WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 7, 2012

ข่ายสุขภาพติงรัฐตั้ง “เมดิคัลฮับ” ในมหาวิทยาลัยแพทย์ คิดดีๆ

ที่มา ประชาไท

เครือข่ายสุขภาพส่งจดหมายเปิดผนึกถามนายกฯจัดตั้ง “เมดิคัลฮับ” ตามมหาวิทยาลัยแพทย์ของรัฐ ดูผลกระทบที่จะเกิดกับคนไทยหรือยัง ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย

6 ก.พ.55 น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า ตามที่นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะเสนอคณะรัฐมนตรีให้เห็นชอบในหลักการและอนุมัติงบประมาณ การจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทางระดับสูง หรือเมดิคัลฮับ (Medical Hub) โรงเรียนแพทย์ต่างๆ ทางเครือข่ายภาคีสุขภาพทั้งหมด 22 เครือข่าย อาทิ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย , มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ฯลฯ ได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ขอให้ตรวจสอบการจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทางระดับสูง หรือเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ในส่วนกลางและภูมิภาค ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 มตินโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554

“การผลักดันให้ไทยเป็นเมดิคัลฮับมีผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขไทยอย่างมาก แม้ในตัวเลขทางเศรษฐกิจอาจจะดูดี ดังนั้นขอให้รัฐบาลดำเนินนโยบายนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ว่า “ให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งรับผิดชอบการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ระยะที่ ๒ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรีเพื่อพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติด้านการรักษาพยาบาล ดำเนินนโยบายหรือยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติที่ไม่กระทบต่อบริการสุขภาพสำหรับประชาชนไทย และต้องพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดและพัฒนานโยบายดังกล่าว ทั้งนโยบายระดับชาติและแผนปฏิบัติการเพื่อลดผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับคนไทย”

จากงานศึกษาของ รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง และ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการขององค์การอนามัยโลกระบุว่า แม้ประเทศไทยจะมีรายได้มากขึ้น แต่ผลกระทบจากเมดิคัลฮับทำให้เกิดการขาดแคลนแพทย์ และทำให้ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้น โดยมีข้อเสนอให้เก็บภาษีจากผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาเพื่อไปสนับสนุนการผลิตแพทย์ และรักษาอาจารย์แพทย์ไว้ในระบบ แต่ข้อเสนอนี้ถูกคัดค้านโดยรัฐบาลและภาคเอกชน

“หากไม่มีการจัดการที่ดี การผลักดันอุตสาหกรรมการรักษาพยาบาลเพื่อคนไข้ต่างชาติ (Medical Tourism) จะเป็นภาระหนักอึ้งของระบบสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”

http://www.who.int/bulletin/volumes/89/5/09-072249/en/index.html