WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 1, 2010

ชำนาญ จันทร์เรือง: เมื่อเชียงใหม่จะจัดการตนเอง

ที่มา ประชาไท

หนึ่งในความเคลื่อนไหวที่ควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองสีเหลืองสีแดงที่หันมาจับมือกันกลายเป็นเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น (The Peaceful Homeland Network) อันทรงพลังของจังหวัดเชียงใหม่ที่ฝ่ายบ้านเมืองมองด้วยสายตาหวาดระแวงว่า อนาคตการบริหาราชการแผ่นดินจะเหลือเพียงการบริหารราชการส่วนกลางและการ บริหารราชการส่วนท้องถิ่นโดยไม่มีราชการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอีกต่อไป

การ เกิดขึ้นของเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นมีเหตุเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการ เมืองในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาที่ผู้คนต่างถูกแบ่งออกเป็นสีต่างๆซึ่งมีผล กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจสังคมเป็นอันมาก จึงเกิดการรวมตัวของนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งสังกัดในทั้งสีเหลืองและแดงหันหน้า เข้ามาพูดคุยกันอย่างเงียบๆโดยนักวิชาการที่รักสันติเป็นแกนกลางว่าเราไม่ สามารถปล่อยให้เชียงใหม่ตกอยู่ในสภาพของความขัดแย้งแบบนี้อีกต่อไป

หลัง จากมีการก่อตัวของเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นเกิดขึ้น ผู้คนที่มีความหวังดีต่อบ้านเมืองไม่ว่าจะเป็นสมาชิกหอการค้า สภาอุตสาหกรรม นักกฎหมาย นักวิชาการ สื่อมวลชน กลุ่มองค์กรปกครองท้องถิ่น กลุ่มอดีตนายทหารชั้นพลแกนนำทหารกองหนุน กลุ่มโชเชียลเน็ตเวิร์ค (เฟซบุค) กลุ่มเกษตรกร กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเอ็นจีโอต่างๆ ฯลฯ จึงได้มีการสัมมนาอย่างเป็นทางการขึ้นโดยการสนับสนุนของสถาบันส่งเสริมประชาธิปไตย (National Democratic Institute) เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาและตามด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการอีกหลายครั้ง

ผล จากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่มีความคืบหน้ามาตามลำดับนั้นได้ผลสรุปว่าเหตุ แห่งปัญหาทั้งมวลที่ทำให้บ้านเมืองของเรายังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควรไม่ ว่าจะเป็นด้านการเมือง ด้านธุรกิจหรือด้านภาคเกษตรกรรมก็คือปัญหาของการรวมศูนย์อำนาจของรัฐไทยนั่น เอง เครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นจึงมีมติร่วมกันว่าถึงเวลาที่จะได้เป็นแกนนำใน การขับเคลื่อนนโยบายท้องถิ่นจัดการตนเองดังเช่นในนานาอารยประเทศทั้งหลาย

การ จัดการตนเองในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะมุ่งไปยังความเป็นอิสระร้อย เปอร์เซ็นต์ดังที่ผู้ครองอำนาจรัฐทั้งหลายหวาดระแวงหรือใช้เป็นข้ออ้างในการ ปกป้องอำนาจของตนเอง แต่มุ่งไปที่การลดขั้นตอนของการบริหาราชการแผ่นดินและเพิ่มอำนาจในการตัดสิน ใจของท้องถิ่น

๑) จะจัดการตนเองในเรื่องอะไรบ้าง ประเด็นในการขับเคลื่อนได้มุ่งเน้นไปยัง

· การศึกษา

· เกษตรกรรม

· การท่องเที่ยว

· วัฒนธรรม

· สิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ

· ระบบภาษี/การเก็บภาษี/การจัดสรรงบประมาณ

· ตำรวจ

· สาธารณสุข

· สวัสดิการสังคม

· ผังเมือง

๒)โครงสร้างภายในจังหวัดควรเป็นอย่างไร

· ระบบบริหาร ที่ประกอบไปด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและกรรมาธิการภาคประชาชน

· ที่มาของฝ่ายแต่ละฝ่าย มีการระดมความเห็นเพื่อกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่และการออกจากตำแหน่งให้ชัดเจน

๓)การจัดความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลาง

· หัวหน้าฝ่ายบริหารของจังหวัดซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือในชื่ออื่นที่มาจากการเลือกตั้ง (ที่สามารถถูกประชาชนดุด่าว่ากล่าวและถูกปลดออกจากตำแหน่งได้) แทนที่การแต่งตั้งจากส่วนกลางเสมือนหนึ่งการไปปกครองเมืองขึ้นในยุคอาณานิคม

· หัวหน้าส่วนราชการต่างๆจะอยู่ในการกำกับดูแลของหัวหน้าฝ่ายบริหารของที่มาจากการเลือกตั้ง

· การปกครองท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) จะยังคงมีต่อไปหรือไม่ หากยังคงอยู่ต่อจะอยู่ต่อในลักษณะใดในองค์กรปกครองท้องถิ่นเพราะไม่มีการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอีกต่อไป

กระบวนการขับเคลื่อน

ในการขับเคลื่อนของกลุ่มบ้านชุ่มเมืองเย็นจะวิเคราะห์ระบบโครงสร้างเก่าให้เห็นถึงผลกระทบจาก การ รวมศูนย์ในปัจจุบัน โดยเชื่อมประเด็นเดิมว่ามีโครงสร้างและความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากร อย่างไร การก้าวเข้าไปสู่ระบบโครงสร้างใหม่และที่สำคัญที่สุดก็คือประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจาก การนำเสนอโครงสร้างใหม่นี้ โดยจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองซึ่งสามารถยกตัวอย่างประเทศที่ มีโครงสร้างหรือประวัติศาสตร์ใกล้เคียงกับไทย

ตัวอย่าง ที่สามารถนำมาเสนอให้เห็นความชัดเจนของการจัดการตนเอง เช่น การเป็นรัฐเดี่ยวและมีสถาบันกษัตริย์ของญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นไม่มีการบริหารราชส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด มีเฉพาะการบริหาราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นเท่านั้นและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ของจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งและดูแลส่วนราชการต่างๆ

อีก ตัวอย่างหนึ่งก็คือ อังกฤษที่มีการปกครองในระบอบรัฐสภามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเช่นกันก็ไม่ มีการบริหาราชการส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด หรือแม้กระทั่งเกาหลีใต้ที่ผ่านยุคเผด็จการมาเช่นเดียวกับไทยแต่ปัจจุบันนับ ตั้งแต่ปี ๑๙๙๕ เกาหลีใต้ก็มีเฉพาะราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเท่านั้นไม่มีราชการส่วน ภูมิภาคแต่อย่างใด

ที่ สำคัญก็คือฝรั่งเศสที่เราไปลอกรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคของเขามา ในปัจจุบันฝรั่งเศสรูปแบบการปกครองของภาคและจังหวัดก็กลายเป็นการปกครองส่วน ท้องถิ่นไปหมดแล้วมีประธานสภาภาคและประธานสภาจังหวัดเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ผู้ว่าราชการจังหวัดเดิมก็แปรสภาพไปเป็นผู้ตรวจการณ์แห่งสาธารณรัฐ (Commissioner of the Republic) แทนตั้งแต่ปี ๑๙๘๒ แล้ว

หาก การขับเคลื่อนโมเดลเชียงใหม่จัดการตนเองซึ่งเป้าหมายสุดท้ายคือการเสนอร่าง กฎหมายโดยประชาชนเข้าชื่อกันใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญประสพความสำเร็จแล้ว ก็เชื่อว่าจะเป็นการจุดประกายของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าใน ปัจจุบันของจังหวัดอื่นๆ

ป่วย การที่จะอ้างว่ายังไม่ถึงเวลาด้วยเหตุว่าประชาชนยังไม่พร้อม บัดนี้ ประชาชนพร้อมแล้วครับ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐเองต่างหากที่ยังไม่พร้อม ผู้ที่ขัดขืนกระแสโลกาภิวัตน์ของประชาชนย่อมที่จะเป็นฝ่ายถูกกวาดตกเวทีไป อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไปในที่สุด

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓