ที่มา บางกอกทูเดย์
29 พ.ย. ลุ้นคะแนนเสมอ?
ธรรมดา เสียที่ไหน กับการที่นายจรูญ อินทจาร และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีหนังสือขอถอนตัวจากการพิจารณาคดีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลรัฐ ธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์
เพราะเป็นการยื่นหนังสือในวัน ที่วันที่ 26 พ.ย. หรือเพียงแค่ 3 วัน ก่อนการแถลงปิดคดีด้วยวาจา และการตัดสินคดี ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้แล้ว
สำนัก งานศาลรัฐธรรมนูญ ระบุถึงเหตุผลในการขอถอนตัวในครั้งนี้ว่า เป็นเพราะได้มีการฟ้องคดีในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญาไว้ต่อศาลอาญาแล้ว
ซึ่ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่ มีเหตุจำเป็นอื่น อันมิอาจก้าวล่วงได้ จึงอนุญาตให้นายจรูญ อินทจาร ถอนตัว
ส่วนนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ไม่อนุญาตให้ถอนตัว
นั่น ย่อมหมายความว่าหลังจากที่นายจรูญถอนตัว จะทำให้เหลือตุลาการเพียง 6 คนในการพิจารณาวินิจฉัยในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายชัช ชลวร นายบุญส่ง กุลบุปผา นายจรัญ ภักดีธนากุล นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายสุพล ไข่มุกด์ และนายนุรักษ์ มาประณีต
เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ขอถอนตัวไปก่อนแล้ว
จึง ต้องถือว่าคดีนี้ไม่ใช่แค่เป็นคดีที่ลากยาวเท่านั้น แต่ยังเป็นคดีที่ส่งผลหรือสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้เกิดกับศาลรัฐธรรมนูญ เป็นอย่างมาก เพราะสังคมมองภาพด้วยสายตาขงอคนภายนอกแล้ว ล้วนเกิดความสงสัยว่า
อะไรกันนักกันหนา!!!
เพราะหากเปรียบเทียบกับคดียุบพรรคการเมืองอื่นๆในอดีตที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่รวดเร็ว ม้วนเดียวจบง่ายๆทั้งสิ้น
ไม่ เคยมีคลิปลับ ไม่เคยมีการขอถอนตัวเช่นกรณีของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้เลย จนทำให้มีการจับตามองกันเป็นอย่างมากว่า แล้วหลัจากนี้จะเป็นอย่างไร
เพราะ ทันทีที่เกิดการถอนตัวของนายจรูญ แม้แต่ในแวดวงพรรคร่วมรัฐบาล ยังมีการพูดกันกระหึ่มออกมาในทำนองว่า ขณะนี้เริ่มมีกระแสข่าวว่า การอ่านคำแถลงปิดคดียุบ ปชป. ด้วยวาจากรณีใช้กองทุนพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่คาดการณ์กันว่าศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำตัดสินไปในวันเดียวกัน
ซึ่งผลการตัดสินน่าจะออกมาว่า ปชป.ถูกยุบ
ส่วน หนึ่งสังเกตุจากการที่มีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อย่างผิดปกติ รวมทั้งมีกระแสข่าวว่าโบรกเกอร์บางรายที่สนิทสนมกับนักการเมืองต้องโทร.มา เช็คข่าวจากคนในรัฐบาลกันอุตลุดไปหมด
ขณะเดียวกัน ก็ยังมีข่าวลือภายในแวดวงพรรคร่วมรัฐบาลว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งหลุดปากกับคนใกล้ชิดว่าจะยุบ ปชป.พร้อมตัดสิทธิกรรมการบริหาร ปชป. 4 คน ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้า ปชป. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตเลขาธิการ ปชป. และนายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรองเลขาธิการ ปชป.
อย่างไรก็ตามมี กระแสสวนกลับด้วยเช่นกันว่าโอกาสที่ ปชป.จะถูกยุบพรรคนั้น มาในขณะนี้เหลือเพียงแต่ 40% เท่านั้น หลังจากที่เหลือตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่พิจารณาคดีนี้เพียงแค่ 6 คนเท่านั้น
นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้มีการแสดงความคิดเห็นด้วยความเป็นห่วงว่าการวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิ ปัตย์ ของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้อย่างน้อยคงต้องถูกตั้งคำถามจากสาธารณชน เนื่องจากว่าความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญไม่เหมือนเมื่อก่อน เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยคดีก็ต้องอยู่บนความเป็นเหตุเป็นผล
แต่ ครั้งนี้ เหมือนกับเป็นคราวเคราะห์ของตัวตุลาการ เพราะมีปัญหากับเรื่องคลิปและความน่าเชื่อถือที่สาธารณชน และคดีนี้เป็น คดีสำคัญเกี่ยวข้องกับการเมืองที่เป็นปัญหาหลักอยู่ภายในขณะนี้
“ผม เรียนด้วยความเป็นห่วงว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องวินิจฉัยคดีให้ดี ในที่นี้คือวินิจฉัยคดีอย่างตรงไปตรงมา ต้องมีเหตุผลสนับสนุนอย่างหนักแน่นมั่นคง ถ้าการวินิจฉัยของศาลเป็นการวินิจฉัยที่ดีแล้ว อย่างน้อยความไม่น่าเชื่อถือที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในกรณีของคลิปก็อาจจะได้ กู้คืนกลับมาได้บ้าง แต่ถ้าคำวินิจฉัยออกมาไม่ดีไม่เหมาะไม่มีเหตุผล ตุลาการจะเจอกับวิกฤตหนักกว่าเรื่องคลิปอีก”
ซึ่งประเด็นที่มีการ ตั้งคำถามกันมาก ก็คือ หากมติของคณะตุลาการ 6 คน ออกมาเป็น 3 ต่อ 3 เสียง หรือเท่ากันระหว่างยุบกับไม่ยุบพรรค แล้วจะเดินกันต่อไปอย่างไร???
เพราะ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีการออกตัวว่า การขอถอนตัวของนายจรูญ อินทจาร คงไม่มีผลต่อการตัดสิน เนื่องจากคณะตุลาการฯที่เหลืออีก 6 คน สามารถทำหน้าที่ได้ สามารถให้คำวินิจฉัยได้
เพราะตามกฎหมายระบุว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลถูกต้อง เมื่อมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 5 คน
ฉะนั้นหากตุลาการรัฐธรรมนูญมีความพร้อม ก็สามารถที่จะตัดสินในวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายนนี้ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องหาตุลาการมาทดแทน
นั่น แปลว่าว่าหากจะต้องมีการหาตุลาการมาทดแทน นอกจากจะไม่ใช่เรื่อง่ายในการที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ ยังจะต้องมีการใช้ระยะเวลาด้วย ซึ่งจะมีการยืดคดีนี้ออกไปอีกด้วยหรือไม่???
นี่ จึงเป็นเหตุให้ในวันที่ 26 พฤศจิกายน มีการพูดเรื่องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กระหึ่มไปทั้งเมือง และมีการวิพากษ์วิจารณ์คาดเดาไปต่างๆนาๆ
แต่หากดูความนิ่งของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ตอบคำถามเกี่ยวกับแผนรองรับต่อการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณายุบ พรรคว่า ยังไม่ทราบ
“ถ้าศาลวินิจฉัยว่าไม่ผิดเรา ก็เดินหน้าทำงานต่อ ถ้าศาลวินิจฉัยว่าผิดเราก็ต้องดูว่าศาลตัดสินลงโทษใครอย่างไร เราก็ต้องยอมรับการตัดสิน คนที่ถูกตัดสิทธิ์ก็ต้องหมดสิทธิ์ไป คนที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ก็ต้องตัดสินใจอนาคตทางการเมือง แต่มั่นใจว่าสมาชิกพรรคที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ ก็ต้องรวมตัวกันเพื่อทำงานในทางการเมืองต่อไป”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า กรณีการตัดสินคดียุบพรรคหากฝ่ายบริหารต้องพ้นจากตำแหน่งไป คนถูกตัดสิทธิ์ก็ยังมีกลไกของรัฐสภาก็ต้องเลือกนายกฯคนใหม่ และดำเนินการต่อไป ทุกคนต้องยอมรับกติกา
ท่าทีที่นิ่งของนาย อภิสิทธิ์ และการที่ทีมสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ รวมแม้แต่กระทั่งนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่แสดงความเชื่อมั่นมากๆ ทำให้เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า เรื่องนี้สุดท้ายน่าจะออกมาเป็นคุณกับพรรคประชาธิปัตย์จริงๆหรือไม่???
และ ในแง่ที่ขณะนี้ จำนวนเสียงของตุลาการพิจารณษคดีนี้ เกิดเป็นเลขคู่ หลังจากมีการถอนตัวนั้น หากว่าเกิดฟลุ๊ก การลงคะแนนเสียงออกมาเท่ากัน อะไรจะเกิดขึ้น เพราะแม้แต่ในมุมของนักกฎหมายยังมองไม่ตรงกัน
มุม หนึ่งมองว่า หากเสียงเท่ากัน ก็ต้องมีการย้อนกลับไปสรรหาแต่งตั้งตุลาการขึ้นมาทดแทนใหม่ ให้มีเสียงที่สามารถตัดสินชี้ขาดได้โดยไม่มีการเสมอกันอีก
แต่แน่นอนว่าวิธีการเช่นนี้ย่อมต้องใช้เวลา อันจะมีผลให้การตัดสินคดีต้องขยับออกไปอีก
ขณะ เดียวกันก็มีมุมมองในทำนองที่ว่า ตามหลักกฎหมาย ผู้ถูกกล่าวหา ต้องถือว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ผิด ฉะนั้นหากไม่สามารถตัดสินได้ว่าผิดชัดเจน ก็ย่อมต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
ดังนั้นกรณีนี้ หากเสียงลงมติออกมาเสมอกัน ก็ควรยกประโยชน์ให้จำเลยไป !!!
ฉะนั้นจนถึงวินาทีนี้ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ยังต้องจับตาและลุ้นกันสุดชีวิตจริงๆ