WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 2, 2010

สิทธิมนุษยชน : สิทธิที่แสวงหาความสุข

ที่มา มติชน



โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

ใน เอกสารการประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ.2319 (ตรงกับสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสิน) ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตก 9 ปี) มีข้อความที่ถือได้ว่าเป็นข้อความที่รู้จักกันดีที่สุดข้อความหนึ่งและมีผล สืบเนื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งต่อประวัติศาสตร์อเมริกันและประวัติ ศาสตร์โลก คือข้อความตอนหนึ่งที่ว่า

"We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable Rights, that among these are Life, Liberty and the pursuit of Happiness."

พากย์ไทยว่า

"เรา ยึดมั่นในความจริงที่ประจักษ์แจ้งอยู่ในตัวของมันเองเหล่านี้ คือมนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาให้เท่าเทียมกัน โดยพระเจ้าผู้สร้างได้ให้สิทธิ์ขาดที่จะเพิกถอนมิได้แก่บรรดามนุษย์ทุกผู้ ทุกนาม ดังต่อไปนี้ คือ สิทธิในชีวิต สิทธิในเสรีภาพ และสิทธิในการแสวงหาความสุข"

ข้อความในคำประกาศอิสรภาพของ สหรัฐอเมริกาที่เขียนขึ้นกว่า 230 ปีที่แล้วมานี้เอง เป็นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนที่อ้างอิงกันว่าเป็นกฎหมายของโลกในปัจจุบัน

การ ที่เรื่องสิทธิมนุษยชนได้พัฒนาเป็นเรื่องระดับชาติเป็นกรณีขัดแย้งกันในโลก นั้นเกิดขึ้นช่วงยุคปลายของสงครามเย็นที่ทางการสหรัฐอเมริกาได้หยิบยกเอา ปฏิญญาสากลว่าสิทธิมนุษยชนที่ประกาศใช้ในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2491 (ตรงกับวันรัฐธรรมนูญของไทยเลย จึงมีคนปากเสียบางคนพูดถึงความศักดิ์สิทธิ์ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษย ชนของสหประชาชาตินั้นศักดิ์สิทธิ์และมีประสิทธิภาพพอๆ กับรัฐธรรมนูญไทยทั้งหลายนั่นเอง) มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญโจมตีบรรดาประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพ โซเวียตเป็นผู้นำและใช้เป็นมาตรการบีบบังคับบรรดาประเทศเผด็จการทั้งหลาย อย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

ครับ! สำหรับสิทธิในชีวิต สิทธิในเสรีภาพนั้นไม่เป็นปัญหาอันใดเนื่องในบรรดากฎหมายนานาชนิดนับตั้งแต่ รัฐธรรมนูญและกฎหมายระดับรองๆ ลงมาของนานาประเทศต้องรับรองสิทธิทั้งสองนี้อย่างชัดแจ้งไม่มีข้อกังขาอยู่ แล้ว

นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2 ฉบับ สุดท้ายยังได้เพิ่มเติมเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เข้าไปในรายละเอียด ของสิทธิมนุษยชนอีกด้วยแต่ไม่ยักมีเรื่องสิทธิในการแสวงหาความสุขเลยแม้แต่ ใน พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายขององค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ เห็นได้จากมาตราสามของ พ.ร.บ.นี้ได้ให้คำนิยามของสิทธิมนุษยชนไว้ดังนี้คือ

"มาตรา 3 สิทธิมนุษยชนหมายความว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม"

การ ที่ละเว้นเรื่องสิทธิในการแสวงหาความสุข (แม้แต่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติก็ไม่ได้กล่าวถึง สิทธิในการแสวงหาความสุขเหมือนกัน) ในเรื่องสิทธิมนุษยชนและเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยทั่วไปนั้นก็เป็น เพราะว่าบรรดานักกฎหมายหรือนักสิทธิมนุษยชนที่ว่าแน่ๆ ทั้งหลายไม่รู้ว่าจะให้คำนิยามของความสุขว่าอย่างไร? ซึ่งความจริงนั้นคำว่า "ความดี" "ความงาม" ซึ่งเป็นหลักสำคัญของวิชาปรัชญาสาขาอัคฆวิทยา (Axiology) หรือทฤษฎีคุณค่า (Theory of Value) จะเอามาพูดกันง่ายๆ เหมือนบรรดาผู้ใหญ่คนไทยชอบพูดกันไม่ได้หรอกครับ เพราะหากเกิดมีคนตาใสดันถามขึ้นมาว่าความดีคืออะไร? หรือความงามคืออะไร? ก็จะได้วงแตกกันง่ายๆ

หากจะอ้างถึงคนแก่ชาวกรีกโบราณ 2 คนที่ใครๆ ในวงวิชาการชอบอ้างถึงเมื่อเกิดปัญหาว่า "ความดีคืออะไร?" จะมีคำตอบแบบสั้นๆ แต่ต้องอธิบายกันยาวมากดังนี้คือ

เพลโตบอกว่าความ ดี คือความยุติธรรม (Justice) ส่วนลูกศิษย์ของเพลโตคือ อริสโตเติล (คนนี้ดังพอๆ หรือดังกว่าอาจารย์เสียอีก) จะบอกว่าความดี คือ ความสุข (Happiness)

ครับ! หากจะรวบรัดก็คือคนที่เขียนคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาคือนายโทมัส เจฟเฟอร์สัน (ต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนที่สาม) แกเป็นคนที่ศรัทธานับถืออริสโตเติลอย่างเต็มที่ แกเลยเห็นว่าความสุขอยู่เหนือความยุติธรรม

ครั้นสหรัฐอเมริกาได้ เอกราชตั้งประเทศได้แล้วก็เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ (มีอยู่ฉบับเดียวละครับใช้มาสองร้อยกว่าปีแล้ว ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่) คราวนั้นนายเจฟเฟอร์สันไม่ได้เป็นคนเขียนรัฐธรรมนูญจึงไม่มีเรื่องการแสวงหา ความสุขอีกเลย หากแต่มีเรื่องความยุติธรรมและเรื่องศักดิ์ศรีมาแทน

แต่ทั้งความสุขกับความยุติธรรมก็ยังหาคำนิยามที่ตกลงกันเป็นสากลไม่ได้ทั้ง 2 คำ นั่นแหละครับ

ดัง นั้น จึงอย่าได้หวังอะไรจริงจังกับเรื่ององค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเลยครับ ตราบใดที่ยังตกลงกันไม่ได้ว่า "ความยุติธรรม" กับ "ความสุข" นั้นมันคืออะไรกันแน่