WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 1, 2010

ผิดไม่ผิดไม่รู้? รู้แต่ชนะฟาล์ว

ที่มา บางกอกทูเดย์

ผิดไม่ผิดไม่รู้? รู้แต่ชนะฟาล์ว



เมื่อเส้นผมบังภูเขาได้
ปชป.ก็รอด!ไม่ถูกยุบ!
ในคดีความที่ต้องมีการวินิจฉัยตัดสิน อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น!!!
เพราะ ในซีกของโจทก์หรือฝ่ายผู้ร้อง ก็ย่อมเชื่อมั่นในหลักฐานว่ามีน้ำหนักมากพอที่จะชนะ ในขณะที่ทางฝ่ายจำเลย หรือฝ่ายผู้ถูกร้อง ก็เชื่อว่าจะสามารถสู้ได้ มีใครบ้างที่จะก้าวเข้าสู่คดีความโดยคิดว่าจะแพ้มาตั้งแต่ต้น... ย่อมไม่มีแน่นอน

คดีพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ ว่าใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาทผิดประเภท ก็เช่นกันทั้งฝ่ายผู้ร้อง ทั้งฝ่ายผู้ถูกร้องงัดประเด็นใส่กันอุตลุดไม่มีใครยอมใคร

แถมวุ่นวายเพ่นพ่านไปจนกระทั่งมีคลิปลับหลุดออกมา กระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปด้วยอย่างมากมาย

แต่ สุดท้ายในวันที่ 29 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นนัดแถลงปิดคดี ซึ่งผิดในส่วนของนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มอบให้ นายกิตตินันท์ ธัชประมุข อัยการคดีพิเศษ ฝ่ายสำนักคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้แถลงปิดคดี ส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้มอบหมายให้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายของพรรค เป็นผู้แถลงปิดคดี

ใช้เวลาแถลงปิดคดีกันอย่างเคร่งเครียด และกินเวลาเป็นชั่วโมงๆ
โดย เฉพาะอย่างยิ่งนายชวน หลีกภัย ถึงกับสวมวิญญาณนักการเมืองเจนสนาม แถลงปิดคดีชนิดที่เหมือนกับการอภิปรายในสภาอย่างไรอย่างนั้น จนนักกฎหมายหลายคนงงว่าเป็นการแถลงปิดคดีหรือเป็นการอภิปรายกันแน่?

สุด ท้ายหลังเสร็จสิ้นการแถลงปิดคดี และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยในช่วง 14.00 น. ความเครียดก็ยังคงปกคลุมบรรยากาศทั้งในซีกพรรคการเมือง และในภาคธุรกิจ ตลาดหุ้นตกกันหลายวัน

ซึ่งเมื่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยออกมาว่าคำร้องของ กกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่เป็นไปตามกรอบเวลา จึงมีมติให้ยกคำร้อง ด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 2 โดยไม่ต้องพิจารณาเนื้อหาในประเด็นความผิดอื่นๆอีกต่อไป
หลายคนถึงกับออกปากว่า ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นประเด็นเส้นผมบังภูเขาขนาดนี้!!!

เทียบ กันไม่ได้เลยกับความเครียดของบรรดาผู้นำในพรรคประชาธิปัตย์ เทียบกับความเครียดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่โดนคลิปลับ หรือแม้แต่บุคคลที่อยู่ภายในคลิปต่างๆ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องพบปะกันเลยด้วยซ้ำ

รวมทั้งทีมมือกฎหมายฉมังๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บอกว่าทุ่มเททำงานอย่างหนักมาตลอดเพื่อต่อสู้คดีนั้น กลับไม่มีใครมองเห็นถึงประเด็นในเรื่องกรอบเวลาของคำร้องเลยสักนิด

หาก มือกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ เห็นช่องนี้ตั้งแต่แรกก็คงไม่ต้องเครียดหนักเป็นเวลาหลายเดือนเช่นนี้แน่… ดังนั้นแม้จะชื่นชมกับความเหนียวแน่นของพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคการ เมืองเพียงพรรคเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่รอดพ้นจากการถูกยุบพรรค ถึง 2 ครั้ง 2 หน

แต่ในครั้งนี้ทีมกฎหมายประชาธิปัตย์ ก็โชว์ฟอร์มออกมาให้เห็นแล้วว่า มัวแต่สู้แบบไม่เห็นประเด็นชนะสบายๆมาตั้งนาน

อย่าง ไรก็ตามมุมมองของนักกฎหมายหลายคนยังอดเกิดความสงสัยไม่ได้ว่า หากมีในเรื่องของกรอบเวลาในการยื่นคำร้องมีปัญหา ทำไมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีการพิจารณาในประเด็นนี้มาตั้งแต่แรก และไม่รับคำร้องของ กกต.ตั้งแต่ต้น

ก็คงไม่เครียดกันทั้งประเทศเช่นนี้!!!
หรือ ว่าแม้แต่ในคณะตุลาการเอง ก่อนหน้านี้ก็มีคนที่มองไม่เห็นประเด็นนี้มาก่อน จึงปล่อยให้มีการสืบคดีกันอย่างมากมาย รวมทั้งแม้แต่ในการลงมติเองว่าเป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ปรากฏว่ายังมีเซียนกฎหมายอย่างนายชัช ชลวร ซึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญเอง

ยังมองว่าคำร้องไม่ได้มีปัญหา เพียงแต่ว่าเป็นเสียงส่วนน้อย จึงต้องถือตามเสียงส่วนใหญ่ว่าคำร้องไม่ถูกต้อง
แต่ การชนะโดยที่ไม่ได้มีการใช้ผลแห่งการสืบคดีเลยว่า ตกลงแล้วพรรคประชาธิปัตย์ผิดจริงหรือไม่จริงครั้งนี้ คงเป็นความคลุมเครือของภาพลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เชื่อว่าคงถูกกระแนะกระแหนบนถนนการเมืองไปอีกนาน ว่าไม่ได้รอดเพราะไม่ได้ทำผิดจริงๆ เนื่องจากไม่มีการตัดสินในประเด็นความผิด แต่เป็นการรอด เพราะคำร้องมีปัญหา???

เหมือนกับว่า นักมวยขึ้นชกกันจนครบ 5 ยก อยู่ระหว่างรอรวบรวมคะแนนจากกรรมการทุกฝ่ายว่าจะยกมือให้ใครแพ้ใครชนะ ปรากฏว่ากรรมการกลางบอกว่า นักชกคนหนึ่งอายุเกินแข่งขันไปแล้ว เพราะฉะนั้นให้ยก ไม่มีการตัดสินแพ้ชนะในการชก

แต่ให้อีกฝ่ายชนะฟาล์วไปเลย โดยไม่เกี่ยวกับคะแนนฝีมือการชกใดๆทั้งสิ้น

เพราะ ชนะรอดมาแบบปาฏิหาริย์แบบนี้ ก็สมควรแล้วที่นายอภิสิทธิ์ จะต้องรีบไปถวายพวงมาลัยพระแม่ธรณีบีบมวยผม... เฮงแบบนี้จะหาได้ที่ไหนอีกในประเทศนี้

ย้อนรอยความทรงจำ
คดียุบพรรคการเมือง
หลัง จากที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคดียุบพรรคการเมืองใหญ่ที่เข้าร่วมเป็นรัฐบาล

โดย จริงๆแล้วมีการร้องเรียนให้มีการยุบพรรคการเมืองเริ่มมาตั้งแต่การ เลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แล้ว กระทั่งในวันที่ 13 กรกฎาคม 2549 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติให้รับคำร้องขอ ให้ยุบพรรคการเมืองทั้ง 5 ไว้พิจารณาวินิจฉัย
จากนั้นเมื่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ หรือ คปค. ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 ได้มีการออกประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 3 ยุบทิ้งศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้นสิ้นสภาพลง

จากนั้นในวันที่ 1 ต.ค. 2549 ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มาบังคับใช้ และในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้มี “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ”ขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งก็คือชุดปัจจุบัน รับโอนคดียุบพรรคการเมืองที่ค้างอยู่ มาทำการไต่สวนต่อ จนนำไปสู่การพิจารณาคดียุบพรรคการเมืองในปี 2550 ปี 2551 และปี 2553

ปี 2550 มีการพิจารณา 2 กลุ่ม
กลุ่ม 1 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้ยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรค เป็นจำนวน 111 คน, 19 คน, และ 3 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี
รวมใช้เวลาพิจารณาคดี นับตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.-30 พ.ค.รวม 135 วัน
กลุ่ม 2 พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยุบ ยกคำร้อง ส่วนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าถูกยุบ
รวมใช้เวลาพิจารณาคดี นับตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.-30 พ.ค.รวม 133 วัน
ปี 2551 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยโดยมีคำสั่งให้ยุบพรรคทั้ง 3 พรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรค เป็นจำนวน 37 คน, 43 คน, และ 29 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี
โดยคดีพรรคพลังประชาชน อัยการส่งศาล รธน.วันที่ 10 ต.ค.ตัดสินวันที่ 2 ธ.ค. ใช้เวลารวม 54 วัน
สำหรับคดีพรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ใช้เวลานับจาก 23 ก.ย-2 ธ.ค.รวม 71 วัน
ปี 2553 มีการพิจารณาคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ใช้เวลาพิจารณา 139 วัน
สุดท้ายคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติ 4 ต่อ 2 ให้ยกคำร้อง
พรรคประชาธิปัตย์จึงรอดจากการถูกร้องให้ยุบพรรค เป็นครั้งที่ 2

ที่มาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
12 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แถลงผลลงมติยุบพรรคงพรรคประชาธิปัตย์
9 สิงหาคม 2553 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7 คน ออกนั่งบัลก์ไต่สวนพยานนัดแรกคดีที่ กกต.ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยกรณีที่กล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์
13 กรกฎาคม 2553 อัยการสูงสุดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
7 กรกฎาคม 2533 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นำโดย นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์นัดพร้อมคู่กรณีในคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองในฐานะผู้ ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
9 สิงหาคม 2553 นัดไต่สวนพยานผู้ร้องนัดแรก
18 ตุลาคม 2553 นัดไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกร้องนัดสุดท้าย
29 พฤศจิกายน 2553 นัดแถลงปิดคดี
29 พฤศจิกายน 2553 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติยกคำร้อง 4 ต่อ 2 เพราะการยื่นคำร้องไม่ตรงตามกรอบเวลา ดังนั้นจึงยกคำร้อง และไม่พิจารณาประเด็นอื่นๆอีกต่อไป

ผู้พิพากษาคดียุบพรรคการเมือง
ผู้พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองชุดแรก ในปี 2550 มีทั้งหมด 9 คน ดังนี้
นายปัญญา ถนอมรอด (ประธานศาลฎีกา เป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ)
นายอักขราทร จุฬารัตน (ประธานศาลปกครอง เป็นรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ)
หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
นายสมชาย พงษธา (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
นายนุรักษ์ มาประณีต (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
นายธานิศ เกศวพิทักษ์ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
นายจรัญ หัตถกรรม (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
นายวิชัย ชื่นชมพูนุท (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)

ผู้พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองชุดที่ 2 หลังรัฐประหาร 2549 มีทั้งหมด 9 คน ดังนี้
นายชัช ชลวร (ประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายจรัญ ภักดีธนากุล (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายจรูญ อินทจาร (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายเฉลิมพล เอกอุรุ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายนุรักษ์ มาประณีต (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายบุญส่ง กุลบุปผา (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายสุพจน์ ไข่มุกต์ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)

ผู้พิพากษาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ปี 2553
นายชัช ชลวร (ประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายจรัญ ภักดีธนากุล (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายนุรักษ์ มาประณีต (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายบุญส่ง กุลบุปผา (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายสุพจน์ ไข่มุกต์ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
สำหรับ มติ 4 ต่อ 2 เสียงไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยเสียงข้างมาก คือ นายจรัญ ภักดีธนากุล นายนุรักษ์ มาประณีต นายบุญส่ง กุลบุปผา และนายสุพจน์ ไข่มุกต์
ส่วนเสียงข้างน้อยคือ นายชัช ชลวร และ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี