ที่มา มติชน ขณะนี้ได้ผลมากน้อยเพียงใดว่า การทำงานในลักษณะ 2P 2R นั้น เป็นกลไกที่ใช้เรียกในการทำงาน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในด้านของการทำงานแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ(One-Stop Service) ซึ่งหมายถึงว่าการทำงานแบบลักษณะ 2P 2R จะเป็นการเน้นให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบชัดเจนในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ในทุกขั้นตอนมีผู้รับผิดชอบในการทำงานแบบบูรณาการรวม และเป็นการเตรียมกระบวนการของการทำงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว มากขึ้น สำหรับการเตรียมการรับมือกับพื้นที่วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากนี้นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่วิกฤตได้มีการประชุมและสั่งการเพิ่มเติม โดยเฉพาะทางด้านการป้องกันล่วงหน้า (Prevention) ให้กลับไปดูทบทวนในส่วนของการพยากรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งให้กลับไปดูในเรื่องของกระบวนการเตรียมการของแต่ละจังหวัด ซึ่งตรงนี้จะเน้นในพื้นที่มากขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 29ก.ย.54 เวลา 13.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการตามนโยบาย 2P 2R ( P แรก คือ Preparation ด้านการเตรียมการ P ที่สองคือ Prevention การป้องกันล่วงหน้า R ที่หนึ่งคือ Response คือ การเผชิญเหตุ และ R สุดท้าย คือ Recovery การฟื้นฟู )
ส่วนได้ผลเป็นอย่างไรนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าว วันนี้เนื่องจากการขับเคลื่อนผ่านกลไกทั้งหมดทั่วประเทศต้องใช้เวลา จึงต้องค่อยๆ เคลื่อนจากในส่วนของศูนย์อำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) ซึ่งได้มีการตั้งอย่างเป็นรูปธรรมแล้วในการติดตามแก้ไขสถานการณ์ และจากในส่วนของศูนย์บัญชาการที่จะมีผู้รับผิดชอบในแต่ละกระบวนการหลัก ๆ แล้ว ในแต่ละขั้นตอนก็จะมีการกระจายลงไปในส่วนของภูมิภาคต่อไป
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงกรณีที่มอบหมายให้รัฐมนตรีลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบ ปัญหาอุทกภัยและให้พักค้างในพื้นที่ด้วยว่า ตรงนี้แยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการทำงานที่เรามีการบูรณาการในเรื่องของ 2P 2R นั้น เป็นการเตรียมการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็จะไม่ลืมในการแก้ไขปัญหา ส่วนที่ให้รัฐมนตรีลงไปในพื้นที่และพักค้างในต่างจังหวัดโดยเฉพาะใน 12 จังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมนั้น เพื่อที่จะได้ทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดในการสนับสนุน และรายงานกลับมายังนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว อีกทั้งเพื่อเป็นตัวแทนของนายกรัฐมนตรี ในการลงไปเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย เพราะบางครั้งไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นอาจจะไม่สามารถครอบคลุม พื้นที่ได้ จึงได้ขอความร่วมมือคณะรัฐมนตรี ลงไปพักค้างแรมในพื้นที่เพื่อที่จะได้มีโอกาสได้พบปะประชาชนมากขึ้น
ส่วนกรณีของจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้มีการแจ้งเตือนภัยและเฝ้าระวังไว้ แล้วแต่ยังมีปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นอีกสาเหตุมาจากอะไรนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ที่ได้มีการหารือกันในส่วนของการทำงานของจังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นข้อ คิดอย่างดี เพราะจากเดิมที่เราได้มีการประชุมทางไกลผ่านระบบ VDO Conference นั้น ทางจังหวัดเชียงใหม่ก็ทราบปัญหาและได้มีการเตรียมการรองรับแล้ว แต่อย่างไรก็ตามคงต้องไปดูว่าจากที่ได้เตือนภัย ปริมาณน้ำเป็นไปอย่างที่วางแผนไว้หรือไม่ และความสูงของเขื่อนเพียงพอหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปวิเคราะห์ร่วมกับผู้ว่า ราชการจังหวัดแล้ว
ส่วนเหตุที่เกิดขึ้นมีปัญหาในเรื่องของการป้องกันภัยหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีทั้งหมด ตั้งแต่เรื่องของการป้องกันภัยจะต้องไปดูว่า การเตือนถูกต้องหรือไม่ และอยู่ในระยะเวลาที่เตรียมการเรียบร้อยหรือไม่ ขณะเดียวกันเมื่อมาถึงขั้นตอนของการเตรียมการในพื้นที่ก็ต้องไปดูว่าได้ทำ ตามการตรวจสอบรายกิจกรรม(check list)ที่ส่งไปให้ครอบคลุมหรือไม่ เพราะบางครั้งเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นอาจจะทำไม่ครบขั้นตอนก็อาจจะทำให้การ เตือนภัยช้าลง รวมถึงกรณีการคำนวณปริมาณน้ำเพื่อทำคันกั้นน้ำอาจไม่สอดคล้องกับปริมาณน้ำ ที่จะไหลมาจริง เป็นต้น เพราะบางครั้งจะมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้หลายส่วนเราจึงนำข้อคิดตรงนี้กลับไป ทบทวนในส่วนคณะที่ทำงานใน 2P 2R ด้วย