ที่มา มติชน ศาลธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคหรือไม่ มีประเด็นวินิจฉัย5ประเด็น -กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคของผู้ถูกร้องชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ -การ กระทำของผู้ถูกร้องตามคำร้องอยู่ในบังคับพระ ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 หรือประราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพ.ศ.2550 -ผู้ถูกร้องใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนานักการเมืองในปีพ.ศ.2548 เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือไม่ -ผู้ถูกร้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในปีพ.ศ. 2548ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ -กรณี มีเหตุที่ให้ยุบพรรคผู้ที่ถูกร้องหัวหน้า พรรคและกรรมการบริหารพรรคจะต้องถูกตัดสิทธิหรือถูกทอดถอนสิทธิที่เลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541หรือประกาศปฎิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ เป็นพระประมุขฉบับที่27 พรรคการเมืองใดมีการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 82 หรือไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจนายทะเบียนนั้น มาตรา 82 เป็นเรื่องของการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองให้ถูกต้องรวม ทั้งการปฎิบัติงานทางด้านเอกสาร การจัดทำเอกสารต้องจัดทำรายงานให้ถูกต้อง รายงานประจำตามปกติ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่จะต้องดุแลปฎิบัติให้พรรคการเมืองทำตามหมายกำหนด อันเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนตรวจสอบ มาตรา 93 จึงเป็นหน้าที่นายทะเบียนยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนุญได้โดยตรง ซึ่งต่างจากการกระทำตามมาตรา 94 ซึ่งเป็นการกระทำในเรื่องที่ร้ายแรงกว่ามาตรา 95 จึงบัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้อัยการสุงสุดผู้มีความชำนาญด้านกฏหมายเป็นผู้ดำเนินการ ในการพิจารณาของนายทะเบียนกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องพิจารณาด้วยตนเอง นายทะเบียนจึงมีอำนาจที่จะแต่งตั้งหรือขอความเห็นจากผู้หนึ่งผู้ใดได้ รวมถึงการขอความเห็นจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก็สามารถทำได้ แต่การตัดสินใจในขึ้นนี้นั้น ยังคงเป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่จะต้องพิจารณาความเห็น ก่อนว่ามีเหตุให้ยุบพรรคการเมืองหรือไม่ คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ได้มีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดในเบื้องต้นว่า มีเหตุที่จะต้องยุบพรรคการเมืองนั้น ตามมาตรา 82 หรือไม่ แต่มีอำนาจให้เพียงแต่ความเห็นชอบตามที่นายทะเบียนเสนอเท่านั้น จากคำร้องของของผู้ร้อง คำชี้แจงและคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ในปัญหาข้อกฎหมายของผู้ถูกร้องประกอบกับคำร้องคัดค้านคำร้อง ขอวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของ นายอภิชาติ สุคขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2552 กรมสอบสวนคดีพิเศษ นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ ได้แจ้งนายทะเบียนพรรคการเมืองขอตรวจสอบว่า ผู้ถูกร้องกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 รวม 2 กรณีคือ 1.การที่ บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)จ่ายเงินค่าจ้างทำสื่อโฆษณาให้กับ บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด เป็นการอำพรางการบริจาคเงินของบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)ให้กับผู้ถูกร้อง และ 2.การใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองของ ผู้ถูกร้อง ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และรายงานการใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง หลังจากที่ได้รับแจ้งแล้ว นายอภิชาติ ได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้แต่งตั้งคระกรรมการสืบสวนสอบสวนในเรื่อง ดังกล่าว เพื่อรายงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ โดยมีนายอิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ทำการสืบสวนสอบสวนและตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็นว่า ผู้ถูกร้องมิได้กระทำผิดทั้งสองประเด็น โดยมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในประเด็นที่สอง ซึ่งเป้นมูลคดีของคดีนี้ และได้รายงานผลการสืบสวนสอบสวนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ ต่อ มาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมพิจารณา รางงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน แล้วมีมติด้วยเสียงข้างมาก ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการตามมาตรา 95 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ที่ไม่เกี่ยวกับมูลคดีนี้ ซึ่งจะต้องดำเนินตามมาตรา 93 การลงมติดังกล่าวนายอภิชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นเสียงข้างน้อยมีความเห็นและลงมติทั้งสองกรณีว่า 1.ข้อเท็จจริง ยังฟังไม่ได้ว่าบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)บริจาคเงินให้ผู้ถูกร้อง และ2.กรณีในการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมายและรายงานการ ใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นคำร้องตามคดีนี้นั้น นายอภิชาติมีความเห็นว่า จากการตรวจสอบรายงานเอกสารการใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์ ตามข้อมูลผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัท สำนักสอบบัญชีทรัพย์อนันต์ จำกัด ไม่พบความผิดปกติในระบบเอกสารแต่อย่างใด จึงเชื่อตามเอกสารที่ผ่านการตรวจสอบตามระบบแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้ จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์จริง ประกอบกับพยานหลักฐานในการสอบสวนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร คำให้การของนายประคอง สุนทรสุข แทนพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบกับพยานเอกสารที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้นำเงินสนับสนุนการเมืองจำนวน ดังกล่าว ใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีการขอปรับโครงการและได้รับการอนุมัติแล้ว จึงเป็นการเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อนของผู้กล่าวหา จึงให้ยกคำร้องคัดค้าน ตามความเห็นของคณะกรรมการการสืบสวนสอบสวน หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติดังกล่าวนายอภิชาติ ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อดำเนินการ ตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเสียงข้างมาก โดยมีม.ล.ประทีป จรูญโรจน์ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ตามกฎหมายนั้นนายทะเบียนย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการได้ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 6 วรรค 1 ต่อ มา วันที่ 12 เมษายน 2553 ประธานคณะกรรมาการได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมกับความเห็นเสนอต่อนายทะเบียน พรรคการเมืองในวันเดียวกันนั้น นายอภิชาติ ในฐานนะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้บันทึกความเห็นไว้ในท้ายหนังสือแจ้งผลพิจารณาของคณะกรรมการการตรวจสอบว่า พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่คณะทำงานของนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ รวบรวมเพิ่มเติมจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้เคยแต่งตั้ง คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนได้รวบรวมไว้ในเบื้องต้นอาจมีการกระทำตามมาตรา 94 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 หรือไม่ก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเห็นควรนำสู่การพิจารณามิติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาเรื่องโดยด่วน โดยผ่านประธานกรรมการการเลือกตั้ง นายอภิชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เรียกประชุมคระกรรมการการเลือกตั้งในวันที่ 12 เมษายน 2553 โดยได้นำผลของการตรวจสอบของคณะกรรมการดังกล่าว จากประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณา ที่ประชุมคณะกรรกมการการเลือกตั้งมีมติสำหรับกรณีคำร้องกรณีนี้ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคการเมืองผู้ถูกร้อง และมีมติเสียงข้างมากให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อม ด้วยหลักฐาน เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคของผู้ถูกร้อง ตามมาตรา 95 โดนนายอภิชาติในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่าให้นายทะเบียนพรรคการเมืองตามความเห็นชอบของ คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 ต่อ มาวันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมิได้เข้าประชุม ด้วย ที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์เห็นนชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 โดยถือว่าความเห็นส่วนตนของนายอภิชาติที่ลงมติไว้ในการประชุมของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นความเห็นของนายทะเบียน จึง มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ความเห็นของประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ลงมติไว้เป็นคำวินิจฉัยส่วนตน ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 นั้น เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่ เห็นว่า ถึงแม้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 6 วรรค 1 บัญญัติให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ พ.ร.บ.ดังกล่าวได้แบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนาย ทะเบียนพรรคการเมืองไว้ต่างหากจากกัน และบางกรณีจะบัญญัติให้คระกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองให้ อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมมือหรือถ่วงดุลกัน กรณีที่บัญญัติไม่เป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เช่น ตามมารตรา 74 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดสรรเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินหมุนเวียนและพัฒนาพรรคการเมือง กรณีตามมาตรา 81 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจกำหนดให้พรรคการเมืองได้รับการสนับสนุนด้านต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนกรณีที่บัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียน พรรคการเมือง ผู้เดียว เช่นตามมาตรา 42 และมาตรา 13 ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการนับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการ เมือง หรือมาตรา 41 ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่พิจารณาหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลง นโยบายพรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคการเมือง เป็นต้น สำหรับกรณีที่บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองมี อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมกันหรือถ่วงดุลกัน เช่นตามมาตรา 92 ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีพรรคการเมืองมีเหตุต้องเลิก ถ้าเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองจริง ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การเลิกพรรคการเมืองนั้น หรือมาตรา 93 วรรค 2 กรณีการยื่นดำเนินการคำร้องของให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง เนื่องจากพรรคการเมืองไม่ดำเนินการตามมาตรา 42 วรรค 2 หรือมาตรา 82 เป็นต้น พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ได้แบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ต่างหากจากประธานคณะ กรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่งที่ต่างกัน ทำให้มีภาระหน้าที่แตกต่างกันกันด้วย ปัจจัยที่จะนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์พิจารณาวินิจฉัยปัญหาใด ๆ ย่อมขึ้นอยู่กับตำแหน่งหน้าที่ที่ดำรงอยู่ในขณะนั้นว่ามีภาระหน้าที่อย่างไร การที่กฎหมายบัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้วินิจฉัยว่ามีการกระทำ ความผิดตามมาตรา 82 ตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 หรือไม่ ก็เนื่องมาจากนายทะเบียนพรรคการเมืองมีหน้าที่ในดูแลการปฏิบัติของพรรคการ เมืองให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นผู้ที่ทราบรายละเอียดการปฏิบัติของพรรคการเมืองเป็นอย่างดี ส่วนประธานกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพรรคการเมือง คงมีอำนาจเพียงตรวจสอบว่าความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองมีเหตุสมควรหรือ ไม่ ประเด็นการวินิจฉัยจึงต่างกันในสาระสำคัญ ถึงแม้ว่าวันที่ 12 เมษายน 2553 นายอภิชาติได้ทำความเห็นไว้สองความเห็น คือ ความเห็นที่ตัดสินสั่งให้ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยระบุไว้ชัดเจนว่า เป็นความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ส่วนความเห็นในการลงมติในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นการออกความเห็นในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อเท็จจริงย่อมแสดงให้เห็นว่าในวันที่ 12 เมษายน 2553 นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นเพียงว่า อาจมีการกระทำตามมาตรา 94 ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 หรือไม่ก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเห็นควรนำสู่การพิจารณาของมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา 82 และมาตรา 93 แต่อย่างใด ส่วน นายอภิชาติ ได้ทำความเห็นส่วนตนในการลงมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นการกระทำในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความเห็นนายอภิชาติในการลงความเห็นดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของมติที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การลงมติดังกล่าวจึงแตกต่างจากความเห็นต่างที่นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองที่ได้มีความเห็นเช่นนั้นก่อนแล้ว จึงเสนอความเห็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณาให้ความเห็นชอบ ความเห็น นาย อภิชาติในการลงมติในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง เพราะหากจะถือเช่นนั้นก็ปรากฎข้อเท็จจริงว่า นายอภิชาติได้ไปลงมติในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนหน้านั้น แล้วในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2252 ว่า ผู้ถูกร้องได้นำเงินสนับสนุนพรรคการเมืองไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีการขอปรับโครงการและได้รับการอนุมัติแล้ว ซึ่งหาได้มีการถือว่า ความเห็นในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าว เป็นความของนายทะเบียนพรรคการเมืองแต่อย่างใด อนึ่งการที่กฎหมาย บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำร้องใน คดีนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมหมายความว่าประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นคดีนี้ฉันใด การทำความเห็นส่วนตนของนายอภิชาติในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 จึงมิใช่ความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองฉันนั้น นอกจากนี้การตัดสินใจของนายอภิชาติในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองตามที่ปราก ฎในบันทึกข้อความ ในเอกสารหมาย ร13 นั้น ก็ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด หรือเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า ผู้ถูกร้องได้กระทำการอันเป็นเหตุให้ผู้ถูกยุบพรรคหรือไม่ แต่เป็นการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาว่า อาจมีการกระทำตามมาตรา 94 หรือไม่ ก็ได้ เท่านั้น และการกระทำตามมาตราที่ 94 เกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองผิดกฎหมายหรือการรายงานการใช้เงิน ไม่ตรงตามความเป็นจริง อันจะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 82 ที่จะเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองในมาตรา 83 แต่อย่างใด เมื่อนาย ทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูก ฟ้องตามมาตรา 93 แห่งพรรคการเมืองบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 การให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2553เป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจึงไม่มีผลทางกฎหมาย ที่ให้นายทะเบียนทางพรรคการเมือง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคผู้ถูกฟ้องได้ อนึ่งมี เหตุผลในการวินิจฉัยอีกว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ผู้ประสงค์ประกอบนายทะเบียนพรรคการเมือง ถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นการตรวจสอบภายในองค์กรด้วยกันเอง อันเป็นกฎหมายในวิธีพระราชบัญญัติที่กำหนดวิธีปฎิบัติ ยื่นคำร้องขอยุบพรรคการเมืองได้แล้วประกอบกับคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็น องค์การที่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนต่อข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้ง ที่เกิดจากการกระทำตามพระราชบัญญัติประกอบพรรคการเมืองตรงนี้เป็นรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 236 คณะกรรมการเลือกตั้งมีอำนาจควบคุมและกำกับดูแล นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาตามมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง และนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องยื่นคำร้องมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองในระยะเวลา ที่กำหนดเป็นกระบวนการ ในส่วนของกฎหมายพระราชบัญญัติที่ใช้บังคับ อยู่ในปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติประกอบพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 และมาตรา 95 นายทะเบียนต้องเสนอความเห็นด้วยว่าพรรคการเมืองใดมีความเห็นต่อการเลือกตั้ง ของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง นั้นข้อกล่าวหาตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2550 มาตรา 94 ที่มาตรา 95 บัญญัติว่านายทะเบียนต้องตรวจสอบกรณีนั้นด้วยอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนแล้ว เสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งพร้อมความเห็นว่า พรรคการเมืองใดจะทำตามมาตรา 94 หรือไม่โดยไม่ต้องคำนึงว่าต้องเสนอว่าเป็นความเห้นที่ต้องให้ยุบพรรคการ เมืองนั้นหรือไม่ สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฏหมายใช้ดุจพินิจของพรรคการเมืองและได้รับการตรวจ สองไตร่ตรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในกรณที่ให้ยุบพรรคการ เมือง นายทะเบียนเสนอความเห็นด้วยว่าพรรคผู้ถูกร้องมีเหตุผลในพระราชบัญญัติต่อรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 1 ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือไม่ก็ได้ เมื่อผู้ร้องได้รับหนังสือขอตรวจสอบพรรคผู้ถูกฟ้องของกรมสอบสวนคดีพิเศษและ นายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์แล้ว ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2552 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 48/2552 ตามด้วยเหตุผลว่าการตรวจสอบคณะกรรมการการเลือกตั้งกรณีไม่ใช่การตรวจสอบจาก นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยมีเหตุอันสมควรว่ามีการกระทำใดอันเป็นการฝ่าฝืน ให้ปฎิบัติตามกฎหมายดังกล่าวทั้งสองข้อกล่าวหามีมติคณะกรรมการชุดที่เป็น ประธานสืบสวนสอบสวนเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 ในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ 144/2552 ได้พิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 2 ข้อกล่าวหามีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากส่งให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 95 ทั้ง 2 ข้อกล่าวหา โดยผู้ร้องในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ร่วมลงมติเป็นความเห็นเสียงข้างน้อยให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้ง 2 ข้อกล่าวหา โดยไม่พบว่ากระทำผิดนั้น ความเห็นของผู้ร้องไม่ผูกพันคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพราะผู้ร้องต้องปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมติเสียงข้างมาก แต่โดยที่มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเสียงข้างมาก เป็นการพิจารณารวมกันไปทั้ง 2 ข้อกล่าวหา จึงต้องเป็นกรณีแยกพิจารณาแต่ละข้อกล่าวหาให้ชัดเจน เพราะมติกรณีข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 95 ถือได้ว่าเป็นมติเสียงข้างมากที่สั่งการให้ผู้ร้องพิจารณามีความเห็นก่อน แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาต่อไป เป็นข้อกล่าวหาที่นายทะเบียนเห็นชอบที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบก่อน เสนอความเห็นได้ ส่วนกรณีข้อกล่าวหา ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 1 การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งการรวมกันไปว่าให้ผู้ ร้องมีความเห็นก่อนแล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้น ต่อมาใน การประชุมครั้งที่ 41/2553 วันที่ 12 เมษายน 2553 ความเห็นของเสียงข้างมากให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงของทั้ง 2 ข้อกล่าวหาเกี่ยวพันกันจึงยังคงมีมติให้แจ้งผู้ร้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 95 เช่นเดิม โดยผู้ร้องและนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นให้ผู้ร้อง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 95 วรรค 2 และ ต่อมาในการประชุมครั้งที่ 43/2553 วันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีมติเอกฉันท์ที่ชัดเจน ยืนยันเห็นชอบให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 แสดงให้เห็นว่า มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นเห็นชอบให้ผู้ร้องยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 ตั้งแต่ วันที่ 17 ธันวาคม 2552 แล้ว โดยผู้ร้องไม่ จำต้องเสนอความเห็นก่อนอย่างใดกรณีนี้ถือได้ว่า คดีนี้ความได้ปรากฏต่อนายทะเบียนว่า พรรคผู้ถูกร้องมีกรณีตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 1 แล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้ง เห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้แล้ว และระยะเวลาที่ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 17ธ.ค.2552 อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติดังกล่าว การ ทีผู้ร้องมีคำสั่งที่ 9 /2552 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อตรวจสอบสำนวนของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ชุดนายอิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธานอีก แล้วผู้ร้องเสนอโดยไม่ได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องหรือไม่ประการใด เช่นเดิม และคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการประชุมครั้งที่ 47/2553 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เห็นชอบให้ผู้ร้องแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 94(3)(4)และมาตรา 65 ทั้งสองข้อกล่าวหาอีกครั้งหนึ่ง แม้ ว่าต่อมาวันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีมติเป็นเอกฉันท์ ในการประชุมครั้งที่ 43/2553 เห็นชอบให้ผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 นั้น กระบวนการดังกล่าวข้างต้นเป็นการตรวจสอบภายในองค์กร และเป็นเพียงการยืนยันการปรับบทบังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนภายในองค์กร ที่ยังคงต้องอยู่ภายในบังคับตามระยะเวลาที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 กำหนด ว่าต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงาน ของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติแต่งตั้ง นายอิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธานในครั้งแรก และถือว่าเป็นวันที่ความปรากฎต่อผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองด้วย เมื่อ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 26 เมษายน 2553 จึงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคของผู้ถูกร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบ ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องในประเด็นอื่นอีกต่อไป ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 ว่ากระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีนี้จึง ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในกรณีอื่นอีกต่อไปให้ยกคำร้อง
มติ ชนออนไลน์ ถอดแถบเสียงคำวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ที่อ่านโดยนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเวลา 14.10 น. ณ ศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้
การกระทำของผู้ถูกร้องตามคำร้องอยู่ ในบังคับพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยประกาศ พ.ศ.2541 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ผู้ร้องกล่าวหาว่าผู้ถูกร้องกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ต้องถูกยุบ พรรค ในช่วงเวลาพ.ศ.2547-2548 ในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมืองพ.ศ.2541 แต่ในขณะที่ยื่นคำร้องได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 แทน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ในส่วนของสารบัญญัติเกี่ยวกับเหตุที่จะยุบพรรคการเมืองในคดีนี้ จะต้องใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบพระราชธรรมนูญว่าด้วยพรรคการ เมืองพ.ศ.2541 ซึ่งใช้ข้อบังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุเป็นหลักในการพิจารณาวินิจฉัย
ใน กรณีพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา50/94นายทะเบียนมีความ เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแจ้งต่ออัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรามนูญ เพื่อมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง93/2ผู้ร้องยื่นคดีขอให้พรรคประชาธิปัตย์ที่ ถูกฟ้องตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา93 โดยอ้างว่าผู้ถูกร้องกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 82 ที่บัญญัติให้พรรคการเมืองต้องใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองให้เป็นไปตาม กฎหมาย แต่ต้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินนั้นให้ถูกต้อง ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ใช่กรณีร้องขอต่ออัยการสูงสุด ที่ยื่นตามมาตรา95/1