WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 2, 2010

รัฐสภาให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ...ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยและเข้าสู่ลัทธิเผด็จการทางรัฐสภา

ที่มา มติชน



"ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ "อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลภาษีอากรกลาง เขียนบทความเรื่อง " รัฐสภาให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นสัญญาณล้มล้างรัฐธรรมนูญ ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยและเข้าสู่ลัทธิเผด็จการทางรัฐสภา" ส่งมาให้ "มติชนออนไลน์ "เผยแพร่

จาก ข่าวที่ปรากฏต่อสาธารณชน คณะรัฐมนตรีได้เสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับโดยอาศัยช่องทางตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 พร้อมทั้งได้มีการนำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนหรือ ( คปพร ) ฉบับของ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล 102 คน เข้าพิจารณาในสภาพร้อมกัน ปรากฏว่าร่างแก้ไขของคณะรัฐมนตรีได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ท่ามกลางความโกลาหลที่เกิดขึ้นในสภา

ด้วยความเคารพต่อมติของรัฐสภา ตามหลักวิชาการแล้ว การผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงการพิจารณาของรัฐสภานั้น มิได้พิจารณาถึงเหตุผลของญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญรวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญเป็นประเด็นสำคัญแต่อย่างใด รัฐธรรมนูญมาตรา 93-98 นั้น มีประวัติความเป็นมาของการเลือกตั้งที่ได้เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่กำหนดเขตเลือกตั้งเป็นเขตเล็กเลือกได้คนเดียว ซึ่งทำให้มีการทุจริตการเลือกตั้งโดยการซื้อเสียงได้ง่ายและการเลือกตั้งมี ความรุนแรง จึงได้มีการแก้ไขให้เป็นเขตเลือกตั้งเขตใหญ่ เลือกได้หลายคน เพื่อขจัดการซื้อเสียง ทำให้การทุจริตในการเลือกตั้งเป็นไปได้ยากขึ้น ( เพราะต้องใช้เงินซื้อเสียงมากขึ้น)

ในทำนองเดียวกันกับมาตรา 190 ก็มีประวัติความเป็นมาที่รัฐบาลใช้อำนาจในการทำสัญญากับรัฐต่างประเทศโดย ง่าย ก่อให้เกิดความเสียหาย ในทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน กับประชาชนอย่างรุนแรง จึงได้แก้ไขให้การทำสัญญากับรัฐต่างประเทศต้องได้รับความเห็นชอบของ รัฐสภา ก็เพื่อที่จะให้รัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนได้ตรวจสอบและเห็นชอบก่อน แต่รัฐสภาก็ได้ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งไปเหมือน เดิม จนถึงกับอดีตหัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลได้ออกมาพูดต่อสาธารณชนในทำนอง ว่า การเลือกตั้งเขตเล็กเป็นช่องทางการของโคตรโกงการเลือกตั้งและโกงทั้งโคตร ได้ โดยส่วนตัวท่านไม่เห็นด้วย แต่เมื่อเป็นมติของพรรคก็ต้องปฏิบัติตาม

และจากข่าวก็ปรากฏว่า นายกรัฐมนตรีได้ยอมรับรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้มีการแก้ไขในนามของพรรคประชาธิปัตย์ให้มีการเลือกตั้งเขตใหญ่เอง และมีข่าวออกมาว่าการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้มีเหตุผลแต่เพียงว่า พรรคร่วมรัฐบาลมีความประสงค์จะขอให้แก้ไข เหตุผลของญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 93-98 จึงเป็นการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการซื้อเสียงหรือโกงการเลือกตั้งได้ สะดวกยิ่งขึ้น

การที่รัฐสภาผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 93 - 98 ดังกล่าว จึงเป็นการผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสี่ยงต่อการทำลายโครงสร้างหลักการ ปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ การเลือกตั้งไม่เป็นหลักประชาธิปไตย เพราะสามารถซื้อเสียงโกงการเลือกตั้งได้โดยง่าย การผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคแรก ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งการต่อต้านของประชาชนโดยการชุมนุมโดยสันติวิธีในการผ่าน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 69

รัฐ ธรรมนูญมาตรา 291 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้เป็นสิทธิและหน้าที่ของกลุ่มบุคคลที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญคือ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งในห้าของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของ สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน การกำหนดให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้นั้น ก็เพื่อให้มีช่องทางให้รัฐธรรมนูญนั้นสามารถแก้ไขได้ เมื่อเกิดปัญหาการขาดดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภาของ สถาบันการทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารรวมทั้งสถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นที่ไม่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ฯลฯ อันเป็นข้อขัดข้องทางรัฐธรรมนูญ

หรือเป็นกรณีที่เรียกว่า Constitutional crisis ซึ่งจำเป็นที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญจึงได้บัญญัติมาตรา 291 เพื่อเป็นการเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว เพราะมิฉะนั้นรัฐธรรมนูญจะแก้ไขไม่ได้เลย นอกจากการปฏิวัติหรือรัฐประหารเท่านั้น

ตามหลักวิชาการหรือ หลักรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับ “สิทธิและหน้าที่” ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้น และรัฐธรรมนูญไม่ใช่เป็นกฎหมายที่จะบัญญัติให้ “ อำนาจหน้าที่ ” แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะได้แต่อย่างใดไม่ รัฐธรรมนูญจึงไม่มีบทลงโทษ รัฐธรรมนูญมาตรา 291 จึงเป็นกฎหมายบัญญัติให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวมี “สิทธิและหน้าที่” ที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็น “ อำนาจหน้าที่ ” ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ โดยมาตรา 291 วรรคสอง ได้บัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้กลุ่มบุคคลตามมาตรา 291 “ใช้สิทธิ”ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ โดยจะเสนอขอแก้ไขไม่ได้เลย เป็นการห้าม “ใช้สิทธิ” โดยเด็ดขาด

การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยกลุ่มบุคคลตาม มาตรา 291 จึงเป็นเรื่องของ “การใช้สิทธิ”ของกลุ่มบุคคลดังกล่าว และไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดที่บัญญัติให้กลุ่มบุคคลดังกล่าว “ใช้สิทธิ”แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราใดได้เลย เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่บัญญัติเกี่ยวกับ “สิทธิและหน้าที่” ของประชาชนไว้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญในทุกเรื่องทุกมาตราจึงมีผลกระทบต่อ “สิทธิและหน้าที่” ของประชาชนทั้งสิ้น เช่นการแก้ไขเขตเลือกตั้ง ก็กระทบกับ “สิทธิและหน้าที่” ของประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้งที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 การใช้สิทธิขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มบุคคลดังกล่าว นอกจากจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 291 แล้ว ยังต้องอยู่ในบังคับของการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยจะไปละเมิดซึ่ง “สิทธิและหน้าที่” ของบุคคลอื่นที่มีสิทธิอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญไม่ได้

เมื่อไม่มี กฎหมายมาตราใดในรัฐธรรมนูญที่ได้บัญญัติให้สิทธิแก่กลุ่มบุคคล ตามมาตรา 291 ที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แล้ว การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มบุคคลดังกล่าว จึงต้องอยู่ในบังคับของบริบทหรือคำประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งได้บันทึกไว้หน้าหมวด 1 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 อันเป็นเจตนารมณ์ตามมติของมหาชนที่จะต้องนำมาใช้บังคับในกรณีการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญด้วย เพราะปวงชนชาวไทยต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และต้องพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ ปี 2550 เพื่อธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ตามที่ได้บัญญัติไว้ในคำประกาศใช้รัฐธรรมนูญดังกล่าวเลย การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยกลุ่มบุคคลที่จะมีผลเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ได้นั้น ประชาชนจะต้องเห็นชอบในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียก่อนทั้งสิ้นตามหลักการตาม มติของมหาชนที่ได้กำหนดไว้ในคำประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และการแก้ไขนั้นจะแก้ไขตามอำเภอใจหรือตามความต้องการของกลุ่มคนใดกลุ่มคน หนึ่งไมได้โดยเด็ดขาด

เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยที่ ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหา กษัตริย์ตั้งแต่อดีต (รัชกาลที่ 7) จนถึงปัจจุบัน อำนาจอธิปไตยไม่ได้พระราชทานมาให้คณะบุคคลใดหรือให้แก่รัฐบาลชุดใด และสิทธิในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มบุคคลดังกล่าว จะต้องอยู่ในกรอบของคำประกาศใช้รัฐธรรมนูญ คือ การขอแก้ไขเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การขอแก้ไขเพื่อให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐได้อย่างเป็นรูปธรรม การขอแก้ไขเพื่อให้กลไกลสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา การขอแก้ไขเพื่อให้องค์กรศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดย สุจริตและเที่ยงธรรมฯลฯ ตามที่ได้มีบันทึกไว้ในคำประกาศใช้รัฐธรรมนูญเท่านั้น

ตัวอย่าง เช่น ฝ่ายบริหารไม่สามารถทำสัญญากับรัฐต่างประเทศได้ เพราะฝ่ายบริหารไม่มีดุลยภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพในการที่จะไปตกลงทำสัญญา กับรัฐต่างประเทศหากต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่นนี้ ก็ย่อมขอแก้ไขเพื่อให้เกิดดุลยภาพและประสิทธิภาพได้ มิใช่ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะความไม่มีประสิทธิภาพในตัวบุคคลของผู้ทำ หน้าที่ โดยไม่สามารถตีความได้ว่าอะไรเป็นสัญญา หรืออะไรไม่ใช่สัญญาที่จะต้องผ่านรัฐสภา หากบุคลากรไม่มีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่

กรณีจึงไม่ใช่เป็น เรื่องที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ต้องใช้บังคับตามรัฐธรรมนูญให้เข้มข้นขึ้น คือต้องให้ทุกเรื่องผ่านการตรวจสอบของรัฐสภาทุกเรื่อง เพราะบุคลากรที่ไม่มีประสิทธิภาพดังกล่าว จะนำความเสียหายให้แก่ประเทศชาติและประชาชนได้ทุกเมื่อและทุกกรณี และจะอ้างการเสียเวลาในการผ่านรัฐสภามาเป็นเหตุให้ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ ได้เลย เพราะสิทธิในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติมีความสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด การใช้สิทธิแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มบุคคลดังกล่าว จึงต้องอยู่ในเงื่อนไขตามที่บันทึกไว้ในคำประกาศใช้รัฐธรรมนูญเท่านั้น

การ แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่อยู่ในเงื่อนไขของคำประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะขอแก้ไขได้ และเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเข้าข่ายการล้มล้างรัฐธรรมนูญได้

กลุ่มบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่มีสิทธิที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะต้องการเอาใจพรรคร่วมรัฐบาล ในการที่จะส่งเสริมให้มีการทุจริตการเลือกตั้งโดยการซื้อเสียงเข้าในสภาได้ ง่ายขึ้น และไม่มีสิทธิขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะความสะดวกของรัฐบาลในการที่จะไปตกลงกับรัฐต่างประเทศได้ เพราะตามรัฐธรรมนูญมีหนทางอื่นที่รัฐบาลสามารถทำสัญญากับรัฐต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ดังนั้นการที่รัฐสภาผ่านร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญโดยที่ผู้ขอแก้ไข “ไม่มีสิทธิ” ที่จะขอแก้ไขได้แล้ว และการแก้ไขขัดรัฐธรรมนูญตามบันทึกคำประกาศให้ใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญและขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐ ธรรมนูญ และเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นสัญญาณของการล้มล้างการปกครองประเทศใน ระบอบประชาธิปไตย ล้มล้างรัฐธรรมนูญได้ทุกมาตรา ขึ้นอยู่กับกลุ่มบุคคลตามมาตรา 291 ต้องการจะล้มล้างมาตราใดและต้องการคงอำนาจไว้อย่างไร ก็ย่อมทำได้ทั้งสิ้น ซึ่งจะนำไปสู่เผด็จการทางรัฐสภาเต็มรูปแบบที่แย่ยิ่งกว่าการปฏิวัติ รัฐประหารเสียอีก

เพราะ สามารถปูทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ มิใช่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้โดยง่าย และการปฏิวัติ รัฐประหาร ประชาชนย่อมล้มการปกครองได้โดยง่าย เพราะไม่มีพื้นฐานอำนาจที่มาจากประชาชน แต่การล้มล้างการปกครองประเทศโดยลัทธิเผด็จการทางรัฐสภาเต็มรูปแบบ ประชาชนไม่มีโอกาสที่จะล้มล้างการปกครองลัทธิดังกล่าวได้เลย เพราะเป็นลัทธิที่อยู่บนพื้นฐานของอำนาจประชาชนที่เลือกตั้งเข้ามา ประชาชนเป็นเพียงเหยื่อของการเลือกตั้ง หรือเป็นเพียงวัตถุของการเลือกตั้ง หรือเป็นเพียงเศษสวะแห่งการเลือกตั้งในสายตาของผู้ใช้อำนาจรัฐที่มาจากการ เลือกตั้ง ไม่ว่าการเลือกตั้งนั้นจะได้มาโดยการซื้อเสียงด้วยเงิน ด้วยอามิสสินจ้าง หรือด้วยการใช้อำนาจรัฐบังคับขู่เข็ญก็ตาม เผด็จการทางรัฐสภาจะนำไปสู่การปกครองโดยกลุ่มคนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน

อันนำไปสู่ซึ่งลัทธิการปกครองของทรราชย์ในคราบของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น