WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 7, 2012

อย่าเนรคุณต่อทุนหลวง..จำไว้

ที่มา thaifreenews

โดย แม่ปังคุง แดงนิติราษฎร์



Re:

โดย HardCoreLady

เอามาฝาก...ประวัติของ ทุนการศึกษา

ประวัติการให้ทุนการศึกษาในเมืองไทย
การศึกษาตามแบบประเพณีเดิมของไทยนั้นเป็นที่คุ้นเคยและปฏิบัติกันตามความพอ ใจและตามฐานะของบุคคล เรียกกันว่าศึกษาในวัดและในวัง ดังนั้นการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ จากผู้ที่ไม่คุ้นเคย ไม่ตรงตามความพอใจ หรือฐานะของบุคคล เช่น การศึกษาความรู้แบบตะวันตกที่ชาวตะวันตกอยากจะให้หรือที่ผู้ปกครองบ้านเมือง ไทยตระหนักเห็นความจำเป็นที่คนไทยต้องรู้จึงจำเป็นต้องมีสิ่งจูงใจหรือการ ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ที่จะเรียน
ในอดีตมีหลักฐานการให้สิ่งจูงใจให้เล่าเรียน เช่น ประชุมพงศาวดาร (ภาคที่ ๓๒) ระบุว่าคณะสอนศาสนาชาวฝรั่งเศสเคยให้ทุนคนไทยไปศึกษาต่างประเทศในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๒๑๙-๒๒๓๑) แห่งกรุงศรีอยุธยามีการช่วยเหลือการเล่าเรียนของเด็กไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คน ไทยในระดับเจ้านายและขุนนางข้าราชการ เริ่มสนใจความรู้ของตะวันตกซึ่งหมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารีตะวันตกนำมาเผย แพร่ มิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียน ชาวอเมริกัน ที่ตั้งโรงเรียนในเมืองไทยหาเด็กเข้าเรียนไม่ได้ ต้องใช้วิธีจ้างเด็กให้เรียน มิชชันนารีชาติเดียวกันนี้ได้ให้ทุนสตรีไทยคือนางเต๋อ หรือนางเอสเทอร์ (Esther)ไปศึกษาวิชาผดุงครรภ์แผนใหม่ที่สหรัฐอเมริกาและกลับมาเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ เมื่อทางราชการเริ่มจัดการศึกษาแผนใหม่ในระบบโรงเรียนตามแบบตะวันตกอย่าง จริงจัง เพื่อรับเอาความรู้ของตะวันตกมาใช้ในการบริหาร และสร้างความเจริญให้ประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่งนักเรียน ไปศึกษาวิชาภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์ และวิชาการตะวันตกที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๔ นักเรียนเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาในพระบรม ราชานุเคราะห์ทั้งสิ้น
ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้น ก็มีทุนของเอกชนชาวต่างประเทศซึ่งอยู่ในเมืองไทย คือหมอเฮาส์ (Samuel House) มิชชันนารีชาวอเมริกันให้แก่นายเทียนฮี้ สารสิน ต่อมารับราชการได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสารสินสวามิภักดิ์ ไปศึกษาวิชาแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กลับมาเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔
ทุนการศึกษาที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่นักเรียนไทยให้ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ก็โดยพระราชประสงค์จะให้กลับมารับราชการ ได้ใช้และถ่ายทอดความรู้ของตะวันตกเผยแพร่ทั่วไปในหมู่อนุชนคนไทยแทนผู้ เชี่ยวชาญและครูอาจารย์ชาวต่างประเทศรุ่นแรกๆ ที่รัฐบาลจ้างมา ดังปรากฏในพระราชปรารภในกฎหมายข้อบังคับสำหรับนักเรียนสยามที่เรียนวิชา อยู่ ณ ประเทศยุโรป ร.ศ. ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) ว่า"...โดย พระบรมราชประสงค์เพื่อจะให้ได้วิชา]เวลากลับเข้ามากรุงเทพฯ จะได้ทำการสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์แก่ราชการและบ้านเมืองต่อไป เพราะเหตุฉะนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเด็กคนไทยส่งออกไปเล่าเรียนวิชา และพระราชทานเงินหลวงเป็นค่าเล่าเรียน เสื้อผ้า กินอยู่เบ็ดเสร็จตามสมควร..." ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๐ มีการวางระเบียบการพระราชทานเงินส่งนักเรียนไปศึกษาวิชา ณต่างประเทศ แยกเป็นทุน "คิงส์สกอลาร์ชิป" (King's Scholarship) ส่วนพระองค์ ซึ่งผู้ได้รับพระราชทานทุนนี้ไม่จำเป็นต้องกลับมารับราชการประเภทหนึ่ง กับทุนตามความต้องการของกระทรวง ซึ่งผู้ศึกษาต้องกลับมารับราชการอีกประเภทหนึ่ง ทุนประเภทแรกภายหลังวิวัฒนาการมาเป็นทุนเล่าเรียนหลวง หลังจากที่ขาดตอนไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ และรื้อฟื้นใหม่ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ส่วนทุนประเภทหลังวิวัฒนาการมาเป็นทุนรัฐบาลไปศึกษาวิชาในต่างประเทศตามความ ต้องการของราชการสืบต่อมาไม่ขาดตอน คือทุนซึ่งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)เป็นผู้บริหารในปัจจุบัน
นอกจากทุนของทางราชการไทยแล้ว ก็ยังมีทุนของมูลนิธิเอกชนไทยอีกหลายทุน เช่น ทุนระพีมูลนิธิ ซึ่งบรรดาศิษย์และผู้คุ้นเคยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ร่วมกันตั้งขึ้นถวายกุศล เริ่มให้ทุนส่งนักเรียนกฎหมายไปศึกษาต่อต่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ทุนของมูลนิธิต่างประเทศ เช่น ทุนร็อกกีเฟลเลอร์ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๕ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในรัชกาลปัจจุบัน) ทรงเจรจาติดต่อขอมาเป็นทุนให้นักเรียนไทยไปศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ และสาขาอักษรศาสตร์ในประเทศทางยุโรปและอเมริกา
ทุนให้ไปศึกษาวิชาในต่างประเทศหลังจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็น ประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๔๗๕ นอกจากทุนของรัฐบาล และเอกชนไทยแล้ว ก็มีทุนจากรัฐบาลและองค์การต่างประเทศมากขึ้นโดยลำดับ เช่น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาวิชาในประเทศ มากที่สุด
ในปัจจุบัน ทุนการศึกษามิได้มีให้เฉพาะนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ เพราะมีความจำเป็นที่ต้องเรียนความรู้แบบตะวันตกเท่านั้นหากเมื่อการศึกษา วิชาการในสถาบันการศึกษาแพร่หลายและมีประโยชน์เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปทุนให้ ผู้เรียนศึกษาภายในประเทศก็ปรากฏตามมาและมากขึ้น เพื่อผู้ขัดสนแต่มีสติปัญญาและความมานะพยายามจะได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษา อย่างเสมอภาคกันตามที่ควรจะได้
นอกจากให้ทุนนักเรียนไทยได้เรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว รัฐบาลไทยในสมัยหลังยังให้ทุนนักศึกษาต่างประเทศได้เข้ามาศึกษาวิชาการใน ประเทศไทยได้ด้วย เช่น ทุนรัฐบาลไทยภายใต้ความร่วมมือกับองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ที่เริ่มมีให้หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๒- ๒๔๘๘) มีนักศึกษาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกทุกทวีป ได้รับทุนปีละประมาณ ๑๐ คนมาศึกษาค้นคว้าในสถาบันอุดมศึกษาของไทยทุกปี

ชัดเจนนะคะ..ทุนการศึกษา มาจากเงินประชาชนค่ะ ที่มา...สารานุกรมไทย