WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 1, 2010

วิสัชนาเปิดผนึกถึงภัควดี ไม่มีนามสกุล : พระไพศาล วิสาโล

ที่มา thaifreenews

โดย namome

วิสัชนาเปิดผนึกถึงภัควดี ไม่มีนามสกุล
Thu, 2010-08-26 23:42
พระไพศาล วิสาโล
26 สิงหาคม 2553
ที่มา: http://www.visalo.org/article/letterToPakawadee.htm

คุณ ภัควดี ไม่มีนามสกุล เขียนบทความชื่อว่า “ปุจฉาเปิดผนึกถึงพระไพศาล วิสาโล” เพื่อแสดงความเห็นตอบโต้บทสัมภาษณ์ของอาตมา ซึ่งตีพิมพ์ในกรุงเทพธุรกิจเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม โดยมีการพาดหัวบทสัมภาษณ์ดังกล่าวว่า "พระไพศาล วิสาโล: ปฏิรูปอัตตาธิปไตย – 'อภิสิทธิ์'ต้องกล้านำความเปลี่ยนแปลง" ซึ่งต่อมาได้มีการโพสต์ลงในเว็บไซต์ประชาไท

ในบทความดังกล่าว คุณภัควดีมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาตมาหลายประการ ควรที่จะได้รับการชี้แจงในบทความนี้ ควบคู่ไปกับการอธิบายเพิ่มเติมของอาตมาเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่คุณภัควดี ได้เอ่ยถึง
คุณภัควดีได้ออกตัวก่อนที่จะแสดงความเห็นตอบโต้อาตมาว่า “ผู้เขียนมีข้อผูกมัดในทางสังคมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่พึงให้ความเคารพ ต่อพระไพศาลในฐานะผู้อาวุโสกว่าและในฐานะมนุษย์ ซึ่งผู้เขียนก็จะให้ความเคารพตามข้อผูกมัดนี้ ไม่น้อยกว่านี้และไม่มากไปกว่านี้” อาตมาคิดว่าเท่านี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน โดยไม่จำเป็นต้องเอาความเป็นพระภิกษุของอาตมามาเป็นเครื่องกีดขวางการวิ จารณ์ แต่จะว่าไปแล้วแม้จะมองว่าอาตมาเป็นพระภิกษุ (นอกเหนือจากการเป็นผู้อาวุโสและมนุษย์) คุณภัควดีหรือใครก็ตามย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์อาตมาได้ อยู่ดี เพราะพระภิกษุนั้นไม่ควรอยู่เหนือคำวิจารณ์ และสมควรถูกวิจารณ์ด้วยหากคิด พูด หรือทำไม่ถูกต้อง (ในสังคมไทยสมัยก่อน เป็นเรื่องธรรมดามากที่พระจะตกเป็นหัวข้อของการนินทาและวิจารณ์ประชดประชัน อย่างเผ็ดร้อนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ นิทานตาเถรยายชี โดยชาวบ้านที่นับถือพระศาสนา) ดังนั้นอาตมาจึงเห็นด้วยกับคุณภัควดีว่า “หากจะมีผู้อ่านท่านใดมาวิพากษ์วิจารณ์ด่าว่าผู้เขียน โดยยกเอาบาปกรรมนรกมายัดเยียดให้ ย่อมเป็นเรื่องไร้สาระ”

คุณภัควดี ได้เริ่มต้นการวิพากษ์วิจารณ์ความเห็นของอาตมาในบทสัมภาษณ์ดัง กล่าว โดยกล่าวว่า “การเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก โดยละเลยปัญหาเชิงโครงสร้าง หรืออย่างมากก็กล่าวถึงโดยผิวเผินแต่ขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงนั้น เป็นประเด็นที่เห็นได้ชัดในบทสัมภาษณ์ของพระไพศาล” คุณภัควดีพูดต่อไปว่า “เริ่มต้นมาท่านก็กล่าวไว้ชัดเจนเลยว่า ความขัดแย้งทั้งหมดมีทักษิณเป็นศูนย์กลาง (ซึ่งท่านไม่ได้ขยายความว่า คำว่า "ศูนย์กลาง" นี้หมายถึง "สาเหตุ" "ต้นตอ" "ตัวการ" กินความมากน้อยแค่ไหน)”

ข้อ ความดังกล่าวชวนให้เข้าใจผิดว่า อาตมามองความขัดแย้งทั้งหมดในเมืองไทยขณะนี้ว่ามีคุณทักษิณอยู่เบื้องหลัง ที่จริงอาตมาพูดถึงประเด็นนี้เอาไว้ว่า ปัญหามันซับซ้อนกว่านั้น คือเป็นเรื่องที่มีสาเหตุในเชิงโครงสร้าง ดังอาตมาได้กล่าวว่า “แม้ปรากฏการณ์ที่มีอยู่นี้จะเป็นความขัดแย้งที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวบุคคล เช่นคุณทักษิณ (ชินวัตร อดีตนายกฯ) แต่ว่าสาเหตุรากเหง้าไม่ได้อยู่ที่คุณทักษิณอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของโครงสร้างของสังคมไทยในหลายมิติที่กำลังเปลี่ยนแปลง เช่น ประชาชนมีความสำนึกทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นคนชั้นล่าง คนยากจน หรือ คนชั้นกลางระดับล่าง คนเหล่านี้เมื่อก่อนเขาอาจจะยอมรับความไม่เป็นธรรมในสังคมได้ ยอมรับในความเป็นสองมาตรฐาน ในความเหลื่อมล้ำได้ แต่เดี๋ยวนี้เขายอมรับได้ยากแล้ว และเป็นอย่างนี้ในหลายวงการ”

สำหรับ ข้อความที่ว่า “ความขัดแย้งที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวบุคคล เช่นคุณทักษิณ” (ขอให้สังเกตว่า อาตมาใช้คำว่า “ความขัดแย้ง”เฉย ๆ ไม่ได้ใช้คำว่า “ความขัดแย้งทั้งหมด” อย่างที่คุณภัควดีเขียน) อาตมาไม่ได้หมายความว่าคุณทักษิณอยู่เบื้องหลังความวุ่นวายทั้งหมดในเมือง ไทย แต่หมายความว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะนับแต่ปี 48 ล้วนล้อมรอบประเด็นเกี่ยวกับคุณทักษิณเป็นสำคัญ เริ่มตั้งแต่การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพื่อขับไล่คุณ ทักษิณในปี 48-49 ตามมาด้วยการชุมนุมเรือนหมื่นของผู้สนับสนุนคุณทักษิณในภาคอีสานและภาคเหนือ และที่สวนจตุจักร จนเกิดความหวั่นกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ม็อบชนม็อบอย่างนองเลือด การรัฐประหารปี 49 เกิดขึ้นก็เพราะต้องการโค่นล้มคุณทักษิณ หลังจากนั้นก็มีการร่างรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งก็เพื่อสกัดกั้นคุณทักษิณ (และพวกพ้อง) จากวงการเมือง จนเกิดคดียุบพรรค ใช่แต่เท่านั้นพอถึงปี 51 พันธมิตร ฯ ก็ประท้วงยืดเยื้อจนถึงกับยึดทำเนียบและสนามบิน ทั้งนี้เพื่อต่อต้านรัฐบาลสมัครและสมชายซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของทักษิณ และเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งกลัวกันว่าจะเป็นการเปิดทางให้คุณ ทักษิณพ้นผิดหรือกลับสู่วงการเมืองอีก จนกระทั่งมีการชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคุณทักษิณ(และพวกพ้อง) ขณะที่ประชาชนอีกจำนวนหนึ่งก็ต่อต้านคนเสื้อแดงเพราะเชื่อว่าคนเสื้อแดงทำ เพื่อคุณทักษิณ ในที่สุดคนเสื้อแดงก็ถูกปราบปรามโดยรัฐบาลและกองทัพซึ่งมีผู้นำเป็นปฏิปักษ์ กับคุณทักษิณ

ปรากฏการณ์ทั้งหมดที่พูดมาอย่างย่อ ๆ หากไม่เรียกว่าเป็น “ความขัดแย้งที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวบุคคล เช่นคุณทักษิณ” อาตมาก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรถึงจะถูกต้องและกระชับกว่านี้ อย่างไรก็ตามอาตมาได้พูดถึงเหตุการณ์เหล่านี้ว่าเป็นแค่ “ปรากฏการณ์” ดังได้พูดต่อจากนั้นว่า สาเหตุรากเหง้าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง (ดังอาตมาจะชี้แจงต่อไปข้างหน้า)

เป็นความจริงที่ว่าอาตมาได้ “ยกบุคคลดัง ๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ” แต่บุคคลเหล่านั้นอาตมาไม่ได้ยกเหมามากองต่อท้ายข้อความในย่อหน้าที่ แล้วอย่างที่คุณภัควดีเขียนชวนให้เข้าใจเช่นนั้น อาตมาพูดถึงแต่ละคน (หรือแต่ละคู่) ในบริบทที่ต่างกัน

คุณภัควดีต้องไม่ลืมว่าอาตมาแสดง ความเห็นดังกล่าวในฐานะบทสัมภาษณ์ ซึ่งถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขหลายอย่าง เงื่อนไขอย่างหนึ่งคือคำถามของผู้สัมภาษณ์ อาตมาจะพูดอะไรก็ขึ้นอยู่กับคำถามเป็นสำคัญ อาตมาพูดถึงแมนเดลาและเดอเคลิร์กก็เพราะผู้สัมภาษณ์ถามอาตมาถึงเรื่องการ เจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งไม่ประสบผล ผู้สัมภาษณ์ถามว่า “จำเป็นต้องมีตัวเชื่อมไหม” อาตมาตอบว่า “จำเป็น แต่ถึงที่สุดต้องเกิดจากการที่ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสพูดคุยกับเหมือนแมนเดลากับ เดอเคลิร์ก”

ถัดมาผู้สัมภาษณ์ถามว่า “ปัญหาของไทยตอนนี้คือแต่ละฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ยึดตัวกูเอาไว้?” อาตมาก็ตอบว่า “ต้องมีการ break the ice ซึ่งเป็นหน้าที่ของตัวกลาง” จากนั้นอาตมาจึงพูดถึงคาร์เตอร์ ว่าเป็นตัวอย่างของการ break the ice ระหว่าง เบกินกับซาดัต

คุณภัควดีย่อมทราบดีว่าการเจรจานั้นเป็น เรื่องเกี่ยวข้องกับผู้นำสอง ฝ่าย(หรือหลายฝ่ายสุดแท้แต่กรณี) จะเอาประชาชนของสองฝ่ายมาเจรจากันย่อมเป็นไปไม่ได้ การที่อาตมาพูดถึงการเจรจาระหว่างผู้นำ ก็ไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธบทบาทของประชาชนของสองฝ่าย จะว่าไปแล้วไม่มีตอนไหนที่อาตมาปฏิเสธบทบาทของประชาชนในการเปลี่ยนแปลงสังคม หรือบ้านเมืองเลย มีตอนเดียวที่ใกล้เคียงคือพูดถึงรัชกาลที่ 5 และพลเอกเปรม ที่พูดเช่นนั้นก็เพื่อบอกว่า “สมัยก่อน(การแก้ปัญหาประเทศ)ขึ้นอยู่กับผู้นำมาก” แต่อาตมาได้พูดถึงยุคปัจจุบันว่า “ผู้นำอย่างเดียวไม่พอ สังคมต้องช่วยด้วย” คุณภัควดีถามว่า “ผู้เขียนอ่านแล้วสงสัยว่า แล้วประชาชนอยู่ตรงไหน?” อาตมาก็ขอตอบว่า ประชาชนอยู่ในบทสัมภาษณ์ของอาตมาแล้ว เพราะ “สังคม”ที่อาตมาพูดถึงนั้นหมายถึงประชาชน

ควรกล่าวด้วยว่าการ สัมภาษณ์ครั้งนั้น(วันที่ 17 สิงหาคม) ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงเต็ม มีเนื้อความหลายตอนถูกตัดไป เช่น อาตมาได้พูดถึงการปฏิรูปประเทศว่า “เรื่องการเปลี่ยนแปลงเราอย่าไปหวังรัฐบาล ต้องเสนอต่อสังคมให้ขับเคลื่อน ซึ่งคุณอานันท์ (ปันยารชุน ประธานกรรมการปฏิรูป) บอกเราจะเสนอข้อเสนอต่อประชาชน แต่สำเนาถึงรัฐบาล”

คุณภัควดีเขียน ว่า อาตมา “ใช้วาทกรรมที่มุ่งเป้าเกี่ยวกับตัวบุคคลเป็นหลัก เช่น ความรัก ความเข้าใจ การไว้วางใจกัน การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ตัวกูของกู อัตตาธิปไตย ฯลฯ” คำกล่าวนี้ก็มีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่ขอให้ดูคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ถามอาตมาก่อนว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร หากกลับไปอ่านดูก็น่าจะเข้าใจได้ว่าเหตุใดอาตมาจึงพูดถึงประเด็นดังกล่าว ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามในบทสัมภาษณ์ดังกล่าวอาตมาไม่ได้พูดแต่เรื่องตัวบุคคลอย่าง เดียว หากยังพูดถึงปัญหาเชิงโครงสร้างหรือปัจจัยทางเศรษฐกิจการเมืองที่นำไปสู่ ปัญหาในปัจจุบัน ดังอาตมาให้สัมภาษณ์ (แต่ถูกตัดออกไป) ว่า “ต้องเข้าใจว่านี่ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างบุคคล หรือความขัดแย้งเชิงบุคคล แต่มันเป็นภาพสะท้อนของความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง ซึ่งมีรากเหง้ามาจากความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ การดูถูกเหยียดหยาม เพราะยากจนเพราะเป็นคนบ้านนอก ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง”
สิ่งที่ ไม่ปรากฏในบทสัมภาษณ์ ไม่ได้แปลว่าอาตมาไม่ได้พูดในการให้สัมภาษณ์ครั้งนั้น มีคำให้สัมภาษณ์ของอาตมาหลายประเด็นที่ถูกตัดออกไปด้วยสาเหตุต่าง ๆ กัน (รวมทั้งเรื่องที่พูดถึงกรอบการทำงานคณะกรรมการปฏิรูปว่า มุ่งสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยเน้นความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจ ด้านที่ดินและทรัพยากร ด้านโอกาส ด้านสิทธิ และด้านอำนาจต่อรอง) นอกจากเป็นเพราะข้อจำกัดทางเนื้อที่แล้ว อีกเหตุผลหนึ่งก็คือเพราะกองบรรณาธิการเห็นว่ามีบางประเด็นที่ “ล่อแหลม”

เป็น ธรรมดาของการให้สัมภาษณ์ที่ใครก็ตามย่อมไม่สามารถพูดทุกเรื่องได้ และหลายเรื่องที่พูดก็ไม่สามารถอธิบายแจกแจงให้ละเอียดได้ ไม่เหมือนบทความหรืองานวิชาการที่เราสามารถเขียนแจกแจงประเด็นใดประเด็น หนึ่งเป็นหน้า ๆ หรือหลายหน้าได้ อาตมายอมรับว่าพูดเรื่องกระจายอำนาจน้อย (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกำลังตอบคำถามของผู้สัมภาษณ์ว่า “จะใช้หลักธรรมะข้อไหนมาช่วยเยียวยา”) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาตมาไม่เห็นความสำคัญ ประเด็นเหล่านี้อาตมาได้เขียนไว้ในที่อื่นแล้ว ล่าสุดได้เขียนไว้ในบทความเรื่อง “สร้างสังคมไทยให้เป็นมิตรกับความดี” ดังมีข้อเสนอตอนหนึ่งว่า “กระจายอำนาจให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่ระดับ ชุมชนไปถึงระดับชาติ รวมถึงการดูแลจัดการทรัพยากรท้องถิ่น มีกลไกที่สามารถป้องกันการใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ให้หลักประกันทางสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มีกลไกการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี เป็นต้น” http://www.visalo.org/article/budTumKwamdee999.htm

ใน ประเด็นเรื่องกระจายอำนาจ คุณภัควดีอ้างว่า อาตมา “ยังตั้งเงื่อนไขแฝงไว้หลายอย่าง เช่น ไม่ควรใช้แนวทางประชานิยม” ไม่มีตอนไหนที่อาตมาพูดเช่นนั้นเลย ที่จริงอาตมากล่าวว่า การ “ยื่นเงินไปให้ ให้แค่ประชานิยม ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง” คนที่อ่านอย่างตั้งใจย่อมเข้าใจได้เองว่า อาตมากำลังพูดว่า ลำพังประชานิยมอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ

สำหรับประเด็นเรื่อง “กระจายความรัก” ซึ่งคุณภัควดีดูจะไม่พอใจกับแนวความคิดนี้เอามาก ๆ ถ้าอ่านให้ดีจะพบว่า สำนวนนี้ไม่ใช่เป็นของอาตมา แต่เป็นของอดัม คาเฮน (นักสันติวิธีที่มาบรรยายเมื่อวันที่ 16 และ 17 สิงหาคม ดังเป็นข่าวในสื่อมวลชนหลายแห่ง) โดยอาตมาได้กล่าวถึงเขาว่า “อดัม คาเฮน พูดเมื่อสองสามวันก่อนว่า การกระจายความรักไปให้คนอื่นมากขึ้น จะช่วยลดความขัดแย้งได้”

อาตมาเห็นด้วยกับความเห็นของคาเฮน แต่ก็พูดเพิ่มเติมว่า “แต่การกระจายความรักอย่างเดียวก็ไม่พอ จะต้องกระจายอำนาจด้วย ถ้ารักแล้วไม่ทำอะไรก็ไม่เกิดประโยชน์ ถ้ารักแล้วแค่ยื่นเงินไปให้ ให้แค่ประชานิยม ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง”

อาตมาไม่ได้เรียกร้องให้คนรัก กันหรือมีเมตตาอย่างเดียว ในการให้สัมภาษณ์และข้อเขียนหลายชิ้นในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา อาตมาได้ย้ำว่าจะต้องมีอะไรมากกว่านั้น จึงจะแก้ปัญหาความขัดแย้งในขณะนี้ได้ ในบทความเรื่อง “สังคมที่เป็นปฏิปักษ์กับความดี” (มติชน 25 ตุลาคม 2552) อาตมาได้ย้ำว่า “การเรียกหาความสามัคคีหรือสมานฉันท์ของคนในชาติ จะเกิดขึ้นได้อย่างไรหากบ้านเมืองมีความเหลื่อมล้ำกันมากมายขนาดนี้ ในทำนองเดียวกันการหวังให้คนมีความเมตตากรุณาหรือมีศีลธรรมต่อกันจะเกิดขึ้น ได้อย่างไรหากสภาพสังคมที่เป็นอยู่มีแนวโน้มที่จะดึงเอาด้านลบของผู้คนออกมา สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมากไม่เพียงบั่นทอนสายสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม เท่านั้น หากยังกัดกร่อนจิตวิญญาณของผู้คนด้วย มิพักต้องเอ่ยถึงการบั่นทอนสุขภาพ (การวิจัยของวิลคินสันชี้ว่าในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง มีอัตราการตายของทารก โรคอ้วน การใช้ยาเสพติด และมีความเครียดสูงตามไปด้วย)” http://www.visalo.org/article/matichon255210_2.htm
คุณ ภัควดี ยังให้ความเห็นอีกว่า “การ "กระจายความรัก" แบบนั้นยังมีข้ออันตรายอยู่ในตัวเองด้วย เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น แทนที่จะเรียกร้องให้มีการรับผิด กลับเรียกร้องให้ลืมและให้อภัยกัน นี่ไม่เท่ากับเป็นการให้ท้ายอาชญากรรมหรอกหรือ? หากมีคนมาฆ่าบิดามารดาของท่านตาย ถึงแม้ท่านให้อภัยได้ กระจายความรักได้ แต่ฆาตกรผู้นั้นย่อมต้องมีความผิดตามกฎหมายกระบิลเมืองอยู่ดี (ยกเว้นกฎหมาย กระบิลเมืองไม่มีต่อไปแล้วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) นี่ไม่ใช่เรื่องที่ปัจเจกบุคคลจะมาตัดสินเอาตามความพอใจของตน แต่เป็นเรื่องกฎกติกาของสังคมที่ต้องรักษาไว้”

ที่จริงอาตมาไม่ได้มี ความเห็นแตกต่างจากคุณภัควดีแม้แต่น้อยในประเด็น หลัง เพราะอาตมาเห็นว่า การมีความรักความเมตตาต่อกันและกันนั้น มิได้หมายถึงการ “ให้ท้ายอาชญากรรม” ในบทความเรื่อง “คนผิดก็มีสิทธิได้รับความเมตตา” ซึ่งเพิ่งลงมติชนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา อาตมาได้ย้ำว่า “เมตตากรุณาอย่างไม่มีประมาณนั้นมิได้หมายความว่า ไม่ต้องแยกแยะระหว่างคนถูกกับคนผิด หรือระหว่างความถูกกับความผิด ทั้งคนถูกและคนผิดสมควรได้รับความเมตตาจากเราในฐานะชาวพุทธผู้เจริญรอยตาม บาทพระศาสดาก็จริง แต่หากใครจะได้รับโทษโดยสมควรแก่ความผิดของเขา ก็เป็นเรื่องที่เราพึงวางใจเป็นอุเบกขา ไม่ควรขวางกั้นกระบวนการดังกล่าว แต่หากมีอะไรที่เราสามารถช่วยเหลือเขาได้ในระหว่างที่รับโทษทัณฑ์ก็สมควรทำ ในฐานะเพื่อนมนุษย์
“สำนึกในความถูกต้องไม่ควรถูกเบี่ยงเบนโดยเมตตา กรุณา ที่เจืออคติ (เช่นฉันทาคติ) จนกลายเป็นการช่วยเหลือคนผิดในทางที่ไม่ถูกต้อง แต่ที่ต้องระวังไม่น้อยกว่ากันก็คือความยึดมั่นในความถูกต้องจนขาดเมตตา กรุณา เช่น ยึดติดกับความถูกความผิดจนเห็นคนผิดมิใช่มนุษย์ ดังนั้นจึงไม่สมควรได้รับความเมตตากรุณาจากเรา” http://www.visalo.org/article/matichon255308.html

อาตมา เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรนำคนผิดมาลงโทษ เพื่อรักษากฎหมายและหลักเกณฑ์ของสังคม (นี้เป็นความหมายส่วนหนึ่งของคำว่า “ธรรมาธิปไตย” ซึ่งไม่ได้หมายถึงระบอบการปกครอง) อันที่จริงอาตมาได้พูดถึงประเด็นนี้หลายครั้งมาก หนึ่งวันหลังจากเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคมยุติ อาตมาได้ให้สัมภาษณ์กรุงเทพธุรกิจว่า

“วิธีหนึ่งที่จะเยียวยาความ เจ็บปวดและลดทอนความเคียดแค้นก็คือการใช้ กระบวนการยุติธรรม การทำความจริงให้ปรากฏ ในทุกสังคมเวลามีความขัดแย้งจนทำร้ายล้างกันระหว่างกลุ่มชน เราพบว่าความจริงและความยุติธรรมสามารถช่วยได้ มีการสอบสวนหาความจริงว่าเกิดอะไรขึ้นใครผิดใครถูก ไม่ใช่ว่าตามข่าวลือ แล้วเอาคนผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐ นปช. นักธุรกิจ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง ถ้าตกเป็นผู้ต้องหาก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและพิสูจน์ตัวเอง ถ้ากระบวนการยุติธรรมเที่ยงธรรม สามารถหาคนผิดมาลงโทษได้ มันจะช่วยเยียวยาผู้ที่สูญเสีย ผู้ที่เจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นคนสีแดงหรือไม่ก็ตาม เราอย่ามองข้ามกระบวนการยุติธรรม จริงอยู่เมตตาธรรมก็ต้องมี อย่างที่พูดมาข้างต้น คืออย่าโกรธเกลียดตอบโต้กัน แต่ว่าก็ต้องใช้ยุติธรรมเข้ามา เพราะยุติธรรมเป็นธรรมะที่ทำให้ยุติได้ในระดับหนึ่ง อยากให้ใช้กระบวนการนี้ในการเยียวยาความเจ็บปวด ลดทอนความเคียดแค้น”

ข้อ ความข้างต้นได้ตอบคำถามหลายข้อของคุณภัควดีแล้ว โดยเฉพาะที่ถามอาตมาว่า “เมื่อความผิดเกิดขึ้น ก็ต้องมีการแก้ไขและมีการรับผิด จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น แล้วบอกให้สังคมไทยเดินหน้าโดยยึดมั่นในหลักแห่งศาสนา ผู้เขียนไม่ทราบว่าท่านเห็นทั้งหมดนี้เป็นเรื่องตลกหรือ?”

คุณภัควดี ยังถามอาตมาอีกว่า “ท่านจะให้คุณพ่อของน้องสมาพันธ์ ศรีเทพ คุณแม่ของคุณกมลเกด อัคฮาด พี่ชายของคุณมงคล เข็มทอง ภรรยาของคุณลุงบุญมี เริ่มสุข และคนอื่น ๆ อีกเกือบร้อยคนมา "กระจายความรัก" ให้ฆาตกรที่ฆ่าบุคคลอันเป็นที่รักของเขา มันจะเป็นไปได้อย่างไร? ให้อภัยย่อมเป็นไปได้ แต่จะให้ลืมแล้วมากอดกันหน้าชื่น ย่อมสุดวิสัยของมนุษย์”

อาตมาขอตอบว่าตอนที่อาตมาพูดถึง “กระจายความรัก” อาตมานึกถึงสังคมไทยที่กำลังแตกแยกอย่างรุนแรง จนพ่อแม่กับลูก พี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน และผู้คนทั้งประเทศต่างบาดหมางกัน ถึงขั้นโกรธเกลียดกัน แบ่งเป็นฝักฝ่าย กล่าวประณามหรือถึงขั้นห้ำหั่นกัน อาตมาเห็นว่าเราจะต้องมีเมตตากรุณากันให้มากกว่านี้ ไม่ต้องถึงขั้นกอดกันหน้าชื่นก็ได้ แต่ขอให้มีเจตนาดีหรือเห็นเจตนาดีของกันและกัน อย่างไรก็ตามอาตมาไม่สามารถเรียกร้องให้บุคคลที่คุณภัควดีกล่าวถึงนั้น ให้อภัยหรือลืมเหตุร้ายได้ นั่นเป็นการเรียกร้องที่มากเกินไป อาตมาไม่เคยแนะนำผู้ที่ทุกข์โศกเพราะสูญเสียคนรักจากเหตุร้ายให้ทำเช่นนั้น (รวมทั้งไม่เคยบอกเขาว่าเป็นเรื่องของกรรมเก่า) เว้นแต่เขาจะมาปรึกษาอาตมาว่าจิตใจเขารุ่มร้อนเพราะความโกรธเกลียด กรณีอย่างนั้นอาตมาจึงจะแนะนำเขาให้อภัย เพราะอาตมาเชื่อว่าการให้อภัยนั้นสามารถเยียวยาจิตใจได้ และเมื่อจะให้อภัย อาตมาก็ไม่เคยแนะนำให้เขาลืมเรื่องนั้นเสีย เพราะอาตมาเชื่อว่า “forgive not forget” นั้นเป็นไปได้”

ประเด็นต่อมาที่อาตมาขอขยายความคือ ตอนที่อาตมาพูดถึงคนเสื้อแดงว่า “สิ่งที่เขาเรียกร้องอยู่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงหรือเปล่า อาตมาไม่แน่ใจ” ข้อความเพียงเท่านี้ไม่มีอะไรที่บ่งบอกเลยว่า อาตมา “ไม่ยอมรับใน "การกำหนดชะตากรรมตัวเอง" ของประชาชน”อย่างที่คุณภัควดีสรุป อาตมาเพียงแต่ต้องการแสดงความเห็นว่า การยุบสภาตามที่คนเสื้อแดงเรียกร้องเมื่อเดือนมี.ค-พ.ค.ที่ผ่านมานั้น อาตมาไม่แน่ใจว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย เพราะแม้จะนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ และถึงแม้พรรคเพื่อไทยจะได้จัดตั้งรัฐบาล ก็ไม่มีหลักประกันว่าบ้านเมืองจะสงบสุข ลดความขัดแย้ง หรือลดความเหลื่อมล้ำ หรือก่อให้เกิดสังคมสองมาตรฐานได้ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีรัฐบาลสมัครและสมชายมาแล้ว คุณภัควดีมีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วยกับความเห็นของอาตมาในเรื่องนี้ แต่หากจะสรุปจากความเห็นข้างต้นว่าอาตมาไม่ยอมรับ “การกำหนดชะตากรรมตัวเอง” ของประชาชนก็นับว่าเป็นการตีความที่เกินเลยไป

อาตมาไม่เคยคัดค้าน การยุบสภา ในการให้สัมภาษณ์สื่อบางแห่ง ก็ยังแสดงความเห็นสนับสนุนการยุบสภาเพื่อให้การชุมนุมของคนเสื้อแดงยุติจะ ได้ไม่มีการปะทะจนนองเลือด ในทำนองเดียวกันอาตมาก็ไม่เคยคัดค้านผลการเลือกตั้งของประชาชน เช่นเดียวกับที่ไม่เคยสนับสนุนรัฐประหารโค่นล้มคุณทักษิณ เป็นแต่ว่าอาตมาไม่แน่ใจว่ารัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นตาม มาหลังจากการยุบสภานั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ คุณภัควดีย่อมทราบดีว่าบ่อยครั้งที่รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง (ไม่จำเพาะประเทศไทยแต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ) ไม่เพียงทำให้บ้านเมืองย่ำอยู่กับที่ หากยังเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงได้หรือถึงกับทำให้บ้านเมืองถอยหลัง เราต้องแยกระหว่างการปฏิเสธผลการเลือกตั้ง (ซึ่งเท่ากับปฏิเสธการกำหนดชะตากรรมของประชาชน) กับการวิจารณ์หรือไม่มี ศรัทธาในผู้นำคนใดคนหนึ่งหรือคณะหนึ่งที่มาจากการเลือกตั้งนั้นเป็นคนละ เรื่องกัน คุณภัควดีก็เคยวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีบุช แต่หากมีใครบอกว่าการทำเช่นนั้นแสดงว่าคุณภัควดีไม่ยอมรับการกำหนดชะตากรรม ของประชาชนชาวอเมริกัน คุณภัควดีก็คงปฏิเสธหัวชนฝาว่าไม่จริง
คุณภัควดี ยังได้พูดถึงผู้ที่ตายในเหตุการณ์นองเลือด 91 คนและบาดเจ็บอีกกว่าพันว่า เราไม่ควรปล่อยให้ความเกลียดหรือความไม่เห็นกับคุณทักษิณ เป็นเหตุอันควรให้ “ลดบรรทัดฐานทางจริยธรรม ของตัวเองจนยอมรับการฆ่าเพื่อนมนุษย์ตายอย่างไร้เหตุผลเช่นนี้” อาตมาเห็นด้วยกับข้อความดักล่าวอย่างเต็มที่ การที่อาตมาไม่ได้พูดถึงกรณีดังกล่าวในบทสัมภาษณ์ ไม่ได้แปลว่าอาตมายอมรับการฆ่าคนเหล่านี้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง อาตมาได้แสดงความเห็นเรื่องนี้หลายที่ ล่าสุดก็ในมติชนเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเรื่อง “คนผิดก็มีสิทธิได้รับความเมตตา” ดังความตอนหนึ่งอาตมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับทัศนคติที่แพร่หลายในหมู่คน จำนวนมากขณะนี้ว่า

“การมองว่าคนเสื้อแดงทำผิดกฎหมาย รับจ้างมาปกป้องคนผิดที่โกงบ้านโกงเมือง รวมทั้งมีกองกำลังติดอาวุธ ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ต้องการล้มเจ้าฯลฯ ทำให้ผู้คนจำนวนมาก (รวมทั้งผู้ยึดมั่นในความถูกต้อง) พิพากษาในใจว่าคนเสื้อแดงสมควรตาย และดังนั้นจึงไม่รู้สึกอะไรเมื่อเห็นทหารใช้กระสุนจริงกับผู้ชุมนุมจนมีคน ล้มตายกว่า 80 คน ไม่นับบาดเจ็บอีกนับพันคน จริงอยู่มีผู้ชุมนุมบางคนที่ขว้างประทัดและระเบิดเพลิงใส่เจ้าหน้าที่ แต่ก็ไม่สมควรที่ถูกตอบโต้ด้วยอาวุธสงครามจนถึงแก่ความตาย และถึงแม้จะมีผู้ชุมนุมถูกยิงตายขณะใช้อาวุธปืนต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ความตายของบุคคลเหล่านั้นก็มิใช่เรื่องที่น่ายินดีแต่อย่างใด เพราะนอกจากจะเป็นการซ้ำเติมญาติมิตรของผู้สูญเสียแล้ว มันยังกัดกร่อนจิตวิญญาณหรือมโนธรรมสำนึกของเราอีกด้วย

“ถึงจะทำผิด ศีลธรรมหรือผิดกฎหมาย เขาก็มีสิทธิในชีวิตของเขา มีสิทธิได้รับความยุติธรรมและการคุ้มครองตามกฎหมาย รวมทั้งมีสิทธิได้รับความเมตตาจากเรา เพราะถึงอย่างไรเขาก็เป็นมนุษย์ ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกเพียงใด ก็ไม่มีสิทธิทำอะไรกับเขาตามอำเภอใจ แต่ถึงที่สุดแล้วเราก็จำต้องถามตัวเองด้วยว่า แน่ใจอย่างไรว่าเราถูกและเขาผิด ผู้ที่รุมฆ่าและทำร้ายนักศึกษาประชาชนในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ล้วนทำไปด้วยความเข้าใจว่าตนกำลังปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แต่บัดนี้ได้ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นฆาตกรโหดเหี้ยมที่สร้างความ อัปยศให้แก่ประเทศชาติ ในทางตรงข้ามผู้ที่ถูกทำร้ายเหล่านั้นล้วนเป็นคนบริสุทธิ์ หาใช่ผู้คิดร้ายต่อชาติและราชบัลลังก์ไม่”

http://www.visalo.org/article/matichon255308.html

ประเด็น ใหญ่อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องของคุณอภิสิทธิ์ คุณภัควดี ถามว่า “เหตุใดพระไพศาลจึงออกมารับรองความชอบธรรมในการเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์เวช ชาชีวะอย่างออกหน้าออกตาขนาดนั้น?” อาตมาไม่ได้รับรองความชอบธรรมของเขา อีกทั้งไม่มีอำนาจรับรองด้วย นั่นเป็นอำนาจของรัฐสภาและองค์กรอิสระที่ตรวจสอบนักการเมือง อาตมาเพียงแต่เห็นว่าเขายังมีความชอบธรรมในการเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ อย่างน้อยเขาก็มีความชอบธรรมในฐานะที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.แล้วได้รับ คะแนนเสียงเกินครึ่งให้เป็นนายกรัฐมนตรี พูดถึงมาตรฐานขั้นต่ำ เขาย่อมมีความชอบธรรมโดยนิตินัยที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีในเวลานี้ แต่หากพูดถึงมาตรฐานที่สูงกว่านั้น อันได้แก่ความชอบธรรมทางการเมืองและทางจริยธรรม เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ถกเถียงกันได้
อาตมาเห็นด้วยว่าประเด็นหนึ่งที่ ส่งผลต่อความชอบธรรมทางการเมืองและ จริยธรรมของคุณอภิสิทธิ์อย่างสำคัญ ก็คือการสั่งให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารในวันที่ 14-19 พฤษภาคม (อาตมายอมรับว่าการไม่พูดถึงประเด็นดังกล่าว รวมทั้งการมีคนตายนับร้อยเป็นจุดบกพร่องของการให้สัมภาษณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะ เมื่อพูดถึงคุณอภิสิทธิ์) ในฐานะที่คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีย่อมปฏิเสธความรับผิดชอบไม่พ้นที่มี คนตายเป็นจำนวนมาก ส่วนจะมากหรือน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับผลการสอบสวนข้อเท็จจริงที่จะออกมา ไม่ว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรีหากมีคนตายมากมายเช่นนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อความ ชอบธรรมของเขาอย่างแน่นอน (อย่างน้อยก็ในฐานะผู้มีหน้าที่สร้างความสงบและ สันติสุขในบ้านเมือง) ในทัศนะของคนเสื้อแดงและคนจำนวน กรณีดังกล่าวได้ทำให้ความชอบธรรมของเขาลดน้อยลงจนไม่สามารถปกครองประเทศได้ แล้ว แต่อาตมาเห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวแม้ทำให้ความชอบธรรมของเขาลดลงมาก แต่ก็ยังเพียงพอที่จะปกครองประเทศต่อไปได้ เว้นเสียแต่ว่าการสอบสวนข้อเท็จจริงมีผลออกมาอย่างชัดเจนว่าคุณอภิสิทธิ์มี ความผิดในการสั่งการดังกล่าวหรือมีผลระบุว่าปฏิบัติการทางทหารครั้งนั้นเป็น การใช้กำลังเกินกว่าเหตุ นั่นหมายความว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรมในการเป็นนายกรัฐมนตรีของ ประเทศนี้อีกแล้ว

คุณภักควดีพูดถึงลูกสาวของตนซึ่งตั้งถามคุณภัควดี ว่า “ทำไมพระไพศาลสามารถออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเช่นนี้ได้โดยไม่มีความ ผิด แล้วทำไมเมื่อพระชาวบ้านบางรูปแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หรือเพียงแค่อยู่ในที่ชุมนุมของคนเสื้อแดง ทำไมพระเหล่านั้นจึงมีความผิด?” คุณภัควดีไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ จึงนำมาถามอาตมาอีกต่อหนึ่ง อาตมาตอบได้แต่เพียงว่าคุณภัควดีถามผิดคน อาตมาไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้เนื่องจากไม่เคยพูดหรือเขียนที่ไหนว่า พระที่แสดงความเห็นทางการเมืองหรือพระที่อยู่ในที่ชุมนุมของคนเสื้อแดงมี ความผิด (เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) คนที่น่าจะตอบได้ดีคือคนที่ตัดสินว่าพระเหล่านั้นมีความผิดต่างหาก

ประเด็น สุดท้ายที่อาตมาอยากกล่าวถึงก็คือ ในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา อาตมาพยายามชี้ให้คนไทยตระหนักว่า ปัญหาความขัดแย้งที่ดำรงต่อเนื่องมาหลายปีนั้นเป็นอะไรที่มากกว่าปัญหาตัว บุคคล คุณทักษิณเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงรากเหง้าทางโครงสร้างที่ลึกกว่า นั้น ดังนั้นเราจึงควรมองให้เลยคุณทักษิณออกไป มีบทความหลายชิ้นที่ตอกย้ำประเด็นนี้โดยเฉพาะในมติชน ดังอาตมาได้พูดในบทความเรื่อง “จากดีทรอยท์ถึงเมืองไทย”ว่า

“คนชั้น ล่างที่รู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมนับวันจะมีมาก ขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่คนชั้นกลางส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงปัญหานี้เลย และไม่รับรู้ด้วยว่าคนชั้นล่างมีความคับข้องใจเพียงใดบ้าง เพราะอยู่ในกลุ่มก้อนหรือชนชั้นของตัว ดังนั้นจึงไม่อาจเข้าใจได้ว่าเหตุใดคนชนบทหรือคนยากจนในเมืองจึงชื่นชมคน อย่างพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีนโยบาย (และภาพลักษณ์) ที่ใส่ใจคนจนมากกว่าหัวหน้ารัฐบาลคนอื่น ๆ อย่างน้อยพรรคการเมืองของเขาก็ทำให้ชาวบ้านที่เป็นหัวคะแนนได้รับความเกรงใจ จากข้าราชการ ซึ่งเคยอวดเบ่งใส่พวกเขามาตลอด........การที่คนชนบทพร้อมใจหย่อนบัตรเลือก พรรคของพ.ต.ท.ทักษิณ (ไม่ว่าชื่อใดก็ตาม) อย่างล้นหลามหลังรัฐประหารปี 2549 (รวมทั้งการชุมนุมของคนเสื้อแดง) มองในแง่หนึ่งก็คือการแสดงความไม่พอใจต่อการเมืองการบริหารที่มองข้ามคนจน”

ข้อ เขียนดังกล่าวก็คงจะยืนยันว่าอาตมาไม่ได้เกลียดชังคุณทักษิณ นอกจากนั้นอาตมาไม่เคยคิดว่าปัญหาความขัดแย้งจะต้องแก้ที่จิตใจของผู้คน อย่างเดียว ดังได้เขียนในบทความเรื่อง “ปัญหาท้าทายและทางออกของสังคมไทย” (19 เมษายน 2552) ว่า “คนไทยจำเป็นต้องมีความเข้าใจปัญหาในเชิงโครงสร้าง สามารถมองเห็นถึงเหตุปัจจัยที่อยู่เหนือระดับบุคคล ว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเหตุปัจจัยที่อยู่ลึกลงไปในจิตใจ (เช่น การยึดติดอัตตา หรือตัณหา มานะ ทิฐิ) ความเข้าใจเช่นนี้จะทำให้เราไม่คิดถึงแต่การเทศนาสั่งสอน ขณะเดียวกันก็จะตระหนักว่าการใช้ความรุนแรงนั้น อย่างมากก็แก้ปัญหาได้แค่ชั่วคราว แต่สร้างปัญหาในระยะยาว ดังรัฐประหารครั้งล่าสุดเป็นตัวอย่างชัดเจน” http://www.peacefuldeath.info/article/?p=173

อาตมา เรียกร้องในข้อเขียนหลายชิ้นว่า จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดความรุนแรงไม่รู้จักจบสิ้น ดังเขียนใน “ทางหลุดพ้นจากกับดักแห่งควา