ที่มา ประชาไท
เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ ไม่ควรใช้วุฒิทางการศึกษา “ดร” นำหน้าชื่อ เพราะการให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2455 ทางสถานีโทรทัศน์ ASTV ชี้ชัดว่า เทียนชัย “นั่งเทียนเขียน” เกี่ยวกับอภิมหายุทธศาสตร์ (grand strategy) ของสหรัฐฯ ซึ่งอิงจินตนาการมากกว่าการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ จุดมุ่งหมายของนายเทียนชัยอยู่ที่การวิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ รวมถึงความพยายาม “ล้างสมอง” นักศึกษาไทยโดยผ่านทางสถาบันศึกษาที่มีชื่อของสหรัฐฯ ผมมีความเห็นว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ไทยก็ไม่ด้อยไปกว่าสหรัฐฯ ในเรื่องการล้างสมองนักศึกษาของเรา โดยเฉพาะการยบังคับให้เชื่อในเรื่องปาฏิหารย์ของผู้นำเราเอง
ผมขอตอบโต้ในแต่ละประเด็นที่นายเทียนชัยได้ให้สัมภาษณ์ไว้ ในฐานะที่ผมได้รับการศึกษาทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (และเคยรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศมาก่อน) ผมมีความเห็น ดังนี้
1. เป็นเรื่องจริงที่ได้เกิดการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะโลกในยุคหลังสงครามเย็นในปัจจุบัน การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปลายทศวรรษที่ 1980 นำไปสู่การเกิดขึ้นของโลกระบบหลายขั้ว ที่มีสหรัฐฯ เป็นอภิมหาอำนาจ ในบริบทของเอเชียนั้น จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของภูมิภาค (พร้อมด้วยอินเดีย) และได้พยายามสร้างเขตอิทธิพลของตนเองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ พิสูจน์ให้เห็นได้จากการที่จีนต้องการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกรอบ ความร่วมมืออาเซียน เพราะในที่สุดแล้ว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ “backyard” ของจีน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากจีนต้องการผลประโยชน์หลายๆ ด้านจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการเติบโตของจีนเอง หรือที่เรียกว่า China’s rise ไม่ว่าจะเป็นความต้องการในแง่วัตถุดิบ ความต้องการครอบครองตลาดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในแง่การเมืองที่จีนต้องการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ (และเพื่อต้องการสร้างพลังการต่อรองในประเด็นการอ้างกรรมสิทธิเหนือหมู่เกาะ ในทะเลจีนใต้ เป็นต้น) สำหรับสหรัฐฯ นั้น ได้ถอนตัวออกไปจากภูมิภาคนี้ตั้งแต่ช่วงสงครามเวียดนาม หลังจากสงครามเย็น สหรัฐฯ หันไปให้ความสนใจกับภูมิภาคอื่น และในจุดหนึ่ง ได้หันไปให้ความสนใจกับการเมืองภายในมากกว่าการต่างประเทศด้วยซ้ำ (นำไปสู่การมองว่า สหรัฐฯ หันกลับไปใช้นโยบายโดดเดี่ยวตัวเอง หรือ isolationism) ยิ่งหลังจากเหตุการณ์ 9/11 แล้ว ความสนใจของสหรัฐฯ เปลี่ยนไปที่โลกมุสลิมในตะวันออกกลางเป็นหลัก นโยบายที่เปลี่ยนผันนี้ได้ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้สึกว่า ไม่ได้รับความสนใจจากผู้นำสหรัฐฯ มากนัก มีบ่อยครั้งที่สหรัฐฯ ไม่ส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมกับอาเซียน (อาทิ การกระชุม ASEAN Regional Forum) ดังนั้น เมื่อประธานาธิบดี Obama ประกาศที่จะให้ความสนใจกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง (ดังที่เห็นจากการเดินทางมาเยือนภูมิภาคนี้ถึงสองครั้ง การเข้ารวมลงนามใน Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC กับอาเซียน และการเข้าเป็นสมาชิกของ East Asia Summit หรือ EAS เมื่อปีที่ผ่านมา) นักวิเคาระห์จึงมองว่า นี่คือการกลับมาของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้อีกครั้งหนึ่ง หรือ US’s re-engagement with Southeast Asia
2. การกลับมาครั้งนี้นำไปสู่การแข่งขันกันระหว่างสองมหาอำนาจ กล่าวคือ ระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยมีประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเดิมพัน ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างสองมหาอำนาจนี้ ในวารสาร Southeast Asian Affiars (2011) มีสาระดังนี้
Ian Bremmer has rightly observed that the United States and China are growing dangerously hostile towards one another. He questioned: Could this be worse than the Cold War?The fact that the “list of irritants” in Sino-U.S. relations has grown in past years seems to validate Bremmer’s point. For example, throughout 2010, burgeoning bilateral tensions almost led to a trade and currency war. U.S. Treasury Secretary Timothy Geithner claimed that China’s refusal to rapidly increase the value of its currency was hurting America’s economic recovery. Rejecting the claim, Chinese leaders stressed that the United States was wrong to blame China for its own economic woes.On top of this, the United States accused China of failing to protect the intellectual property of foreign companies. But economic issues were not the only flash points in Sino-U.S. relations. The two countries disagreed on sanctions against Iran over its nuclear programme. The United States kept a watchful eye on the power transition in North Korea — a country which has enjoyed a special relationship with China. Meanwhile, China criticized the United States for interfering in the Sino-Japanese dispute over the ownership of the Diaoyu/Senkaku islands — the issue that stole the limelight during the 17th ASEAN Summit in Hanoi in late October 2010. In the Southeast Asian context, the United States was uneasy about the closeness between the Chinese leaders and their counterparts in Myanmar. Besides, the resurgence of the territorial disputes in the South China Sea, which involve China, Taiwan, and four members of ASEAN — Vietnam, Malaysia, Brunei, and the Philippines — has threatened peace and security in the region. The United States perceived developments in the South China Sea as a threat to its own interests: the right to freely navigate the area of disputes. U.S. Secretary of State Hillary Clinton called the conflict “a leading diplomatic priority” for the United States during the ASEAN Regional Forum (ARF) meeting in Vietnam in July 2010.[i]
อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ของเทียนชัยเกี่ยวกับการห้ำหั่นระหว่างจีนและสหรัฐฯ เพื่อชิงความเป็นเจ้าโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมานั้น ขัดต่อหลักทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศต่างๆ ในโลก ไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยการแข่งขัน สงครามและความสูญเสีย แต่ยังมีมิติอื่นๆ ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และยังสามารถทำให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ “ความร่วมมือ” เป็นหนึ่งในมิติดังกล่าว แม้สหรัฐฯ และจีนเองอาจจะมีความขัดแย้งต่อกันสูง ทำให้การแข่งขันมีความเผ็ดร้อน แต่ทั้งสองประเทศก็เห็นประโยชน์ของความร่วมมือเพื่อสร้างอิทธิพลเหนือกัน โดยเฉพาะในความร่วมมือที่ต่างมีกันอาเซียน ทั้งนี้ การแข่งขันไม่จำเป็นต้องจบลงด้วยสิ่งที่เรียกว่า zero-sum game คือฝ่ายหนึ่งแพ้และฝ่ายหนึ่งชนะเท่านั้น แต่สองฝ่ายอาจชนะได้ทั้งคู่ นี่คือหัวใจของการสร้างสมดุลย์ทางอำนาจและระเบียบโลกหรือภูมิภาคที่มี สันติภาพเป็นหัวใจสำคัญ
ในปัจจุบัน สหรัฐฯ กำลังประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่จีนก็มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจสูง จึงต้องการสร้างบรรยายกาศที่มีสันติภาพเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของ ตน (peaceful environment for growth) งานวิเคราะห์ของเทียนชัยไม่ได้มองเกมส์การเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น จริงในปัจจุบัน
3. ขอให้เทียนชัยกลับไปศึกษาพัฒนาการเกี่ยวกับการเจรจาหกฝ่ายบนคาบสมุทรเกาหลี เทียนชัยอ้างว่า สหรัฐฯ ต้องการให้ลูกระเบิดไปตกที่เกาหลีเหนือ ถ้าเป็นเช่นนั้น แสดงว่าสหรัฐฯ คาดการณ์สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีผิดโดยสิ้นเชิง เกาหลีเหนือเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในการครอบครอง และหากถูกโจมตีโดยสหรัฐฯ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เกาหลีเหนือจะตอบโต้กลับโดยอาวุธนิวเคลียร์ คำถามคือสหรัฐฯ พร้อมแล้วหรือที่จะเผฃิญหน้ากับเกาหลีเหนือในรูปแบบนี้ นี่ก็ชี้ว่า การวิเคราะห์ของเทียนชัย “เอามันส์” ไว้ก่อน ไม่ได้คำนึงถึงเงื่อนไขทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ อีกประเด็นหนึ่งที่ชี้ถึงความผิดพลาดในการวิเคราะห์ของเทียนชัย จีนไม่เคยวางตัวเป็นกลางในความขัดแย้งบทคาบสมุทรเกาหลี จีนยังมีความสัมพันธ์ที่ดีมากกับเกาหลีเหนือ (ต่างยังเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ด้วยกัน) และจีนเห็นถึงความสำคัญในการใช้เกาหลีเหนือเป็นปัจจัยลดทอนอิทธิพลของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออก นอกจากนั้น จีนยังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งญี่ปุ่นและ เกาหลีใต้ดังที่เทียนชัยได้อ้างไว้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้แต่นักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็น่าจะรู้ได้ ว่า ปัจจัยทางด้านประวัติศาสตร์ยังมีความสำคัญในการกำหนดรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของ ประเทศในเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะในกรณีความขมขืนทางประวัติศาสตร์ที่ญี่ปุ่นได้ทำไว้กับจีน) ความไม่ไว้วางใจกันนำไปสู่การแข่งขันระหว่างสองประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทั้งจีนและญี่ปุ่นมีบทบาทอย่างแข็งขันในอาเซียนก็เพราะต้อง การสร้างพันธมิตรเพื่อลดอิทธิพลของฝ่ายตรงข้าม กลยุทธของญี่ปุ่นคือการนำเอาประเทศนอกภูมิภาคมามีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนมาก ขึ้นเพื่อลดอิทธิพลของจีน (เช่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) นำไปสู่การจัดตั้งอาเซียน+6 และต่อมาก็คือ EAS ฉะนั้น การอธิบายแบบง่ายๆ ของเทียนชัย ชี้ถึงการขาดมุมมองด้านการทูตแบบพหุภาคีอย่างแท้จริง
4. การมอบสถานะพันธมิตรหลักนอกนาโต้ที่สหรัฐฯ มีให้กับไทย (Major non-NATO ally) มีความสำคัญจริงอย่างที่เทียนชัยได้กล่าวถึง เพียงแต่ว่าเป็นความสำคัญที่เข้าใจได้และไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อนไปกว่าที่ เทียนชัยอ้าง ไทยมิใช่เป็นประเทศเดียวที่ได้รับสถานะนี้ ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเช่นกัน สาเหตุอยู่ที่การขอแนวร่วมของไทยในการต่อสู้กับขบวนการก่อการร้ายสากล ซึ่งเป็นผลมาจากนโยยบายที่แปลี่ยนไปของสหรัฐฯ นับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 ที่สำคัญ การมอบสถานะนี้เป็นไปตาม commitment ของสหรัฐฯ ที่มีต่อไทยในฐานะประเทศพันธมิตรทางทหาร หากเทียนชัยจะเคลือบแคลงสงสัยในเรื่องนี้ เทียนชัยต้องตั้งคำถามด้วยว่า ทำไมเราจึงยินยอมพร้อมใจในการซ้อมรบร่วมกับสหรัฐฯ (Cobra Gold) ตั้งแต่สมัยสงครามเย็น ทำไมสหรัฐฯ จึงมีความสัมพันธ์ที่ลึกล้ำกับกองทัพไทยรวมถึงสถาบันกษัตริย์ของไทย แล้วทำไมจู่ๆ สหรัฐฯ จึงหันมาญาติดีกับทักษิณฯ อะไรเป็นสาเหตุที่เทียนชัยมีความเห็นเช่นนี้
ในที่สุด เทียนชัยก็พูดขัดแย้งกับตัวเอง เทียนชัยบอกว่า สหรัฐฯ อยู่เบื้องหลังการก่อรฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็ชี้ชัดได้ว่าสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนฝ่ายเจ้ามาตลอด ใช่หรือไม่ รวมถึงการให้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรด้วย
ส่วนการโต้เถียงว่าสหรัฐฯ มีบทบาทในเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ของไทยนั้น เทียนชัยต้องมีหลักฐานสนับสนุน ไม่ใช่พูดลอยๆ (ในฐานะที่ตัวเองก็จบการศึกษาถึงระดับปริญญาเอก) ในความเป็นจริง สหรัฐฯ ยังไม่สามารถแม้แต่จะเข้าถึงผู้นำไทยที่ดูแลปัญหาภาคใต้
5. ส่วนเรื่องการเผาบ้านเผาเมืองนั้น (ซึ่งการให้คำนิยมเช่นนี้ถือว่าผิดธรรมเนียมของนักวิเคราะห์ที่ดี เพราะเหตุกาณ์นั้น เป็นเพียงการเผา “ห้างสรรพสินค้า” เท่านั้น ไม่ใช่เผาบ้านเผาเมือง) ผมเพิ่งเสร็จสิ้นงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของสหรัฐฯ ในความขัดแย้งทางการเมืองของไทย ตามที่ปรากฏในบทความที่ชื่อว่า “The Rich, the Powerful and the Banana Man: The United States’ Position in the Thai Crisis” (2012) จากการทำ fieldwork สรุปได้ว่า สหรัฐฯ ยังขาดความเข้าใจต่อวิกฤตการณ์ทางการเมืองของไทย (นับประสาอะไรจะเข้ามามีบทบาทโดยตรง) สหรัฐฯ ยังขาดเจ้าหน้าที่ที่เข้าใจและรู้เรื่องเมืองไทยดี ทั้งจากกระทรวงการต่างประเทศหสรัฐฯ หรือแม้แต่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในไทย ทั้งนี้ มุมมองของสหรัฐฯ ยังถูกติดตรึงไว้กับการเมืองแบบสงครามเย็น กล่าวคือ การมองว่า สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันสำคัญที่สุดทางการเมือง หากสหรัฐฯ สร้างพันธมิตรกับสถาบันกษัตริย์ได้ (และก็ทำได้จริงๆ) สหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยบายใดๆ ต่อไป นี่ก็ชี้ว่า สหรัฐฯ ตามความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยไม่ทัน ไม่รู้ว่า ขณะนี้สังคมไทยขับเคลื่อนไปไกลมากเพียงใด และ “สถาบันประชาชน” ได้ก้าวขึ้นมามีส่วนสำคัญในการกำหนดรูปแบบทางการเมืองแค่ไหน ผมคิดว่า ไม่เพียงแต่สหรัฐฯ ที่ยังก้าวข้ามไม่พ้นยุคสงครามเย็น แม้แต่เทียนชัยเองก็ยังไม่สามารถก้าวข้ามไปได้
นี่คือข้อความส่วนหนึ่งที่ผมกล่าวถึง “ความไม่รู้” ของสหรัฐฯ ต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย
The disinclination of the United States to shift from its pro-establishment stance raises the crucial question of whether Washington has simply aimed to pursue its interests or whether it has indeed failed fully to comprehend Thailand’s political development over the course of the past decade. In interviews with a group of Thai and American diplomats, it was clear that since the end of the Cold War and the consequent decrease in American influence in this region, the U.S. government has not adequately invested in training experts on Southeast Asia, including Thailand. As the American role in Southeast Asia diminished, a series of U.S. governments have taken their ties with countries in the region for granted. The lack of experts has led to misjudgement of the evolving political process in Thailand. The United States has tended to rely on its old connections with traditional elites, while shoring up their argument that the Red Shirt movement is antithetical to Thai democracy and even a menace to the monarchical institution — an argument that aligns with the pro-monarchy position of the United States. A former American diplomat revealed that the United States was “freaking out” about the fact that there was a gap in its understanding of the Thai situation. The vacuum of information compelled the U.S. government to interpret its relations with Thailand on the basis of its constricted perception in favour of maintaining the political status quo even as new players in the Thai political landscape were emerging. United States ambassador Eric John has been criticized by some American expatriates for being out of touch with Thailand’s complex politics and cultural mores.[ii]
6. ประการสุดท้ายเป็นเรื่องการล้างสมองของสถาบันการศึกษาของสหรัฐฯ โดยมีการอ้างถึง ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ว่าเป็นผลพวงของระบบการศึกษาแบบอเมริกัน ประเด็นนี้ของเทียนชัยไม่มีเนื้อหาการวิจารณ์แบบวิชาการแต่อย่างใด แต่เป็นการใส่ร้ายป้ายสีเท่านั้น มหาวิทยาลัย Cornell มีชื่อเสียงในระดับโลก โดยเฉพาะในด้านการศึกษาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีต มีบุคคลสำคัญของไทยที่ได้รับการศึกษาจากสถาบันนี้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สถาบันของสหรัฐฯ มีความเป็นอิสระอย่างมากจากการครอบงำของรัฐและสนับสนุนเสรีภาพทางวิชาการ อย่างยิ่ง (ต่างไปจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) ผมไม่รู้ (และไม่สนใจ) ว่าคุณเทียนชัยได้รับปริญญาเอกมาจากที่ไหน แต่ผมเชื่อว่า มาตรฐานของมหาวิทยาลัยที่เทียนชัยศึกษานั้นคงอยู่ในระดับต่ำอย่างยิ่ง เพราะสามารถผลิตบุคลากรที่ไม่เคยใช้หลักวิชาการในการโต้เถียง นอกจากการใส่ร้ายป้ายสีไปวันๆ เท่านั้น