WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 24, 2010

ในโลกประชาธิปไตย "เสียงประชาชน" ต้องดังที่สุด

ที่มา ประชาไท


ยิ่งนานแต่คงไม่หนาว หากแต่เพิ่มมวลชนได้มากขึ้นเป็นปรากฏการณ์

การถั่งโถมของผู้คนทุกทิศทุกทางทั่วไทยมุ่งหน้าสู่ใจกลางมหานคร....

การชุมนุมคนเสื้อแดงมีนัยยะที่ดิฉันอยากตีความและเสนอมุมมองบางประการนอกเหนือไปจากที่หลายๆ ฝ่ายโดยเฉพาะสื่อมวลชนหลายแขนงมองแต่เพียงว่าการชุมนุมของพวกเขาส่งผลกระทบอะไรบ้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจราจรในกรุงเทพฯ การท่องเที่ยว เศรษฐกิจในภาพรวม ปัญหามันคนต้องมีบ้าง แต่มันก็คงไม่ใหญ่โตไปกว่า “สาร” ที่พวกเขาต้องการจะ “สื่อ”

สื่อมวลชนแทบทุกแขนงสาวไม่ถึงสาระที่บรรดาผู้เข้าชุมนุมต้องการร้องบอกแทนที่จะมองให้ลึกถึงประเด็นที่พวกเขาตีฆ้องร้องป่าวกลับไปแคร์เสียงนักลุงทุนต่างชาติ นักท่องเที่ยวไม่มา หรือการวิพากษ์วิจารณ์ของต่างชาติว่าเป็นอย่างไร จะไปสะออน(ภาษาอีสานแปลว่าชอบสนใจมาก) หัวมันทำไม นี่มันประเทศของเรา เราก็ต้องฟังเสียงคนไทยซิ คอมเมนต์ของคนนอกมันจะมีพาวเวอร์มากไปกว่าปัญหาปากท้องของคนไทยรากหญ้าได้ยังไง.... พวกเขาปลูกข้าวให้คุณๆ กินอยู่นะ แต่พวกเขาแทบไม่เหลืออะรไรเลยเวลานี้

ดิฉันค่อนข้างเชื่อว่าคนบ้านนอกที่พากันแห่แหนเข้ากรุงเทพฯเพื่อมาชุมนุมกับคนเสื้อแดงในครั้งนี้เขาต้องการร้องบอกกับรัฐบาลว่าเขากำลังประสบปัญหาอะไรบ้าง และบางปัญหามันเยิ่นเย้อมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว

เปลี่ยนรัฐบาลมากี่สมัยเรื่องคาราคาซังก็ยังไม่ลงเอยเสียที

การขึ้นเวทีไฮปาร์คของแกนนำระดับต่างๆ เป็นตัวแทนสะท้อนภาพชัดว่าพวกเขาเจอะเจอะกับอะไร และอยากให้รัฐช่วยเหลือแบบใดถึงจะตรงจุด การขึ้นเวทีปราศรัยเป็นภาพที่เจนตาและเป็นเรื่องที่พวกเขาทำได้อย่างภาคภูมิ

เวทีแห่งนี้ทำให้เสียงของพวกเขาดังกังวานขึ้น อย่างน้อยๆ ก็สามารถชิงพื้นที่ข่าวได้เกินครึ่งในช่วงหลังซึ่งมาแรงเกินต้าน

ม็อบของคนเรือนแสนเช่นนี้มีสภาพของความเป็นประชาชนมาก เพราะประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายอาชีพตั้งแต่นายทุน ข้าราชการ ทหาร อาจารย์มหาวิทยาลัย พ่อค้าแม่ขาย ชาวนา ชาวไร่ นิสิตนักศึกษาฯลฯ

การรวมตัวกันครั้งนี้เทียบได้กับการมี “สภาประชาชน” เลยก็ว่าได้

ทั้งนี้หากมีการจัดตั้งที่ดี มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ชัดเจน มี “ยุทธวิธีที่ดี” ซึ่งก็ต้อง “สันติ” เท่านั้น เป้าหมายที่วางไว้คงสำเร็จดังตั้งใจ ซึ่งดิฉันคิดว่าการรวมพลังเป็นการเมืองนอกสภาเช่นนี้และนับเป็นนิมิตหมายที่ดีในการบรรลุแห่งวัตถุประสงค์ในขั้นต้นคือการขับไล่รัฐบาลได้ และขั้นสูงสุดคือการสร้างประชาธิปไตยของแท้ๆ

การตื่นตัวของประชาชนทุกภาคส่วนเป็นเรื่องที่ก้าวหน้ามาก และเป็นเรื่องดีที่ฝ่ายอำนาจรัฐจำต้องหันมาทบทวนบทบาทของตนอย่างตรงไปตรงมาที่สุด เพื่อหาทางแก้ด้วย “ยา” ที่มันชะงัดจริงๆ

การเกิดขึ้นของม็อบในเมืองไทยเป็นเรื่องที่น่าศึกษาและน่าตระหนักไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน เพราะการชุมนุมและรวมตัวของประชาชนเป็นเพียงหนทางเดียวจริงๆ ที่จะทำให้พวกเขาเสียงดังขึ้นมาบ้าง มีพื้นที่ให้ยืนบนพื้นที่เอียงๆ ผืนนี้

จากบทความเรื่อง การประท้วงรัฐ “สไตล์ไทยๆ” ในหน้าหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2553 สรุปถึงเหตุการณ์ของม็อบในประเทศไทยว่ามีสไตล์ต่างๆ กัน มีทั้งเหมือนและแตกต่างกับต่างประเทศ อาทิ การจุดไฟเผาตัวเองของนายธนาวุฒิ คลิ้งเชื้อ นักศึกษาปี่ที่สอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งใช้น้ำมันเบนซินราดและจุดเผาตัวเองเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2533 ที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างการชุมนุมครบรอบ 14 ตุลาคม 2516 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ ลาออก และให้รัฐบาลคืนอำนาจแก่ประชาชนเนื่องจากรัฐบาลมีปัญหาการคอรัปชั่น

อีกตัวอย่างที่ยังจำได้ดีก็คือการอดข้างประท้วงโดย ร.ต.ฉลาด วรฉัตร และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เพื่อขับไล่การสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่ผลักดัน พล.อ. สุจินดา คราประยูร เป็นนายกฯ สุดท้ายการชุมนุมก็ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในที่สุด

ม็อบของคนเสื้อแดงก็เป็นอีกสไตล์หนึ่งในการเรียกร้องและกดดันรัฐบาล พวกเขาใช้วิธีรับบริจาคเลือดของสมาชิก แล้วไปสาดเทหน้าบ้านนายกฯ อภิสิทธิ์ หน้าบ้าน พล.อ. เปรม หรือแม้กระทั่งที่หน้าทำเนียบรัฐบาล จากนั้นก็พากันเดินขบวนไปทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีเกินคาด

จะเป็นวิธีการใดก็ตามแต่มันเป็นเพียง “รูปแบบ” ไม่ใช่ “เนื้อหาสาระ” เพราะสิ่งที่พวกเขาร้องขอต่างหากเป็นเรื่องสำคัญซึ่งคนไทยทุกคนจำเป็นต้องรับรู้ และสนใจฟัง อย่าอ้างว่าธุระไม่ใช่ เพราะถ้าใจคุณไม่กระด้างนัก คุณคงไม่ปล่อยให้ความเหลื่อมล้ำทางโอกาสในทุกๆ เรื่องมันเกิดขึ้นในสังคมไทยไปได้

ประชาชนไทยทุกคนจำต้องได้รับสิทธิและโอกาสขั้นพื้นฐานในมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่ถูกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานเรื่อยมา หากที่ผ่านมาเขาได้รับทุกๆ อย่างเท่าเทียมแล้ว พวกเขาจะมานั่งร้องแรกแหกระเชอกลางแดดร้อนๆ กันทำไม ทั้งเหนื่อย ทั้งร้อน

ม็อบต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทย ดิฉันสรุปได้เป็นเรื่องเดียวก็เรื่องความทุกข์ร้อนของประชาชนที่เกิดจากการบริหารประเทศของคนเพียงหยิบมือเดียวนั่นเอง เพราะปัญหาที่พวกเขาประสบไม่เคยได้รับการตอบสนองอย่างต่อเนื่อง การรวมตัวของ “ม็อบ” จึงเกิดทุกๆ รัฐบาล

“การพูดคุยในกลุ่มย่อยๆ ทำให้เราได้รู้ปัญหาต่างๆ มากมาย ชาวบ้านเขาต้องการประชาธิปไตยที่กินได้” พี่คนหนึ่งที่เข้าร่วมชุมนุมในทุกครั้งเล่าให้ดิฉันฟังผ่านทางโทรศัพท์

ในท้องถิ่นที่ดิฉันอยู่มีผู้คนจำนวนมากพากันเดินทางไปเข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง พวกเขาทุกข์ร้อนจริงๆ คะ ไม่ว่าจะเรื่องการเป็นหนี้นอกระบบ ปัญหาเรื่องที่ดินที่บางแห่งยังไม่สามารถออกเป็นโฉนดได้ซึ่งก็คือพื้นที่ที่ดิฉันนั่งเขียนต้นฉบับอยู่นี่เอง ซึ่งแม้จะปักหลักอยู่อาศัยมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนมาแล้วก็ตามที

“หนูไม่รู้จะทำยังไง หนูไปขอดูยอดรวมเงินต้น กับเงินดอกกับเขา เขาก็ไม่อยากจะบอก ไม่รู้จะต้องหาเงินเท่าไหร่ไปใช้หนี้ให้หมด สงสัยอยากจะยึดที่นาละมั้ง เขาเคยทำกับหลายรายมาแล้ว” ลูกน้องคนหนึ่งของดิฉันปรับทุกข์ให้ฟังหลังจากได้ไปเจรจากับนักค้าเงินนอกระบบแห่งหนึ่งในอำเภอลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

“เงินผู้สูงอายุก็จ่ายไม่ครบ ขาดอยู่สองเดือน” ลูกค้าหลายรายของดิฉันบ่นอุบทุกครั้งที่มาถ่ายเอกสารที่ร้าน

ปัญหาคาราคาซังทั้งหลายทั้งปวงมันเป็นเรื่องการบริหารจัดการราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่ไม่สัมฤทธิผล ไม่ว่าเวลาจะผ่านมาสักกี่รัฐบาลคนจนก็ยังประสบปัญหาซ้ำซาก หากยังแก้ไม่ตกอีกเช่นเดิม

ดิฉันไม่โทษคุณอภิสิทธิ์ ไม่โทษป๋าเปรม และก็ไม่อยากโยนบาปให้อดีตนายกฯทักษิณหรอกคะ เพราะมันไม่ได้เป็นเรื่องคนตัวบุคคล มันเป็นเรื่องของ “ระบอบการเมื อง” คะ มันเป็นเรื่องของโครงสร้างใหญ่ที่กุมทุกองคาพยพในสังคมเอาไว้

การเมืองผิด อะไรๆ ก็ผิดไปหมด ผิดตั้งแต่คิดว่าคนใหญ่โตกว่าโครงสร้าง คิดว่าเปลี่ยนผู้บริหารประเทศแล้วมันจะทำให้อะไรๆ มันดีขึ้น มันจะดีขึ้นได้อย่างไรหากโครงสร้างมันไม่เอื้อให้คนดีได้แสดงศักยภาพดีๆ กันอย่างเต็มที่

โครงสร้างการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยจะเอื้อประโยชน์และเห็นหัวประชาชนได้อย่างไร

โครงสร้างการเมืองกลุ่มผลประโยชน์ ย่อมเล็งผลเลิศเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพรรคพวกตนเท่านั้น เสียงของประชาชนจึงเป็นเสียงที่แผ่วเต็มทน แม้พยายามตะเบ็งจนสุดเสียงก็ทำเป็นหูทวนลมซะงั้น

หากคิดแก้ต้อง “รื้อ” มันทั้งระบอบ นั่นคือ “ปฏิวัติประชาธิปไตย” ด้วยมือประชาชนให้สำเร็จ สืบต่อแนวทางของพระบาทสมเด็กพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ถึงฝั่งฝันไปพร้อมๆ กับการแก้ปัญหาประชาชนในทุกภาคส่วน

เมื่อใดก็ตามที่ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแล้วนั่นแหละ เมื่อนั้นปัญหาประชาชาติมันถึงจะแก้ตก และเมื่อนั้นเองเราก็จะไม่มีคนเสื้อแดง คนเสื้อขาว คนเสื้อเหลือง หรือคนเสื้อน้ำเงินอีกต่อไป

จะมีก็แต่ “คนไทย” ที่เป็น “ไท” อย่างแท้จริง และเสียงประชาชนก็จะเป็น “เสียงสวรรค์” อย่างฝันไว้