WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, November 28, 2010

ผ่านด่านรธน. ลุ้นด่านยุบพรรค

ที่มา ข่าวสด



รัฐบาลอภิสิทธิ์ ผ่านด่านสำคัญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปแบบ เฉียดฉิว

โดยเฉพาะร่างแก้ไขมาตรา 93-98 ว่าด้วยระบบเขตเลือกตั้ง ซึ่งหลายคนวิตกว่าอาจเป็นชนวนวิกฤตร้ายแรง

ถึงขั้นทำให้ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องตัดสินใจยุบสภา

ด้วย เหตุเพราะแต่ไหนแต่ไรมาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถูกตั้งป้อมคัดค้านอย่างหนักจากสมาชิกภายในพรรคนำโดยสองผู้อาวุโส นายชวน หลีกภัย และ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน

รวมถึงกลุ่มพันธมิตรฯ ที่เคลื่อนไหวต่อต้านนอกสภา

แต่จากผลคะแนนโหวตที่ออกมาสะ ท้อนว่านายอภิสิทธิ์ ยังสามารถกุมสภาพภายในพรรคไว้ได้

สลัดหลุดจากร่มเงาของ 'ชวน-บัญ ญัติ'

ที่สำคัญตั้งแต่เรื่องของการเคลื่อนไหวคัดค้านในประเด็นการทำเอ็มโอยูพื้นที่เขตแดนไทย-กัมพูชา มาจนถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

สิ่งที่เกิดขึ้นฉายภาพความหมาง เมินระหว่างนายกฯอภิสิทธิ์ กับแกนนำพันธมิตรฯ บางคนที่เคยเกื้อหนุนค้ำจุนกันมา

เป็นสัญญาณช่วงเวลาแห่งการตอบ แทนบุญคุณจบลงแล้ว

นับจากนี้ประชาธิปัตย์กับพันธมิตรฯ ตัวใครตัวมัน

อย่างไรก็ตาม ท่าทีนายอภิสิทธิ์ กับกลุ่มพันธมิตรฯ ยังไม่น่ากังวลใจเท่ากับท่าทีนายกฯอภิสิทธิ์ กับกองทัพเวลานี้

ซึ่งคุกรุ่นมาตั้งแต่นายกฯอภิสิทธิ์ ออกมารับลูกการแก้ไขรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการชุดนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ผลักดันเข้าสู่รัฐสภา

ไม่แยแสกับเสียงคัดค้านของกลุ่มพันธมิตรฯ

ยิ่งไปกว่านั้นนายกฯ อภิสิทธิ์ ยังมองการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ มีเจตนายั่วยุให้ทหารออกมาปฏิวัติ ล้มกระดานการเมืองอีกรอบ

ทั้งยังพูดเองเออเองว่าพร้อมยุบสภาดีกว่าปล่อยให้มีการปฏิวัติ

สร้างภาพความเป็นนักการเมืองที่ยึดมั่นวิถีทางระบอบประชาธิปไตยให้ตัวเอง

ขณะเดียวกันก็สร้างภาพในทางตรงกันข้ามให้กับกองทัพ

เรื่องของคนที่แอบอิงอยู่กับกลุ่มพันธมิตรฯ ต้องการให้มีการปฏิวัติ นั่นก็เรื่องหนึ่ง

อีกเรื่องหนึ่งคือกรณีนายกฯอภิสิทธิ์ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถาน การณ์ฉุกเฉิน หรือศอฉ. กรณีสั่งห้ามขายสินค้าของคนเสื้อแดง

และพยายามกดดันให้ศอฉ.ทบทวน

ก่อน หน้านี้นายกฯอภิสิทธิ์ เพิ่งจะสร้างภาพปล่อยตัวคนเสื้อแดงออกจากคุกมาหมาดๆ ซึ่งส่วนหนึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อตัวนายอภิสิทธิ์เอง แม้จะถูก มองเป็นการทำแบบผักชีโรยหน้าก็ตาม

การสั่งเบรกคำสั่งของศอฉ. จึงไม่แตกต่างจากกรณีการออกมาปูดข้อมูลปฏิวัติ

ที่สร้างภาพความเป็นนักปรองดองให้ตัวเอง แล้วโยนภาพผู้ร้ายให้ศอฉ.รับไปเต็มๆ

แม้ท้ายสุด ศอฉ.จะแถลงยอมยกเลิกคำสั่งดังกล่าว

แต่ก็ไม่ทันนายอภิสิทธิ์ ที่ฉวยโอกาสทำคะแนนจากเรื่องนี้ไปแล้วทั้งขึ้นทั้งล่อง

มีการตั้งข้อสังเกตกันมากว่า ในระยะหลัง นายอภิสิทธิ์ออกมาพูดถึงเงื่อนไขการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ให้ได้ยินบ่อยครั้ง

นอกจากอาการกลับหลังหันแบบ 180 องศา เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะประเด็นเขตเลือกตั้ง

ถูกมองว่าเป็นการซื้อใจพรรคร่วมรัฐบาล

นายอภิสิทธิ์ยังอาศัยความได้เปรียบในฐานะผู้กุมอำนาจฝ่ายบริหารและเงินงบประมาณประเทศ

ผลัก ดันมาตรการซื้อใจชาวบ้านออกมาเป็นระลอก อย่างมาตรการลดค่าไฟฟ้าให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 2 ล้านครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 51 จังหวัด

การผลักดันการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก 10-11 บาท เป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้ใช้แรงงาน

ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ตามมาทันทีว่าเป็นการหาเสียงล่วงหน้า

ตุนคะแนนนิยมปูทางสู่การเลือกตั้งใหม่

ตามเงื่อนไขที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้เองถึงกำหนดเวลายุบสภาเลือกตั้งใหม่

จะขอรอดู 2 เรื่องสำคัญ คือเสียงโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพผลักดัน

รวมทั้งบรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งซ่อม 5 เขต 5 จังหวัด

จะมีการเล่นนอกกติกา สร้างความรุนแรงหรือไม่

หากดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือว่าผ่านขั้นตอนสำคัญไปแล้ว

ส่วนการเลือกตั้งซ่อม 5 เขต 5 จัง หวัด ถึงบางเขตส่อเค้าความดุเดือด แต่น่าจะเป็นการเล่นแรงเพื่อเอาชนะกันในเกม มากกว่านอกเกม

ดังนั้น ถ้าวัดจากตรงนี้ การยุบสภาเลือกตั้งใหม่คงใกล้เคียงต้นปีหน้าตามที่นายอภิสิทธิ์ ปักธงไว้

เพื่อหลีกเลี่ยงความบอบช้ำจากการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านในการเปิดสภารอบหน้า

แต่ที่เป็นวิกฤตแทรกซ้อนเข้ามาก่อนกำหนด

คือคดียุบพรรคจากกรณีเงิน 29 ล้าน ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงปิดคดีวันจันทร์ 29 พ.ย.นี้

พร้อมกับข่าวแว่วมา ยังไม่รู้จริงหรือไม่จริงว่า ศาลรัฐธรรมนูญอาจมีคำวินิจ ฉัยในวันเดียวกันนั้นเลย

ทำให้บรรยากาศภายในพรรคประชาธิปัตย์ตึงเครียดขึ้นมาทันที

นายชวน หลีกภัย หัวหน้าทีมสู้คดีถึงกับต้องเรียกประชุมลูกทีม 3 วันติดกัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ก่อนวันแถลงปิดคดี

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์เหมือนคนปลงตก สู้มาขนาดนี้แล้วอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด

ถ้าศาลตัดสินให้ยุบพรรค พร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหาร

นายอภิสิทธิ์ก็ต้องพ้นจากเก้าอี้นายกฯ เป็นสุญญากาศ ให้สภาต้องเร่งรีบโหวตเลือกนายกฯ คนใหม่

รายชื่อตัวเก็งมีอยู่ 3 คน คือ นายชวน หลีกภัย นายกรณ์ จาติกวณิช และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งชื่อกำลังมาแรงแซง 2 ชื่อแรก

พิษสง ของคดียุบพรรคนี้ ยังทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องขอถอนตัวจากองค์คณะพิจารณาคดีไปแล้วถึง 3 คน คือ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายเฉลิมพล เอกอุรุ และล่าสุด นายจรูญ อินทจาร

ทำให้เหลือองค์คณะอยู่เพียง 6 คน เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดแค่ 1 คน

ยังไม่รู้จะมีผลกระทบต่อผลการตัดสินคดีอย่างไร

และที่สำคัญจะมีผลให้การยุบสภาตามเงื่อนเวลาเดิมต้นปีหน้าของนายอภิสิทธิ์ เปลี่ยน แปลงไปหรือไม่

หากนายกฯ คนใหม่เข้ามา