WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 30, 2011

ทำงานสังคมสงเคราะห์ ยกไว้ขึ้นหิ้ง: อนาคต “ซูจี” หลังเลือกตั้งพม่า

ที่มา ประชาไท

-09-29 19:57

เนื่องในโอกาสครบรอบ 4 ปีของเหตุการณ์ปฏิวัติชายจีวร คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) และมูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า ร่วมกับ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Alternative ASEAN on Burma (ALTSEAN-Burma) ได้ จัดบรรยายสาธารณะหัวข้อ "รัฐบาลใหม่ใต้เสื้อคลุมพลเรือน, ออง ซาน ซูจี : อนาคตเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมพม่า" เมื่อ 27 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ ห้อง 301 ชั้น 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โดยมีวิทยากรประกอบด้วย ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Ko Zaw Aung หลัก สูตรการพัฒนาระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ดำเนินรายการโดย ดร.นฤมล ทับจุมพล, กรรมการ กรพ. และผู้อำนวยการหลักสูตรการพัฒนาระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยในช่วงท้ายของการเสวนา สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ได้อภิปรายถึงอนาคตทางการเมืองของออง ซาน ซูจีหลังรัฐบาลทหารพม่าจัดการเลือกตั้งเมื่อ 7 พ.ย. 2553 โดยสุภลักษณ์เสนอว่าทหารพม่าพยายามที่จะยกออง ซาน ซูจี “ขึ้นหิ้ง” เป็น “ลูกสาววีรบุรุษแห่งชาติ ทำงานสังคมสงเคราะห์” และอภิปรายเรื่องทิศทางที่กองทัพพม่ามีต่อกองกำลังชนกลุ่มน้อยในประเทศ โดยประชาไทจะทยอยนำเสนอการอภิปรายทั้งหมดต่อไป ในส่วนการอภิปรายช่วงท้ายของสุภลักษณ์มีรายละเอียดดังนี้

000





สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้ออง ซาน ซูจี เข้าไปมีบทบาทในทางการเมืองในฝ่ายบริหารอีกต่อไปแล้ว ซึ่งสถานภาพแบบนี้ ความจริงก็มีไอเดียมากในหมู่คณะทหารว่า ทหารพม่านะ ทหารไทยเล่าให้ฟัง ฟังหูไว้หูละกัน ทหารพม่าถ่ายทอดเรื่องนี้มาผ่านทหารไทย ผ่านรัฐบาลไทยมาถึงหูนักข่าวไทยว่า สิ่งที่เขาต้องการจะเห็นจากออง ซาน ซูจี คือฐานะของลูกสาววีรบุรุษแห่งชาติ ทำงานสังคมสงเคราะห์ ยกไว้ขึ้นหิ้ง นั่นคือสิ่งที่เขาต้องการ

ออง ซาน ซูจี ซึ่งผมเข้าใจว่าในระยะหลังๆ เธอก็ประนีประนอมกับแนวความคิดนี้ไม่น้อย คือออง ซาน ซูจี ดื้อเรารู้ เพราะคนอายุมากกว่าแม่เราดื้อทั้งนั้นแหละ แต่ว่าความดื้อรั้นเช่นว่านั้น อาจจะไม่สามารถ คือเนื่องจากด้วยวัยวุฒิที่ผ่านเลยไปมาก และก็ Back Up (ผู้ สนับสนุน) ของออง ซาน ซูจีคือพรรค NLD (พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD) ก็ถูกทำลายมากและไม่เข้มแข็งพอ นี่ไม่นับว่าในกองทัพระบบราชการของพม่าเองมีใครบ้างอยากให้ออง ซาน ซูจี บริหารประเทศ

เพราะฉะนั้นมองในแง่นี้ แน่ล่ะ ในการคุย 1 ชั่วโมงกับเต็ง เส่ง ผมไม่คิดว่าเขาแค่ยิ้มให้กัน Yes No OK How are you? คง ไม่ คงพูดมากกว่านั้น อย่างน้อยที่สุดคงพูดว่า จะ Engage กับบริบทสังคม การเมืองพม่าอย่างไร ถึงจะสมฐานะ และสมศักดิ์ศรี และมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีในสังคมเพียงพอ โดยที่ไม่สร้างความกระทบกระเทือนให้โครงสร้างทางอำนาจของระบอบทหาร หรือระบอบราชการ และ Arrangement ทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สภาพที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้คือการหาดุลยภาพระหว่างความสัมพันธ์ ของออง ซาน ซูจีกับกลุ่มอำนาจว่าจะทำอย่างไร ซึ่งบทบาทที่อาจจะเป็นไปได้ "Senior Citizen" (ราษฎรอาวุโส) เป็นยังไง อะไรประมาณนั้น ฟังดูคุ้นๆ แต่ออง ซาน ซูจี อาจจะมีบทบาทมากกว่านั้น เพราะออง ซาน ซูจี มีนานาชาติพยายามจะให้บทบาทออง ซาน ซูจี อย่างน้อยเท่าๆ กัน ถ้าดูสุ้มเสียงคือทุกคนไปพบเต็ง เส่งและออง ซาน ซูจี ขณะที่เมื่อก่อนนี้รัฐบาลพม่าไม่ให้พบออง ซาน ซูจี

เดี๋ยวอีกหน่อยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) ก็จะไปพบออง ซาน ซูจีเช่นกัน คงไปขอบคุณที่ออง ซาน ซูจีที่พูดจาสนับสนุนเธอ

แต่นั่นเป็นสัญลักษณ์ว่าการ Request พบออง ซาน ซูจี เป็นการบอกอย่างหนึ่งว่าทุกคนที่ Engage กับพม่า พยายาม Establish ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในทางการเมืองให้ออง ซาน ซูจีรับได้ ทั้งในแง่ผู้อยู่ในอำนาจ ตัวออง ซาน ซูจี และสังคมพม่า ว่าจะจัดความสัมพันธ์แบบนี้กันอย่างไร

ต่อสภาพแบบนี้ผมเข้าใจว่าความพยายามที่จะรื้อฟื้นความแข็งแกร่งของพรรค NLD คง ไม่มี อาจจะไม่จำเป็น หรือถ้าหากพรรค NLD จะทำในอนาคตอาจจะแยกตัวเองจากออง ซาน ซูจีให้ขาดกันไปเลยว่า การดำเนินงานของพรรค NLD ในฐานะพรรคการเมืองซึ่งก็ประสงค์อำนาจรัฐในที่สุด ก็ต้องดำเนินการเหมือนพรรคการเมืองทั่วๆ ไป ซึ่งมีจำนวนมากในพม่า แต่มีขนาดเล็กมาก นี่คือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น ผมอาจจะผิด แต่ผมตัดสินในการวิเคราะห์จากสภาพที่เป็นอยู่ หรือออง ซาน ซูจี อาจจะอยากเป็นประธานาธิบดีก็ได้ แต่รัฐธรรมนูญห้ามไว้ ต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อน ประธานาธิบดีคนต่อไป ถ้าเต็ง เส่งไม่ลงสมัยที่สอง อาจจะเป็นฉ่วย มาน (ประธานรัฐสภาพม่า) เขาเล็งกันไว้ขนาดนั้นแล้ว หรืออาจจะเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด นี่ก็จะเป็นการวาง Arrangement (ข้อตกลง) ทางอำนาจ เพราะฉะนั้นไม่มีออง ซาน ซูจีในสมการทางอำนาจหลังการเลือกตั้ง

หรือช่วงนี้ไม่มีแน่ หลังการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีไหม ถ้าสมมติว่ามันราบรื่นถึงขั้นนั้น เพราะฉะนั้นนี่คือปัญหาของออง ซาน ซูจี

ปัญหาชนกลุ่มน้อย ผมคิดว่าอาจารย์ดุลยภาพ อาจจะลังเลเวลาวิเคราะห์ว่า พวก Hardliner (สาย แข็ง) กับพวก Reformer (นิยมปฏิรูป)จะจัดการอย่างไร ผมเข้าใจว่ามันเป็นอย่างนี้มานานแล้วล่ะคือเป็น "Carrot and Stick" ตลอดเวลาสำหรับพวกนี้ พวกที่แข็งขืนไม่ยอมวางอาวุธก็เล่นมัน แล้วก็แบ่งแยกพวกที่ยอมวางอาวุธและสวามิภักดิ์ อาจจะใช้สูตรขิ่น ยุ้นต์ แต่มีการวิจารณ์กันมากว่าขิ่น ยุ้นต์โมเดลไม่ทำงานในบางกรณี ในบางกรณีไม่ทำงาน แต่ในแง่การเมืองมันทำงานนะ ทำให้ชนกลุ่มน้อยได้อภิสิทธิ์บางอย่างในโซนของเขา เช่น พวกคะฉิ่น เป็นพวกที่เคยได้ ได้กลุ่มแรกเลย ได้สัมปทาน ในกิจการหยกและพลอย พวกว้าเคยได้ ไทใหญ่บางกลุ่มเคยได้ แต่เมื่อสิ้นขิ่น ยุ้นต์ ความคิดที่จะให้พวกนี้อยู่ก็เปลี่ยน คือพวกชนกลุ่มน้อยเมื่อปกครองตัวเองในเขตตัวเอง อย่างเช่นว้า ไม่ยอมพูดภาษาพม่า ไม่ใช้เงินจ๊าต คือพูดภาษาจีน ใช้เงินหยวน คุณคิดว่าในฐานะที่เป็นรัฐคุณยอมได้หรือเปล่า คุณยอมไม่ได้ คะฉิ่นก็เหมือนกันสนิทกับฝั่งจีนกว่าฝั่งพม่าอีก

เพราะฉะนั้น ความพยายามที่จะจัดการเรื่องนี้ อาจจะทำในหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน เราอาจจะมองว่านี่เป็นความแตกแยกในวิธีคิดนายพล แต่นี่เป็นวิธีหนึ่งที่จะ Ultimate Goal (เป้าหมายสูงสุด) ให้ชนกลุ่ม น้อยสยบยอม ความคิดความฝันที่จะทำเรื่องเขตปกครองตนเองอาจเหลืออยู่ไม่มากนัก อาจจะเหลืออยู่ในคนรุ่นเก่าๆ หรือพวกที่ได้รับการถ่ายทอดจากศูนย์กลางอำนาจการต่อสู้อาจจะมี แต่ไกลออกไปอาจจะไม่มีก็ได้

สูตรที่ออง ซาน ซูจีเสนอคือปางโหลง 2 ที่มีการนำเสนอช่วงหลังเลือกตั้งใหม่ๆ ผมก็ดีใจไปกับเขาด้วยนะ ที่เขามีการแอบพบกันระหว่างตัวแทนพรรค NLD กับชนกลุ่มน้อย และออง ซาน ซูจีให้สัมภาษณ์อย่างมีความหวังราวตัวเองชนะการเลือกตั้งมา เสนอการประชุมปางโหลง 2 แต่เรื่องนี้หายไปกับสายลม เข้าใจว่าออง ซาน ซูจียังคงซีเรียสกับเรื่องนี้อยู่ ผมถามนักการทูตหลายคน ที่ไปพบออง ซาน ซูจีก็บอกว่ายังพูดเรื่องนี้ ไอเดียยังมีอยู่ แต่จังหวัดที่จะ Implement (ทำให้มีผล) อันนี้ ถ้าไม่ได้รับความเห็นดีเห็นงามจากผู้มีอำนาจ ซึ่งผมไม่ได้ยินใครพูดเลย เต็ง เส่งก็ไม่เคยพูด เถ่ง เท (Thein Htay) รัฐมนตรีกระทรวงชายแดนก็ไม่เคยพูดเลยว่าปางโหลง 2 เป็นไปได้ไหม และใครจะเป็นตัวแทนใครในปางโหลง 2 ซึ่งยากในหมู่ชนกลุ่มน้อยด้วยกัน

ถ้าจะให้เดา ผมคิดว่ารัฐบาลจะจัดการกับชนกลุ่มน้อยไปเรื่อยๆ ถ้ายอมวางอาวุธก็กลับเข้าเป็น BGF (กองกำลังพิทักษฺ์ชายแดน) ถ้าไม่วางอาวุธก็ลุยกัน พอพม่ามีความมั่นใจว่าเขาลุยได้แน่ ซึ่งเขาก็ทำว่าเขาลุยได้แน่ เขาก็จะทำ