วันนั้นว่า ชีวิตผมกำลังเปลี่ยนแปลงและอาจสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะมีชีวิตสั้นกว่าวัยอัน ควร เพราะมีคนใช้ความรุนแรงข่มขู่ทางการเมือง แต่ผมก็ยังเลือกที่จะทำหน้าที่เดินหน้าประเทศไทยเพื่อรักษาสัญญาที่ให้กับ พี่น้องประชาชนที่ให้โอกาสผมเป็น ส.ส.คนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ในกรุงเทพมหานครว่า "ถ้ามีโอกาสผมจะสร้างรากฐานเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ประชาชนมีความมั่นคงใน ชีวิต" และผมก็ดำเนินการทันทีท่ามกลางวิกฤติซ้อนวิกฤติ ผมยังเดินหน้าสร้างระบบสวัสดิการให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ประชานิยมแต่เป็นประชายั่งยืน และไม่ได้เสียสมาธิกับปัญหาทางการเมืองจนเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาให้พี่ น้องประชาชน
ผมยืนยันได้ครับว่าตลอดการทำงานการเมืองเกือบ 20 ปี อุดมการณ์ในการเข้าสู่การเมืองเป็นอย่างไรไม่เคยเปลี่ยนแปลง และทุกการตัดสินใจล้วนแต่ยึดประโยชน์ประชาชนทั้งสิ้น ผมทราบว่าหลายคนได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพื่อปั่นกระแสให้ไม่เชื่อมั่นใน ตัวผม แต่ผมหวังว่าความจริงที่ผมเล่าให้ฟังนี้ จะทำให้ประชาชนได้เห็นว่า ยังเชื่อมั่นผมได้เพราะผมไม่เคยเปลี่ยนอุดมการณ์ และพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขเคียงข้างกับคนไทยเพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป
ผม มาทบทวนดูว่า การเข้าสู่ตำแหน่งและการดำรงตำแหน่งของผม ขัดกับหลักประชาธิปไตยไหม ผมว่ามันไม่ใช่ ผมได้รับการยืนยัน การสนับสนุนจากสภาตลอด 2 ปี แม้แต่คนเสื้อแดงก็ไม่ได้หยิบยกเรื่องนี้มาเป็นเงื่อนไขการชุมนุม จนเวลาผ่านไปเป็นปี ถ้าผมจะมีความผิดก็คงมีแค่ประการเดียว คือ ผมเป็นนายกฯในระบบสภาคนแรกหลังปี 2550 ที่คุณทักษิณสั่งไม่ได้