WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 3, 2010

สงครามเงินตรา อเมริกา vs จีน ในทรรศนะ "ฮาจูน ชาง"

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ



ฮาจูน ชาง กับหนังสือเล่มล่าสุด "23 เรื่องที่พวกเขาไม่บอกคุณเกี่ยวกับทุนนิยม"

ใน บรรดานักเศรษฐศาสตร์เกาหลีวัยกลางคนที่ "โกอินเตอร์" แถมบังอาจทวนกระแสหลักของเสรีนิยมใหม่/โลกาภิวัตน์อย่างคงเส้นคงวามาแต่ เนิ่น ไม่มีใครเกิน ดร.ฮาจูน ชาง (ถ้าเรียกแบบไทยๆ ก็คงต้องสลับเอาแซ่ขึ้นหน้าว่า "ชางฮาจูน") อาจารย์เศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ วัย 47 ปี (ดูเว็บไซต์ประวัติผลงานส่วนตัวของเขาได้ที่ www.hajoonchang.net/)

เขา ได้ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล มาต่อปริญญาโท-เอกด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ จบแล้วก็ถูกรับเข้าทำงานวิจัย-สอนหนังสือต่อที่นั่นเลย เป็นคนขยันมาก เขียนหนังสือมาแล้ว 13 เล่ม เป็นบรรณาธิการอีก 9 เล่ม ตีพิมพ์บทความลงวารสารวิชาการและเป็นบทตอนหนึ่งในหนังสือเล่มอีก 90 กว่าบท ได้รางวัลเศรษฐศาสตร์ระดับอินเตอร์มาแล้ว 2 รางวัล ได้แก่รางวัลกุนนาร์ มีร์ดาลสำหรับเอกสารเฉพาะเรื่องดีที่สุดประจำปี ค.ศ.2003 จากสมาคมเศรษฐศาสตร์การเมืองวิวัฒนาการแห่งยุโรป และรางวัลวาสสิลี เลออนติเอฟสำหรับการขยายพรมแดนความคิดเศรษฐศาสตร์ให้ก้าวหน้าประจำปี ค.ศ.2005 จากมหาวิทยาลัยทัฟส์ในอเมริกา หนังสือขายดีเป็นที่ฮือฮาของเขาก็เช่น: -

-Kicking Away the Ladder - Development Strategy in Historical Perspective (2002)

-Reclaiming Development - An Alternative Economic Policy Manual (2004 ร่วมเขียนกับ Ilene Grabel)

-Bad Samaritans - Rich Nations, Poor Policies, and the Threat to the Developing World (2007) และล่าสุด

-23 Things They Don"t Tell You About Capitalism (2010)

ใน โอกาสประธานาธิบดีบารัค โอบามา เข้าร่วมประชุดสุดยอดเอเปคที่โซลและโต้แย้งปกป้องมาตรการ Quantitative Easing 2 ("ผ่อนคลายเชิงปริมาณ" โดยธนาคารกลางสหรัฐปั๊มเงินอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ เข้าไปกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์ชั้นดีอื่นๆ "กดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว" ส่งผลลดค่าเงินดอลลาร์ลง) จากการถูกนานาชาติโวยวายโจมตีว่าเป็นการทำสงครามเงินตรา

แต่ในทางกลับกันโอบามาก็ไม่สามารถหาพวกมาร่วมกดดันจีนให้ขึ้นค่าเงินหยวนได้เมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน ศกนี้

ดร.ฮาจูน ชาง ได้ให้สัมภาษณ์รายการทีวี DemocracyNow! ของอเมริกาเพื่อไขข้อข้องใจทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อ 12 พฤศจิกายน ศกนี้ว่า (www.democracynow.org/2010/11/19/economist_ha_joon_chang_on_currency): -

ฮวน กอนซาเลส : ทีนี้ในแง่การถกเถียงเรื่องเงินตรา เห็นได้ชัดว่าสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในโลกได้กล่าวอ้างในเวทีระหว่างประเทศมาหลายปีแล้วว่าจีนไม่ยอมกำหนดค่าเงิน ตราของตนตามมูลค่าแท้จริงของมัน กระนั้นก็ตามมาตอนนี้ภายหลังธนาคารกลางสหรัฐเริ่มดำเนินการกว้านซื้อ พันธบัตรรัฐบาลเพิ่มและส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ต่ำลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จู่ๆ ข้อกล่าวหาอันนั้นกลับกำลังถูกตั้งกับสหรัฐเอง ใครเป็นฝ่ายถูกล่ะครับทีนี้? และบทบาทของประเทศตลาดเกิดใหม่ในโลกที่สาม รวมทั้งสหภาพยุโรปในการถกเถียงนี้เป็นอย่างไร?




ฮาจูน ชาง : ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้นะครับว่าทำไมชาวอเมริกันถึงหงุดหงิดกับความล่าช้า ในการปรับตัวของเงินตราสกุลจีน แต่เอาข้อเท็จจริงให้ถูกต้องแม่นยำก่อนดีกว่าว่ามันก็ถูกปรับอยู่นะครับ เพียงแต่ออกจะช้าเอามากๆ

ดังนั้น มันก็ไม่เชิงว่าหัวเด็ดตีนขาดอย่างไรจีนก็ไม่ยอมขยับเอาเลยทีเดียวแต่ก็ใช่ ล่ะครับว่าเบื้องหน้าสภาพความไม่สมดุล (ทางเศรษฐกิจ) ที่สหรัฐเผชิญอยู่นั้น มันช่างดูอืดอาดล่าช้าทรมานใจเสียเหลือเกิน

แต่มองในมุมจีน คุณต้องเข้าใจเรื่องนี้นะครับว่า ประการแรก พวกเขาไม่ต้องการปรับแบบฉุกละหุกฉับพลันอย่างที่ญี่ปุ่นต้องทำกับเงินตรา สกุลของตัวในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ในสิ่งที่เรียกว่าข้อตกลงพลาซ่า ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดฟองสบู่การเงินมหึมาตามมาและทำลายเศรษฐกิจญี่ปุ่นลง ดังนั้น จีนจึงต้องการทำแบบช้าๆ

ประการที่สอง ก็อย่างที่คุณเองเพิ่งบอกตะกี้ ไม่ใช่มีแต่จีนที่ "บิดเบือนฉวยใช้" ค่าเงินของตน การที่ธนาคารกลางสหรัฐปล่อยเงินไหลท่วมเศรษฐกิจอเมริกันก็เป็นการบิดเบือน ฉวยใช้ค่าเงินตราเหมือนกันนั่นแหละ ฉะนั้นก็ชอบแล้วที่จีนจะขัดเคือง

ทว่า ในอีกแง่หนึ่ง ปัญหาก็คือนับแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา เราอยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่าประเทศที่ขาดดุลเท่านั้นที่ต้องปรับตัว ความจริงประเทศที่เกินดุลก็ควรต้องปรับตัวด้วยเหมือนกัน แต่ใน 30 ปีหลังมานี้ ความคิดหลักที่เป็นเจ้าเรือนก็คือใครก็แล้วแต่ที่ใช้จ่ายเงินเกินตัวต้องถูก ลงโทษ

ไอ้นี่แหละครับเป็นตรรกะที่อยู่เบื้องหลังการลงโทษ บรรดาประเทศโลกที่สาม ในภาวะวิกฤตหนี้สิน (ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980) รวมทั้งเศรษฐกิจของเหล่าประเทศเอเชีย (ในวิกฤตต้มยำกุ้ง) และเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา (ค.ศ. 2001-02) ในเวลาต่อมา

ฉะนั้น ในความหมายนั้น ไอ้สิ่งที่สหรัฐได้เพียรพยายามยัดเยียดให้กับโลกก็กำลังกลับมาหลอกหลอนตัว เองแล้วตอนนี้ เพราะสหรัฐเองนั่นแหละที่คอยสะแหลนแจ๋นออกหน้านำเสนอตรรกะที่ว่าประเทศขาด ดุลเท่านั้นที่ต้องปรับตัว และตอนนี้ประเทศอื่นๆ เขาจึงชอบธรรมที่จะพูดบ้างว่า "แล้วทีนี้ทำไมลื้อไม่ทำอย่างเดียวกันมั่งล่ะ?"

กอนซาเลส : แต่ในแง่ของเงินตรา - ทุนอเมริกันที่กำลังไหลบ่ามุ่งหน้าข้ามน้ำข้ามทะเลเพราะรัฐบาลสหรัฐกดอัตรา ดอกเบี้ยที่นี่ไหลรูดต่ำลง - ส่งผลให้ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่หลายประเทศที่แน่ๆ คือบราซิล, อินเดียและที่อื่นๆ กำลังพากันหันมาหาทางป้องกันแข็งขันยิ่งขึ้นไม่ให้เงินเก็งกำไร

โดย พื้นฐานพวกนี้ไหลเข้ามาในเศรษฐกิจของตน คุณคิดว่ามันจะพัฒนาไปอย่างไรและยุโรปซึ่งเป็นพลังอำนาจยักษ์ใหญ่อีกพลัง หนึ่งในเวทีเศรษฐกิจโลกจะแสดงปฏิกิริยาตอบโต้การถกเถียงระหว่างบรรดาประเทศ ตลาดเกิดใหม่กับสหรัฐในเรื่องการควบคุมเงินตราอย่างไร?

ชาง : ก่อนอื่นต้องมองปัญหานี้ในมิติที่ถูกต้องเหมาะสมครับ สาเหตุที่ธนาคารกลางสหรัฐต้องดำเนินการผ่อนคลายเชิงปริมาณขนานใหญ่ก็เพราะ ระบบการเมืองอเมริกันไม่สามารถตกลงกันให้ใช้จ่ายงบประมาณขาดดุลสืบต่อไป ดังนั้น ภาระการปรับตัวทั้งหมดจึงตกหนักอยู่กับนโยบายการเงินและนี่แหละครับคือราก เหง้าของปัญหา ฉะนั้น ในแง่หนึ่งการผ่อนคลายเชิงปริมาณก็อาจจะไม่ใหญ่โตขนาดนั้นถ้าหากฉากการ เมืองอเมริกันเป็นไปในลักษณะที่สามารถใช้งบประมาณรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ ไปได้ แต่ฉากที่ว่านั้นคงจะไม่เกิดขึ้นหรอก เราก็เลยติดแหง็กอยู่กับสถานการณ์แบบนี้

คราวนี้ในเมื่ออัตรา ดอกเบี้ยต่ำและมีสภาพคล่องปริมาณมหาศาลถูกปล่อยเข้าสู่ระบบ, เงินเหล่านี้จำนวนมากกำลังไหลเข้าไปสู่กลุ่มประเทศที่เรียกกันว่าเศรษฐกิจ ตลาดเกิดใหม่ - ซึ่งก็คือประเทศกำลังพัฒนาระดับกลางนั่นเอง - ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นตกอยู่ในสภาพหมดหวังเลือดเข้าตาจริงๆ บางประเทศเห็นค่าเงินของตนเพิ่มสูงลิ่ว ซึ่งทำให้ส่งสินค้าออกลำบาก และประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็กำลังเริ่มจัดวางมาตรการควบคุมเงินทุนแล้วตอน นี้ นี่เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจมากเลยนะครับ เพราะไม่นานมานี้เองการควบคุมเงินทุนยังถือเป็นบาปมรณะอยู่เลย มาบัดนี้บางประเทศหรือแม้กระทั่งไอเอ็มเอฟเองก็ยังบอกว่า "บางทีเราควรจะวางมาตรการควบคุมเงินทุนซะ เพื่อว่าทุนเก็งกำไรจะได้ไม่ทำให้เศรษฐกิจของคุณไร้เสถียรภาพ"

กอนซาเลส : เวลาบอกว่า "ควบคุมเงินทุน" คุณหมายถึงอะไรกันแน่ครับ? เก็บภาษีเงินลงทุนและทุนการเงินที่เข้ามาจากนอกใช่ไหม? หรือจำกัดการถอนทุนกลับออกไป?

ชาง : มีชุดมาตรการที่จะดำเนินได้หลายอย่างใช่ครับประเภทที่หนักหน่วงที่สุดได้แก่ การที่คุณจะต้องขออนุญาตรัฐบาลเวลานำเงินเข้ามา และต้องขออนุญาตเวลาคุณเอาเงินออกไปเช่นกัน มาตรการแบบนั้นยังหายากสักหน่อย แต่หลายประเทศกำลังวางมาตรการอย่างเช่นข้อกำหนดเรื่องเงินฝาก หมายความว่าเวลาคุณนำเงินเข้ามา คุณต้องแบ่งเงินออกมาฝากไว้มีมูลค่าเท่ากับประมาณ 30 ถึง 50% ของเงินของคุณ ซึ่งคุณจะได้คืนเมื่อออกจากประเทศหลังเวลาผ่านไปปีสองปี แต่ถ้าคุณกลับออกไปก่อนกำหนดละก็ คุณจะเสียเงินที่ฝากไว้ไป....

กอนซาเลส : นั่นเพื่อเล่นงานการเก็งกำไรค่าเงินใช่ไหมครับ?

ชาง : ใช่แล้วครับ และอีกบางประเทศก็ได้เริ่มเก็บภาษีผลกำไรจากการลงทุนเอากับกระแสเงินทุนเก็ง กำไรเหล่านี้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามาตรการที่กำลังถูกใช้นี่น่ะหลากหลาย แต่ทิศทางแน่วแน่แจ่มชัด กล่าวคือไม่อาจจัดการกับเงินเก็งกำไรไหลเข้าเหล่านี้โดยกลไกตลาดได้ เพราะว่า - ที่พูดนี่ก็เพื่อให้เห็นมิติของมุมมองนะครับ - แม้แต่ตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาก็ยังมีมูลค่าไม่ถึง 1 หรือ 2% ของตลาดหุ้นสหรัฐเลย ดังนั้น เงินทุนหยดน้อยๆ ที่หยาดย้อยออกมาจากสหรัฐก็จะกลับกลายเป็นกระแสน้ำไหลบ่าเข้าท่วมท้น เศรษฐกิจเหล่านี้ ดังนั้น พวกเขาจึงจำต้องมีกลไกป้องกันตัวทั้งหลายแหล่ที่ว่ามา.....

กอนซาเลส : แล้วในแง่บทบาทของจีนกับเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ของเอเชียที่กำลังเติบโต รวมทั้งในแง่วิกฤตการเงิน คุณเห็นบทบาทของจีนแค่ไหนอย่างไรบ้างในหลายปีข้างหน้านี้?

ชาง : จีนเป็นกรณีพิเศษเฉพาะมากในความหมายที่ว่าตอนนี้กล่าวโดยทางการจีนเป็น เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับสองในโลกแล้ว แต่ในแง่รายได้ต่อหัวประชากร จีนยังอยู่แค่ระดับ 1 ใน 10 ของสหรัฐเท่านั้น ดังนั้น จีนก็เป็นเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องทำบางสิ่งบางอย่างที่แน่นอนเพื่อความสมดุลของโลก ฯลฯ

ทว่า กล่าวในแง่ภายในประเทศแล้ว จีนมีคนจนจำนวนมาก, มีรัฐสวัสดิการที่อ่อนแอและระบบการเมืองที่เปราะบางอย่างยิ่ง เสียจนกระทั่งเอาเข้าจริงจีนไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เรียกร้องต้องการการปรับตัวภายในประเทศอย่างมากมายได้ ที่เรื่องมันยุ่งก็ตรงนั้นล่ะครับ ตอนที่สหรัฐอยู่ในฐานะคล้ายจีนตอนนี้ (คือเป็นมหาอำนาจอันดับสองของโลก)

เมื่อสมัยปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 ต่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ระดับรายได้ของสหรัฐใกล้เคียงกับของประเทศที่ครองความเป็นเจ้าสมัยนั้นคือ อังกฤษ แต่ทุกวันนี้ เรากำลังประสบพบเห็นมหาอำนาจที่กำลังจะขึ้นครองความเป็นเจ้ารายใหม่ต่อไปภาย หน้า (หมายถึงจีน) ซึ่งยากจนขัดสนกว่ามหาอำนาจที่ครองความเป็นเจ้าอยู่ตอนนี้ (หมายถึงสหรัฐ) ณ ระดับรายได้แค่หนึ่งในสิบของฝ่ายหลังเท่านั้นเอง

เราก็เลยมีปัญหาใหญ่ล่ะครับเรื่องนั้นน่ะ