WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, February 5, 2012

เราจะฝันใฝ่อะไรกันดีในปี 2555

ที่มา ประชาไท

การต่อสู้เรียกร้องที่สร้างแรงบันดาลใจที่สุดของปี 2554 ได้ชูความสำคัญของปัญหาประชาธิปไตย

ถึงแม้จะเกิดขึ้นจากเงื่อนไขที่แตกต่างกันมาก การเคลื่อนไหวต่างๆ ไล่ตั้งแต่การรุกฮือของอาหรับสปริงถึงการต่อสู้ของสหภาพในวิสคอนซิน การประท้วงของนักศึกษาในชิลีไปจนถึงสหรัฐและยุโรป การจลาจลในอังกฤษไปจนถึงการยึดครองของ indignados ในสเปน (ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจของสเปน ชื่อเต็ม Los Indignados มีความหมาย “The Outraged” ในภาษาอังกฤษ: ผู้แปล) การยึดจตุรัส Syntagma ในกรีซและออคคิวพายวอลล์สตรีทจนกระทั่งรูปแบบท้องถิ่นอีกนับไม่ถ้วนของการ ปฏิเสธทั่วทุกโลกได้มีลักษณะร่วมประการแรกคือ ข้อเรียกร้องในเชิงปฏิเสธ นั่นคือ รับไม่ได้กับโครงสร้างของเสรีนิยมใหม่อีกต่อไป! การตะโกนโห่ร้องที่พ้องกันนี้ไม่เพียงเป็นการประท้วงในเชิงเศรษฐกิจ แต่เป็นเชิงการเมืองไปในตัวด้วย เพื่อต่อต้านคำกล่าวอ้างจอมปลอมของการเมืองระบบตัวแทน ทั้งมูบารักและเบน อาลี หรือนายธนาคารวอลล์สตรีท สื่อชนชั้นสูงและแม้แต่ประธานาธิบดี ผู้ว่าการรัฐฯ สมาชิกรัฐสภาหรือข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเอง ต่างไม่มีใครเลยทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้พวกเรา

แน่นอน แรงขับเคลื่อนมหาศาลของการปฏิเสธมีความสำคัญมาก แต่เราควรจะระมัดระวังไม่ให้หลงทางไปท่ามกลางเสียงอีกทึกของการชุมนุมและ ความขัดแย้งที่ศูนย์กลาง ซึ่งดำเนินไปไกลเกินกว่าการประท้วงและต่อต้าน การเคลื่อนไหวเหล่านี้ยังร่วมแบ่งปันความปรารถนาสำหรับประชาธิปไตยรูปแบบ ใหม่ ที่ในบางกรณีแสดงออกในรูปของเสียงที่ไม่หนักแน่นและไม่แน่ใจนักแต่ในหลาย กรณีมั่นคงและทรงพลัง พัฒนาการของความปรารถนานี้คือส่วนหนึ่งของสายใยที่พวกเราร้อนรนอย่างยิ่งที่ จะดำเนินตามรอยในปี 2555

ต้นตออันหนึ่งของความเป็นปรปักษ์ ซึ่งขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้แม้กระทั่งขบวนการที่เพิ่งได้ล้มผู้นำเผด็จ การไปแล้วจะต้องเผชิญก็คือ ความบกพร่องของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เกี่ยวกับระบบแรงงาน ทรัพย์สินและการเป็นตัวแทน (representation) ในรัฐธรรมนูญเหล่านี้

ประการแรกสุด การขายแรงงานแลกค่าจ้าง คือกุญแจของการเข้าถึงรายได้และสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นพลเมือง มันเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ทำหน้าที่อย่างกระท่อนกระแท่นมายาวนานสำหรับ ผู้ที่อยู่ภายนอกตลาดแรงงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นคนจน คนว่างงาน แรงงานหญิงที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ผู้อพยพและอื่นๆ แต่วันนี้ รูปแบบของแรงงานทั้งหมดยิ่งปรากฏความเปราะบางและขาดความมั่นคงมากขึ้นอีก แน่นอน แรงงานยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งของความมั่งคั่งในสังคมทุนนิยม แต่มันกลับถูกวางอยู่ภายนอกความสัมพันธ์กับทุนมากยิ่งขึ้นและบ่อยครั้ง อยู่ภายนอกความสัมพันธ์กับค่าจ้างที่มีเสถียรภาพ (stable) ดังนั้น รัฐธรรมนูญทางสังคมของเรายังคงต้องการให้แรงงานรับจ้างได้รับสิทธิและการ เข้าถึงอย่างเต็มที่ภายในสังคมซึ่งแรงงานประเภทนี้นับวันจะยิ่งน้อยลงไป ทุกที

ทรัพย์สินเอกชนคือเสาหลักที่สองของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ซึ่งขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมวันนี้ไม่เพียงแต่ทัดทานกฏเกณฑ์ของระบบธรรม รัฐแบบเสรีนิยมใหม่ (neoliberal governance) ทั้งในระดับชาติและระดับโลก แต่ยังรวมถึงกฎเกณฑ์ของทรัพย์สินโดยทั่วไปอีกด้วย ทรัพย์สินไม่เพียงธำรงรักษาลำดับชั้นและการแบ่งแยกทางสังคม แต่ก็กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ที่ทรงพลังที่สุดบางอย่าง (บ่อยครั้งเป็นความสัมพันธ์ที่กลับหัวกลับหาง) ที่พวกเราต่างมีซึ่งกันและกันและมีร่วมกันในสังคม แต่การผลิตเชิงเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันนั้นก็ได้ปรากฏลักษณะร่วมที่เด่น ชัดซึ่งท้าทายและไปไกลกว่าขอบเขตของระบบทรัพย์สินนั้น ความสามารถของทุนในการสร้างกำไรจึงลดลงเนื่องจากมันกำลังสูญเสียสมรรถภาพ เชิงประกอบการและพลังที่จะจัดระบบระเบียบและความร่วมมือทางสังคมลง แต่ทุนก็กลับสะสมความมั่งคั่งได้เพิ่มมากขึ้นผ่านรูปแบบของค่าเช่าเป็นหลัก ซึ่งบ่อยครั้งถูกจัดตั้งผ่านเครื่องมือทางการเงินที่สามารถฉกฉวยมูลค่าที่ ถูกผลิตในเชิงสังคมและ (มูลค่านั้น) มักไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจของตัวทุนเอง อย่างไรก็ตาม ทุกๆ ขณะของการสะสมทุนเอกชนได้ก่อให้เกิดการลดทอนอำนาจและผลิตภาพของสังคม ทรัพย์สินเอกชนจึงไม่เพียงมีลักษณะเป็นกาฝากมากขึ้นแต่ยังเป็นอุปสรรคต่อการ ผลิตเชิงสังคมและสวัสดิการสังคมอีกด้วย

สุดท้าย เสาหลักที่สามของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ตามที่ได้กล่าวไปในตอนต้นนั้น ได้กลายเป็นเป้าของความเกลียดชังมากยิ่งขึ้น อยู่ที่ระบบตัวแทนและคำกล่าวอ้างกำมะลอว่าด้วยการสร้างธรรมรัฐประชาธิปไตย (democratic governance) การทำลายบทบาทของอำนาจในทางการเมืองของบรรดาตัวแทนมืออาชีพคือหนึ่งในไม่กี่ สโลแกนที่ตกทอดมาจากจารีตแบบสังคมนิยมที่เราเต็มใจที่จะตอกย้ำภายใต้ เงื่อนไขร่วมสมัยของเรา นักการเมืองมืออาชีพ ร่วมกับผู้นำองค์กรธุรกิจและผู้ครอบครองสื่อนั้นควบคุมบริหารระบบตัวแทน ประเภทที่อ่อนแอที่สุด ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่านักการเมืองฉ้อโกง (ถึงแม้ในหลายกรณีจะเป็นเรื่องจริง) แต่กลับอยู่ที่โครงสร้างตามรัฐธรรมนูญได้แบ่งแยกกลไกของการตัดสินใจทางการ เมืองออกจากอำนาจและความปรารถนาของมวลมหาชน (multitude) กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยไม่ว่าแบบใดก็ตามในสังคมเราจำเป็นต้องพุ่งเป้าไป ที่ปัญหาการขาดตัวแทนและความเสแสร้งของการเป็นตัวแทนที่ตั้งอยู่ตรงใจกลาง ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว

การตระหนักถึงตรรกะและความจำเป็นของการปฏิวัติต่อเสาหลักทั้งสามและอื่นๆ ที่เหลือซึ่งทำให้การต่อสู้เรียกร้องจำนวนมากในปัจจุบันโลดแล่นอยู่นั้น ที่จริงแล้วเป็นเพียงก้าวแรกอย่างแท้จริง คือจุดตั้งต้นของการเดินทาง ความเร่าร้อนของความคับข้องต่อสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและการปะทุขึ้นพร้อมกันของ การปฏิวัติจะต้องได้รับการจัดตั้งเพื่อให้ดำรงอยู่ข้ามเวลาและเพื่อนำไปสู่ รูปแบบใหม่ของชีวิต หรือการก่อตัวของสังคมทางเลือก

ความลับของก้าวต่อไปนี่แหละ ที่หายากพอกับที่มันมีค่ามหาศาล

ในปริมณฑลเศรษฐกิจ เราจำเป็นต้องค้นหานวัตกรรมสังคมเพื่อให้สามารถผลิตร่วมกันอย่างเสรีและแจก จ่ายความมั่งคั่งที่ปันกันนี้อย่างเท่าเทียม คำถามก็คือ พลังในการผลิตและความปรารถนาของพวกเราจะถูกนำเข้าไปและต่อเติมในระบบ เศรษฐกิจที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานของทรัพย์สินเอกชนได้อย่างไร? สวัสดิการและทรัพยากรพื้นฐานทางสังคมจะถูกจัดหาให้กับทุกคนในโครงสร้างสังคม ที่ไม่ได้ถูกกำกับและครอบงำโดยสถาบันของรัฐได้อย่างไร ? เราต้องสร้างความสัมพันธ์ทางการผลิตและแลกเปลี่ยน รวมทั้งโครงสร้างของสวัสดิการสังคมที่ประกอบขึ้นจากสังคมและเหมาะสมกับสังคม

ความท้าทายของปริมณฑลทางการเมืองก็แหลมคมพอกัน เหตุการณ์ต่างๆ และการปฏิวัติที่สร้างสรรค์และสร้างแรงบันดาลใจที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมาได้ ทำให้ความคิดและปฏิบัติการทางประชาธิปไตยมีลักษณะถอนรากโดยการเข้ายึดครอง และจัดการกับพื้นที่ อย่างเช่น จตุรัสสาธารณะ ด้วยโครงสร้างหรือสมัชชาที่เปิด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและธำรงรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตยใหม่นี้เอาไว้ได้หลาย สัปดาห์หรือหลายเดือน แท้จริงแล้ว การจัดองค์กรภายในของขบวนการเองก็ตกอยู่ภายใต้กระบวนการทำให้เป็น ประชาธิปไตย (democratization) อย่างต่อเนื่องด้วย

เมื่อมีความพยายามที่จะสร้างโครงสร้างแบบเครือข่ายที่มีส่วนร่วมแบบแนว ระนาบ การปฏิวัติต่อต้านระบบการเมืองที่ครอบงำ นักการเมืองมืออาชีพและโครงสร้างที่ไม่ชอบธรรมของระบบตัวแทนนั้นจึงไม่ได้มี เป้าหมายเพื่อรื้อฟื้นระบบตัวแทนแบบที่ชอบธรรมที่เราคิดได้ แต่มีเป้าหมายที่การทดลองรูปแบบใหม่ของการแสดงออกในเชิงประชาธิปไตย นั่นคือ democracia real ya (หรือ Real Democracy Now ในภาษาอังกฤษ เป็นการจัดตั้งในระดับรากหญ้าในสเปน ที่เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2554 และพัฒนาไปสู่ขบวนการเคลื่อนไหวของมวลชน: ผู้แปล) คำถามก็คือ เราจะแปรเปลี่ยนความคับข้องใจและการต่อต้านให้กลายเป็นกระบวนการตรวจสอบจาก เจ้าของอำนาจที่คงทนได้อย่างไร ? การทดลองประชาธิปไตยจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นอำนาจจากเจ้าของ ที่ไม่เพียงทำให้จตุรัสสาธารณะหรือละแวกบ้านกลายเป็นประชาธิปไตยแต่ถึงกับ ประดิษฐ์สังคมทางเลือกที่เป็นประชาธิปไตยแท้จริงได้อย่างไร ?

เพื่อเผชิญกับประเด็นเหล่านี้ พร้อมกับประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย เราได้เสนอก้าวแรกที่เป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ที่มีหลักประกัน (guaranteed income) สิทธิในการเข้าถึงความเป็นพลเมืองโลก (the right to global citizenship) และกระบวนการแบบประชาธิปไตยของการยึดคืนให้เป็นสมบัติร่วมของสังคม (reappropriation of the common) แต่เราก็ไม่ได้ตกอยู่ใต้ภาพหลอนว่าเรามีคำตอบทั้งหมดแล้ว แต่เรากลับอุ่นใจต่างหากจากข้อเท็จจริงที่ว่าไม่ใช่แค่พวกเราที่กำลังถามคำ ถามเหล่านี้ ที่จริงแล้ว เรามั่นใจว่ากลุ่มคนที่ไม่พึงพอใจกับชีวิตที่ถูกเสนอให้โดยสังคมเสรีนิยม ใหม่ร่วมสมัยนั้น ทั้งที่คับข้องจากความอยุติธรรม รู้สึกต่อต้านอำนาจของการสั่งการและการขูดรีด และที่กำลังโหยหารูปแบบประชาธิปไตยทางเลือกของชีวิตที่อยู่บนฐานของการแบ่ง ปันความมั่งคั่งร่วมกันนั้น ด้วยการตั้งคำถามเหล่านี้และเดินตามความปรารถนาของตน พวกเขาจะสรรสร้างคำตอบใหม่ที่เรายังคงไม่สามารถแม้กระทั่งจะจินตนาการไปถึง ทั้งหมดคือความใฝ่ฝันที่ดีที่สุดบางประการสำหรับปี 2555

--------------------

*Michael Hardt และ Antonio Negri ผู้เขียน Empire และ Multitude เขียนบทความนี้ใน Adbusters นิตยสารแนวปฏิเสธระบบทุนและต่อต้านบริโภคนิยมที่ใช้รูปแบบของการป่วนทาง วัฒนธรรม (culture-jamming) ซึ่งเน้นการเปิดโปงอุดมการณ์เบื้องหลังการโฆษณาชวนเชื่อขององค์กรธุรกิจ นิตยสารนี้มีส่วนสำคัญในการจุดประกายการชุมนุมเพื่อยึดสวนซุกคอตติใน นิวยอร์ค ต้นกำเนิดของขบวนการออคคิวพายวอลล์สตรีท

ที่มา : Michael Hardt & Antonio Negri. What to expect in 2012. Adbusters #99. 8/12/54 http://www.adbusters.org/magazine/99/under-no-illusions.html