WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, March 25, 2010

แดงสยามเสี่ยงกับการเสียการเมืองแนวร่วม

ที่มา Thai E-News




โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ แดงสังคมนิยม
24 มีนาคม 2553

การทำแนวร่วมระหว่างนักปฏิรูป(ผู้ที่อยากประนีประนอม) กับนักปฏิวัติ(ผู้ที่อยากเปลี่ยนระบบแบบถอนรากถอนโคน) เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้ศิลปะทางการเมือง และต้องอาศัยการวิเคราะห์และการเรียนบทเรียนจากอดีต

นักปฏิวัติต้องเข้าใจว่าทำไมมวลชนจำนวนมากเดินตามแนวปฏิรูป

นักมาร์คซิสต์มองว่า ความคิดกระแสหลักในสังคม มักจะเป็นความคิดของชนชั้นปกครองที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพราะมีการกล่อมเกลาทางสื่อ โรงเรียน หรือครอบครัว และมีการสั่งสอนตลอดว่า คนธรรมดาไร้ความสามารถและอ่อนแอ

ดังนั้นเราถูกชักชวนให้มอบอำนาจทางความคิดให้กับชนชั้นปกครองอย่างต่อเนื่อง นี่คือสาเหตุที่คนส่วนใหญ่มองว่าระบบสังคมที่ดำรงอยู่เป็นสภาพ “ปกติ” และกลัวที่จะปฏิวัติ และเราไม่ควรหลงคิดว่าเขาคิดแบบนี้เพราะเขา “โง่” หรือ “ขาดความกล้าหาญ”

และเราไม่ควรเสนออย่างกลไกตื้นเขินว่า แกนนำที่เสนอแนวปฏิรูป เช่นสามเกลอ เป็นแนวปฏิรูปเพราะ “ได้รับเงิน” หรือ “มีข้อตกลงลับเรื่องผลประโยชน์กับอำมาตย์” คำพูดผิดๆแบบนี้ ซึ่งมาจากคนอย่างอาจารย์ชูพงษ์ เป็นข้อกล่าวหาที่ไร้สาระ มันนำไปสู่ความแตกแยกโดยไม่จำเป็น

ในยามที่มีความขัดแย้งและการต่อสู้เกิดขึ้น คนจำนวนมากจะเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งที่ถูกเสนอมาจากชนชั้นปกครอง เพราะเห็นชัดว่าไม่ตรงกับความจริง และมันไม่เป็นธรรม การรวมตัวกันต่อสู้ในกลุ่มมวลชนขนาดใหญ่ทำให้คนในขบวนการ เช่นขบวนการเสื้อแดง มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และพร้อมที่จะคิดทวนกระแสหลัก

อย่างไรก็ตามนักมาร์คซิสต์หลายคน เช่น อันโตนิโอ กรัมชี่ อธิบายว่าในขั้นตอนแรก เมื่อคนลุกขึ้นสู้ และพร้อมจะคิดทวนกระแส เพื่อสร้างประชาธิปไตยหรือความเป็นธรรม เขาย่อมคิดสู้ในกรอบกว้างๆ ของสังคมเก่าที่ดำรงอยู่ พูดง่ายๆ เขายังไม่ได้สลัดความคิดของชนชั้นปกครองออกหมด เขาเลยสู้เพื่อทำให้สังคมที่ดำรงอยู่ดีขึ้น เสรีมากขึ้น และเป็นธรรมมากขึ้น ปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเสมอ และเป็นความบริสุทธิ์ใจของมวลชน

นักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน หรือ ตรอทสกี เสนอว่ามวลชนที่ยึดแนวปฏิรูปจะหันไปสนับสนุนการปฏิวัติต่อเมื่อ

1. มีวิกฤตทางสังคม โดยที่ชนชั้นปกครองถืออำนาจต่อไปในรูปแบบเดิมยาก
2. มวลชนที่ถูกปกครองไม่พอใจที่จะถูกปกครองต่อไป
3. นักปฏิวัติที่จัดตั้งเป็นพรรคปฏิวัติสามารถเสนอทางออกเป็นรูปธรรมในการต่อสู้



นักปฏิวัติควรมีความสัมพันธ์กับนักปฏิรูปอย่างไร?

ถ้านักปฏิวัติจะเริ่มครองใจมวลชนให้เดินตามแนวปฏิวัติ เขาต้องมีความสัมพันธ์กับมวลชนที่มีความคิดปฏิรูป ซึ่งไม่เหมือนกับการมีความสัมพันธ์กับแกนนำสายปฏิรูป และแน่นอนนักปฏิวัติต้องไม่ใช้วิธีแบบปัจเจก เช่นการวางระเบิดหรือการตั้งกองกำลังติดอาวุธของคนไม่กี่คน

ในประวัติศาสตร์การต่อสู้ มีตัวอย่างความผิดพลาดของการสร้างความสัมพันธ์หรือแนวร่วม โดยมีสองกรณีสุดขั้วที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้คือ

1. การแยกตัวออกโดยสิ้นเชิงจากมวลชน ไม่หาทางร่วมมือเลย และด่าแกนนำและวิธีต่อสู้ของเขาอย่างเดียว เพื่อพิสูจน์ “ความเป็นนักปฏิวัติที่กล้าหาญและบริสุทธิ์” ตัวอย่างที่ดีคือกรณีที่พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันภายใต้การนำของสตาลิน ไม่ยอมสามัคคีกับมวลชนพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมันในยุคค.ศ. 1930 ความแตกแยกระหว่างมวลชนที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสทองที่เปิดประตูให้ฮิตเลอร์และพวกนาซียึดอำนาจได้ และนำไปสู่ความหายนะของภาคประชาชน ประชาธิปไตย และสงครามโลกครั้งที่สอง

ในไทยการหันหลังให้กับนักศึกษาและกรรมาชีพในเมืองในปี ๒๕๑๙ เพื่อไปตั้งฐานรบในป่าของพรรคคอมมิวนิสต์ เปิดโอกาสให้อำมาตย์ก่อเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา โดยไม่มีการออกมาสู้ในเมือง

2. ขั้วตรงข้ามคือการทำแนวร่วมแบบ “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง”ระหว่างแนวปฏิวัติกับแนวปฏิรูป ในรูปธรรมมันหมายความว่าแนวปฏิวัติไปเกาะอยู่กับแกนนำปฏิรูป โดยเชียร์อย่างเดียว ไม่วิจารณ์เลย ตัวอย่างเช่นคนที่เชียร์ทักษิณโดยไม่วิจารณ์ คนที่เน้นการทำแนวร่วมกับแกนนำมากกว่ามวลชน หรือคนที่ไม่ยอมเสนอมาตรการที่เป็นประโยชน์กับชนชั้นกรรมาชีพหรือเกษตรกรรายย่อย เพราะกลัวจะเสียแนวร่วมที่มีกับนักธุรกิจหรือชนชั้นกลาง เช่นไม่กล้าเสนอรัฐสวัสดิการ การขึ้นค่าแรง หรือการใช้รัฐช่วยการผลิตของเกษตรกรรายย่อย

การกระทำแบบนี้จะตัดกำลังใจในการต่อสู้ของมวลชนชั้นล่าง และจะทำให้ขยายมวลชนในกลุ่มคนที่ถูกกดขี่ขูดรีดไม่ได้ มันทำให้นักปฏิวัติถวายการนำให้แกนนำปฏิรูป และตั้งความหวังไว้กับผู้ใหญ่ เช่นพวกนายพลหรือพวก “ท่านผู้หญิง” หรือแม้แต่ญาติของอำมาตย์แก่ ตัวอย่างจากต่างประเทศก็เช่นท่าทีของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียกับประธานาธิบดีซุการ์โน ซึ่งนำไปสู่ความพ่ายแพ้ล้มตายของมวลชนเป็นล้านในปีค.ศ. 1965

นักปฏิวัติต้องร่วมเดินร่วมสู้กับมวลชนปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง ต้องให้กำลังใจและสามัคคี แต่ในขณะเดียวกันต้องใช้เวลาถกเถียงแลกเปลี่ยนถึงแนวทาง ซึ่งต้องอาศัยนักปฏิบัติการที่ไปคุยโดยตรง แจกใบปลิว และทำหนังสือพิมพ์ และในขณะที่นักปฏิวัติวิจารณ์แกนนำสายปฏิรูป เรามีภารกิจในการค่อยๆพิสูจน์ต่อมวลชนอย่างเป็นรูปธรรมว่าแนวปฏิวัติใช้งานได้ดีกว่าแนวปฏิรูป นักปฏิวัติควรร่วมสู้กับ นปช. พร้อมกับการเสนอแนวทางการต่อสู้เป็นรูปธรรม ไม่ควรแยกตัวออกไปอยู่ในที่ห่างไกลอย่างที่พวกแดงสยามกำลังจะทำ


ข้อเสนอของฝ่ายปฏิวัติ เพื่อขยายการต่อสู้ทางชนชั้น(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

1. ชนกับอำมาตย์ และท้าทายอำมาตย์ ในเรื่องนโยบายการเมืองที่เป็นรูปธรรม เสนอรัฐสวัสดิการ การขึ้นค่าแรงเป็นหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน การส่งเสริมระบบสหภาพแรงงาน การสร้างระบบเกษตรพันธสัญญากับองค์กรรัฐที่ควบคุมโดยชาวบ้าน การสร้างสันติภาพบนพื้นฐานความเคารพและความยุติธรรมในสามจังหวัดภาคใต้ การปฏิรูปกองทัพโดยการปลดนายพลออกและพัฒนาฐานะทหารระดับล่าง หรือการปฏิรูประบบศาลโดยการนำระบบลูกขุนมาใช้

2. ชนกับอำมาตย์ด้วยลัทธิความคิด คือชักชวนให้มวลชนเลิกจงรักภักดีกับอำมาตย์โดยสิ้นเชิง

3. ขยายฐานคนเสื้อแดงสู่สหภาพแรงงานและทหารเกณฑ์

4. สร้างหน่ออ่อนของอำนาจคู่ขนาน เพื่อแข่งกับรัฐอำมาตย์ในทุกพื้นที่ทุกชุมชน

--
ติดตามงานของใจ อึ๊งภากรณ์

http://siamrd.blog.co.uk/
http://wdpress.blog.co.uk/
http://redsiam.wordpress.com/
see YOUTUBE videos by Giles53