ที่มา Thai E-News
8 กุมภาพันธ์ 2555
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ทีม ข่าว ไทยอีนิวส์ อ่านข่าวนี้แล้วก็ปวดหัวอกหัวใจยิ่งนัก ว่าในยุคศตวรรษที่ 21 ที่ประเทศอารยะทั้งหลายพยายามลบคราบน้ำตาและความเจ็บปวดจากความผิดพลาดของ วิถีการบริหารบ้านเมืองตามจิตวิทยาสงครามเย็นต้านคอมมิวนิสต์ภายใต้การกำกับ ของสหรัฐอเมริกา และยอมรับว่าการทำแบล๊กลิสต์ประชาชน เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่ใช่กติกาประชาธิปไตย จนต้องขอขมาประชาชนกันเป็นแถว
แต่ทหารไทยที่ได้รับการอบรมวิทยายุทธ สงครามเย็นจากสหรัฐฯ ยังคงคร่ำครึ หลงอยู่กับยุค 2500 โดยไม่ยอมศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมว่าโลกมันพัฒนาไปถึงไหนแล้ว
ยังจับประชาชนทั้งประเทศเป็นตัวประกันเพื่อความมั่นคงของ "ขุมทรัพย์นายทหาร" ในนาม "ชาติ ศาส์น กษัตริย์ ไม่มีประชาชน" ได้อยู่ร่ำไป
ขอ สถบแรงส์ๆ หน่อยเถอะ "ถุยส์! ภาษีประชาชนปีละร่วมสองแสนล้าน นับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 ถูกพวก "ท่านครับ ถ้าไม่ครับ กูจะปฏิวัติ" ล้างพลาญกินกันจนพุงกาง ตลอดจนนำไปซื้ออาวุธมื้อสองหักค่าหัวคิวกันบานเบอร์เร่อ เพื่อมากดหัวประชาชนอยู่เช่นนี้ พร้อมกับตัวเลขหนี้สินประเทศพุ่งกว่าล้านล้านบาท ณ ปัจจุบัน . .
ฝากบอก พวก "ท่านครับ ถ้าไม่ครับ กูจะปฏิวัติ" ว่าอย่าคิดนะว่าประชาชนเขาไม่รู้ทัน เขาเบื่อพวกท่านเต็มทนแล้วครับ "ท่านครับ" รีบๆๆๆๆ ปฏิวัติเถอะครับ จะได้รู้ว่าประชาชนเขาจะตอบโต้พวกท่านอย่างไรครั้งนี้?
ที่มา มติชนออนไลน์ "เปิดข้อมูลลับ"หน่วยข่าว" ชี้เป้า"ส่อง"ขบวนการรื้อม.112"
คือวาทะ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา" ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ที่คล้ายเป็น "คำเตือนครั้งสุดท้าย" ให้กลุ่มที่ออกมาเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ยุติความเคลื่อนไหว
หลังก่อนหน้านี้เคยออกมาไล่ "แนวร่วม" รื้อมาตรา 112 ให้ไปอ่านประวัติศาสตร์การเมืองไทยบ้าง ไล่ไปอยู่เมืองนอกบ้าง
แต่ เมื่อไม่ไป-ไม่หยุด-ไม่เลิก ล่าสุด "บิ๊กตู่" จึงออกมาแย้มว่าได้สั่งการให้ "หน่วยข่าว" ตรวจสอบเบื้่องหน้าเบื้องหลังของการดำเนินการดังกล่าวแล้ว
ว่ากันว่า มีการกำหนดเป้า "ส่อง" ตั้งแต่พฤติการณ์ของ "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112)" ที่เคลื่อนไหว "บนดิน" ยันเช็กพฤติกรรมขององค์กร-เครือข่าย-กลุ่มต่างๆ ที่เดินเกม "ใต้ดิน"
พบร่องรอยของ "ขบวนการโละมาตรา 112" ดังนี้
- กลุ่มนักวิชาการ นักคิด นักเขียน
มี ศักยภาพในการเปิดประเด็น-ปั่นกระแสในสังคม โดยมี "คณะนิติราษฎร์" ประกอบด้วย 7 คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) นำโดย "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" เป็นหัวหอกหลักในการสะบัดธงแก้มาตรา 112
ด้วย การนำเสนอความคิดในทางวิชาการ-อุดมการณ์การเมือง ผ่านการยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวน 3 หน้ากระดาษเอ 4 แล้วเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของคณะนิติ ราษฎร์
ต่อมาได้ขยายแนวร่วมไปยังปัญญาชนส่วนอื่นๆ จนเกิดการก่อตั้ง "ครก.112" ขึ้น และตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชนให้ครบ 1 หมื่นชื่อ เพื่อเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 163
ทว่าล่าสุดได้เกิดความขัดแย้งเล็กๆ ในหมู่ "คณะนิติราษฎร์" เมื่อ "บางคน" ชง "บางข้อเสนอ" ที่ถูกมองว่าไปไกลเกินกว่าไอเดียทางวิชาการ จนกลายเป็นการ "เรียกแขก" ให้เข้ามารุมประชาทัณฑ์ "7 อาจารย์" โดยเฉพาะ "วรเจตน์" แทนที่จะมาตำหนิติติงกันที่ "สาระ" ทำให้คณะนิติราษฎร์ต้องวางแผนปรับขบวนยกใหญ่
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านการข่าวไม่จำเป็นต้องตามประกบปัญญาชนเหล่านี้ เพราะสามารถ "อ่านความคิด" คนเหล่านี้ได้จากข้อมูล-ข้อคิดเห็น-ความเคลื่อนไหวที่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้า สื่อเป็นระยะๆ
- กลุ่มการเมือง
เป็น "กลุ่มเป้าหมายหลัก" ที่ฝ่ายความมั่นคงต้อง "เกาะติด" ทุกความเคลื่อนไหว โดยแตกไลน์ออกเป็นหลายสาย ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่แอบ-อิงอยู่ในซีกรัฐบาล อาทิ อดีตคนเดือนตุลา, นักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทย (พท.), แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), อดีตนักเคลื่อนไหวที่หนีคดีหมิ่นสถาบันไปกบดานอยู่ในต่างประเทศ อาทิ "จักรภพ เพ็ญแข, ใจ อึ๊งภากรณ์" ฯลฯ
"แม้คนเหล่านี้่จะอยู่ในซีก รัฐบาล หรือเป็นผู้มีอำนาจ แต่หน่วยงานด้านการข่าวจำเป็นต้องตรวจสอบทุกกลุ่ม ก่อนนำมาประมวลและวิเคราะห์เจตนารมณ์ ซึ่งในระยะหลังมานี้พบความเคลื่อนไหวในต่างประเทศลดลง แต่หันมาขับเคลื่อนผ่านกลไกรากหญ้ามากขึ้น โดยเฉพาะแกนนำในจังหวัดต่างๆ ที่ลงไปป้อนข้อมูลให้ประชาชนได้ลึกระดับชุมชนและหมู่บ้าน"
- กลุ่มอื่นๆ
เป็น กลุ่มที่เคยถูกเชื่อมโยง หรือมีแนวโน้มสนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งอาจเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร แต่เมื่อตรวจสอบซ้ำพบเป็นเพียง "ความเชื่อมโยง" บางๆ เช่น "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)" ที่เคยปรากฏข่าวแพร่สะพัดทางโลกออนไลน์ว่าเป็น "กองหนุน" คณะนิติราษฎร์ ก่อนสื่อกระแสหลักจะหยิบไปเล่น
ร้อนถึง "องค์กรที่ถูกพาดพิง" ต้องออกแถลงการณ์ปฏิเสธเมื่อช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ว่ก ันว่าที่มาของ "ข่าวลือ" ดังกล่าว เกิดจากกรณีที่ 1 ใน 7 กรรมการ กสม. แต่งตั้ง "จอน อึ๊งภากรณ์" เป็นอนุกรรมการศึกษาการแก้ไขมาตรา 112 และยังเคยเชิญอาจารย์ในกลุ่มนิติราษฎร์ไปอบรมเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม.
อย่าง ไรก็ตาม มีกรรมการ 3 จาก 7 เสียงคัดค้านการแก้ไขมาตรา 112 ประกอบด้วย "พล.อวันชัย ศรีนวลนัด, วิสา เบ็ญจะมโน, ปริญญา ศิริสาร" ส่วนที่เหลือสนับสนุนให้มีการศึกษาในทางวิชาการ หรือไม่แสดงจุดยืนแน่ชัด แต่สุดท้าย กสม.ก็มีมติเอกฉันท์ไม่ให้แตะต้องมาตรา 112
เหล่านี้คือบางส่วนของแนวร่วมขบวนการโละมาตรา 112 ที่ฝ่ายความมั่นคงต้องจับตามองความเคลื่อนไหวต่อไป!!!
พร้อมกันนี้เราชวนกันตามไปดูบ้านบิ๊กทหารในราบ 11 กับ มติชนออนไลน์ ตามไปดู บ้านบิ๊กบัง ในค่ายทหาร ราบ 11 วิจารณ์แซดกระทบภาพลักษณ์กองทัพ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
จาก กรณีที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ใช้บ้านพักรับรองภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) เป็นที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง จนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกองทัพบก ทั้งๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ให้นโยบายว่า กองทัพจะไม่ยุ่งกับการเลือกตั้ง และจะให้สิทธิทุกพรรคเท่าเทียมกันในการหาเสียงในพื้นที่หน่วยทหารก่อนหน้านี้ ต้นกุมภาพันธ์ 2554 นิตยสาร WHO ? นำเสนอบทสัมภาษณ์"บิ๊กบัง"ใน บ้านพักหลังงามย่านพหลโยธิน
ขณะ ที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ กล่าวชี้แจงว่า การพักอาศัยที่บ้านภายใน ร.11 รอ. ได้ทำหนังสือขออนุญาตอย่างถูกต้องจากกองทัพบก และการที่เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกทำให้มีพี่น้อง เพื่อน มาเยี่ยมเยียนบ่อยครั้ง แต่ไม่เคยใช้บ้านหลังนี้ทำกิจกรรมหรือเคลื่อนไหวทางการเมือง หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานการเมืองแล้ว ตนจะใช้สถานที่ที่ทำการพรรค
ห้องรับแขกสุดหรู
สิ่งที่น่าตื่นใจคือ ในโรงรถและรอบบ้าน มีรถหรูจอดอยู่หลายคัน ...บางคันยังป้ายแดง
ห้องประชุม ?
จริง ๆ แล้ว บ้านพักหลังงามหลังนี้จะมิใช่ กรรมสิทธิ์ของ พล.อ.สนธิ แต่เขาก็พำนักมาแล้วร่วม 3 ปี ด้วยเป็นหนึ่งในบ้านพักของ 5 เสือ ทบ. (ผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก 2 นาย เสนาธิการทหารบก) ซึ่งสร้างเสร็จไปแล้ว 4 หลัง
เกษียณปี 2550
บ้าน แต่ละหลังจะมีภาพสนามกอล์ฟกว้างสุดลูกหูลูกตาเป็น "หลังบ้าน" ซึ่ง พล.อ.สนธิชี้ชวนชม พลางว่า หากเป็นยามเช้าด้วยแล้วมักจะต้องหยิบกล้องคู่ใจขึ้นมาบันทึกภาพไว้ไม่ขาด จากนั้นก็จะใช้เป็นฉากหลังสำหรับกาแฟถ้วยโปรดและหนังสือพิมพ์ในมือทุกเช้า.