WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, April 19, 2009

โพลเผย94.4%รู้สึกเศรษฐกิจแย่ ส่วนใหญ่ต้องรัดเข็มขัด

ที่มา มติชนออนไลน์

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "ความหวังและความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจ" โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี เพชรบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,200 ครัวเรือน ต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.4 ระบุว่าเศรษฐกิจแย่ ในขณะที่ร้อยละ 5.6 เท่านั้น ระบุเศรษฐกิจดี


เมื่อถามถึงสภาวะเศรษฐกิจของผู้ตอบแบบสอบถามเองในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.1 ระบุรายได้ไม่ดี ขณะที่ ร้อยละ 21.9 ระบุรายได้ดี นอกจากนี้ เมื่อถามถึงสภาวะเศรษฐกิจของสมาชิกในครอบครัวช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.1 ระบุรายได้ของสมาชิกในครอบครัวก็ไม่ดี ขณะที่ร้อยละ 23.9 ระบุรายได้ดี


ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงานที่เปิดรอรับคนสมัครในช่วง 30วันที่ผ่านมา ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.3 รับรู้ว่ามีตำแหน่งงานว่างเพียงเล็กน้อย ขณะที่ร้อยละ 32.7 รับรู้ว่าไม่มีการเปิดรับสมัครเลย และร้อยละ 10.0 พบว่ามีตำแหน่งงานว่างจำนวนมาก


อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความรู้สึกมั่นคงในหน้าที่การงานของตนเองในปัจจุบัน ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.5 ยังรู้สึกมั่นคง ขณะที่ร้อยละ 33.5 รู้สึกไม่มั่นคง และที่น่าเป็นห่วงมากคือร้อยละ 17.0 ไม่ได้ทำงาน


เมื่อถามถึงการปรับลดค่าใช้จ่ายของผู้ตอบแบบสอบถามในด้านต่างๆ เปรียบเทียบกับช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ปรับลดค่าใช้จ่ายเรื่องเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ แม้แต่ค่าใช้จ่ายด้านการรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.0 ปรับลดค่าใช้จ่ายในหมวดอาหาร ร้อยละ 64.2 ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง ร้อยละ 54.7 ปรับลดเรื่องค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ร้อยละ 54.2 ปรับลดเรื่องการท่องเที่ยว ร้อยละ 46.0 ปรับลดเรื่องเครื่องสำอาง และร้อยละ 43.2 ปรับลดเรื่องสลากกินแบ่งรัฐบาล และการเล่นหวย แต่ที่ปรับลดน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 32.4 ปรับลดด้านการศึกษา


ส่วนการวางแผนจะซื้อสินค้าขนาดใหญ่ในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ร้อยละ 13.1 มีแผนจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.9 ไม่มีแผนการจะซื้อ ในขณะที่ร้อยละ 6.6 มีแผนจะซื้อบ้านหลังใหม่ แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.4 ไม่มีแผนจะซื้อ และร้อยละ 6.5 มีแผนจะซื้อรถยนต์คันใหม่ในอีก 6 เดือนข้างหน้า แต่ร้อยละ 93.5 ไม่มีแผนจะซื้อ ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 หวังพึ่งตนเองเพื่อให้ตนเองอยู่รอดต่อไปได้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 5.9 เท่านั้นที่หวังพึ่งรัฐบาล และร้อยละ 31.3 หวังพึ่งทั้งรัฐบาลและตนเอง แต่เมื่อถามถึงการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า หรือเลือกที่จะกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.2 เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 34.8 เลือกที่จะกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้า