WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 30, 2010

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล:วิพากษ์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ กรณีรับเป็น“กรรมการปฏิรูปประเทศ”

ที่มา ประชาไท

ชื่อบทความเดิม: การรับเป็น "กรรมการปฏิรูปประเทศ" ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมป่าเถื่อน ไม่มีคุณธรรม

โปรดพิจารณา “เรื่องสมมุติ” ต่อไปนี้:

เพื่อน บ้านครอบครัวหนึ่ง เพิ่งสูญเสียพ่อบ้าน หรือลูกชายหรือลูกสาว จากการถูกฆ่าอย่างน่าอนาถเมื่อไม่กี่วันมานี้ และสมาชิกที่เหลืออยู่ของครอบครัวนั้นยังอยู่ในช่วงเศร้าโศกอย่างหนัก พยายาม “ทำใจ” กับสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น ฯลฯ
ไม่ ว่า ที่ผ่านมา เราจะมีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านครอบครัวนี้อย่างไร อาจจะไม่ถึงสนิทสนมใกล้ชิด อาจจะมีความ “หมั่นไส้” ไม่ชอบบางคนในครอบครัวนั้น รวมถึงแม้แต่ตัวผู้ตายเอง และไม่ว่าสถานการณ์ของการถูกฆ่านั้น เราจะคิดอย่างไร (สมควรหรือไม่ หลีกเลี่ยงได้หรือไม่ ฯลฯ) แต่โดยสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า decency พื้นๆของความเป็นมนุษย์ด้วยกัน (basic human decency)[decency คำนี้ ผมขออภัยที่ใช้ทับศัพท์ เพราะนึกคำไทยที่เหมาะสมไม่ได้จริงๆ จะแปลว่า “มารยาท” “ความเหมาะสม” หรือ “ความสุภาพ” แม้อาจจะให้ความหมายที่ใกล้เคียง ก็รู้สึกยังไม่ตรงนัก จะใช้ว่า “ความดีงามในจิตใจ” ก็อาจจะหนักเกินไป จึงขออนุญาตเขียนเช่นนี้โดยตลอดบทความ] เราย่อมพยายามหลีกเลี่ยง ไม่ทำอะไรบางอย่างที่ทำให้ครอบครัวนั้นรู้สึกเป็นการ “ซ้ำเติม” ความเศร้าโศกของพวกเขา เช่น เราคงไม่ไปแสดงอาการดีอกดีใจ รื่นเริงบันเทิง ต่อหน้าเขา ไม่ไปพูดคุยโอ้อวดถึงความดีใจของเรา ที่ลูกชายลูกสาวเราเพิ่งสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเพิ่งเรียนจบ ได้งานทำ มีเงินเดือนสูง ฯลฯ ต่อให้เราไม่ถึงกับต้องไปช่วยเหลืองานศพของคนตาย หรือกระทั่งไปพูดจาปลอบประโลม (เพราะไม่สนิทกัน) ฯลฯ
การหลีกเลี่ยงไม่กระทำอะไรในลักษณะ “ซ้ำเติม” เพื่อนบ้านดังกล่าว ไม่จำเป็นว่าเพราะเราเป็นผู้มีการศึกษา หรือมีคุณธรรมสูงส่งอะไรเลย เป็นเพียงการมี decency พื้นๆ ของความเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น ในทางตรงข้าม หากเราทำอะไรอย่างที่ว่า (รื่นเริงบันเทิง ดีอกดีใจ ในความสุขความสำเร็จของครอบครัวเราเองในขณะนั้น ต่อหน้าต่อตาเพื่อนบ้านที่กำลังโศกเศร้า ฯลฯ) ก็ต้องจัดว่า เราเป็นคนใจคอโหดเหี้ยม (cruel) ป่าเถื่อน (babaric) ไม่มีคุณธรรมพื้นๆอย่างยิ่ง
. . . . . . . . . . . .
การ ที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เข้ารับตำแหน่งเป็น “กรรมการปฏิรูปประเทศ” ที่ตั้งโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการปราบปรามที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อย บาดเจ็บพิการนับพัน (และถูกจับกุมคุมขังอีกกว่าร้อยคน) โดยที่ผลกระทบโดยตรงต่อครอบครัว คนใกล้ชิด เพื่อน ของคนตาย คนบาดเจ็บพิการ เหล่านั้น ยังรู้สึกกันได้อย่างรุนแรง (ไม่ต้องพูดถึงผลกระทบต่อ “สังคม” วงกว้างออกไป) เปรียบเสมือนการกระทำในลักษณะ “ซ้ำเติม” เพื่อนบ้าน ที่กล่าวไว้ใน “เรื่องสมมุติ” ข้างต้น นี่เป็นการกระทำที่มาจากจิตใจที่เหี้ยมโหด (creul) ป่าเถื่อน (babaric) ขาดคุณธรรมอย่างถึงที่สุด
ทั้ง นี้ ไม่ว่านิธิจะคิดหรือให้เหตุผลใดๆก็ตาม กับการเข้าร่วมนั้น (ประเภท “เข้าไปเป็นกรรมการเพื่อผลักดันวาระและกฎหมายที่จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชน” ฯลฯ) ไม่ว่าเขาจะมีท่าทีวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือตัวกรรมการนั้นเอง (“อ้อมกอดอำมหิต”, “ประชาชนต้องอย่าไว้ใจกรรมการที่ตั้งขึ้นมา” ฯลฯ)
แต่ตัวการกระทำนั้นเอง (การเข้าเป็นกรรมการ) เป็นสิ่งที่อุจาด (indecent) และเหี้ยมโหดป่าเถื่อน (cruel, babaric) ซึ่งคนที่มี decency พื้นๆของความเป็นคน ไม่ทำกัน
ผม เอง โดยส่วนตัว เห็นว่า การตายและสูญเสียอย่างมหาศาลของ “คนเสื้อแดง” เป็นสิ่งซึ่งความจริงสามารถหลีกเลี่ยงได้ เห็นว่า การกระทำหลายอย่างของ “คนเสื้อแดง” ซึ่งอาจจะรวมทั้งคนที่ตายไปนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่ผมเห็น – และผมเชื่อ/หวังว่า ทุกคนที่มี decency ของความเป็นมนุษย์อย่างพื้นๆ คงจะคิดเช่นนี้ด้วย – ว่า ปัญญาชนระดับนำสูงสุดของประเทศอย่างนิธิ(หรือคนอื่นๆ) ไม่สมควรที่จะทำอะไรในลักษณะ “ซ้ำเติม” พวกเขาและญาติมิตรของเขา (หรือ “สังคม” โดยรวม) ด้วยการไปรับตำแหน่งที่รัฐบาล ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการฆ่าพวกเขา ตั้งขึ้นมา ด้วยสาเหตุที่ชัดเจนว่าต้องการทำให้การฆ่าที่ตัวเองมีส่วนรับผิดชอบนั้น เป็นเรื่อง “เบา”ลงไป
ยิ่ง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ยังคงพูดและเขียนในเชิงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลนี้เท่าไร ยิ่งทำให้การที่เขาไปร่วมเป็นกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นเป็นการกระทำที่ไร้ ความ decency พื้นๆของความเป็นมนุษย์มากขึ้นตามไปด้วยเท่านั้น ปัญญาชน นัก นสพ. จำนวนหนึ่ง ที่อาจจะ “ไม่สบายใจ” กับการที่นิธิไปร่วมเป็นกรรมการ พยายาม “ปลอบใจตัวเอง” หรือให้ “คำอธิบาย” ทำนองนี้ ด้วยการยกเอาการที่นิธิยังคงพูดและเขียนในลักษณะ “ไม่ขึ้นต่อรัฐบาล” หรือกระทั่ง “วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล” มาอ้าง หาได้คิดว่า ความจริง ยิ่งนิธิยังคงเขียนเชิงวิพากษ์รัฐบาลเท่าไร ยิ่งเป็นการประจานความไม่มี decency ของตัวเองมากขึ้นเพียงนั้น ในแง่นี้ บรรดา “ปัญญาชนบริกร” อย่าง อานันท์, อมร, สมบัติ ฯลฯ ที่เขียนเชียร์รัฐบาลนี้อยู่เสมออยู่แล้ว กลับมีลักษณะ “ซื่อตรง” (honesty) ยิ่งกว่านิธิ เพราะอย่างน้อย พวกนี้เป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร (เขียนเชียร์รัฐบาล กับไปเป็นกรรมการให้รัฐบาลเป็นอะไรที่ไปด้วยกันได้สนิทอยู่แล้ว) แต่สิ่งที่นิธิทำ กลับเป็นการแสดงความไม่ซื่อตรง (dishonesty) หน้าไหว้หลังหลอก ปากว่าตาขยิบ (hypocritical) อย่างขาดความละอายชัดๆ
เรื่องพวกนี้ ไม่ต้องอาศัยอุดมคติหรือทฤษฎีที่สูงส่งลึกซึ้งอะไรเลย แค่สามัญสำนึกของความ decency ของความเป็นมนุษย์ ที่จะไม่เหี้ยมโหดป่าเถื่อน ทำร้ายซ้ำเติมผู้ที่อยู่ในความทุกข์โศกสูญเสียอย่างใหญ่หลวงอยู่แล้วเท่านั้น