WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 3, 2010

แนวคิดพิชิตความยากจน

ที่มา ไทยรัฐ

ใน ทางตันของวิกฤติบ้านเมืองก็ยังมีความพยายาม ที่จะหาทางออก ไปสู่แนวทางในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ความเห็นของคณะกรรมการปฏิรูป ส่วนหนึ่งก็คือต้องให้ความรู้การศึกษาและพัฒนาแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไขในระยะยาวและยั่งยืน

ไม่ กี่วันที่ผ่านมา คุณประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังพูดถึงเรื่องการยกเครื่องเศรษฐกิจและการคลัง ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เสนอแนวคิด 3 ด้าน ที่จะพิชิตความยากจนของคนไทย

ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เกือบจะทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ มักจะบรรจุ นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน ไว้เป็นยาสามัญประจำบ้าน มีโครงการดีๆก็เยอะ แต่ยังไม่สามารถที่จะก้าวข้ามปัญหาความยากจนไปได้ มีบางอย่างจะต้องทำให้ดีขึ้นและเพียงพอที่จะแก้ปัญหาต่อไป

รัฐบาลที่ จะแก้ปัญหาโดยลำพังไม่ได้ แต่ต้องอาศัย 3 แนวทางที่จะกระจายรายได้ให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือการสนับสนุนภาคธุรกิจให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังของทุกฝ่ายทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และเอกชน ตลอดจนจะต้องสนับสนุนให้มีการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP

โครงการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP ที่ว่า จะช่วยให้สามารถระดมเงินทุนได้อย่างมหาศาล ช่วยให้ก้าวผ่าน ข้อจำกัดของกรอบวงเงินงบประมาณ ด้านการลงทุนของประเทศ และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของจำนวนหนี้ที่สูงเกินไป การลงทุนแบบ PPP จึงเป็นเครื่องมือสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศไปสู่อนาคตที่มั่น คง

จุดมุ่งหมายของรัฐบาลที่จะทำให้ คนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายใน 10 ปี แปลว่า จีดีพี ต่อหัวของคนไทย จะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ ประเทศสิงคโปร์เพิ่มรายได้ให้กับพลเมืองเพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายใน 5 ปีเท่านั้น

การพัฒนาแก้ปัญหาความยากจน ประเทศเพื่อนบ้านมีการพัฒนาที่เร็วกว่าประเทศไทยมาก นอกจากสิงคโปร์แล้ว รายได้ ต่อหัวของประชาชน ประเทศมาเลเซีย เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55 มากกว่าบ้านเราถึง 8 เท่า อินโดนีเซีย มีอัตราเพิ่มขึ้นของจีดีพี เร็วกว่าบ้านเรา ร้อยละ 50

เชื่อว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า มีการรวมตลาดอาเซียนกันแล้ว ทั้งแรงงาน เงินทุน สินค้า จะสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี นั่นหมายถึงประเทศไทยเราจะต้องเผชิญภาวะการแข่งขันที่รุนแรง

และแน่ นอนว่า ความเจริญเติบโต และความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับสถานะของประชาชนในประเทศด้วย ถ้าชาวบ้านยังเดือดร้อนเรื่องของปากท้อง มีปัญหาความยากจน ต่อให้ จีดีพีของประเทศจะโตไปแค่ไหนก็ตาม แต่ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศก็ยังตกต่ำในสายตาของชาวโลกอยู่ดี

เป็นประเทศด้อยพัฒนา.

หมัดเหล็ก