ที่มา thaifreenews
น่าแปลกที่ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร ส่งทหารและตำรวจเข้าไปภายใน
และบริเวณโดยรอบรัฐสภา
โดยมิได้มีการปรึกษาหารือกับ ประธานรัฐสภา มาก่อน
ทั้งๆ ที่อำนาจและความรับผิดชอบต่อรัฐสภานั้นเป็นอำนาจ
และความรับผิดชอบโดยตรงของประธานรัฐสภา
นี่จึงเท่ากับแสดงว่า อำนาจบริหาร วางบทบาทเหนือ อำนาจนิติบัญญัติ
นี่จึงเท่ากับบ่งชี้ว่า การที่ประมุขฝ่ายบริหารไปพำนักอาศัยอยู่ภายในค่ายทหารอย่างยาวนาน
จึงติดความเคยชินจากอำนาจของทหารมาอย่างหนึ่ง
เป็นความเคยชินที่จะวางตนเหนือกว่าผู้อื่น
ที่ทหารสามารถวางตนเหนือกว่าผู้อื่นได้ ปัจจัย 1 เพราะว่ามีอาวุธอยู่ในมือ
ปัจจัย 1 เพราะกองทัพมีการจัดตั้งภายใต้ระเบียบวินัยอันแข็งแกร่ง
จริงอยู่ ทหารเป็นเช่นนี้ แต่คำถามคือ รัฐบาล เป็นเช่นนี้หรือ
แบบนี้จะเรียกเธอว์ว่าอย่างไรดีวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7056 ข่าวสดรายวัน
ด้วยอำนาจแห่งพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ นายกรัฐมนตรี สามารถส่งกำลังทหารและตำรวจไปประจำการอยู่ ณ จุดใดก็ได้
เป็นการสั่งการในนามของ "ความมั่นคง"
กระนั้น การสั่งการให้ตำรวจและทหารเข้ารักษาความปลอดภัยในพื้นที่และบริเวณโดยรอบของทำเนียบรัฐบาลมิได้เป็นเรื่องแปลก
เพราะว่าอยู่ในอำนาจของ "ฝ่ายบริหาร"
เช่นเดียวกับการสั่งการให้ตำรวจและทหารเข้ารักษาความปลอดภัยที่กระทรวงสาธารณสุขระหว่างประชุมครม.ก็มิได้เป็นเรื่องแปลก
เพราะว่าอยู่ในอำนาจของ "ฝ่ายบริหาร"
แต่การที่ นายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ทหารและตำรวจเข้าไปรักษาความปลอดภัยในและบริเวณโดยรอบของรัฐสภา กำลังกลายเป็นเรื่องแปลก
เพราะว่า "รัฐสภา" อยู่ในความรับผิดชอบ "ฝ่ายนิติบัญญัติ"
โดยระบบแห่งระบอบประชาธิปไตยแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่ายที่แม้จะสัมพันธ์กันแต่ก็ดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระ
1 คือ อำนาจนิติบัญญัติ ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
1 คือ อำนาจบริหาร ทำหน้าที่บริหารไปตามที่อำนาจนิติบัญญัติได้กำหนดเอาไว้โดยผ่านกระบวนการของกฎหมาย
1 คือ อำนาจตุลาการ ทำหน้าที่เพื่อแสดงให้เห็นว่ากฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์
ภายใน 3 อำนาจนี้ 2 อำนาจแรกมีพื้นฐานมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และดำเนินการไปตามที่ให้สัญญาไว้กับประชาชน
ขณะที่ 1 อำนาจหลังกระทำภายใต้พระปรมาภิไธย
ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารมีการยึดโยงระหว่างกัน เพราะอำนาจบริหารต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภาและอยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจนิติบัญญัติ
ทั้ง 3 อำนาจนี้แม้จะสัมพันธ์กันแต่ก็ดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระ
น่าแปลกที่ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร ส่งทหารและตำรวจเข้าไปภายในและบริเวณโดยรอบรัฐสภา
โดยมิได้มีการปรึกษาหารือกับ ประธานรัฐสภา มาก่อน
ทั้งๆ ที่อำนาจและความรับผิดชอบต่อรัฐสภานั้นเป็นอำนาจและความรับผิดชอบโดยตรงของประธานรัฐสภา
นี่จึงเท่ากับแสดงว่า อำนาจบริหาร วางบทบาทเหนือ อำนาจนิติบัญญัติ
นี่จึงเท่ากับบ่งชี้ว่า การที่ประมุขฝ่ายบริหารไปพำนักอาศัยอยู่ภายในค่ายทหารอย่างยาวนานจึงติดความเคยชินจากอำนาจของทหารมาอย่างหนึ่ง
เป็นความเคยชินที่จะวางตนเหนือกว่าผู้อื่น
ที่ทหารสามารถวางตนเหนือกว่าผู้อื่นได้ ปัจจัย 1 เพราะว่ามีอาวุธอยู่ในมือ ปัจจัย 1 เพราะกองทัพมีการจัดตั้งภายใต้ระเบียบวินัยอันแข็งแกร่ง
จริงอยู่ ทหารเป็นเช่นนี้ แต่คำถามคือ รัฐบาล เป็นเช่นนี้หรือ
ไม่ว่าการประชุมรัฐสภาในวันที่ 24 มีนาคม จะดำเนินไปอย่างไร เรียบร้อยหรือไม่เรียบร้อย
แต่ที่แน่อย่างที่สุดก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประมุขฝ่ายบริหารคนแรกที่วางตัวเหนือกว่ารัฐสภา หรือประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างเห็นได้ชัด เป็นรูปธรรม
นี่คือ "อำนาจ" ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มาจาก "พลังแฝง" ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย
เพื่อไทย
Thursday, March 25, 2010
เมื่อเด็กน้อย ณ โพเดียม พ่อหล่อหลักลอยเริ่มกร่าง แล้วจะเรียกว่าอะไรดี
โดย Porsche
จากคุณ : Jampoon
จำนวนคนอ่านล่าสุด 678 คน
บทบาท "อภิสิทธิ์" ในฐาน ประมุข "บริหาร" อันเหนือ "รัฐสภา"