WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 3, 2010

ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก (3)

ที่มา มติชน



โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

หมายเหตุมติชนออนไลน์: วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ จบการศึกษานิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) และนิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หมายเหตุจากผู้เขียน
: ความเห็นฉบับนี้เขียนขึ้นช่วงข้ามคืน ยังพร่องในความสมบูรณ์และหวังจะได้ปรับปรุงต่อไปในอนาคต หากผู้อ่านมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อติติง ขอน้อมรับฟังที่ verapat@post.harvard.edu. ประเด็นวิชาการบางส่วนของความเห็นในฉบับนี้ ได้เคยนำเสนอไว้แล้วในวิทยานิพนธ์ สืบค้นได้ที่ Google: "Verapat Harvard Paper" อนึ่ง "มาตรา" และ "กฎหมาย" ที่กล่าวถึงในความเห็นนี้ หมายถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 (สำเนาดูได้ที่ http://www.parliament.go.th/mp2550/asset/law_party.pdf) เว้นแต่บริบทจะแสดงเป็นอื่น
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ณ http://sites.google.com/site/verapat/ (ดูฉบับเต็มและภาคผนวกในเว็บไซต์นี้)

----------

2.2 เหตุผลเรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์

ศาล อธิบายในคำวินิจฉัย (หน้า 9-11) ว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ 144/ 2552 ในส่วนกรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคดีนี้ (กรณีเงิน 29 ล้านบาท) คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งตามรวมกันไปกับอีกข้อหา (กรณีเงิน 258 ล้านบาท) ว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก่อน แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการปรับบทบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้นเท่านั้น การที่นายอภิชาตได้ทำความเห็นส่วนตนในการลงมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นการกระทำในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง ความเห็นของนายอภิชาตในการลงมติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมติที่ประชุมคณะ กรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ศาลอธิบาย ต่อว่าการลงมติดังกล่าวแตกต่างจากการสั่งที่ให้นำเรื่องเข้าสู่ การพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ได้มีความเห็นเช่นนั้นก่อนแล้ว จึงเสนอความเห็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบความเห็นของ นายอภิชาตในการลงมติ ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง

ศาล สรุปว่า เมื่อนายทะเบียนพรรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบ พรรคประชาธิปัตย์ ตามมาตรา 93 การให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2553 จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาล รัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้


ผู้ทำความเห็นตั้งข้อสังเกตดังนี้


2.2.1 การให้เหตุผลดังกล่าว แท้จริงแล้วเป็นการเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ

ศาล ให้เหตุผลว่า นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ต้องแสดงความเห็นในรูปแบบที่เฉพาะที่แยกชัดเจนจากการลงมติในฐานะประธาน กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ทำความเห็นไม่แน่ใจว่าศาลนำหลักอะไรมาตีความว่า มาตรา 93 วรรคสองที่บัญญัติว่า "ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐ ธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน" หมายความว่า นายอภิชาต ต้องสวมสถานะนายทะเบียนพรรคการเมืองในรูปแบบเฉพาะที่ศาลพอใจ เพื่อแจ้งความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน โดยศาลก็มิได้ระบุว่ารูปแบบมีกฎเกณฑ์อย่างไร เช่นต้องทำเป็นหนังสือ หรือกล่าวโดยวาจาในที่ประชุมโดยแจ้งให้ทราบว่าตนกำลังแสดงความเห็นในฐานะนาย ทะเบียนพรรคการเมือง จากนั้นจึงกลับไปสนทนาในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง

ข้อ เท็จจริงสำคัญในคำวินิจฉัย (หน้า 7-8) ศาลรับฟังว่า ในวันที่ 12 เมษายน 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติสำหรับกรณีคำร้องในคดีนี้ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ (มีนายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งรวมอยู่ด้วย) ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิชาต ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา 93 วรรคสอง ศาลอธิบายต่อว่า 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มิได้เข้าประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ตามมาตรา 93 โดยถือว่าความเห็นส่วนตนของนายอภิชาตที่ลงมติไว้ในการประชุมคณะกรรมการการ เลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง

ผู้ทำความเห็นจำต้องนำ ประเด็นเรื่องมโนสำนึกในทางกฎหมายกลับมาถามว่า นายอภิชาตซึ่งเป็นนักนิติศาสตร์ที่กฎหมายให้ความไว้วางใจสวมหมวกสำคัญสองใบ ในเวลาเดียวกันเพื่อสามารถดำเนินภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมกัน สามารถมีมโนสำนึกในทางกฎหมายแยกเป็นสองมาตรฐาน มาใช้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีเดียวกัน ให้ปรากฏผลต่างกันในเวลาเดียวกันได้ กล่าวคือ ในวันที่ 12 เมษายน 2553 ศาลรับฟังว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา 93 วรรคสอง และในวันเดียวกันนั้นเอง ศาลกำลังบอกว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีมโนสำนึกแยกเป็นอีกหนึ่งมาตรฐาน โดยเห็นว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กระนั้นหรือ?

2.2.2 การเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ นอกจากจะก่อให้เกิดผลประหลาดแล้ว ยังเป็นการใช้อำนาจตุลาการเข้าไปกำหนดการทำงานภายในของคณะกรรมการการเลือก ตั้ง ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ระบบปฎิบัติภายในองค์กรก็เพียงพอที่จะเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 93 วรรคสองแล้ว กล่าวคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นตรงกัน โดยมโนสำนึกของนายทะเบียนพรรคการเมืองปรากฎชัดต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2553 แล้ว และต่อมาในวันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง มีมติเห็นชอบยืนยันอีกครั้ง

2.2.3 ในขณะเดียวกัน ศาลไม่ได้ให้คำอธิบายเลยว่า หากปล่อยให้การดำเนินการดังกล่าวดำเนินต่อไปแล้ว จึงถือเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญด้วยเหตุใด เช่น หากพิจารณาตามหลักความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) แล้ว การดำเนินการดังกล่าวโดยผู้ใช้อำนาจคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ใช้อำนาจละเมิดกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อได้มาซึ่งเป้าหมายที่ อาจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม โดยริดรอนสิทธิเสรีภาพ สร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไร หรือ การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อระบบการใช้อำนาจระหว่างนาย ทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างไร และที่สำคัญเมื่อพิจารณาตามหลักความได้สัดส่วน (proptionality principle) แล้ว การนำข้อขัดข้องที่ศาลพบเห็นและไม่ได้มีระบุไว้ชัดในกฎหมาย มาเป็นเหตุให้กระบวนการยุติธรรมชะงักงันและเดินต่อไปไม่ได้ ดูประหนึ่งเป็นการทอดทิ้งเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหวังให้มีการตรวจสอบพรรค การเมืองยิ่งนัก

2.2.4 สมมติว่าเรายอมรับตรรกะของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรก 3 เสียง ที่เน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบมากกว่าสาระนี้ ผู้ทำความเห็นก็อดคิดไม่ได้ว่า ณ วันนี้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะอาศัยเหตุผลที่เข้มงวดในทางรูปแบบดังกล่าวกลับไป ให้ความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งได้หรือไม่ โดยตีความตามคำวินิจฉัยของศาลว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ นายทะเบียนพรรคการเมืองเอง ก็ยังไม่เคยแจ้งให้ใครทราบโดยชัดเจนว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์ได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนแล้ว หรือไม่ เมื่อใด มีแต่แสดงออกผ่านการลงมติและความเห็นในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง อีกทั้งการยื่นคำร้องให้ศาลในคดีนี้ ศาลเองก็วินิจฉัยว่ากระบวนการไม่ชอบ ก็ย่อมต้องตีความโดยเน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์แม้อาจจะได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนในทาง สาระ แต่ก็มิได้ปรากฏโดยชอบในทางรูปแบบ ดังนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมกลับไปเริ่มกระบวนการ ใหม่ได้หรือไม่?

2.2.5 สิ่งน่าอัศจรรย์ปรากฏอีกครั้งเมื่อตุลาการเสียงข้างมากผู้ทำคำวินิจฉัยเอง ได้มีมโนสำนึกในทางกฎหมายที่แยกเป็นสองมาตรฐานในคำวินิจฉัยเดียวกัน เพราะตุลาการเสียงข้างมาก 3 เสียง เห็นว่านายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องแสดงความเห็นเป็นรูปแบบ เฉพาะนั้น ต่อมาในการให้เหตุผลในส่วนตุลาการเสียงข้างมาก 1 เสียง ที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่ กฎหมายกำหนด กลับให้เหตุผลที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้

ใน คำวินิจฉัยหน้า 11-12 ศาลกล่าวว่า มีเหตุผลให้วินิจฉัยอีกทางหนึ่ง กล่าวคือกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา 93 วรรคแรกนั้น มาตรา 93 วรรคสอง มิได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเข้าเสนอความเห็นด้วยว่า พรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคแรกต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง ต่างจากกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา 94 ที่มาตรา 95 บัญญัติว่า เรื่องปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองและนายทะเบียนได้ตรวจสอบแล้ว กล่าวคือนายทะเบียนต้องตรวจสอบ แล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมความเห็นว่า พรรคการเมืองใดกระทำตามมาตรา 94 หรือไม่

สมควร เน้นอีกครั้งว่า หากกลับไปพิจารณาตรรกะของวิธิในการลงมติแล้ว หากเราลองพิจารณาสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็น สองกลุ่ม แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม แต่สาระในทางเหตุผลไม่ใช่แค่ไม่ตรงกันบางประเด็น แต่กลับหักล้างกันเองในทุกประเด็นหลักเสียแล้ว มติทั้งสี่เสียงอันขัดแย้งกันในสาระอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ ยากที่จะถือว่าเป็นมติเสียงข้างมากโดยชอบธรรมได้

3. ศาลควรปรับปรุงระบบการบริหารคดี

ไม่ ว่าเราจะเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือไม่ ผลจากคำวินิจฉัยก็เป็นตัวอย่างอันดีให้ผู้เกี่ยวข้องควรหันมาทบทวนระบบการ บริหารคดีของศาลว่า พอจะมีวิธีใดที่สามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรของชาติที่ทุ่มเทไปกับกระบวน การทั้งหมดได้หรือไม่ เช่น การพิจารณาคดีอาจแยกเป็นส่วน ส่วนแรกเรื่องเขตอำนาจและความชอบของกระบวนการยื่นคำร้อง ซึ่งพึงพิจารณาให้เสร็จก่อนที่จะทุ่มเวลากับการสืบพยานหลักฐานที่เป็น เนื้อหาสาระของคดี แน่นอนว่าการบริหารคดีที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ ศาลเองย่อมอาศัยความช่วยเหลือจากบรรดาเลขานุการและนิติกรที่มีความรู้กฎหมาย และมาทำงานประจำได้เป็นแน่ อนึ่ง ผู้ทำความเห็นอดคิดไม่ได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ หากนายทะเบียนพรรคการเมืองได้สืบสวนหรือค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจทำให้ ปรากฏซึ่งเหตุอันเป็นความผิด แต่เผอิญข้อมูลดังกล่าวไม่ได้อยู่รวมเป็นส่วนหนึ่งในสำนวนของคดีที่ฟ้องอยู่ ทั้งสองคดีเสียแล้ว ก็อาจมีการเริ่มกระบวนการให้ถูกต้องเสียใหม่ โดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา 82 ก็ดี 94 (4) ก็ดี ซึ่งกินความกว้างพอสมควร

4. คู่ความต้องมีโอกาสในการสู้คดีอย่างเต็มที่

ผู้ ทำความเห็นไม่ติดใจว่าประเด็นระยะเวลาสิบห้าวัน ศาลยกขึ้นพิจารณาเองได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือ การพิจารณาประเด็นดังกล่าวควรเป็นกรณีศึกษาว่า เมื่อศาลไม่ได้เปิดโอกาสให้คู่ความในคดีทราบได้แน่ชัดว่าในใจตุลาการแต่ละ ท่านคิดเห็นหรือสงสัยถึงประเด็นใดอยู่เป็นพิเศษ อีกทั้งการพิจารณาคดีโดยตุลาการตั้งคำถามสดก็มิอาจพบเห็นบ่อยนัก จึงน่าพิเคราะห์ว่า คู่ความในคดี ได้มีโอกาสนำเสนอข้อต่อสู้และตรวจสอบพยานหลักฐานในประเด็นเฉพาะเจาะจงที่ อยู่ในใจตุลาการอันเป็นประเด็นตัดสินคดีมากน้อยเพียงใด เพราะหากสุดท้ายกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินมาทั้งหมดติดอยู่กับเพียงประเด็น ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่และเมื่อเวลาใด หรือทำไปในฐานะใด ศาลก็สมควรให้คู่ความได้ทราบถึงความสำคัญของประเด็นเฉพาะเจาะจงดังกล่าว และคู่ความก็สมควรได้ซักถามนายทะเบียนพรรคการเมืองผู้นั้นต่อหน้าศาลอย่าง ละเอียด และนำเสนอข้อโต้แย้งในการตีความกฎหมายเรื่องระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับประชาชนที่จะได้ติดตามรับฟัง เพื่อสุดท้ายศาลสามารถรับฟังความอย่างรอบด้านและนำความจริงในห้องเปิดมา อธิบายให้ปรากฏ

แต่หากสุดท้ายความยุติธรรมคือกรณีที่หารือถือ เอาได้แต่เพียงในห้องปิด ซ้ำโดยอาศัยพยานสำคัญที่ตัวไม่ปรากฏแต่ส่งมาเพียงเอกสารเสียแล้ว ก็คงเป็นชะตากรรมของเรา ประชาชนชาวไทย ที่ต้องเลือกระหว่างการยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ หรือเรียกร้องสังคมที่ไม่เขินอายต่อความจริง

ไม่แน่ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ภาคต่อไป เราอาจได้เห็นกัน!

บทส่งท้าย

เหตุ แห่งกระแสความใส่ใจในความเป็นกลางและจริยธรรมของตุลาการนั้น ปรากฏพบเป็นครั้งคราว แต่เหตุอันพึงปรากฏโดยมิต้องอาศัยกระแส คือเรื่องความละเอียด แม่นยำ และแยบยลในนิติวิธีและหลักกฎหมาย ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการต่างเป็นผู้ใช้อำนาจของเรา แต่เราไม่อาจอาศัยกระบวนการทางการเมืองเพื่อคัดเลือก สนับสนุนหรือลงโทษตุลาการได้ดั่งที่เราพึงทำต่อนักการเมืองได้ อีกทั้ง การตรวจสอบตุลาการที่ผ่านมาปรากฏไม่ชัด ส่วนหนึ่งอาจด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญให้ตุลาการมีบทบาทสำคัญในการได้มาซึ่ง ส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบตุลาการ เสียเอง

สิ่งที่เราประชาชนพึงทำได้ คือติดตาม ใคร่ครวญ และกล้าหาญที่จะหวงแหนในเหตุผลและความยุติธรรมของคำวินิจฉัย เพราะความยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตยมิอาจดำรงได้ด้วยมาตรฐานทางเหตุผลหรือ คุณธรรมจำเพาะของคนบางกลุ่ม แต่ต้องฟูมฟักและงอกเงยจากสำนึกและประสบการณ์ของปวงชนที่สะท้อนผ่านกระบวน การและกฎหมายที่เรามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน

ครอบครัว คุณครู และมิตรสหาย ต้องร่วมกันกระตุ้นสำนึกดังกล่าวผ่านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน อย่างน้อยก็โดยปฎิเสธความมักง่ายที่จะนิ่งเฉยดูดายภายใต้เงาของความเป็นกลาง อันว่างเปล่า เราต้องเรียกร้องสถาบันวิชาการและสื่อมวลชนให้ยึดมั่นและกล้าหาญในการทำ หน้าที่เพื่อสังคม



ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก (2)
ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก (1)